สาระน่ารู้ ชั่งตวงวัด

กรณีศึกษาการออกแบบ และ/หรือ การก่อสร้างระบบสอบเทียบ มาตรวัดปริมาตรของเหลวปิโตรเลียมบนรถยนต์เทียบกับมาตรวัดแบบมาตรา

 

กรณีศึกษาการออกแบบ และ/หรือ การก่อสร้างระบบสอบเทียบ

มาตรวัดปริมาตรของเหลวปิโตรเลียมบนรถยนต์เทียบกับมาตรวัดแบบมาตรา
(Case Study – Considerations and Perspectives :
Flow Meter (on Truck) Calibration; Master Flowmeter Method)
 
 
 
ความคิดเห็น..... ของข้าราชการคนหนึ่ง...........................................
เดิมที.. เรามีมุมมองว่าสาธารณูประโภคพื้นฐานทางด้านงานชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมายของประเทศเรานั้นมีน้อยมากเมื่อเทียบกับประเทศที่เจริญแล้ว  ประกอบกับภาครัฐก็ไม่พร้อมอันเนื่องจากสาเหตุในเรื่องทั้งระบบราชการ งบประมาณ คุณภาพและจำนวนข้าราชการและ.... จึงต้องย้อนกลับไปที่หลักคิดว่าภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน   จึงต้องช่วยกันคนละไม้คนละมือและหากเราเตรียมตัวกันดีแล้วอีกทั้งบูรณาการเชื่อมสาธารณูประโภคพื้นฐานทางด้านงานชั่งตวงวัดของราชอาณาจักรไทยเข้าด้วยกัน เชื่อได้ว่าจะช่วยยกระดับงานชั่งตวงวัดของราชอาณาจักรไทย   แต่ดูเหมือนว่าจะหันไปทางใดมันก็ดูเหนื่อยล้าไปเสียทุกด้าน รวมทั้งตัวเองด้วยเช่นกัน    แต่อย่ากระนั้นเลย..หรือถ้าอย่างนั้นเลย... เราก็ทิ้งข้อคิดและความคิดเห็นไว้ให้คนรุ่นต่อมาดีกว่า เพื่อคนรุ่นต่อมาจะได้ใช้เป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา ส่วนจะถูกหรือผิดประการใดก็ช่วยกันทำการตรวจสอบซึ่งกระทำได้ไม่ยากเนื่องจากเรามีห้องสมุดอยู่ที่ปลายนิ้วมือด้วย Internet
 
          กรณีศึกษานี้ก็ถือเป็นกรณีศึกษาที่ 2 และต่อเนื่องกันกับกรณีศึกษาบทความก่อนหน้านี้ แต่เขียนแยกออกมาเพื่อป้องกันความสับสน ทั้งนี้ก็เพื่อบันทึกไว้เป็นหลักฐานและใช้เป็นกรณีศึกษา รวมทั้งใช้เป็นที่อธิบายในเรื่องราวดังกล่าวในขณะที่ยังจำอะไรได้บ้างหากเราไม่บันทึกไว้เห็นท่าจะเสียทีสมองที่มันเสื่อมลงเสื่อมลงทุกๆวันตามอายุ แต่ความลุ่มลึกเพิ่มขึ้นนะ อย่างไรหรึก ก็โง่เพิ่มขึ้นว่าอย่างนั้นสิครับ ฮ่าๆๆๆ ก่อนอื่นเริ่มกันที่รูปภาพ Piping and Instrument Diagram (PI Diagram) เช่นเคย   แต่คราวนี้ไม่มีรูปก่อสร้างจริงประกอบครับ   ดังนั้นในความเป็นจริงแล้วเมื่อกระผมลงรายละเอียดในข้อคิดเห็นใดๆไป ขอให้ตระหนักและระมัดระวังและโปรดใช้ความคิดเห็นตามและไตร่ตรองมากหน่อยก็แล้วกัน ทั้งนี้ก็เพราะอาจเกิดข้อความที่อาจผิดพลาดในข้อคิดเห็นของข้าพเจ้าได้ทั้งนี้ก็เพราะว่าเจ้าของโครงการดังกล่าวอาจทำการปรับปรุงแก้ไข PI Diagram ให้ดีกว่านี้ (คาดหวัง...เสมอแหละ) หรือไม่มีรายละเอียดดังการก่อสร้างจริงๆ   กรณีศึกษาที่ 2 นี้เป็นประเด็นการจัดสร้างระบบสอบเทียบระบบการวัดปริมาตรของเหลวซึ่งติดตั้งมาตรวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมบนรถยนต์เพื่อใช้เติมน้ำมันเครื่องบิน (ระบบการวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม) โดยเทียบกับแบบมาตราที่เราเรียกว่า “มาตรวัดปริมาตรของเหลวแบบมาตรา (Master Flowmeter)” หมายเลข FE101  ดังรูปที่ 1
 
 
 
 
รูปที่ 1  PI Diagram ระบบสอบเทียบระบบการวัดปริมาตรของเหลวซึ่งติดตั้งมาตรวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมบนรถยนต์เพื่อใช้เติมน้ำมันเครื่องบิน (ระบบการวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม)  โดยเทียบกับมาตรวัดปริมาตรของเหลวแบบมาตรา (Master Flowmeter)


     แต่อย่างไรก็ตามเนื้อหาสาระที่พูดคุยกันในที่นี้อย่างเช่นเคยเป็นเรื่องที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิด และลักษณะของมาตรวัดปริมาตรของเหลว รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดและอายุคารับรอง พ.ศ. 2562   ตลอดจน OIML R117 และ API MPMS เป็นแกนหลักในการพิจารณาแต่ก็ไม่ละเลยเอกสารที่น่าเชื่อถืออื่นๆ อย่างเช่นเอกสารจากผู้ผลิตมาตรวัดปริมาตรของเหลวรวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์อื่นๆที่เกี่ยวข้องซึ่งไม่สามารถนำมากล่าวในที่นี้จนครบทุกเอกสารนะ   เอาละครับเรามา.......เริ่ม.....กันเถอะ.........

  

ประเด็นที่ 1 :  ในระบบการวัดปริมาตรของเหลว (ปริมาตรก๊าซ  น้ำหนักของเหลวและก๊าซ รวมไปถึงระบบการวัดปริมาตรน้ำ) ตำแหน่งของแบบมาตรา (Standard) ที่ใช้ตรวจสอบมาตรวัดฯ ในระบบการวัดปริมาตรของเหลว ฯ ต้องอยู่ในตำแหน่งท้ายน้ำ (Downstream) ในระบบการวัดฯ

         โดยปกติแล้วสำหรับงานชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมายแล้ว   การคำนวณหาค่าผลผิด (Error) นั้นจะตั้งอยู่บนสมการ

ผลผิด (Error) = ค่าที่เครื่องชั่งตวงวัดอ่านได้ – ค่าที่แบบมาตราอ่านได้

        ด้วยเหตุนี้จึงเป็นเทคนิคให้จำได้ง่ายๆว่า  แบบมาตราที่นำไปใช้งานในการตรวจสอบความเที่ยงมาตรวัดฯ ในระบบการวัดปริมาตรของเหลว (ปริมาตรก๊าซ  น้ำหนักของเหลวและก๊าซ) จึงต้องอยู่ในตำแหน่งท้ายน้ำ (Downstream) ของมาตรวัดฯ เสมอ  นั้นคือมาตรวัดฯ ที่เราต้องการทดสอบจะต้องติดตั้งอยู่ทางด้านต้นน้ำ (Upstream) เมื่อเทียบกับแบบมาตราเสมอ  ตัวอย่างการจัดเรียงมาตรวัดฯ และแบบมาตราฯ ดังในดูรูปที่ 2 และรูปที่ 3

ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ  มีคำนิยามที่ต้องทำความเข้าใจ คือ

“ระบบการวัดปริมาตรของเหลว (Dynamic measuring systems for liquids other than water)”  หมายความว่า ระบบที่ประกอบด้วยมาตรวัดปริมาตรของเหลว อุปกรณ์ควบ และอุปกรณ์เสริม

จึงขอให้ทำความเข้าใจให้ตรงกันถึงความหมายก่อนนะครับ จากนิยามข้างบนจึงหมายความว่า  มาตรวัดปริมาตรของเหลวเป็นส่วนหนึ่งในระบบการวัดปริมาตรของเหลว   การพูดถึงในแต่ละประเด็นต้องระมัดระวังและทำความเข้าใจว่าเป็น “ตัว” มาตรวัดปริมาตรของเหลว หรือ “ระบบ” การวัดปริมาตรของเหลว   เพื่อป้องกันความสับสนขอรับท่าน !!!

          กรณีศึกษาที่ 2 นี้ จึงเป็นระบบการวัดปริมาตรของเหลวซึ่งติดตั้งมาตรวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมบนรถยนต์เพื่อใช้เติมน้ำมันเครื่องบินตาม API MPMS Chapter 6.4 Metering Systems for Aviation Fueling Facilities ดังในรูปที่ 4.1 และรูปที่ 4.2

 

รูปที่ 2  ตำแหน่งแบบมาตรา “ถังตวงแบบมาตรา (Prover Tank)” อยู่ด้านท้ายน้ำเมื่อเทียบกับมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงที่ต้องการตรวจสอบ

รูปที่ 3  ตำแหน่งแบบมาตรา “Compact Prover” อยู่ด้านท้ายน้ำเมื่อเทียบกับมาตรวัดปริมาตรของเหลวที่ระบุใน API MPMS Chapter 5  ใน Lease Automatic Custody Transfer (LACT) Systems

 

รูปที่ 4.1  รถยนต์เติมน้ำมันเครื่องบินซึ่งรถพ่วงถังบรรทุกน้ำมัน (API MPMS Chapter 6.4 Metering Systems for Aviation Fueling Facilities, 1984)

 

รูปที่ 4.2  รถยนต์เติมน้ำมันเครื่องบินซึ่งเชื่อมต่อระบบท่อน้ำมันซึ่งเดินมาทางใต้ดิน (API MPMS Chapter 6.4 Metering Systems for Aviation Fueling Facilities, 1984)

 

 

รูปที่ 5  ตัวอย่างมาตรวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (API MPMS Chapter 6.4 Metering Systems for Aviation Fueling Facilities, 1984)

 

          จากรูปที่ 4.1 และรูปที่ 4.2  ระบบการวัดปริมาตรของเหลวซึ่งติดตั้งมาตรวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมบนรถยนต์เพื่อใช้เติมน้ำมันเครื่องบินมีทางออกคือที่จุดเติมน้ำมันซึ่งอยู่ตำแหน่งใต้ปีกของเครื่องบินด้วยท่อทางออก Rubber Hoses ขนาด 2 ½ นิ้ว    ดังนั้นในระบบตรวจสอบความเที่ยงระบบการวัดปริมาตรของเหลวซึ่งติดตั้งมาตรวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมบนรถยนต์ด้วยแบบมาตราที่เรียกว่า “Master Flowmeter” จึงน่าจะจำลองจุดเชื่อมต่อเสมือนหรือเต้ารับ (Adapters) ใต้ปีกเครื่องบินด้วยการติดตั้ง 2 ½ นิ้ว Air Craft Adapter  ดังในรูปที่ 6  ในตำแหน่งมุมบนซ้ายมือ   จะดูรูปที่ 12 ก็ไม่เสียหาย

ถามว่าเราสามารถเลือกใช้ Master Flowmeter เป็นแบบมาตราสำหรับตรวจสอบความเที่ยงมาตรวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (Flowmeter) ในรูปที่ 4.1 และรูปที่ 4.2 ?   เรามาดู Traceability แบบมาตราของระบบการวัดปริมาตรของเหลว ดังในรูปที่ 7   ตั้งแต่ซ้ายมือเป็นต้นมาเราจะพบว่าต้นกำเนิดแบบมาตราทางด้านปริมาตรนั้นเริ่มจากตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา  จากนั้นถ่ายทอดผ่านคุณสมบัติทางฟิสิกส์ของของเหลวที่ดีที่สุดและเสถียรที่สุด (สำหรับงานชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมาย) คือ “น้ำบริสุทธิ์”  โดยใช้ค่าทางคุณสมบัติกายภาพของน้ำบริสุทธิ์คือ “ค่าความหนาแน่น” ของน้ำบริสุทธิ์เพื่อแปลงเป็น “ค่าปริมาตร” จากนั้นก็ทำการถ่ายทอดแบบมาตรากันลงมาเป็นลำดับจากปริมาตรในเทอมของ “Static Volume” ตัวอย่างเช่น ถังตวงแบบมาตรา (Prover Tanks) ถ่ายทอดแบบมาตราไหลเรื่อยลงมาเป็นปริมาตรในเทอมของ “Dynamic Volume” ตัวอย่างเช่น Compact Prover, Pipe Prover และ Master Flowmeter เป็นต้น  จาก Traceability แบบมาตราของระบบการวัดปริมาตรของเหลว ดังในรูปที่ 7 เราจึงสรุปว่าสามารถใช้ Master Flowmeter เป็นแบบมาตราสำหรับตรวจสอบมาตรวัดปริมาตรของเหลวที่ใช้ในการซื้อขายสินค้าและบริการได้ครับ   ซึ่งในรูปที่ 1 แบบมาตราก็คือ Master Flowmeter FE101” มีอัตราการไหลสูงสุด 270 m3/h

 

รูปที่ 6   PI Diagram เมื่อขยายไปในตำแหน่งจุดเชื่อมต่อระบบการวัดปริมาตรของเหลวซึ่งติดตั้งบนรถยนต์ (2 ½” Air Craft Adapter) เข้ากับระบบตรวจสอบความเที่ยงด้วยแบบมาตรา (Master Flowmeter) ขนาด 6 นิ้ว  อยู่มุมซ้ายบนของรูป

 

รูปที่ 7  Traceability  ของระบบการวัดปริมาตรของเหลว

      

รูปที่ 8  ตัวอย่างมาตรวัดแบบมาตรา PD Flowmeter

  

ประเด็นที่ 2 :  ความสอดคล้องระหว่างอัตราการไหลสูงสุด-อัตราการไหลต่ำสุดและอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด (Maximum Permissible Error; MPE) และคุณสมบัติ ฯลฯ ระหว่างมาตรวัดปริมาตรของเหลวที่ต้องการสอบเทียบกับมาตรวัดแบบมาตรา

          เรามีข้อจำกัดในเรื่องข้อมูลของมาตรวัดปริมาตรของเหลวปิโตรเลียมที่ถูกติดตั้งในระบบการวัดปริมาตรของเหลวซึ่งถูกติดตั้งอยู่บนรถยนต์บรรทุกตาม API MPMS Chapter 6.4 Metering Systems for Aviation Fueling Facilities (รูปที่ 5)  ดังนั้นจึงไม่มีข้อมูลว่าเป็นมาตรวัดชนิดใด, ขนาดกี่นิ้ว, มีอัตราการไหลสูงสุดและอัตราการไหลต่ำสุด?, มี Pressure Drop ? Operating Pressure? Operating Temperature?  แต่ที่แน่ๆ ต้องเป็นชั้นความเที่ยง Class 0.5  ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิด และลักษณะของมาตรวัดปริมาตรของเหลว รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดและอายุคารับรอง พ.ศ. 2562  และสันนิฐานว่าเป็นชนิด PD Flowmeter เนื่องจากอยู่บนพื้นที่ติดตั้งจำกัดทำให้การจัดสร้าง Meter Run ให้เป็นท่อตรงๆยาวๆ กระทำได้ยาก  คงไม่น่าจะเป็น Coriolis Mass Flowmeter เนื่องจากขายของเหลวปิโตรเลียมเป็น “ลิตร” และหลายคนอาจกังวลเรื่อง Vibration เมื่อติดตั้งบนรถยนต์   ที่สำคัญประเทศเราก็ต้องสั่งซื้อรถยนต์เติมน้ำมันเครื่องบินจากฝั่งตะวันตกซึ่งจะออกแบบระบบการวัดเป็นไปตาม (ส่วนใหญ่) API MPMS Chapter 6.4    ดังนั้นเมื่อสามารถใช้มาตรวัดแบบมาตราเป็น “แบบมาตรา” ได้แล้วจึงต้องเลือกใช้มาตรวัดแบบมาตราชั้นความเที่ยง Class 0.1 ตลอดช่วงอัตราการไหลที่ครอบคลุมอัตราการไหลสูงสุดและอัตราการไหลต่ำสุดของมาตราปริมาตรของเหลวที่ต้องการตรวจสอบความเที่ยง (Verification)  ส่วนทำไมต้องอยู่ชั้นความเที่ยง Class 0.1 นั้นเราก็ใช้ Rule of Thumb คือ “อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดแบบมาตราต้องน้อยกว่า 1 ใน 3 อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดมาตรวัดฯ ที่ต้องการตรวจสอบ”  หรือ MPESTD £ 1/3 MPEUUT   ไปหาอ่านในบทความก่อนหน้านี้ที่ www.cbwmthai.org  ถ้ามันยังเหลือค้างอยู่น่ะนะๆๆ

          ตัวอย่างกราฟสมรรถนะของมาตรวัดปริมาตรของเหลวชนิด Positive Displacement Flowmeter (ดูรูปที่ 9) ซึ่งเป็นกราฟความสัมพันธ์ระหว่างอัตราการไหลและผลผิดของมาตราวัดฯ  ก็คือปลายทางสุดท้ายหรือจะเรียกว่าผลลัพธ์สุดท้ายของการตรวจสอบความเที่ยงมาตรวัดปริมาตรของเหลว  ย้ำนะครับว่ามันคือ “ปลายทางสุดท้าย”   ทั้งนี้เพื่อพิสูจน์ว่ามาตรวัดปริมาตรของเหลวดังกล่าวมีคุณสมบัติ (1 ในหลายคุณสมบัติ) และสมรรถนะดีเพียงพอตามข้อบัญญัติของกฎหมายชั่งตวงวัดก่อนที่ผู้นำมาตรวัดฯ ดังกล่าวโยนเข้ามาในระบบเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของราชอาณาจักรไทยเพื่อใช้งานในการซื้อขายสินค้าและบริการ

       

รูปที่ 9  ตัวอย่างสมรรถนะมาตรวัดปริมาตรของเหลว :  PD Flowmeter (Avery Hardoll - DM Series) & เทียบกับมาตรวัด Turbine Flowmeter ทั่วๆไป

