สาระน่ารู้ ชั่งตวงวัด

เล่าสู่กันฟัง 5

 

เล่าสู่กันฟัง 5

 
 
ดูเหมือนวันเวลาจะผ่านไปรวดเร็ว หรืออาจช้าไปก็ขึ้นอยู่กับแต่ละบุคคล   ช่วงที่เรามีความสุขก็ดูเหมือนว่าเวลามันเดินเร็วเสียเหลือเกิน หรือบางคนมีงานทำล้นมืออยากทำอะไรที่ช่วยแก้ปัญหาชีวิตประชาชนให้ได้มากที่สุดแต่เวลามันมีน้อยเหลือเกินที่จะทำ บางคนก็ตื่นขึ้นมา งง…. ว่าจะทำอะไรกันบางในวันนี้ วันนี้จะลอกความคิดใครไปประยุกต์เป็นผลงานได้บ้าง   หรือตื่นขึ้นมา เอ้า....เราเกษียณอายุราชการแล้วหรือนี้  ยังไม่ได้ทำอะไรเลย.... ก็ว่ากันไป    มาพูดถึงบทความ “เล่าสู่กันฟัง 5”    ถือเป็นตอนที่ 5 ที่ต่อเนื่องและลากยาวมาหลายปีหากนับจาก “เล่าสู่กันฟัง 1” ตัวผู้เขียน (ผู้จิ่มคีย์บอร์ด) เองก็ไม่แน่ใจว่าจะจบตอนที่เท่าไหร   แต่อย่างไรถือเสียว่าเป็นการสื่อสารขององค์กรชั่งตวงวัดและประชาชนชาวไทยภายใต้ราชอาณาจักรไทยเท่าไหรก็เท่านั้น ...มันเป็นเช่นนั้นเอง... เรื่องที่จะเขียนหรือจะเรียกว่าบ่นให้ท่านฟังก็ได้หรือจะเรียกกล่าวว่าเสนอและขายความคิดทิ้งไว้ก็ได้ หรือให้ถือเสียว่าพูดในทัศนะมุมมองของผู้จิ่มคีย์บอร์ดถูกบ้างผิดบ้างแคบบ้าง หรือจะเรียกว่า..... ก็ถือเสียว่าเป็นเรื่องปลายเปิดให้ทุกคนถกกันต่อไปเล่นๆ หากอยากกระทำ แต่หากไม่สบอารมณ์ก็ถือว่าปล่อยมันผ่านไปอย่าถือสาเป็นอารมณ์ให้เราท่านต้องขุ่นมั่วใจทั้งนี้ได้พยายามมองอย่างอินทรีย์ทำตัวเหมือนหนูแล้ว ผลออกมาเป็นมุมมองนกกระจอกทำตัวเหมือนมดแดงไปเพี้ยนไปก็อย่าถือสา แต่สำรวจใจแล้วว่ายังคงรักษาจิตที่เป็นกุศลอยู่
 
 
ตลาดกลางเครื่องชั่งตวงวัด
           ประสบการณ์ชีวิตในบางช่วงเมื่อตอนเด็กๆ เมื่อดูทีวีก็จะรำคาญโฆษณามากๆที่มาคั่นรายการที่เรากำลังดู จนเวลาผ่านไปได้ยินอาจารย์ท่านหนึ่งจำชื่อไม่ได้ท่านได้บอกถึงความสำคัญว่า “โฆษณา” มีประโยชน์อย่างไร และเราก็จำไม่ได้หมดว่ามันมีประโยชน์อย่างไรแต่มีข้อหนึ่งที่มันแทงเข้ามาในกะโหลกที่เริ่มหนาขึ้นในปัจจุบันของเราให้ยั้งคิดและชอบคำตอบของอาจารย์ท่านนั้นว่า   การมีโฆษณาทำให้เรารู้ว่าในโลกนี้มีสินค้าและบริการอะไรบ้างและถ้าหากเรารู้ว่ามันมีสินค้าและบริการใดในโลกนี้ เราจะได้ประโยชน์หรือมีประโยชน์ต่อเราในการเลือกสินค้าและบริการที่ดีที่สุดสำหรับแก้ไขปัญหาชีวิตของเราให้ดีที่สุด หลังจากนั้นพอเจอโฆษณาเมื่อไหร่หากผมเคยได้ยินโฆษณานั้นมาแล้วหรือดูโฆษณานั้นมาแล้วผมก็กดไปดูช่องอื่นทันทีครับ.......   และพออายุมากขึ้น   ไม่ว่ามีโฆษณาอะไรเข้ามาผมก็กดไปดูช่องอื่นหรือหมุนคลื่นวิทยุไปฟังรายการอื่นหรือไปเปิดหน้าเว็ปไซด์อื่นทันทีครับ....   เพราะผมเข้าใจว่าโฆษณามีประโยชน์อย่างไรแล้วสิครับ
           เช่นเดียวกันจากประสบการณ์ของเด็กต่างจังหวัด การเข้าถึงสินค้าและบริการหรือทุนหรือเข้าถึงยารักษาโรค เข้าถึงระบบการศึกษาที่ดี เข้าถึงความยุติธรรมในสังคม...ฯลฯ มันยากมากน้อยกันไปตามวันเวลาและสถานะสังคม    ที่ประทับใจตอนวัยเรียนก็คือ “หนังสือ” ครับ หนังสือเรียนเป็นเรื่องที่หาได้ยากมีเงินก็ซื้อไม่ได้กว่าเราจะได้หนังสือเรียนมันก็จะสอบไล่ปลายภาคแล้ว  แต่หนังสือกวดวิชาที่แพงๆมันมีเยอะแยะไปเสียหมดเด็กบ้านนอกๆอย่างเราจะเอาเงินที่ไหนไปซื้อหนังสือ เอาเงินไปเติมน้ำมันรถเครื่องไว้ร่อนไม่ดีกว่าหรึก  พูดกันง่ายๆเราก็เรียนแบบไม่มีหนังสือเรียนไปเกือบทั้งเทอมส่วนจะให้ไปถ่ายเอกสารอย่างที่คนหลายคนคิดนั้น ตอบได้เลยครับในสมัยผมเรียนตอนนั้นมันยังไม่มีเครื่องถ่ายเอกสารครับมีแต่เครื่องโรเนียน แต่ลูกคนรวยเขาก็สั่งให้ญาติในกรุงเทพซื้อหนังสือส่งมาให้สบายไป   ชีวิตก็เป็นอย่างนี้หละครับ... ส่วนเรื่องความยุติธรรมในสังคมไม่ต้องพูดถึงเดียวมันจะไม่ใช่เรื่อง ชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมาย (Legal Metrology) มันจะกลายเป็นเรื่องปัญหาทางโลกแตกไปเสียเปล่าๆ    ด้วยเหตุนี้คำว่า “การเข้าถึง” สินค้าและบริการ หรือระบบสาธารณสุข .. ยารักษาโรค และ ฯลฯ จึงเป็นเรื่องสำคัญและจำเป็น
           จาก 2 ย่อหน้าถือเป็นปฐมบทน่ะครับ   ย่อหน้าที่ 3 จะเป็นเรื่องอะไรต่อดีละในฐานะที่เป็นเด็กต่างจังหวัดอีกเช่นเคย  ส่วนท่านที่อ่านอยู่หากเป็นเด็กกรุงเทพฯ แต่กำเนิดพอมีความคิดอะไรหรือเปล่าครับ ความคิดที่เรามีในฐานะเด็กต่างจังหวัดอีกข้อหนึ่งคือ “การรวมกลุ่ม” ของคนที่มีอำนาจต่อรองในสังคมต่ำ   จะอยู่ในรูปของสหกรณ์ฯ หรือสมาคมฯ หรือชมรมฯ หรืออะไรก็ตามแต่ทั้งนี้และทั้งนั้นไม่รวมถึงแก๊งสารวัตร์ยักษ์ แก๊งปีศาจปากแดง แก๊งเด็กช่างกลบิดาทุกสถาบัน น่ะครับอันนี้ไม่เกี่ยวกับเนื้อหาสาระในที่นี้ การรวมกลุ่มของผู้ผลิตเงาะเป็นสหกรณ์   การรวมกลุ่มของผู้ผลิตน้ำนมโค และฯลฯ หรืออยากเป็นสมาคมคนรักกาแฟก็สุดแล้วแต่ หากมันจะช่วยให้มีอำนาจการต่อรองในทางการตลาด การสร้างมาตรฐานสินค้า การสร้างการแข่งขันกันทางการค้าระหว่างการรวมกลุ่มที่มีผลผลิตชนิดเดียวกัน ช่วยลดต้นทุนการดำเนินการในหลากหลายรูปแบบ เช่นต้นทุนปัจจัยการผลิต ต้นทุนการขนส่ง   อย่างเช่นในกรณีของสินค้าข้าวเปลือกผมจำไม่ได้ (ขอให้นับว่าผมเป็นคนขี้ลืม) ว่าไปอ่านงานวิจัยที่ไหนสักที่หนึ่งของบุคคลที่จบ Ph.D. ได้เขียนไว้ว่าต้นทุนการขายข้าวเปลือกของประเทศไทยในส่วนของต้นทุนการขนส่งข้าวเปลือกพบว่าสูงถึงประมาณ 17% เมื่อเทียบกับกับต้นทุนทั้งหมด เพราะเราใช้การขนส่งทางล้อและถนน   เราไม่ใช้การขนส่งทางล้อและรางอย่างเช่นประเทศเยอรมนี หรือญี่ปุ่น แต่วันนี้ราชอาณาจักรไทยทำรถไฟรางคู่ก็สาธุด้วยคนแม้นมันจะช้าไปมากกว่า 50 ปีก็ตามก็เพราะเราไม่รับและพัฒนารถไฟตามวิสัยทัศน์ของรัชกาลที่ 5 มันก็เป็นอย่างนี้ แต่หากมีรถไฟรางคู่แล้วอย่าเอาไปใช้ขนผักอย่างเดียวล่ะขนข้าวเปลือก เงาะ ลำไย หอม กระเทียม ทุเรียน ยางพารา ลองกอง มันสำปะหลัง ข้าวโพด ชา กาแฟ มะพร้าว ไข่ไก่ไข่เป็น เนื้อหมู เนื้อไก่ และฯลฯ เอาให้ครบพืชเศรษฐกิจ 24 ชนิด Sensitive Lists ของสินค้า AEC เลยน่ะท่าน (มั่วไปเรื่อย ๆ อย่าเชื่อผมน่ะเรื่อง AEC ความรู้น้อยมาก พอๆกับการทำงานและความคืบหน้าความร่วมมือในกลุ่มประเทศ ASEAN)   ดังนั้นการรวมกลุ่มมันจึงช่วยกลุ่มอาชีพที่มีต้นทุนการต่อรองในเศรษฐกิจสังคมของราชอาณาจักรไทยต่ำๆๆ ให้สามารถมีต้นทุนการต่อรองในสังคมสูงขึ้นๆๆได้บ้างไม่มากก็น้อย   แต่หากสูงขึ้นจนกระทั่งสามารถสั่งนักการเมืองให้เด็กตนเองเป็นอธิบดีหรือเป็นปลัดได้ก็ขออย่าทำเลยเพราะหากทำไปท่านก็จะรวยยิ่งๆขึ้นๆๆๆๆๆๆ ไปอีก พวกท่านไม่กลัวว่ารวยมากไปหรึก... ผมยังกลัวรวยมากไป... ถึงจนมาตลอดเวลารับราชการ...
           งานด้านชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมาย (Legal Metrology) หากเราศึกษาพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466  โดยเฉพาะกฎกระทรวงฯ ที่เป็นแกนหลักในการบังคับใช้กฎหมายดังกล่าว หรืออาจเรียกเข้าใจง่ายๆว่ากฎกระทรวงฉบับเทคนิคฯ ประจำพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 เราจะพบว่าเป็นกฎกระทรวงฯที่ทันสมัยมากๆๆ เพราะตัวเราสังเกตพบว่ามีวงเล็บภาษาอังกฤษกำกับศัพท์ทางเทคนิคไว้พร้อม อีกทั้งเป็นเรื่องของเครื่องชั่งตวงวัดที่เป็นเรื่องราวของโลกที่ทันสมัยเมื่อเทียบกับในเวลาสมัยนั้น ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพราะว่าราชอาณาจักรไทยในสมัยนั้นไม่มีขีดความสามารถผลิตเครื่องชั่งตวงวัดดังกล่าวใช้ได้ต้องนำเข้าเครื่องชั่งตวงวัดดังกล่าวเข้ามาเพื่อใช้งานจึงขอเรียกว่าเป็นเครื่องชั่งตวงวัดในเทอมของ “Global”   และในขณะเดียวกันภายในเนื้อกฎกระทรวงฯ ดังกล่าวในสมัยนั้นยังครอบคุลมไปถึงเครื่องตวงที่มีปริมาณความจุเป็นทะนาน สัดหลวง และฯลฯรวมทั้งเครื่องชั่งตวงวัดชนิดอื่นๆ อีกหลายชนิดซึ่งเป็นเครื่องชั่งตวงวัดที่สามารถผลิตได้ภายใต้ราชอาณาจักรไทยจึงขอเรียกเป็นเครื่องชั่งตวงวัดในเทอมของ “Local” ซึ่งนั้นแสดงให้เห็นถึงความยืดหยุ่น การยอมรับเทคโนโลยี การปรับตัวของสังคมที่เรียกว่า “Adapt” ไม่ใช่ “Adopt” และอีกหลากหลายเรื่องขอละไว้ทีนี้ ส่วนหากท่านอยากนึกหรือคิดอะไรสนุกต่อไปก็ไม่ว่ากัน   แต่การอยู่ร่วมกันของตัวแทนที่เรียกว่า “Global” และ “Local” ต้องอยู่ร่วมกันได้พึ่งพากันได้ไม่ใช่แข่งขันเข็นฆ่ากันในเชิงธุรกิจให้ล้มตายหายจากไป ช่วยกันรักษาผลประโยชน์ในภาพรวม   แต่อาจด้วยหลักคิดทำธุรกิจหรืออะไรก็แล้วแต่ทำให้การ “รวมกลุ่ม” ที่ไม่สะท้อนความสามัคคีและกลมเกลียวกันจึงทำให้การรวมกลุ่มของกลุ่มคนหรือกลุ่มธุรกิจ “Global” และ “Local” ไปกันไม่ได้ต่างใส่รองเท้า Converse ทางใครทางมัน    กลุ่ม Global รวมตัวกันได้บ้าง ส่วนกลุ่ม “Local” ดูแล้วถ้าไม่มีปัญหาทะเลาะกับข้าราชการชั่งตวงวัดแล้วก็คงจะรวมกลุ่มลงขันทำอะไรด้วยกันเห็นท่าจะยาก   จำได้รางๆว่าเมื่อติดตามอธิบดีกรมทะเบียนการค้าไปดูงานที่ประเทศจีนแผ่นดินใหญ่ทางชั่งตวงวัดจีนได้นำประธานสมาคมชั่งตวงวัดแห่งประเทศจีน (อาจเรียกผิดเรียกถูกก็ช่างมันน่ะ) ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของผู้ผลิตเครื่องชั่งตวงวัดและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องชั่งตวงวัดของประเทศจีน ท่านประธานฯดูเหมือนจะเป็น Prof. Dr. เกษียณอายุจากรั้วมหาวิทยาลัย ทางสมาคมชั่งตวงวัดจีนฯ จะมีบทบาทช่วยงานสนับสนุนภาครัฐเพื่อรักษาผลประโยชน์ของประชาชนชาวจีนในทุกด้านทั้งด้านเทคโนโลยี กฎระเบียบฯในประเทศ กฎระเบียบฯ ระหว่างประเทศ รวมทั้งผลประโยชน์ของผู้ผลิตเครื่องชั่งตวงวัดและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องชั่งตวงวัดเองด้วย   เมื่อกลับมาเมืองไทยคงมีข้าราชการที่อยากได้บ้างจึงไปกระซิบภาคเอกชนที่คงคุยกันรู้เรื่องช่วยดำเนินการจัดตั้งสมาคมชั่งตวงวัดไทยเพื่อเป็นตัวแทนผู้ผลิตเครื่องชั่งตวงวัดภายในราชอาณาจักรไทย แต่พอเวลาผ่านไปช่วงหนึ่งได้รับทราบข่าวแนวปะทะของกลุ่ม “Global” กับกลุ่ม “Local” ไม่สามารถเดินไปด้วยกันต่างใส่รองเท้า Converse  ตามที่กล่าวไว้เบื้องต้นจนถึงวันนี้เราก็ไม่ได้ติดตามข่าวเลยไม่ทราบว่าเรื่องในปัจจุบันเป็นอย่างไร ไม่รู้ในประเทศจีนจะประสบปัญหาดังกล่าวหรือเปล่า?