 

 
       เราพอสรุปคุณสมบัติเบื้องต้นของมาตรวัดแบบมาตรา (Master Flow Meter (PD Flowmeter)) จาก “แนวปฏิบัติการสอบเทียบมาตรวัดแบบมาตรา (Master Flow Meter) เทียบกับถังตวงแบบมาตรา (Proving Tank)” ที่สำคัญๆ 
               1.       ชั้นความเที่ยง 0.1 (0.1%)
2.       Repeatability   £ 0.02%
3.       มีค่า Linearity £ ±0.10%
4.       ช่วงค่าความหนืด Jet A-1
ส่วนการทำงานร่วมกันของมาตรวัดปริมาตรของเหลว, Pulse Transmitter, ส่วนแสดงค่า, ส่วนประมวลผล การซีลเพื่อป้องกันการปรับแต่งหรือทำให้ความเที่ยงของมาตรวัดผิดไป จะเป็นการร้อยลวดผูกซีล การให้มีลำดับชั้น Passwords เพื่อป้องกันการเข้าถึงโปรแกรมเพื่อไป Configurations ตัวแปรที่มีผลต่อความเที่ยงถูกต้องของมาตรวัด, การ Set Jumper บนแผงวงจร Controller และรวมถึงการมี Audit Trail   จะไม่พูดในที่นี้เพราะถ้าไม่มีของจริงให้เห็นพูดไปก็ไม่มีประโยชน์
 
 
 
ประเด็นที่ 3คิดให้สูงขึ้น 1 Step เมื่อมีแบบมาตราใช้งาน
 
         ตัวอย่างการเตรียมการระบบท่อเผื่อไว้สำหรับใช้แบบมาตราชั้นสูงกว่าให้ดูในรูปที่ 3 ซึ่งมีการติดตั้งหน้าแปลนเป็นทางเข้าออกแบบมาตรา Compact Prover (Small Volume Prover) พร้อมติดตั้ง Double Block and Bleed Valve มาด้วยเพื่อใช้ตรวจสอบความเที่ยงมาตรวัดปริมาตรของเหลว   ดังนั้นเมื่อทำการตรวจสอบความเที่ยงมาตรวัดปริมาตรของเหลวแล้วเสร็จเราก็สามารถเคลื่อนย้าย Compact Prover ไปใช้งานที่อื่นต่อไปได้อีก จากนั้นเราก็ติดตั้ง Blind Flanges (หน้าแปลนเหล็กตัน) ปิดท่อทางเข้าออกสำหรับติดตั้งง Compact Prover ก็เป็นอันใช้ได้แล้ว   ตั้งข้อสังเกตุว่า ไม่มีการใช้ Rubber Hoses เพื่อเชื่อมต่อ Compact Prover เข้ากับระบบการวัดปริมาตรของเหลวที่ต้องการตรวจสอบ !!
 
         เมื่อกลับไปดูรูปที่ 1 ใน PI Diagram ดังกล่าวมีมาตรวัดแบบมาตรา (Master Meter) หมายเลข FE101 ทำหน้าที่เป็นแบบมาตราเพื่อใช้ตรวจสอบความเที่ยงมาตรวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมบนรถยนต์เพื่อใช้เติมน้ำมันเครื่องบิน   เมื่อมาตรวัดแบบมาตราถูกใช้งานเป็นแบบมาตราไปช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วเราได้เตรียมระบบท่อหรือระบบอื่นๆ ใดเพื่ออำนวยการสอบเทียบ (Calibration) มาตรวัดแบบมาตราอย่างไร? ต้องวางแผนหรือคิดให้สูงขึ้น 1 Step
ตามที่ได้กล่าวไว้ “คิดให้สูงขึ้น 1 Step เมื่อมีแบบมาตราใช้งาน”  เมื่อดูรูปที่ 1 เราพบว่าไม่ได้มีระบบท่อรองรับการสอบเทียบมาตรวัดแบบมาตราดังกล่าวนั้นหมายถึงต้องถอดแบบมาตราออกไปจากระบบฯ เพื่อนำไปสอบเทียบที่ห้องปฏิบัติการสอบเทียบมาตรวัดปริมาตรของเหลวภายในราชอาณาจักรไทยหรือนอกราชอาณาจักรไทย  แต่เท่าที่ทราบเราไม่มีห้องปฏิบัติการที่สอบเทียบมาตรวัดปริมาตรของเหลวปิโตรเลียมที่ใช้ของเหลวปิโตรเลียมชนิดเดียวกับที่ใช้งานจริง (Jet A-1) หรือใช้ของเหลวสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติทางกายภาพฟิสิกส์ เช่น ค่าความหนืด เป็นต้นเทียบเท่าของเหลวปิโตรเลียมชนิดเดียวกับที่ใช้งานจริงสำหรับในการสอบเทียบมาตรวัดที่ต้องการทดสอบ แหละนี้คือเหตุผลที่ว่า ราชอาณาจักรไทยเรามีสาธารณูประโภคพื้นฐานงานด้านชั่งตวงวัด (National Legal Metrology Infrastructures) โดยเฉพาะด้านมาตรวัดปริมาตรของเหลวน้อยมากจนถึงไม่มี    แต่ในอีกมุมหนึ่งตามสถานะที่เราทราบคือมีการจัดสร้างและติดตั้งถังตวงแบบมาตราพิกัดกำลัง 6,000 ลิตรในสถานที่ก่อสร้างดังกล่าวนี้ไปเรียบร้อยและชั่งตวงวัดได้ทำการสอบเทียบรายงานผลการสอบเทียบถังตวงแบบมาตราไปแล้วแต่เมื่อกลับมาดู PI Diagram ที่ได้มาครั้งล่าสุดก็หาจุดเชื่อมต่อระหว่างถังตวงแบบมาตรา 6000 ลิตรกับระบบมาตรวัดแบบมาตรา (Master Flowmeter หมายเลข FE 101) ไม่ได้   ยังงง อยู่
 
         
       
                      ตอนนี้เมื่อตั้งสมมุติฐานบนพื้นฐานการใช้ถังตวงแบบมาตราเป็นแบบมาตราในการตรวจสอบมาตรวัดแบบมาตรา (Master Flowmeter) จาก API Manual of Petroleum Measurement Standards Chapter 4—Proving Systems, Section 5—Master-Meter Provers, SECOND EDITION, MAY 2000 โดยเฉพาะมาตรวัดแบบมาตราชนิด PD Master Meter นั้นกำหนดให้ใช้หลักการ Discrimination 1:10,000   ตีความไว้ดังตารางข้างล่างส่งผลให้กำหนดการทดสอบ PD Master Meter ด้วย Minimum Tested Volume Requirement (Vcal)min ตามค่า Scale Interval (dMM)

 

Scale Interval (dMM)

(l)

Minimum Tested Volume Requirement (Vcal)min

(l)

100

10

1

0.5

0.2

0.1

1,000,000

100,000

10,000

5,000

2,000

1,000

 

แต่เนื่องจาก PD Master Meter มี MPE 0.1%  จึงควรมีค่าขั้นหมายแบบมาตรา (dMM) ละเอียดเพียงพอเพื่อแยกแยะผลผิดของ PD Master Meter ที่ 0.1% ของปริมาตรทดสอบ  หรือค่า dMM ควรละเอียดเพียงพอแยกแยะ 1 ใน 10,000 ส่วน  เช่น  d = MPE/10   

 
          ตัวอย่างเช่นมาตรวัดแบบมาตราชนิด PD  ขนาด 6 นิ้วอัตราการไหลสูงสุด 3,870 lpm มีค่า dMM = 0.01 ลิตร ต้องใช้ Minimum Tested Volume Requirement (Vcal)min หรือพิกัดกำลังถังตวงแบบมาตราเท่ากับ 100 ลิตรเองหากใช้หลักเกณฑ์ดังในตารางข้างบน  ในความเป็นจริงมันปฏิบัติได้หรือครับ?  คำตอบก็คือไม่ได้  แล้วมันเพราะอะไร?  อาจเพราะเรากำหนดค่า dMM น้อยเกินไปหรือ Pulse Transmitter ให้ค่า Pulses Per Revolution สูงมากจริงๆ หรือสูงเกินความเหมาะสม  ส่งผลให้มีค่า K-Factor ที่ทำให้มีค่าจำนวน Pulses ต่อ dMM  ยิ่งน้อยลง  ความเสถียรในการแสดงผลการวัดปริมาตรจะยิ่งอ่อนไว? แต่ถ้าเทคโนโลยีทางด้านอิเล็คทรอนิคมีเสถียรภาพสูงตามมาด้วยทุกเรื่องก็จบครับ   ในขณะเดียวกันด้วยปริมาตรทดสอบ 6,000 ลิตร มาตรวัดแบบมาตราจะต้องมีผลผิดไม่เกิน 0.1% ของปริมาตรทดสอบซึ่งเท่ากับ 6 ลิตร ค่าขั้นหมายแบบมาตรา (dMM) ละเอียดเพียงพอเพื่อแยกแยะผลผิดของ PD Master Meter ที่ 0.1% ของปริมาตรทดสอบ  หรือค่า dMM ควรละเอียดเพียงพอแยกแยะ 1 ใน 10,000 ส่วน  เช่น  dMM = MPE/10  ดังนั้น dMM จึงควรมีค่าเท่ากับ (0.1% x 6,000)/10 = 0.6 l  ซึ่งควรถูกปัดในอยู่ในค่าอนุกรม 1, 2, 5 ดังนั้นจึงปัดค่า dMM จาก 0.6l เป็น 0.5l หรือค่าขั้นหมายมาตราที่ละเอียดกว่า  แต่ถ้ามาตรวัดแบบมาตรามีค่า dMM = 0.01 ลิตรตามโจทย์ที่ตั้งไว้ข้างบนก็ถือว่ามีค่าละเอียดเหลือหลายเพียงพอที่จะสามารถแยกแยะผลผิดปริมาตร 6 ลิตร (MPE)
          พิจารณาประเด็นพิกัดกำลังถังตวงแบบมาตราควรมีค่าเท่าไหร่นั้น   ก็ขอชี้แจงบนพื้นฐานการสอบเทียบมาตรวัดแบบมาตราเทียบกับถังตวงแบบมาตราในรูปแบบ Standing Start and Finish  หรือปิดเปิดวาล์วตอนเริ่มต้นและสิ้นสุดรอบสอบเทียบนั้น  พิกัดกำลังถังตวงแบบมาตราควรมีพิกัดอย่างน้อย 1.5 - 2 เท่าของอัตราการไหลทดสอบที่เวลา 1 นาที  เช่นทดสอบมาตรวัดแบบมาตราที่ 2800 lpm  ควรใช้ถังตวงแบบมาตรา 2 x 2,800 = 5,600 ลิตร หรือถัง 6,000 ลิตร  ซึ่งถือว่าสะดวกในการทำงานภาคปฏิบัติ   หากสนใจสามารถไปอ่าน “แนวปฏิบัติการสอบเทียบมาตรวัดแบบมาตรา (Master Flow Meter) เทียบกับถังตวงแบบมาตรา (Proving Tank)”  เพิ่มเติมใน www.cbwmthai.org  เนื่องจากเนื้อหาสาระมันเยอะไม่สามารถจบลงในบทความนี้ภายในบทความเดียว
 
       แต่อย่างไรก็ตามต้องทำความเข้าใจในเบื้องต้นว่า ในทางปฏิบัติการสอบเทียบ (Calibration)  Master Flowmeter ควรดำเนินการภายในใต้ระบบที่สามารถควบคุมสภาวะการทำงานในหลากมิติ เพื่อควบคุมค่าความไม่แน่นอนของการวัดได้ เช่น การควบคุมอัตราการไหลให้คงที่ภายในช่วงเวลาสอบเทียบทั้งนี้เพื่อให้สามารถรายงานผลการสอบเทียบในเทอมของ Meter Factor (MF) ณ อัตราการไหลทดสอบนั้น เพื่อนำมาเขียนกราฟสมรรถนะของมาตรวัดแบบมาตราดังในรูปที่ 9   ซึ่งระบบฯดังที่ว่านั้นคือ “ห้องปฏิบัติการฯ”     แต่ภายใต้ข้อจำกัดของเราในฐานะประเทศกำลังพัฒนาและดังที่กล่าวไว้แล้วว่า เรามีสาธารณูประโภคพื้นฐานงานด้านชั่งตวงวัด (National Legal Metrology Infrastructures) โดยเฉพาะด้านมาตรวัดปริมาตรของเหลวน้อยมากจนถึงไม่มี    ดังนั้นหากจะย้ายงานจาก “ห้องปฏิบัติการฯ” ออกมามาอยู่ “ภาคสนาม Outdoor” ซึ่งควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อการสอบเทียบกระทำได้ยากไปเลยก็พอยอมรับได้ครับ.. เพราะมันต้องเดินกันต่อไป....แล้วค่อยพัฒนากันต่อไป...   แต่ส่วนการดำเนินงานที่สำคัญๆก็อย่าทิ้งไปเสียนะครับส่วนจะได้บ้าง หรือไม่ได้บ้างก็ค่อยๆพัฒนากันไปดูแลกันไป... มันดูกันออกครับ....     แต่ถ้าหากอยากทำอะไรง่ายๆ ไม่สนใจก้าวย่าง.....ต่อไปอยากได้อะไรง่ายไม่รับผิดชอบผลตามมา กระผมก็ไม่สามารถร่วมตอบสนองความต้องการของท่าน.....ได้เช่นกัน เพราะผมเป็น “ข้าราชการ” สิครับ ส่วนจะเป็นชั้นกระจอกๆ ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง
 
 
ประเด็นที่ 4: เมื่อของเหลวผ่านมาตรวัดปริมาตรของเหลวแล้วต้องส่งออกไปยังปลายทางเท่านั้น ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิด และลักษณะของมาตรวัดปริมาตรของเหลว รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดและอายุคารับรอง พ.ศ. 2562 ข้อ 17 (1) ต้องไม่ทำให้ของเหลวที่วัดปริมาตรแล้วเกิดการเบี่ยงเบนออกจากห้องวัด หรือท่อส่งจ่ายได้
          เอาละคราวนี้ย้อนกลับมาที่ PI Diagram ในรูปที่ 10 พิจารณามุมซ้ายบน   จินตนาการตามนะครับเมื่อรถยนต์ดังในรูปที่ 5 จอดเทียบท่ารถยนต์จากนั้นต่อ Rubber Hoses ขนาด 2 ½ นิ้วซึ่งปกติจะต่อเข้าช่องเติมน้ำมันใต้ปีกเครื่องบินนั้นแหละครับแต่คราวนี้มาต่อเชื่อมกับ 2 ½” Air Craft Adapter (Risers) ที่ตำแหน่งมุมซ้ายบนของรูปที่ 10 
 
รูปที่ 10 ของเหลวออกจากมาตรวัดปริมาตรของเหลวไม่ได้ไหลโดยตรงไปยังมาตรวัดแบบมาตรา
 
จากนั้นเริ่มตรวจสอบ (Verification) มาตรวัดปริมาตรของเหลวซึ่งติดตั้งอยู่บนรถยนต์เทียบกับมาตรวัดแบบมาตรา (Master Flowmeter) หมายเลข FE101 (270 m3/h)  ถือว่าเป็นการต่อเรียงกันของมาตรวัดทั้งสองในรูปแบบ “อนุกรม” ว่าอย่างนั้นเถอะ โดยมาตรวัดปริมาตรของเหลวที่ต้องการทดสอบอยู่ด้านต้นน้ำ (Upstream) และให้มาตรวัดแบบมาตราหมายเลข FE101 อยู่ปลายน้ำ (Downstream) ง่ายๆอย่างนี้แหละครับ  แต่ไม่ทราบผู้ออกแบบอยากใช้งานให้ได้หลายโหมดการทำงาน?... ส่งผลให้เมื่ออัดของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเข้ามาตรวัดปริมาตรของเหลวซึ่งติดตั้งอยู่บนรถยนต์ไหลต่อเนื่องเข้ามาจนถึงเข้าทาง 2 ½” Air Craft Adapter (Risers) ที่ตำแหน่งมุมซ้ายบนของรูปที่ 10 โดยให้ดูรูปที่ 11 และรูปที่ 12 ประกอบด้วย  เมื่อเจอข้อต่อสามทางตัว “T” ขนาด 6 นิ้ว  ของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมันก็ถูกแบ่งไหลไป 2 ทางคือไหลไปทางขาวมือหมายเลข 2  ซึ่งไหลเข้ามาตรวัดแบบมาตราหมายเลข FE101 แต่ของเหลวที่เหลือไหลไปตามท่อทางซ้ายมือเส้นทางหมายเข 3  โดยคาดหวังว่าผู้ใช้งาน (Operators) คงปิด Ball Valve หมายเลข BV125 และ Gate Valve หมายเลข GV103 ทำให้ของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ไหลมาทางหมายเลข 3 ถูกสกัดยับยั้งให้อยู่นิ่งๆ ถือว่ากลายสภาพเป็น “แก้มลิง” แต่อย่าลืมว่าของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่เราเกี่ยวข้องถือเป็นของเหลวที่สามารถถูกบีบอัดได้หรือ “Compressible Fluid” ดังนั้นเมื่อของเหลวที่อยู่ในสภาวะแก้มลิงดังกล่าวจะเกิดการเปลี่ยนแปลงหดตัวหรือขยายตัวได้เสมือน Hydraulic Brader ในระบบไฮดรอริก (ดูรูปที่ 13) ตามอัตราการไหลและความดันในระบบท่อ นั้นคือช่วงที่มีความดันภายในท่อสูงของเหลวก็ถูกอัดเก็บพลังงานเอาไว้ในแก้มลิงพอช่วงความดันของเหลวในระบบท่อมีความดันน้อยลงพลังงานที่ถูกจัดเก็บไว้ในแก้มลิงมันจะถูกปลดปล่อยออกมาส่วนอัตราการอัดตัวและขยายตัวของแก้มลิงจะมีผลให้มีค่าเท่ากันทุกรอบการทดสอบ? ยังสงสัยสิครับ  เมื่อสงสัยท่านที่ออกแบบต้องออกมาชี้แจงให้ความรู้ว่าทำไม เพราะอะไรถึงออกแบบระบบท่ออย่างนั้น? ดังนั้นช่วยพิจารณากันสิว่าเราจะได้ผลการตรวจสอบให้คำรับรอง (Verification) มาตรวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมบนรถยนต์เพื่อใช้เติมน้ำมันเครื่องบินมีความน่าเชื่อถือหรือสุ่มเสี่ยงในความน่าเชื่อถือในผลการตรวจสอบ? แต่ถ้าใครจะบอกว่าสามารถดำเนินการตรวจสอบให้คำรับรอง (Verification) ได้ ก็ไม่เถียงครับ...แต่คุณต้องรับผิดชอบ !!!
 