           จาก “โฆษณา” “การเข้าถึง” “การรวมกลุ่ม” “Global”&“Local” และ ฯลฯ ที่เหนื่อยเกินไปจะพูดไม่ใช่เพราะอะไรสมองมันคงนึกไม่ออกมากกว่า 555   ในฐานะข้าราชการคนหนึ่งในภาครัฐและด้วยการนึกถึงความคิดจาก Dr. Peter Drucker ซึ่งมีหลักคิดเสนอตัวไปยังประชาชนในราชอาณาจักรไทยที่ว่า “เราพอช่วยทำอะไรให้คุณได้บ้าง” (หากเรามีปัญญาและศักยภาพ) ความคิดอยากจัดตั้ง “ตลาดกลางชั่งตวงวัด" หรือ "ตลาดกลางเครื่องชั่งตวงวัด” เพื่อเป็นเวทีให้กับผู้ที่เกี่ยวข้องเครื่องชั่งตวงวัดภายในราชอาณาจักรไทยทุกภาคส่วนได้มาทำกิจกรรมเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับระบบเศรษฐกิจสังคมและความมั่นคงของชาติ อีกทั้งยังเป็น Contact Points ของกลุ่มคนที่มีกิจกรรมเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน หรือเพื่อให้ประชาชนเข้าถึงเครื่องชั่งตวงวัดที่มีคุณภาพสูงมากน้อยตามราคาของเครื่อง หรือคิดลอกเลียนแบบอยากให้เป็นไปตามท่านอดัม สมิทย์ เมื่อสร้างการแข่งขันของตลาดที่สมบูรณ์เพื่อให้สินค้าและบริการนั้นๆ ในตลาดมีคุณภาพสูงขึ้นและสูงขึ้นๆ ในขณะที่มีราคาสินค้าและบริการลดต่ำลงๆ ต่ำลงฯ (ในทางทฤษฎี?) จริงหรือเปล่าผมก็ขโมยเขามาพูดอีกที... อย่าเชื่อผมเลย.... นอกจากนี้หากภายใต้ “ตลาดกลางชั่งตวงวัด” หากมีการส่งเสริมการขายฯ หรือจัดกิจกรรมส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับเครื่องชั่งตวงวัดและสินค้าหีบห่อก็ไม่แปลก วันดีคืนดีชั่งตวงวัดครบรอบอายุจัดตั้ง 100 ปีที่จะมีถึงใน พ.ศ. 2566 ก็แสดงความร่วมมือร่วมใจระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคอุตสาหกรรม ภาคธนาคาร ภาค NGO ภาคเหนือภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ภาคใต้ และภาคสวรรค์ ตลอดจน ภาคฯฯฯฯ (เรื่อยเปื้อย..) จัดงานชั่งตวงวัดของประเทศเสียก็ไม่ว่ากระไรครับ   นอกจากนี้หากเราได้ตลาดกลางชั่งตวงวัดก็ให้กองชั่งตวงวัดจัดตั้ง “หน่วยตรวจสอบให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัด” ในตลาดกลางชั่งตวงวัดไปเลยผู้ผลิต ผู้นำเข้าและผู้ครอบครองเครื่องชั่งตวงวัดไม่ต้องเสียเวลาดำเนินการใดๆ ผลิตหรือนำเข้าเครื่องชั่งตวงวัดได้ขอมายื่นขอตรวจสอบให้คำรับรองเมื่อตรวจสอบให้คำรับรองเสร็จก็ขายเครื่องชั่งตวงวัดเสียที่ตลาดกลางชั่งตวงวัดนั้นแหละไม่ต้องเสียเวลาและเสียค่าขนส่งมากมาย จะได้ถือเสมือนเครื่องชั่งตวงวัดผลิตสดออกจากเตาทุกวันเหมือนขนมปังฟาร์มไทยฯ ว่าไปนั้น ส่วนจะขายปลีกหรือขายส่งเครื่องชั่งตวงวัดดังกล่าวอย่างไรนั้นก็เอาตามจุดคุ้มทุนแต่ละเจ้าของกิจการฯ อีกทั้งเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัดไม่ต้องเสียเวลาเดินทางออกจากร้านอร่อยนั้นไปร้านอร่อยนี้ออกจากร้านอร่อยนี้ไปร้านอร่อยโน้นโน้น 555     หากต้องการเพิ่มเติมบริการชั่งตวงวัดเพื่อสร้างความพึงพอใจทุกระดับประดับใจ ชั่งตวงวัดเราก็ตั้ง “หน่วยบริการตรวจสอบเครื่องชั่งตวงวัด” ที่ประชาชนนำมาขอให้ตรวจสอบความเที่ยงแบบเสียค่าธรรมเนียมน้อยๆ หรือฟรีไปเลยก็ได้ (อันนี้ต้องเหลือบไปมองกฎหมายฯนิดหนึ่งน่ะเพราะมีแต่เสนาบดีกระทรวงฯ เท่านั้นที่มีอำนาจยกเว้นค่าธรรมเนียมฯ) ใครไม่รักชั่งตวงวัดก็ให้มันรู้ไป หรือหากต้องการจัดโปรโมชั่นส่งสริมการขายแบบ Win-Win ทั้งผู้ซื้อและผู้ขายก็จัดรายการ “เครื่องชั่งตวงวัดทนทานที่สุด” เช่นเครื่องชั่ง 6 หรือเครื่องชั่งสปริง เราก็ทดสอบความทนทานด้วยการชั่งน้ำหนักที่ 80% ของพิกัดกำลังเครื่องชั่งจำนวน 10,000 ครั้ง หากผ่านเราก็ให้ “ตราคุณภาพช้างกระทืบโรงเบอร์ 5” หรือ “ชตว. เบอร์ 5” เลียนแบบเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งเป็นโครงการของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฝผ: EGAT)   ในสมัยหนึ่งที่ EGAT ไม่มีปัญญาสร้างโรงผลิตไฟฟ้าได้ทันต่อความต้องการของประเทศ   เลยต้องหาทางลดการใช้ไฟฟ้าทั้งในช่วงที่ Peak Load และไม่ Peak Load แบบที่เรียกว่า Win-Win ทั้งการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฝผ: EGAT) ทั้งประชาชน และผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าในภาคอุตสาหกรรม รวมถึงราชอาณาจักรไทย   อย่างไรหรือครับก็เมื่อเครื่องใช้ไฟฟ้ามีประสิทธิภาพการทำงานสูงขึ้นมันก็กินไฟฟ้าลดต่ำลงทำให้คนใช้เครื่องไฟฟ้าจ่ายเงินค่าไฟฟ้าต่อเดือนลดต่ำลง ยังส่งเสริมประสิทธิภาพในการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าของภาคอุตสาหกรรมก็จะดีขึ้น ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าเองก็ไม่ต้องเสียค่าโฆษณามากมายนักเพราะการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฝผ: EGAT) ยอมเสียค่าโฆษณาและรับประกัน “เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5”   ดังนั้นผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ายี่ห้อหนึ่งอาจผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าชนิดเดียวกันหลายรุ่น แต่ไม่ทุกรุ่นหรอกครับที่ได้เครื่องหมาย “เครื่องใช้ไฟฟ้าเบอร์ 5”   ดังนั้นชั่งตวงวัดหากไปลอกเลียนแบบความคิดคนอื่นเขาก็ต้องลอกมาให้ครบหากคิดการใหญ่ทำ “โครงการน้ำมันเต็มลิตร” แล้วให้ทุกสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ถือยี่ห้อเดียวกันได้รับเครื่องหมายเต็มลิตรทั่วทั้งประเทศ อย่างนี้เค้าเรียกว่า “ลอกการบ้าน” ไม่เก่ง ส่วนสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่ได้เครื่องหมาย “น้ำมันเต็มลิตร” แสดงว่ามันไม่เต็มลิตรละสิ... เวรกรรม... มันเป็นบูมแบอแรงย้อนกลับมายังชั่งตวงวัดว่า อ้าวชั่งตวงวัดไม่ทำหน้าที่กำกับดูแลพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542    เราต้องปรับแก้เป็น “ระบบประกันปริมาณน้ำมันเต็มลิตร” และเป็นขีดความสามารถเฉพาะตัวของแต่ละสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นว่ามีทีมงานที่มีคุณภาพสูงพอที่สามารถบริหารให้ได้ “ระบบประกันปริมาณน้ำมันเต็มลิตร” ซึ่งถือว่าเป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มาตรฐานการบริหารการจัดการเพื่อส่งมอบการบริการแก่ลูกค้าสูงและชั่งตวงวัดจึงส่งเสริมและยอมรับจนให้การรับรองว่าเป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มี "ระบบประกันปริมาณน้ำมันเต็มลิตร"  ส่วนหลักเกณฑ์การตัดสินว่ามีอะไรบ้างสำหรับระบบประกันคุณภาพฯ ดังกล่าวก็ไปคิดกันในรายละเอียดที่ทำให้การกำกับดูแลตามพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ได้ส่งเสริมเกื้อกูลและเป็นไปตามวัตถุประสงค์การตรากฎหมายฉบับนี้   โดยเราไม่ต้องมานั่งเร่งยอดจำนวนสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงว่าต้องเข้าโครงการฯ เพิ่มขึ้นทุก 20% ในแต่ละปี   อ้าวเมื่อครบ 5 ปี แสดงว่าสถานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทุกสถานีฯ ทั่วราชอาณาจักรไทย “เต็มลิตร” หมดแล้วก็ยุบกองชั่งตวงวัดได้แล้วสิครับ %%#%&*4 555555 
           อ้าวเตลิดไปไกลเกิน   สติ ครับสติดึงกลับมา    ส่วนรูปแบบบริหาร “ตลาดกลางชั่งตวงวัด” มีความเห็นว่าควรให้เอกชนดำเนินการบริหารเป็นกลุ่มนิติบุคคลไปเลย   หลวงอย่าบริหารเลย   หลวงบริหารงานแบบนี้มีแต่เจ๋งๆๆๆ และเจ๋งๆๆๆๆๆ   ทำไมหรึก.. ผมว่าข้าราชการที่รับราชการเกิน 15 ปี เข้าใจดี.... พูดไปคนเขาจะเกลียดเอา (อยากให้คนรักอะ)   เอาตัวอย่าง “ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า” สิ ตั้งๆๆขึ้นมาแล้วบริหารไปบริหารมา... วันนี้ยุบแล้วจ๋า.... โชคดียังได้โต๊ะประชุมเหลือใช้จากหน่วยงานดังกล่าวมาใช้งานไม่เช่นนั้นต้องเอาโต๊ะตัวเล็กตัวน้อยมาต่อให้ยาวๆกว้างๆพอประชุมได้เสมือนคันนาของชาวมคธที่ปรากฏบนจีวรพระสงฆ์เลยก็ว่าได้ 5555
หลวงเพียงลงทุนหรือสนับสนุนส่วนจะเป็นที่ดินหรือตัวอาคารฯหรืออะไรนั้นก็ให้ศึกษากฎระเบียบกันต่อไป ไม่เช่นนั้นก็ให้เอกชนทำไป 100% ก็ไม่ว่ากัน หลวงก็สนับในรูปแบบอื่นๆ เช่นจัด Events เอาใครมาเต้นๆๆ เปิดงาน ถ่ายรูปแช็บๆๆ ก็เอาไปเป็นผลงานได้แล้ว    ส่วนเรื่องภายหลังเป็นอย่างไรเราก็ลืมๆๆเสียบ้างมันเป็นร้อยๆๆ โครงการฯจำไม่หมดหรอกว่าสำเร็จไปกี่โครงการฯ เอาฮ่าๆๆๆๆ
“ตลาดกลางชั่งตวงวัด” ในส่วนตัวถือว่าเป็นดัชนีชี้วัดถึงมูลค่าเศรษฐกิจ ความกลมเกลียวสามัคคีระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ภาคประชาชนที่จะสร้างเอาไว้ให้กับแผ่นดิน   เมื่อมีแล้วมันมีเรื่องให้เล่นทั้งทางด้าน Marketing, Technology, Sustainability, Education, E-Commerce (ขอเล่นภาษาต่างด้าวบ้าง รู้สึกมันเท่ห์) and ฯลฯ
           แต่รู้ว่า “ฝัน” ไปหนึ่งตื่นๆ.....
 
 
 
1 ศูนย์ฯ 1 หลักสูตรชั่งตวงวัด
             เดิมทีในการออกแบบศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคทั้ง 4 ภาคนั้น ตอนเรานั่งคิดออกแบบศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคนั้น ได้นั่งตรึงตรองบทบาทหน้าที่ของชั่งตวงวัด นำข้อมูลและรูปภาพฯจากการได้ไปดูงานด้านชั่งตวงวัดต่างประเทศ การอ่านเอกสาร OIML ที่เป็นแนวทางการออกแบบอาคารชั่งตวงวัด และฯลฯ ข้อมูลในตอนนั้นถ้าจำไม่ผิดน่าจะมีเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัดจะต้องอยู่ร่วมกันมีกำลังเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัดประมาณ 15 - 20 นาย   ประกอบกับการสร้างศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคนั้นเป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต้องปฏิบัติตามโครงการ Upgrading Legal Metrology in Thailand ที่รัฐบาลประเทศสหพันธรัฐเยอรมนี โดยมีหน่วยงานมาตรวิทยาของชาติคือ PTB เข้ามาช่วยเหลือ เพราะถ้าหากไม่สร้างศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคฯสัก 1 ศูนย์ฯ แล้วเราก็ไม่สามารถได้รับการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์รวมถึงแบบมาตราชั่งตวงวัดมูลค่าประมาณ 16 ล้านบาทในสมัยนั้น อันนี้จึงจำเป็นต้องสร้าง ชั่งตวงวัดต้องตั้งงบประมาณลงทุนไปเฉพาะตัวอาคารประมาณ 11 ล้านบาท ขอเน้นว่างบก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารจริงๆ ส่วนค่าก่อสร้างรั้วรอบขอบชิด.. ไม่มี, ค่าป้ายชื่อศูนย์ฯ.. ก็ไม่มี, ค่าเสาธงชาติ.. ก็ไม่มี, ค่าเดินไฟฟ้า 3 เฟสพร้อมหม้อแปลงไฟฟ้า... ก็ไม่มี, ค่าระบบน้ำใช้งาน... ก็ไม่มี, และค่าก่อสร้างบ้านที่พักข้าราชการ... ก็ไม่มี และจำไม่ได้อื่นๆ อีก... ก็ไม่มี แต่สุดท้ายการดำเนินงานก็ช่วยทำกันไปทำกันไปเรื่อยๆ จนสำเร็จจนเปิดใช้งานศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคเหนือ (จ. เชียงใหม่) จนได้   งบประมาณฯ มันเข้าถึงยากจริงๆ..เพราะราชอาณาจักรไทยไม่รวย เงินมีน้อยจึงต้องแบ่งๆกันไป ดังนั้นหากหน่วยงานใดได้งบประมาณง่ายๆ หรือได้เยอะๆ ถือว่าท่านโชคดีที่ได้มีโอกาสในชีวิตที่ช่วยพัฒนาให้แผ่นดินพ่อแม่ของท่านเจริญก้าวหน้าสถาพรส่งมอบต่อรุ่นลูกรุ่นหลานโดยมันไม่ด่าท่านเรา
 

 
 
 