             
รูปที่ 11 ตัวอย่างหัวจ่ายและเต้ารับหัวจ่าย (Adapter) ของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
 
 
รูปที่ 12 Hose End Pressure Refueling Coupling (Max. Pressure 3.5 Barg)
 
          พิจารณาต่อนะครับ โดยเฉพาะของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ถูกแบ่งไหลมาเส้นทางหมายเลข 3 ต้องมีขั้นตอนการทำงานที่ระมัดระวังในขั้นตอนเริ่มต้นทำงานเตรียมการระบบท่อให้พร้อมกับการวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (Filling Lines) ที่ต้องไล่อากาศออกจากท่อให้หมดเพราะอะไรหรือครับ   ก็เพราะงานชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมายนั้นการวัดปริมาตรของไหลใดๆ ต้องทำการวัดเมื่อของไหลนั้นๆ อยู่ในสภาวะที่เรียกภาษาปะกิตว่า “Single Phases” เท่านั้นเนื่องจากเทคโนโลยีการวัดปริมาตรของไหลในระบบท่อที่เป็นแบบ “2-Phases” หรือ “3-Phases” ยังไม่แม่นยำมากพอในระดับที่ยอมรับในการซื้อขายในระบบการซื้อขายสินค้าและบริการ แต่อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีการวัดปริมาตรในระบบท่อที่ของไหลเป็นแบบ “2-Phases” หรือ “3-Phases” มีอยู่และวัดกันอยู่ในระดับภาคอุตสาหกรรมอยู่แล้ว    หากเราไม่สามารถไล่อากาศออกจากระบบท่อในเส้นทางหมายเลข 3 ได้หมดคราวนี้มันจะเป็นแก้มลิงสิงสถิตของเหลวกับก๊าซช่วยกันบีบอัดคลายตัวกันสนุกสนานจนทำนายไม่ถูกแล้วมันจะสะท้อนออกมาในรูปของค่า “Repeatability” ส่วนจะรับได้หรือไม่ต้องลองกันดู
 
รูปที่ 13 Hydraulic Brader ในระบบไฮดรอริก
 
เมื่อพิจารณาองค์ประกอบระบบท่อเส้นทางหมายเลข 3 จากข้อต่อตัวทีขนาด 6 นิ้วไปจนถึง Ball Valve หมายเลข BV125 และ Gate Valve หมายเลข GV103 เราพบว่ามีการติดตั้ง Pressure Relief Valve หมายเลข PRV 104 ถือว่าก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ผ่านวัดปริมาตรมาแล้วด้วยมาตรวัดปริมาตรของเหลวซึ่งติดตั้งอยู่บนรถยนต์เทียบเกิดการเบี่ยงเบนออกจากท่อส่งจ่าย ซึ่งแทนที่ของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมจะไหลตรงเข้าสู่มาตรวัดแบบมาตรา หมายเลข FE101 ทั้งหมดแต่ถูกแบ่งย่อยออกไป โดยส่วนของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ถูกแบ่งย่อยออกมาทางเส้นทางท่อหมายเลข 3 เองก็ยังสุ่มเสี่ยงที่จะถูกไหลออกไปทาง Pressure Relief Valve หมายเลข PRV 104 อีกด้วย ดังนั้นการออกแบบระบบท่อในลักษณะนี้จึงเป็นข้อกังวลอีกประการหนึ่ง
          เราจึงปรับใช้.... ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิด และลักษณะของมาตรวัดปริมาตรของเหลว รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดและอายุคารับรอง พ.ศ. 2562 ข้อ 17 (1) ต้องไม่ทำให้ของเหลวที่วัดปริมาตรแล้วเกิดการเบี่ยงเบนออกจากห้องวัด หรือท่อส่งจ่ายได้   จึงน่าเป็นเหตุให้พอจะเข้าใจตรงกันนะ มันเป็นเรื่องข้อเท็จจริง....... ไม่กลั่นแกล้งนะครับคุณ.......
          ยังมีอีกประเด็นที่กังวลคือที่จุดต่อเชื่อมกับ 2 ½” Air Craft Adapter ที่ตำแหน่งกลางซ้ายบนของรูปที่ 10 ซึ่งอยู่บนเส้นทางการไหลหมายเลข 3 นั้น เกิดมีคำถามขึ้นมาในใจมันเป็นจุดทางออกหรือจุดทางเข้าของระบบฯ ในเบื้องต้นขอประเมินว่าน่าจะเป็นจุดทางเข้า ดังนั้นหากอัดของเหลวเข้ามาทาง 2 ½” Air Craft Adapter ดังกล่าวของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมันก็ถูกแบ่งแยกไหลไปทั้ง 3 เส้นทางเช่นกัน แล้วเส้นทางหมายเลข 1 มันจะสกัดอย่างไร? หรือว่าตรง 2 ½” Air Craft Adapter (Risers) ที่ตำแหน่งมุมซ้ายบนของรูปที่ 10 ติดตั้ง API วาล์วหรือตัวเต้ารับ (Adapter) ที่เป็น Coupling (ดูรูปที่ 11) มี Check Valve ภายในตัวเต้ารับเลยมั่นใจว่าวาล์วไม่รั่ว? ส่วนในเส้นทางการไหลหมายเลข 2 มี Gate Valve หมายเลข GV104 และมันใจว่าไม่รั่ว จึงมั่นใจว่าของเหลวจะไหลไปในเส้นทางหมายเลข 3 แน่นอน   ดูเหมือนไม่เกี่ยวกับชั่งตวงวัดสิน่ะ   ใช่ครับ แต่เป็นข้อกังวลถึงมาตรวัดแบบมาตรา (Master Flowmeter) ไม่ควรอยู่ในตำแหน่งที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการระบบท่อที่เป็นงานประจำ แบบมาตราควรถูกตัดออกจากระบบที่เรียกว่า Routine Operation 
               
รูปที่ 14 ตัวอย่าง API Valve  สำหรับ Bottom Loading
 
 
ประเด็นที่ 5: มาตรวัดแบบมาตรา (Master Flowmeter) หมายเลข FE101 (270 m3/h)
 
          ความเร็วของเหลวผ่านระบบท่อและอัตราการไหลของเหลวในระบบท่อ เริ่มตั้งแต่มาตรวัดปริมาตรของเหลวที่ติดตั้งบนรถยนต์ขนาดกี่นิ้ว? (ไม่มีข้อมูล) จากนั้นเชื่อมต่อด้วย Rubber Hoses เข้าจุด 2 ½” Air Craft Adapter (Risers) ตำแหน่งมุมซ้ายบนของรูปที่ 10 จากนั้นท่อขยายเป็นท่อ 3 นิ้วแล้วเป็นท่อ 6 นิ้ว หากเป็นท่อ Carbon Steel, API 5L, Sch 40 มันก็สะท้อนความเร็วของเหลวและอัตราการไหลที่คอคอดบริเวณท่อขนาด 2 1/2” จึงมีคำถามในใจว่ามาตรวัดแบบมาตราหมายเลข FE101 (270 m3/h) ทำไมถึงมีขนาด 6 นิ้ว? เพราะอัตราการไหลสูงสุดมันถูกจำกัด (ถูกจำกัดด้วยความเร็วสูงสุดในการออกแบบมากกว่า อันเนื่องจากผลกระทบในเทอมของการเหนี่ยวนำไฟฟ้าสถิตย์  เสียงดันจากการไหลของเหลวภายในท่อที่มีความเร็วสูงเกินระดับเหมาะสม และ ฯลฯ ) ไว้ที่ท่อขนาด 2 ½” ส่งผลให้มีอัตราการไหลสูงสุดของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมประมาณไม่เกิน 908 l/min. ด้วยความเร็วของเหลวโดยประมาณ 7 m/s  (Q@6" = Q@1/2" = VxA@6" = VxA@1/2")  (ดูรูปที่ 15)   ในระดับเสียงดังบ้างเมื่อของเหลวไหลภายในท่อที่ความเร็วสูงขนาดนี้   ถามต่อว่าทำไมอัตราการไหลสูงสุดมันถูกจำกัดไว้ที่ท่อขนาด 2 ½” ตอบว่าในความเห็นของเรามันอยู่ที่รูปที่ 12 เพราะต้องใช้แรงงานคนในการจับหัวจ่าย Jet A-1 เสียบเข้าเต้ารับ (Adapter) ใต้ปีกเครื่องบินสิครับ หาก Rubber Hoses ใหญ่กว่านี้คนคงไม่มีแรงยก   แต่ถ้าในอนาคตเราใช้ AI Robotic Guy ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่ง....
 
รูปที่ 15   ความเร็วของเหลวภายในท่อ Sch 40 ของระบบการวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพื่อป้องกัน Static, Lightning, and Stray Currents ตาม API RECOMMENDED PRACTICE 2003, Protection Against Ignitions Arising Out of Static, Lightning, and Stray Currents, 2008
 
          จากข้อมูลที่มีการยื่นแบบคำขอตรวจสอบความเที่ยงมาตรวัดแบบมาตรา (Master Flowmeter) หมายเลข FE101 เป็นมาตรวัดแบบมาตราขนาด 6 นิ้วมีอัตราการไหล 250 m3/h (4,166.7 lpm) มีอัตราการไหลต่ำสุด 25 m3/h (416.7 lpm) ซึ่งมี Turndown Ratio 10:1, เป็นมาตรวัดฯชนิด Positive Displacement Flowmeter, ชั้นความเที่ยงดีกว่า Class 0.1 (<0.1), Repeatability 0.02%,  ปริมาตรต่อรอบการหมุนของมาตรวัด (Cyclic Volume) 6.82 l/rev (lpr), แนะนำให้ใช้ Pulse Transmitter Type AC30 (SATAM) ร่วมกับส่วนประมวลผลและส่วนแสดงค่า Electronic Register type : Model Equalis S (SATAM) ส่วนเรื่องความปลอดภัยสำหรับการใช้งานในสภาพแวดล้อมทางด้านปิโตรเลียมก็ว่ากันไป ส่วนรายละเอียดอื่นๆ อ่านได้จากรูปที่ 16  
 
รูปที่ 16 Specification ของ Master Flowmeter หมายเลข FE101 (Model: ZCM17-250)
 
          แต่เมื่อเรียกข้อมูลเอกสารจากบริษัทฯ ที่มายื่นขอตรวจสอบความเที่ยงมาตรวัดแบบมาตราหมายเลข FE101 (ZCM17-250) เพื่อประเมินภาพรวมก่อนรับและออกไปดำเนินการภาคสนามตามหน้าที่ของข้าราชการในพ่อหลวงของแผ่นดิน ทั้งนี้เพื่อลดปัญหาความขัดแย้งในภาคสนามและลดความเสียหายจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินการบริษัทฯ อีกทั้งเพื่อให้ยุติในทุกเรื่องที่เราประเมินไว้ทั้งในรูปของเอกสาร งานทางด้านเทคนิคอื่นๆ (พูดไม่จบหรอก.... รวมทั้งไม่ครบจบลงในเอกสารใดๆ อีกทั้งมันเปลี่ยนแปลงตามข้อมูลรวมทั้งเทคโนโลยีที่ต้องปรับตัวและเรียนรู้ไปพร้อมๆกันทั้งภาครัฐและภาคราชการ) หากมีข้อสงสัยจะได้พูดคุยสอบถามและจบลงที่โต๊ะการประชุมหารือก่อนดำเนินการซึ่งบางครั้งไม่เต็ม 100% หรอกเอาแค่เรื่องหลักๆ 60%  ได้ก็หรูแล้ว  ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติงานที่เรายึดมาตลอด   ประเด็นที่เราสงสัย
1.         ใบรายผลการสอบเทียบจากบริษัทผู้ผลิต (ดูรูปที่ 17.1 และรูปที่ 17.2)   
1.1.     มีคำถามว่าตอนสอบเทียบมาตรวัดแบบมาตรา ZCM 17-250 นั้นได้ทำการติดตั้งหรือจับคู่ Pulse Transmitter และส่วนประมวลผลและส่วนแสดงค่า Electronic Register รุ่นใดยี่ห้อใด ที่สามารถแสดงค่าปริมาตร 99 999 999 L   ปรากฏว่าได้คำตอบที่รู้สึกเหนื่อยหัวใจ เลยให้ไปหาคำตอบ   ทั้งนี้ระหว่างเขียนบทความนี้เรายังไม่ได้คำตอบ เพราะไม่ทราบว่า ZCM 17-250 จับคู่ Pulse Transmitter Type AC30 (SATAM) ร่วมกับส่วนประมวลผลและส่วนแสดงค่า Electronic Register type : Model Equalis S (SATAM) หรือไม่ตอนทำการสอเทียบ   แต่ที่ยื่นเอกสารใบรายงานผผลการสอบเทียบดังในรูปที่ 17.1 และรูปที่ 17.2 พบว่าตัวมาตรวัดแบบมาตราตัวจริงๆ ดังกล่าวนั้นกลับไปจับคู่กับ ส่วนประมวลผลและส่วนแสดงค่า Electronic Register type : EMR4 (Veeder Root)   ส่วน Pulse Transmitter ไม่ทราบว่าใช้ยี่ห้อรุ่นใด?
1.2.     เพราะเราไม่มีความรู้จึงสอบถามกลับไปว่าทำไมไม่ใช้ Pulse Transmitter Type AC30 (SATAM) ร่วมกับส่วนประมวลผลและส่วนแสดงค่า Electronic Register type : Model Equalis S (SATAM) ซึ่งเป็นอุปกรณ์ยี่ห้อเดียวกันกับมาตรวัดแบบมาตรา ZCM 17-250 (SATAM) เช่นเดียวกัน      คำตอบที่ได้ก็ว่ากันไป....   ดังนั้นเราจึงถามต่อว่าเมื่อเลือกใช้ Pulse Transmitter กับส่วนประมวลผลและส่วนแสดงค่ายี่ห้อต่างกันไปจาก Catalog ในรูปที่ 16 แล้วทางบริษัทฯ ผู้ขายมีความรู้ทาง Engineering ในการเลือกและการจับคู่การทำงานร่วมกันระหว่าง มาตรวัดแบบมาตรา ZCM 17-250 (SATAM) + Pulse Transmitter + ส่วนประมวลผลและส่วนแสดงค่า Electronic Register อย่างไร สอนชั่งตวงวัดหน่อยสิ.... และตัว Pulse Transmitter และส่วนประมวลผลและส่วนแสดงค่า Electronic Register ผ่านการตรวจสอบต้นแบบ (Type Approval) หรือ Type Evaluation จากสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติของบริษัทผู้ผลิตอย่างไร    ตอนนี้ขณะเขียนกรณีศึกษานี้ ยังไม่ได้รับคำตอบจากบริษัทฯ ผู้ขาย
1.3.     จากข้อมูล Specification ในรูปที่ 16 หัวข้อ “Calibration Report” นั้นให้ข้อมูลว่าทำการสอบเทียบที่อัตราการไหลทดสอบที่ 25, 62, 100, 137, 175, 212, 250 m3/h   แต่ในใบรายผลการสอบเทียบที่ยื่นมาให้ชั่งตวงวัดพบว่าทดสอบที่ 15, 40, 70, 100, 120, 150 m3/h แต่ในตารางหน้าที่ 2 รูปที่ 17.2 ด้านบนยังกลับบ่งบอกอัตราการไหลทดสอบสลับกันไปมาว่ากระทำที่ 25, 50, 100, 150, 200, 250 m3/h ในขณะที่ข้อมูลในตำแหน่งกลางกระดาษใบรายงานผลการสอบเทียบพบว่าอัตราการไหลทดสอบกลับเป็นที่ 15, 40, 70, 100, 120, 150 m3/h   ดูกันดีๆนะครับ   เห็นแค่นี้ก็ไม่เสียใจบริษัทฯ ในประเทศไทยที่ทำงานกัน เพราะเราก็อยู่บนมาตรฐานยุโรป.....เหมือนกันโว้ย.......
1.4. โดยหลักการ สำหรับการสอบเทียบมาตรวัดของเหลวแล้วต้องพยายามทดสอบด้วยของเหลวชนิดเดียวกับของเหลวที่ต้องนำไปใช้งานจริง แต่ในที่นี้ก็คงมีข้อจำกัดในการสำรองจัดเก็บของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม Jet - A1 ทางผู้ผลิตมาตรวัดจึงใช้ของเหลวสังเคราะห์อื่นๆที่มีคุณสมบัติความหนืดเทียบเท่าคุณสมบัติของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม Jet – A1 ซึ่งเรื่องนี้จะได้เป็นข้อยุติได้ต่อเมื่อสถาบันมาตรวิทยาของประเทศของบริษัทฯผู้ผลิตมาตรวัดมีเอกสารยืนยันว่าสามารถกระทำได้และให้ผลการวัดที่ไม่ต่างหรือใกล้เคียงเมื่อเทียบกับการใช้ของเหลวชนิดเดียวกันกับที่นำมาใช้งานจริง    นอกจากนี้ตั้งไว้เป็นข้อสังเกตว่า   การสอบเทียบ (Calibration) มาตรวัดแบบมาตราในประเทศที่เจริญแล้วจะดำเนินการกันในห้องปฏิบัติการฯ ที่สามารถควบคุมปัจจัยที่มีผลต่อความเที่ยงได้มากที่สุด เพื่อให้ผลการสอบเทียบถูกต้องมากที่สุดทั้งนี้ก็เพราะมาตรวัดแบบมาตรา (Master Flowmeter) หากสอบเทียบแล้วมันให้ผลการวัดที่ไม่ถูกต้อง ตัวมาตรวัดแบบมาตราจะนำความไม่ถูกต้องแพร่เชื้อไปยังมาตรวัดที่ใช้ในการซื้อขายอย่างแท้จริงและรุนแรงส่วนจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าเอามาตรวัดแบบมาตราไปตรวจสอบให้คำรับรอง (Verification) มาตรวัดที่ใช้ในการซื้อขายมากน้อยเพียงใด      แต่ในราชอาณาจักรไทยนั้นเรามีห้องปฏิบัติการฯ ที่ใช้สอบเทียบมาตรวัดแบบมาตราซึ่งเป็นสาธารณูประโภคพื้นฐานทางด้านงานชั่งตวงวัดของราชอาณาจักรไทยน้อยมากหรือแทบไม่มี การหลับตาข้างหนึ่งให้ออกแบบและสร้างระบบสอบเทียบ (Calibration) แบบ Outdoor ก็ถือว่าพยายามช่วยกันเดินไปข้างหน้าด้วยกันแล้วค่อยพัฒนาปรับปรุงกันไปนะ    ยังโดนแตะเข้าหว่างขาเข้าอีก.... ตูเลยเซ็ง......
 