อธิบดีกรมทะเบียนการค้า : นายนรวัฒน์ สุวรรณ (กลาง)
 
             ส่วนการเลือกจังหวัดที่จะก่อสร้างศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคเหนือนั้น ก็ถือโอกาสเล่าเรื่องนิทานส่งมอบต่อคนรุ่นต่อๆ ไปเพื่อเป็นบทเรียนเชิงการบริหารงานในระบบราชการแบบไทยๆที่ต้องเรียนรู้เท่าที่จำได้ ตอนนั้นเจ้านายบอกว่าต้องเป็นจังหวัดที่มีสนามบินเพื่อเจ้านายเดินทางเป็นตรวจงานที่ศูนย์ฯ จะได้สะดวกสะบายๆ บินไปแบบ Smooth as Silk ด้วยการบินไทย ดังนั้นเวลาเจรจาความเมืองใดๆ ภายใต้บรรยากาศสะล้อซ้อซึงมันอำนวย Feeling ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี  ก็ถือว่าเป็นวิสัยทัศน์ของท่านอธิบดีในสมัยนั้นท่านเลือกก่อสร้างศูนย์ฯที่ จังหวัดเชียงใหม่ แทนที่เลือกก่อสร้างศูนย์ฯ ที่จังหวัดลำปาง   แม้ที่ทางเดิมที่จังหวัดเชียงใหม่เคยเป็นโรงเรียนประถมร้างที่ห่างจากตัวเมืองไปหลายกิโลเมตรและเค้าว่าผีทหารญี่ปุ่นที่เค้ายึดครองสถานที่ดังกล่าวนั้นเคยถูกใช้โดยทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ผีมันจะดุก็ตามที
             ในการออกแบบแต่ละศูนย์ฯ ในตอนเริ่มต้นนั้นเราเพียงมุ่งมั่นทำให้ศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคเกิดเท่านั้นแต่ยังตั้งหลักได้ไม่ค่อยได้ชัดเจนมากนักความนึกคิดยังไม่ตกผลึกมาก พอผ่านไปสักระยะได้มีโอกาสไปดูงานดูตัวอย่างจากประเทศที่พัฒนาแล้ว และอ่านเอกสารเพิ่มเติม การ Reengineering ก็มาแรง การผ่าตัดองค์กรเพื่อให้มีหน้าที่ตรงกับ Functions หลักๆ ก็น่าสนใจ การกระจายอำนาจและงบประมาณแผ่นดินจากส่วนกลางไปยังส่วนท้องถิ่นตามร่างรัฐธรรมนูญฯ พ.ศ. 2540 ก็มาแรง   ดังนั้นเมื่อเริ่มออกแบบศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ. ขอนแก่น) ซึ่งเป็นภาคที่มีเครื่องชั่งบรรทุกรถยนต์มากที่สุดทำให้เกิดความคิดตกผลึกถึงบทบาทหน้าที่หลักของศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคฯ ที่สำคัญ 3 หลักคือ
1.        ทำหน้าที่เสมือนส่วนกลางในการตรวจสอบให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัด (Verification), การออกสำรวจตรวจสอบเครื่องชั่งตวงวัดและสินค้าหีบห่อ (Inspection) และงานด้านบริหารงานจัดการชั่งตวงวัดทั่วไป เช่นการจดทะเบียนฯผู้ประกอบอาชีพชั่งตวงวัด
2.        ทำหน้าที่เสมือนส่วนกลางในการกำกับและรักษดูแลแบบมาตราชั่งตวงวัด (Calibration) ของทั้งภูมิภาคนั้นๆ เพื่อใช้ในการกำกับดูแลเครื่องชั่งตวงวัดตามอำนาจและหน้าที่ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 (เพราะการก่อสร้างบางศูนย์ฯนั้นกระทำก่อน ปี พ.ศ. 2542)  และพระราชบัญญัติแบบมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ตามลำดับ
3.        ทำหน้าที่เสมือนส่วนกลางในการอบรมให้ความรู้บุคคลากรชั่งตวงวัดทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน ตลอดจนประชาชนทั่วไป (Training Centers) ซึ่งในตอนนั้นมันมีอาสาสมัครชั่งตวงวัด (อส.ชว.) และค่อยๆๆ ตายไปอย่างเช่นหลายๆโครงการในระบบราชการ
 
             ในส่วนของการทำหน้าที่ Verification และ Inspection เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลงานราชการตามพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 นั้น ตามแผนเราคาดว่าจัดให้มีจำนวนกำลังเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัดประมาณ 15 - 20 นาย เพื่อให้มีขีดความสามารถที่ส่งกำลังคนหรือเคลื่อนย้ายกำลังคนได้คล่องตัวทั่วทั้งพื้นที่ภาคเหนือ   การทำงานปริมาณมากเมื่อเทียบกำลังคนน้อยอย่างชั่งตวงวัดจำเป็นต้องกระจายและแบ่งสรรปั่นส่วนทั้งงบประมาณและกำลังคนตามเนื้องานในแต่ละช่วงระยะเวลาและกิจกรรมทางเศรษฐกิจสังคมของภูมิภาคที่ศูนย์ฯตั้งประจำอยู่ หากไม่เข้าใจก็เรียกแบบชาวบ้านๆ ว่า “การลงแขก” (ลงแขกเพื่อกระทำสิ่งดีงามนะ อย่าคิดเลยเถิดไปเรื่องไม่ดี) มีการจัดสรรพื้นที่จัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์ แบบมาตรา รถยนต์ทุกรูปแบบเพื่อปฏิบัติงานภายในแต่ละศูนย์ชั่งตวงวัดฯ การสร้างห้องปฏิบัติการฯเพื่อทำหน้าที่ดูแลรักษาและถ่ายทอดแบบมาตราของตนเองภายในศูนย์ชั่งตวงวัดฯ ในระดับที่เหมาะสม   รวมทั้งให้มีขีดความสามารถดูแลแบบมาตราของสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขตฯ ประจำภาคเหนือทั้งหมด โดยสำนักงานเขตฯไม่ต้องขับรถยนต์เข้ามาในส่วนกลางเพื่อตรวจสอบแบบมาตราเพราะเท่าที่ทราบสำนักงานเขตฯ เมื่อไม่ว่างหรือสะดวกเข้ามาสอบเทียบแบบมาตรานั้นหมายถึงแบบมาตราที่ไม่เคยได้รับการสอบเทียบในระยะเวลาเหมาะสม ดังนั้นการที่ชั่งตวงวัดเรานำแบบมาตราไปกำกับดูแลตามกฎหมายอาญาอย่างเช่น พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542   มันมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างรุนแรง อย่าทำเป็นเล่นไป    พอนึกเรื่องนี้ก็ขอไถลไปยังเรื่องหนึ่งที่เข้ามาสู่สมองที่อยากเล่าให้ฟัง    เราเคยเข้าประชุมครั้งหนึ่งที่มีการถกเถียงระหว่างกระทรวงเกษตรฯ และกระทรวงพาณิชย์   จนมาถึงจุดที่ทั้ง 2 กระทรวงนี้แบ่งเขต หรือขีดเส้นแบ่งความรับผิดชอบชัดเจนในวันนั้น (ส่วนวันนี้เปลี่ยนแปลงไปหรือยัง เราไม่ทราบได้) เส้นแบ่งเขตพรมแดนความรับผิดชอบระหว่าง 2 กระทรวงฯ คือ การผลิตสินค้าเกษตรทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ หรือจนเก็บเกี่ยวถือเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงเกษตรฯ   หลังจากการเก็บเกี่ยวให้ถือเป็นความรับผิดชอบของกระทรวงพาณิชย์   เราก็นั่งฟังจนเหนื่อยเพราะไม่ค่อยรู้เรื่องแต่ตั้งข้อสงสัยในใจถึงความกินดีอยู่ดีของประชาชนเมื่อข้าราชการทั้ง 2 กระทรวงเถียงกันหรือวางแผนทำงานกันว่าจะเพาะปลูกอะไรที่มีราคา ถ้ากระทรวงเกษตรไม่ถามกระทรวงพาณชย์ว่าตลาดต้องการผลผลิตเกษตรอะไร คุณภาพอย่างไร มันจะคุยกันรู้เรื่องหรือ ? หรือจะให้ถามสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ?   ประเด็นอีกเรื่องหนึ่งคือเมื่อผลิตสินค้าเกษตรแล้วจะเอาไปขายที่ไหน หาตลาดกันวุ่นวาย ต้องไม่ให้สินค้าเกษตรเสียหาย  สินค้าเกษตรออกมาล้นตลาด  การเก็บรักษาสินค้าเกษตรอย่างไรเพื่อยืนอายุการจัดเก็บเพื่อเพิ่มอำนาจการต่อรองราคา ฯลฯ  จากนั้นก็จบ   ออ...ยังครับ   ต้องเก็บผลงานกันเล็กน้อย ด้วยการจัด Event ให้มีการเชิดสิงโต ตัดริบบิน ถ่ายรูปแชะๆๆ   ลงข่าวกันหน่อย เอาช่องหลากสีหรือช่องมีแต่ละครกับเกมส์โชว์ดี ครับประชาสัมพันธ์ครับ!!!   ในใจเราก็ถามขึ้นมาทันใดว่ามันไม่จบหรอกท่านผู้มียศถาบรรดาศักดิ์สูง   มันอยู่ที่สินค้าที่ท่านหาตลาดได้ ส่วนจะประกันราคาหรือจำนำราคาแบบไหนได้ราคาดีก็ว่ากันไป จากนั้นเกษตรกรผู้ผลิตสินค้าเกษตรได้เข้าไปอยู่ในตลาดที่เสรีและเป็นธรรมหรือไม่ โดยเฉพาะตลาดที่มีอยู่นั้นมีศักยภาพ ประสิทธิผล และประสิทธิภาพเพื่อประกันว่าสามารถแปลงสินค้าและบริการของสินค้าเกษตรในตลาดนั้นให้ออกเป็นตัวเลขจำนวนเงินเพื่อเข้ากระเป๋าประชาชนถูกต้องอย่างเป็นธรรม เที่ยงธรรมจริงหรือไม่เพื่อความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน   เพราะมีหลายตลาดที่ให้ราคาต่อหน่วยน้ำหนักสูงแต่มีศักยภาพ ประสิทธิผล และประสิทธิภาพเพื่อประกันว่าสามารถแปลงสินค้าและบริการของสินค้าเกษตรในตลาดต่ำมาก เช่นให้ราคาสินค้าเกษตรสูง 120 บาทต่อกิโลกรัม เกษตรกรนำสินค้าเกษตรไปขาย 10 กิโลกรัม ตามหลักยุติธรรมของฟ้าเกษตรกรต้องได้รับเงิน 1,200 บาท   แต่เมื่อชั่งน้ำหนัก แต่เมื่อเอาเข้าจริงๆ ได้รับเงินเพียง 120 บาท x 9 กิโลกรัมเอง   คุณท่านจะว่าอย่างไร.........ขอรับ เวรกรรม.... หากเป็นตลาดที่ไม่เป็นธรรม สินค้าเกษตรมีตลาดที่ระบายสินค้าได้แต่หากเป็นเช่นที่ว่าถือว่ากระทรวงพาณิชย์ล้มเหลวในขั้นตอนสุดท้ายและท้ายสุดก็คือ “ตอนจ่ายเงิน” ค่าสินค้าเกษตรกรครับ ????   และเนี้ยแหละคืองานชั่งตวงวัดที่ต้องเก็บกวาดให้เรียบร้อยอีกทั้งต้องทำงานด้วยความซื่อสัตย์ ติดทองหลังพระกันให้ดีแต่ต้องมีหลักประกันจากระบบราชการที่ดีมากเพียงพอด้วยเช่นกันเพราะมันเป็นแนวปะทะระหว่างระบบนายทุนกับระบบราชการอย่างชัดเจน   ไม่เช่นนั้นชั่งตวงวัดก็ไม่อยากมานั่งตบยุงโดยดองหมักเค็ม แถบโดยปล่อยข่าวว่าชั่วร้ายเลวร้ายแต่ไม่เห็นเรื่องส่งไปยัง ปอท/ปปช แต่อย่างใด.... ผลก็เป็นอย่างที่เห็นๆอยู่ในใจคนหลายคนทั้งที่รับราชการและที่เกษียณอายุราชการไปแล้วว่าชั่งตวงวัดจะครบอายุ 100 ปีในปี พ.ศ. 2566  นี้แล้ว ........   เห็นอะไรบนเส้นทางข้างหน้ากันหรือเปล่าครับ ???     ผมสายตาสั้นครับ...ไม่ได้ใส่แว่น....
             นอกประเด็นไปหน่อยเดียวพอให้คนเกลียด   กลับมาเข้าเรื่องต่อครับ    การออกแบบให้ศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคในแต่ละศูนย์ฯ นั้นให้มีห้องประชุม 2 ห้อง ห้องแรกใช้ประชุมของเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัดหรือกิจกรรมราชการที่เกี่ยวข้อง ห้องประชุมใหญ่อีกห้องรองรับจำนวนคนได้ประมาณ 60 – 100 คน ก็เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์จากอาคารศูนย์ฯให้มากที่สุดสามารถใช้ในการจัดฝึกอบรมตามการปฏิบัติราชการชั่งตวงวัดที่เกี่ยวข้องกับประชาชนคนหมู่มาก การลดค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฯเมื่อเทียบกับออกไปจัดการฝึกอบรมฯตามโรงแรม รีสอร์ท อีกทั้งยังถือเป็นการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในต่างจังหวัดรู้จักสถานที่ทำงานชั่งตวงวัดไปพร้อมๆ กัน สามารถแสดงศักยภาพสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน แต่อย่างไรก็ตามการจัดฝึกอบรมฯที่ศูนย์ชั่งตวงวัดฯ คงไม่หรูหราเมื่อเทียบกับการจัดฝึกอบรมตามโรงแรมหรอกครับแต่หากเจียมตัวว่าราชการไม่รวยมีงบประมาณแผ่นดินอย่างจำกัดดังนั้นต้องดำเนินงานให้ได้ผลสัมฤทธิ์ของงานให้มากสุดเมื่อเทียบกับงบประมาณแผ่นดินที่ดำเนินการไป