 
รูปที่ 17.1  รายงานผลการสอบเทียบ Master Flowmeter (Model: ZCM17-250) หน้าที่ 1/2
 
รูปที่ 17.2  รายงานผลการสอบเทียบ Master Flowmeter (Model: ZCM17-250) หน้าที่ 2/2
 
1.5.     คำถามหลักๆ สุดท้ายก็คือที่อัตราการไหลทดสอบค่าต่ำสุด คือ 15 m3/h ? หรือ 25 m3/h ? นั้นมีผลผิด 0.24% (K Factor = 0.9926) นั้นแสดงว่าที่อัตราการไหลต่ำเกิดปรากการณ์ที่เรียกว่า “Slippage” ซึ่งเป็นจุดอ่อนของมาตรวัดชนิด Positive Displacement Flowmeter (PD Flowmeter)  มีค่าสูงกว่าชั้นความเที่ยงของมาตรวัดแบบมาตรา (Master Flowmeter) 0.1% มากจนผิดสังเกต   จนไม่น่าที่จะเป็นชั้นความเที่ยงของมาตรวัดแบบมาตราเลย............ หวังว่าผมไม่ได้ไปเหยียบตาปลาใครเข้านะ ออ... ผมก็มึนๆกับนิยาม  K-Factor ในใบรายงานผลสอบเทียบใบนี้เหมือนกัน !!!
2.         สำหรับงานชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมาย   การทำงานร่วมกันของ มาตรวัดแบบมาตรา + Pulse Transmitter + ส่วนประมวลผลและส่วนแสดงค่า Electronic Register ต้องทำงานร่วมกันแล้วส่งมอบผลการวัดปริมาตรอยู่ในชั้นความเที่ยงตามที่ระบุโดยบริษัทผู้ผลิต   นั้นหมายถึงชั่งตวงวัดได้ทำหน้าที่ไม่เปลืองข้าวสุกของชาวบ้านที่ให้มา  ดังนั้นการป้องกันเปลี่ยนแปลงแก้ไขชิ้นอุปกรณ์ (Hardware)  การปรับแก้ไขค่าตัวแปรที่มีผลต่อความเที่ยงของมาตรวัดฯ (Software) จึงเป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญยิ่งยวด  มาตรการความปลอกภัยสำหรับเครื่องชั่งตวงวัดจึงมี
2.1.      “ร้อยลวดผูกซีล” การป้องกันเปลี่ยนแปลงแก้ไขชิ้นอุปกรณ์ (Hardware) จบลงด้วยการร้อยลวดผูกซีลในตำแหน่งที่ป้องการแก้ไขปรับเปลี่ยนใดๆที่มีผลต่อความเที่ยงของมาตรวัดฯ เช่น ปรับปริมาตรต่อรอบการหมุน 1 รอบของมาตรวัด PD Flowmeter เป็นต้น
2.2. “รหัสผ่าน (Pass Word)”  การเข้าถึงการปรับแก้ไขค่าตัวแปรที่มีผลต่อความเที่ยงมาตรวัดในส่วนประมวลผล (Software) ของมาตรวัดต้องมีลำดับชั้นของการเข้าถึงโปรแกรมด้วย “รหัสผ่าน (Pass Word)” ว่ารหัสผ่านชั้นใดที่สามารถแก้ไขตัวแปรใดได้ในฐานะของ Operators ซึ่งมักเป็นตัวแปรที่ไม่มีผลต่อความเที่ยงของมาตรวัดฯ เมื่อผ่านการสอบเทียบจากชั่งตวงวัด รหัสผ่านใดสามารถเข้าถึงและแก้ไขค่าตัวแปร (Configuration) ที่มีผลต่อความเที่ยงของมาตรวัดฯ ในส่วนประมวลผลของมาตรวัดฯ ได้ 
2.3.     Set Jumper” แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องมีมาตรการเสริมด้วยการ “Set Jumper” บนแผงวงจร (แผง Controller) ซึ่งเมื่อทำการ Set Jumper แล้วถึงแม้จะมีรหัสผ่านก็ต้องไม่สามารถเข้าถึงโปรแกรมและเข้าไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงค่าตัวแปรที่สำคัญยิ่งยวดที่มีผลต่อความเที่ยงของมาตรวัด จากนั้นจบลงด้วย “การร้อยลวดผูกซีล” อุปกรณ์ ฯ เช่นตัวเรือนส่วนประมวลผล เป็นต้น ซ้ำอีกครั้งหนึ่ง
2.4.     Audit Trail”  มาตรการท้ายสุด ถือว่าเป็นด่านปราการสุดท้าย คือ “Audit Trail” เป็นโปรแกรมที่ฝังตัวและทำหน้าที่บันทึกข้อมูลที่ระบุเฉพาะการเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่สำคัญๆ โดยเฉพาะค่าตัวแปรที่ถูก Configuration ในส่วนประมวลผลและมีผลต่อความเที่ยงของมาตรวัดฯ เช่น ค่า K-Factor เป็นต้น ใครๆก็ลบการบันทึกดังกล่าวได้อย่างเด็ดขาด แต่ถ้าพิสูจน์ได้ว่าสามารถถูกลบได้ ทุกอย่างก็จบความน่าเชื่อทันที
 
คำถามคือมาตรวัดแบบมาตราดังกล่าวมีมาตราการใดและไม่มีมาตราการใด   ในความเห็นส่วนตัวสำหรับงานชั่งตวงววัดตามข้อบัญญัติของกฎหมาย   เราต้องการครบทั้ง 4 มาตราการครับ......
                 สรุปว่าเป็น(ส่วนหนึ่งของ) คำถามทั้งหมดที่ถามไปยังผู้ยื่นแบบคำขอตรวจสอบความเที่ยงเครื่องชั่งตวงวัดกับชั่งตวงวัดผ่านไปยังผู้ที่เกี่ยวข้อง ส่วนจะกระจายไปยังใครบ้างก็แล้วแต่ผู้ยื่นแบบคำขอฯ   วันนี้รอคำตอบอยู่ครับ......
 
 
 
ประเด็นที่ 6: ระบบสอบเทียบมาตรวัดปริมาตรของเหลวไม่แนะนำหรือควรเลี่ยงการใช้หรือติดตั้ง Flexible Hose ในระบบท่อของระบบสอบเทียบฯ
 
         
         จากรูปที่ 10 ของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ไหลเข้ามาตามเส้นทางหมายเลข 1 ซึ่งถูกแบ่งไหลไปตามเส้นทางหมายเลข 2 ไหลเข้ามาตรวัดแบบมาตรา หมายเลข FE101 โดยเราตั้งอยู่บนสมมุติฐานว่า ของเหลวที่ไหลเข้ามาทางเส้นทางหมายเลข 1 จากระบบการวัดปริมาตรของเหลวซึ่งติดตั้งมาตรวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมบนรถยนต์เพื่อใช้เติมน้ำมันเครื่องบิน (ดูรูปที่ 5) มีความสมบูรณ์ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ได้แก่มี Strainer, Air/Gas Separator บริเวณทางเข้ามาตรวัดปริมาตรของเหลวและมี Check Valve หรือวิธีการใดๆ ด้านทางออกเพื่อให้มั่นใจว่าของเหลวที่ไหลออกจากมาตรวัดปริมาตรของเหลวแล้วไม่ไหลกลับเข้ามาตรวัดฯตัวดังกล่าวอีก เมื่อไหลเข้ามาตามเส้นทางหมายเลข 1 แล้วมีสภาวะเป็น “ของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมเพียงสถานะเดียว” เท่านั้นน่ะครับ   ถ้าข้อสมมุติฐานนี้ผิด   ระบบตรวจสอบให้คำรับรองระบบการวัดปริมาตรของเหลวซึ่งติดตั้งมาตรวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมบนรถยนต์เพื่อใช้เติมน้ำมันเครื่องบินด้วยมาตรวัดแบบมาตรา (Master Flowmeter) นี้ผิดและจบลงทันที....
จากนั้นเมื่อของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมไหลผ่านมาตรวัดแบบมาตรา พบว่าทางออกของมาตรวัดแบบมาตรานั้นปรากฏว่าติดตั้ง “Flexible Joint” หรือ “Flexible Hose” หรือ ฯลฯ สุดแต่จะเรียกชื่อเครื่องมืออุปกรณ์ฯ...ผมก็งง... แต่ที่แน่ๆ ในระบบการวัดปริมาตรของเหลวไม่ควรใช้ Flexible Joint หรือ Flexible Hose ครับ มันทั้งล่อแหลมในเรื่องความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินเพราะมันเป็นของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมซึ่งติดไฟระเบิดได้ง่าย อีกทั้งเรื่องความดันย้อนกลับ (Back Pressure) ของมาตรวัดแบบมาตราก็ต้องระมัดระวังว่าไม่ต่ำจนก่อให้เกิด Cavitation  นอกจากนี้การมี Flexible Joint หรือ Flexible Hose ในบริเวณที่ต้องทำการวัดค่าความดันของเหลวด้านทางออกมาตรวัดแบบมาตราจะมีปัญหาความน่าเชื่อถือผลการวัดค่าอีกด้วยเพราะ “Flexible Joint” หรือ “Flexible Hose” มันยืดขยายตัวสิครับส่วนจะมากน้อยตามค่าความดันในระบบท่อ...หากคิดต่อแบบเวอร์ๆๆ ที่ตามมาคือ ก่อให้เกิดรูปแบบการไหลเป็นช่วงๆ (หลินฮุ่ย) (Pulsed Flow) ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อการทำงานของมาตรวัดแบบมาตราถึงแม้มาตรวัดแบบมาตราซึ่งเป็นแบบ PD Flowmeter สามารถทดต่อการไหลแบบ Pulses Flow ก็ตามที ซึ่งจะส่งผลถึงความเที่ยงของมาตรวัดแบบมาตราต่อมา
ในอีกมุมมองของความต้องการถอดเปลี่ยนหรือต้องการให้ใช้งานสอบเทียบมาตรวัดแบบมาตราหลากหลายชนิดหรือหลายตัวแต่ด้วยเกรงว่าระยะหน้าแปลน (Flange to Flange) ของแต่ละมาตรวัดแบบมาตราไม่เท่ากัน ก็เลยติดตั้ง “Flexible Joint” (ดูตัวอย่างในรูปที่ 18) ความคิดนี้ควรแก้ไขปัญหาด้วยการจัดเตรียมตัดเป็นท่อช่วงสั้นๆ (Spool Pieces) แทนดีกว่า..   พึงระลึกเสมอว่าระบบการวัดปริมาตรของเหลว (หรือแม้แต่ก๊าซ) ต้องใช้ระบบท่อโลหะล้วนๆ ทั้งระบบเพราะอยู่ภายใต้เงื่อนไข “ระบบท่อปิด”และ “ของเหลวสถานะเดียว”
 
รูปที่ 18  ตัวอย่างที่ติดตั้ง “Flexible Joint” ด้านทางเข้ามาตรวัดที่ต้องการทดสอบส่งผลให้ที่อัตราการไหลทดสอบค่าหนึ่ง (ภายใต้การรักษาความดันให้คงที่) จะให้ผลการสอบเทียบที่แปลกประหลาด
 
รูปที่ 19  ตัวอย่างท่อช่วงสั้นๆ (Spool Piece) 
 
          ในอีกมุมมองหนึ่ง   เรากำลังทำงานกับระบบการวัดปริมาตรของเหลว   ดังนั้นมันเป็นมาตรวัดปริมาตรของเหลว (Flowmeter).......ครับ มันไม่ใช่.......ปั๊มน้ำมัน (Oil Pump)............. !!!!!!!    Engineer Sense ?????  ห่วง Vibration? หรือครับคุณหลวง... คุณพระ...
          หากใครมีมุมมองต่างออกไปจากนี้ก็นิมนต์วินิจฉัย กันเองนะครับ    ผมพอแค่นี้
 
 
          จาก PI Diagram (รูปที่1) พบว่าบางครั้งใช้ Double Block and Bleed Valves (DBB) หมายเลข DBB102 + Ball Valve หมายเลข BV116  แต่ในบางครั้งใช้ Ball Valve หมายเลข BV125 + Gate Valve หมายเลข GV103   สิ่งนี้ก็แค่กังวลถึงมาตรฐานการออกแบบเพราะเราดู Functions ของอุปกรณ์เลยกังวลแต่ผู้ออกแบบอาจจะมีเหตุผลอื่นใดอีกก็ยินดีรับฟัง (อยากรู้ลักษณะและการทำงานของวาล์วต่างๆ ให้ไปอ่าน "วาล์วควบคุมกับระบบการวัดปริมาตรของเหลว ตอนที่ 3")   จึงตั้งเป็นข้อสังเกตเอาไว้เผื่อในอนาคตมีประเด็นอื่นๆพ่วงเข้ามาหรือเราคิดผิดจะได้แก้ไขปรับปรุงต่อไป  
 
 
ประเด็นที่ 8: Piping Layout & Design
          ระบบท่อตั้งแต่ 2 ½” Air Craft Adapter ที่ตำแหน่งมุมซ้ายบนของรูปที่ 10 จนถึง Double Block and Bleed Valves (DBB) หมายเลข DBB102 และ ระบบท่อตั้งแต่ 2 ½” Air Craft Adapter ที่ตำแหน่งกลางซ้ายมือของรูปที่ 10 จนถึง Pressure Relief Valve หมายเลข PRV 105  การวางแนวท่อบนพื้นที่จำกัดของสถานที่ติดตั้งระบบท่อสำหรับรูปแบบสถานที่ที่เรียกว่า Truck Loading หรือสถานีจ่ายน้ำมันทางรถยนต์คงจะทำการออกแบบที่เรียกว่า Piping Layout & Design มันคงน่าดูและให้ผลออกมาคงมันทุกเม็ด “โก๋แก๋” เพราะแอบเห็นมาบ้าง....ดูแล้วเหนื่อยใจ .... ประเด็นนี้เป็นประเด็นศิลปะและความรู้ทาง Engineering   รวมทั้งเรื่องความสวยงามระบบท่อตลอดจนง่ายต่อการใช้งานระบบรวมไปถึงการบำรุงรักษา   การเข้าถึงสถานที่เมื่อนักผจญเพลิงหากจำเป็นต้องเข้าไปทำงานแล้วสามารถสกัดเปลวเพลิงหรือควบคุมเปลวงเพลิงได้รัดกุม (พูดดูให้อลังการ...เข้าไว้...เท่านั้นเอง ทั้งที่เป็นท่อแค่ 2 เส้นแต่ดันขดเหมือนลำไส้ไปได้  555)  เรื่องนี้มันเยอะและเราไม่ได้มีความรู้มากมายจึงยุติเพียงแค่นี้สำหรับประเด็นนี้นะ  ตั้งเป็นข้อสังเกตบวกข้อกังวลแต่บอกด้วยสามัญสำนึกจากเด็กช่างกลคนหนึ่งว่าการวางแนวท่องานนี้ผลออกมาแบบผมไม่เคยเจอในบรรดา Truck Loading ที่เคยเห็นมาครับ... ถึงว่างานนี้ดึงความสนใจเราได้ จิงๆๆ...โจ้ๆๆ...
 
 
ประเด็นที่ 9ตำแหน่ง Digital Control Valve หรือ Pressure Control Valve ในระบบการวัดปริมาตรของเหลว
          ได้มีข้อคิดเห็นในเรื่องตำแหน่ง Digital Control Valve หรือ Pressure Control Valve ในระบบการวัดปริมาตรของเหลว ในบทความ “กรณีศึกษาการออกแบบ และ/หรือ การก่อสร้างระบบการวัดปริมาตรของเหลวปิโตรเลียมทางรถยนต์ (Case Study – Considerations and Perspectives : Dynamic measuring systems for liquids other than water - Truck Loading)” ตอนก่อนหน้านี้ไว้แล้วไปอ่านอีกครั้งครับ ส่วนถ้าเข้าใจความคิดเห็นดังกล่าวแล้วก็ไม่ต้องอ่าน แต่หากมีข้อโต้แย้งก็ชี้แจ้งบอกกล่าวมาหาก ผิดก็จะได้แก้ไข   แต่ขอสรุปว่าตำแหน่ง Digital Control Valve หรือ Pressure Control Valve ในระบบการวัดปริมาตรของเหลวควรอยู่ด้านออกมาตรวัดปริมาตรของเหลวและไม่ควรมีระบบท่ออื่นใดมาแทรกกลางระหว่างเรา...อย่างเด็ดขาด    เพราะมันเป็นงานพื้นๆของระบบควบคุมแบบ Feedback Control
 
ทั้งนี้เพราะได้บอกกล่าวไว้ในตอนต้นๆ ของกรณีศึกษาที่แล้วนะครับว่านี้คือการทำความรู้สะสมทิ้งไว้กับงานชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมายของราชอาณาจักรไทย...... ส่วนพูดก็ไม่เชื่อ......เตือนก็ไม่ฟัง.......หวังวิ่งเต้น ว่าร้าย (กระผม) อย่างเดียว... นะขอรับ?......... ก็ทำได้...ก็ผมมันแค่หมาเฝ้าบ้าน (ราชอาณาจักรไทย)  นั้นหมายถึงบ้านพวกคุณด้วยเช่นกัน จบงานในหน้าที่ไปหนึ่งงาน     เข้าใจตรงกันนะ........
เอาเท่านี้ก่อนครับ ........................จบ................. สาธุ
 
 
 
ชั่งตวงวัด; GOM MOC
นนทบุรี
7 มิถุนายน 2565

 



จำนวนผู้เข้าชม : 1150