ในความเห็นส่วนตัวเราว่ามันคุ้มและเป็นเศรษฐกิจพอเพียง  หากเบื่อๆ ก็ไปจัดที่โรงแรมสักครั้งก็พอเข้าใจได้ นอกจากนี้หากต้องฝึกอบรมภาคปฏิบัติฯ ก็ยังสามารถใช้เครื่องมือและแบบมาตรารวมทั้งห้องปฏิบัติการภายในอาคารศูนย์ฯ ได้ซึ่งโดยธรรมชาติของงานชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมาย (Legal Metrology) มันก็เป็นงานลักษณะปฏิบัติจริงๆ เสียเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว   นอกจากนี้ยังเป็นการเสริมสร้างองค์ความรู้ของกิจกรรมชั่งตวงวัดในส่วนภูมิภาคเพื่อให้ศูนย์ชั่งตวงวัดฯ ในแต่ละภาคประมวลผลและสะสมองค์ความรู้จนเป็นเสาหลักประจำภาค ฯ และของราชอาณาจักรไทยได้สืบไปอย่างยั่งยืน ซึ่งจะสะท้อนความเชี่ยวชาญของศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคฯ นั้นๆ สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนให้สอดคล้องกับความต้องการในกิจกรรมเศรษฐกิจและสังคมของภูมิภาคที่ศูนย์ฯ ไปตั้งอยู่    เพื่อให้แต่ละศูนย์ฯ เป็นแหล่งเชี่ยวชาญแตกต่างกันในแต่ละสาขา รวมทั้งเป็นแหล่งฝึกอบรมหลักในด้านที่แต่ละศูนย์ฯ นั้นๆ มีความโดดเด่น เช่น ศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือควรมีความโดดเด่นในเรื่องเครื่องชั่งรถยนต์บรรทุก เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีเครื่องชั่งรถยนต์บรรทุกมากที่สุด ส่วนศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคตะวันออกควรมีความโดดเด่นในเรื่องมาตรวัดปิโตรเลียมของเหลวขนาดใหญ่   เนื่องจากเป็นภูมิภาคที่มีการซื้อขายของเหลวปิโตรเลียมมากกว่าภูมิภาคอื่นๆ เมื่อเทียบกันแล้ว พอถึงจุดนี้ในสมองก็แวบขึ้นมาเรื่องหนึ่ง ว่าเคยอ่านเอกสารของคนมียศบรรดาศักดิ์วิจารณ์ชั่งตวงวัดในทำนองที่จับใจความได้ว่า “ชั่งตวงวัดไม่มีขีดความสามารถหรือไม่สามารถตอบสนองความต้องการของกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศได้”     ถ้ามันเป็นความจริงตามที่ท่านได้วิจารณ์และถ้าท่านวิจารณ์ถูกต้องก็ให้นึกถึงว่าเนี้ยแหละเป็น “ผล” ของการบริหารราชการในด้านชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติกฎหมายของราชอาณาจักรไทยแล้ว “เหตุ” หรือ “Root Cause” มันเกิดจากอะไรล่ะท่านเจ้าประคุณ ???     ตามที่เพื่อนสนิทได้กล่าวทักทำนายไว้ว่า “มรึงนี้พาปากไปเดี๋ยวไปหาทีนข้างหน้าได้สบายแน่ๆ”
             หากแต่ละศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคฯและชั่งตวงวัดส่วนกลางทำงานประสานกันอย่างต่อเนื่อง ค่อยๆ เพิ่มหลักสูตรการจัดฝึกอบรมทีละหลักสูตร เราก็จะได้หลาย “หลักสูตรชั่งตวงวัด (W&M Curriculums)” ทั้งยังรวมไปถึงคู่มือการตรวจสอบให้คำรับรอง (Verification Manual) และการตรวจสอบ (Inspection Manual) เครื่องชั่งตวงวัดและสินค้าหีบห่อ, Guide line นายตรวจชั่งตวงวัด และ ฯลฯ รวมกันทั้งประเทศ จากนั้นค่อยพิจารณาว่าหลักสูตรใดต้องอบรมเป็นช่วงๆ เวลาที่เหมาะสมตามกลุ่มเป้าหมาย เช่น หลักสูตรนี้ต้องจัดฝึกอบรมทุกๆ 6 เดือน หลักสูตรนั้นต้องจัดฝึกอบรมทุกๆ 1 ปี หรือหลักสูตรโน้นต้องจัดฝึกอบรมทุกๆ 2 ปี ก็ว่ากันไป หากมีการสะสมองค์ความรู้อย่างต่อเนื่องเราก็จะสามารถมี “โรงเรียนชั่งตวงวัด” หรือเป็น “ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมาย (Legal Metrology Training Center)” ของราชอาณาจักรไทยก็สุดแล้วแต่   ซึ่งทั้งหมดนี้สุดท้ายก็เป็นความฝันค้างที่วางไว้หรือเปล่า? เนื่องจากระบบบริหารและการคัดสรรข้าราชการเข้าใหม่ให้มีความหลากหลายในวิชาชีพและประสบการณ์มันช่างน่าอับอายเสียเหลือเกินในระบบราชการไทยเพราะผมเชื่อด้วยความสุจริตใจอย่างนั้นจริงๆ   แต่ก็ฝันต่อไปเลยทิ้งเชื้อไว้ให้ผู้ที่มีจิตใจดีต่อไปเนื่องจากพบว่า ทำอะไรมากมายสุดท้ายมาจบลงที่ “การให้ความรู้คน” มันเป็นเรื่องจริงๆ   อนาคตข้างหน้าของเรา แต่เป็นปัจจุบันของโลกตะวันตกไปแล้วนั้นคือ “Knowledge Society” ซึ่งเราก็ตกขบวนตามเคย    ส่วนตัวเราก็ไม่ถนัดสอนคนอยู่แล้วหากไม่จำเป็นก็ไม่คิดสอนแต่พยายามเขียนหนังสือไว้หลายเล่มอยู่เพื่อชดเชยทดแทนนะ หากตนเองชอบการสอนคนปานนี้ก็เป็นอาจารย์อยู่ที่คณะฯที่จบมาแล้วเพราะรุ่นพี่ท่านเมตตาชวนเป็นอาจารย์เมื่อไปขอจดหมายแนะนำตัวจากพี่ท่านที่คณะฯเมื่อตอนเด็กๆ หนุ่มๆ แต่ได้ปฏิเสธไปด้วยความเคารพ
             เดี๋ยวจะโดนด่าหาว่าบ่นอย่างเดียวแล้วมรึงทำอะไรบ้าง ก็ตอบว่าในส่วนของเราได้จัดทำคู่มือการตรวจสอบให้คำรับรอง (Verification Manuals) และการสอบเทียบ (Calibration Manuals) เครื่องชั่งตวงวัดไว้แล้วบางส่วนเท่าที่ทำได้  เช่น SOP-VOL-1, ….., SOP-VOL-106, SOP-LEN-201,………SOP-LEN-203, SOP-VER-201,… ไปอ่านได้ครับในเวป www.cbwmthai.org ในส่วนของ E-Books รบกวนไปอ่านกันเองครับ เราทำความรู้สะสมให้แล้วน่ะครับ... หากท่านใดสนใจเข้าไปศึกษาค้นคว้าใฝ่รู้และกระหายที่จะเรียนรู้อยู่ตลอดเวลาก็เชิญไปได้ครับ นอกจากนี้ได้รวบรวมเอาทั้ง Presentations ในความรู้ต่างๆ และยังมีหนังสือที่เขียนเป็นเล่มแล้วทำเป็น E-Book อีกประมาณ 10 เล่ม รวมถึงบทความต่างประเทศฯ   ทำให้แล้ว...ทำหน้าที่ส่งท่านมาถึงได้เพียงจุดนี้... ที่เหลือท่านเลือกและตัดสินใจทำต่ออย่างไรเอง....   
 
 
 
(ERP : Enterprise Resource Planning)
        ตามชื่อเรื่อง แต่ส่วนลึกๆในจิตใจคืออยากทำ “Digital Transformation”  แต่ทำ ERP : Enterprise Resource Planning ก็ถึงเป็นขั้นตอนบันไดย่างก้าวหนึ่งที่ต้องก้าว
        ย้อนไปเมื่อประมาณ 25 ปีที่แล้ว (ปจบ 2564) ชั่งตวงวัดได้เล็งเห็นความสำคัญของ “ฐานข้อมูล (Database)” และ “Internet” มานานแล้วเพราะชั่งตวงวัดมีสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขตฯ กระจายอยู่ทั่วราชอาณาจักรไทยมานานแล้วตั้งแต่ พ.ศ. 2466 + 13 ปี = พ.ศ. 2479 โน้น  โดยเฉพาะเจ้านายให้โจทย์มาอย่างเดียวว่า อยากได้ “E-Mail”  นั้นปะลัย เด็กบ้านนอกตอนเรียนโปรแกรมคำนวณผล FORTRAN ยังเขียนไม่เป็นเลยแถมไม่มีเงินมากมายไปซื้อกระดาษที่ต้องนำมาเจาะรู (เพราะดันเขียนโปรแกรมผิดบ่อย) แล้วส่งมันไปประมวลผลที่ศูนย์คอมพิวเตอร์ฯของการศึกษา จึงขอกระดาษเจาะรูต้นฉบับของเพื่อนๆมา Duplicate (Dup) กระดาษเจาะรูที่บรรจุคำสั่งภาษา FORTRAN ที่ว่าอย่างเดียวเลยสิครับเพื่อประหยัดรายจ่ายส่วนนี้ไปใช้บำรุงปอดสำหรับค่าบุหรี่ดูดและน้ำสรรค์สรร   แต่ในที่สุดก็สามารถมี E-Mail พร้อม Internet   หากย้อนกลับไปคิดดูมันก็เป็น Internet ที่ยังไม่มีการจดทะเบียนเป็นของชั่งตวงวัดแต่ไปซุกอยู่ในปีกของบริษัทฯ รับจ้างชั่งตวงวัดในการจัดทำระบบ Internet ในตอนเริ่มต้น  แม้ตอนนี้ผมไม่แน่ใจว่า www.cbwmthai.org เป็นการจดทะเบียนในนามชั่งตวงวัดหรือในนามส่วนตัวยังมึนๆ ครับยอมรับข้อมูลไม่ค่อยทันสมัย 
        และนั้นเองเป็นจุดเริ่มของชั่งตวงวัดในหลายเรื่องต่อมา โดยเฉพาะโปรแกรมฐานข้อมูลชั่งตวงวัด “ระบบงานชั่งตวงวัด” ที่ได้จัดทำขึ้นครั้งแรกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2539 เป็นระบบฐานข้อมูลที่เขียนขึ้นด้วยภาษา Visual FoxPro บนระบบปฏิบัติการ Windows 3.11 workgroup ของค่าย Microsoft บนระบบ LAN, Novell  ควบคู่กับระบบจดทะเบียนการค้าของกรมทะเบียนการค้าในสมัยนั้น (กรมพัฒนาธุรกิจ ในปัจจุบัน) คู่ขนานกันไป โดยระบบฐานข้อมูลหรือระบบงานชั่งตวงวัดในสมัยนั้นเป็นฐานข้อมูลที่สามารถใช้ได้เพียงแต่เฉพาะภายในกองชั่งตวงวัดส่วนกลาสงเท่านั้นโดยใช้ Hubs เดียวกับระบบ Internet (เออมันก็ต้องเป็นอย่างนั้นอยู่แล้ว) ถือว่าชั่งตวงวัดในสมัยนั้นก็มีระบบโครงข่ายภายในตึกแล้ว แต่ไม่ได้เชื่อมไปยังกรมทะเบียนการค้าที่ตั้งอยู่แถวปากคลองตลาดในสมัยนั้นเพราะไม่ได้ติดตั้ง Modem ทั้งนี้หากต้องให้สามารถใช้งานระบบฐานข้อมูลชั่งตวงวัดได้ทั่วทั้งประเทศในตอนนั้นมันสิ้นเปลืองงบประมาณการดำเนินงานสูงมากและราคาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยงข้องอื่นๆแพงมากแต่กรมทะเบียนการค้า เขาทำได้ทั่วทุกจังหวัดทั่วประเทศ แต่ชั่งตวงวัดไม่ได้รับสิทธิ์นั้นครับ แม้มีจำนวนสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขตฯ ไม่ถึง 30 เขตไม่ทราบเพราะเหตุใด ประวัติศาสตร์ตอนนั้นเราไม่รู้ไปทุกเรื่อง รู้เฉพาะที่ตนเองทำหรือดันไปรู้เข้า ซึ่งอาจไม่ถูกต้องครบถ้วนทุกแง่มุมจึงต้องอ่านด้วยความระมัดระวังอย่างเชื่อเราหมด มันไม่ดี...  ต่อครับ ด้วยเหตุนี้ชั่งตวงวัดจึงมีเครื่อง Servers จำนวน 2 ตัวอยู่ที่กองฯ โดยแบ่งเป็น Mail Server และ Server ของระบบงานชั่งตวงวัด (วันนี้ Server คงไปรวมอยู่ที่ศูนย์คอมฯ ไม่ได้อยู่ที่ชั่งตวงวัดแล้ว)    วันนั้นเรื่องระบบฐานข้อมูลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้าเริ่มต้นด้วย ORACLE แต่จบด้วยอะไรก็ไม่ได้ตามเพราะหากเพียงนึกขึ้นมาในจิตใจทีใดตรวจสอบสภาวะจิตใจตนเองแล้วพบว่าเรื่องราวนี้มันปวดหัวใจทุกคราวไป (อิจจากิเลสมันสูง) เพราะจะมีการเปรียบเทียบกับเรื่องฐานข้อมูลชั่งตวงวัด หรือที่เราอาจรู้จัก “ระบบงานชั่งตวงวัด” ในปัจจุบันซึ่งมีจุดเริ่มต้นพร้อมๆ แต่วันนี้มันคงมีช่องว่างถ่างไกลไปเรื่อย ๆ และยิ่งถ่างห่างไกลๆๆๆ เมื่อเทียบกับระบบการจดทะเบียนของกรมทะเบียนการค้าหรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็แน่ละเขาเป็นระดับกรมฯ   ส่วนชั่งตวงวัดก็แค่ระดับกองฯ เลยกองอยู่กับพื้นกันต่อไป..... 55555    จะไม่กองอยู่กับพื้นได้อย่างไรครับเพราะระบบงานชั่งตวงวัดที่อยู่หลายโหมดฐานข้อมูลเพื่อรองรับงานแต่ละฝ่ายในสมัยนั้นได้ออกแบบให้มีโหมดการทำงานประมาณ 7 โหมด    แต่ทุกโหมดฯมันสงบตายสนิททุกโหมดฯ ยกเว้น “โหมดงานทะเบียนและการอนุญาต” โหมดฐานข้อมูลของฝ่ายการอนุญาติและจดทะเบียนฯที่ได้รับการใช้งานอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ต้นยันปัจจุบัน เพื่อลงข้อมูลการจดทะเบียนอาชญาบัตรชั่งตวงวัดและออกใบอนุญาตฯ ติดตามและสั่งปล่อยเครื่องชั่งตวงวัดออกจากด่านศุลกากร และ ฯลฯ ต้องขอบคุณ “พี่เพียงพร” เพราะเป็นคนสำคัญช่วยใช้โปรแกรมฐานข้อมูลชั่งตวงวัดหรือระบบงานชั่งตวงวัดและให้ความสนใจในการบ่งบอกถึงความต้องการให้ผู้เขียน software เข้าใจและรู้ว่าข้อมูลใดที่ต้องการบันทึก และเมื่อใช้งานแล้วมีข้อบกพร่องใดก็แจ้งให้มีการปรับปรุงแก้ไขทันทีอย่างอดทน รวมทั้งเอาใจใส่และบังคับบัญชาให้ลูกจ้างมั่นบันทึกข้อมูลอย่างต่อเนื่องและจริงจัง และนี้เองที่มันทำให้วันนี้ยังมีเชื้อไฟหลงเหลือและล้มลุกคลุกคลานมาต่ออีกหลาย Version   สำหรับระบบงานชั่งตวงวัดในปัจจุบันนั้นเราไม่ทราบในรายละเอียดว่ามันมีพัฒนาการอย่างไรจากอดีตต่อจากนั้นจนถึงปัจจุบันเพราะไม่ได้จับงานต่อ แต่เมื่อเรากลับมาเจอระบบงานชั่งตวงวัดล่าสุดยังคงหลงเหลืออยู่ เราวิ่งเข้าใส่และเข้าใช้ทันที ใช้ระบบงานฯ ด้วยความเข้าใจและอดทน จากนั้นค่อยๆแจ้งคนเขียนโปรแกรมค่อยๆปรับดัดกันไป ค่อยๆแจ้ง ค่อยๆอธิบายถึงความต้องการและใช้มันแบบไม่ต้องมาสั่งหรือมาบังคับให้ใช้ ใช้เพราะรู้ถึงประโยชน์ในวันนี้และวันหน้า โดยไม่ได้ปรับหรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานของเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัดหรือคน   แต่ไปปรับโปรแกรมให้สอดคล้องกับการทำงานของคนแทนเพราะถ้าคิดจะเปลี่ยนแปลงคนสงสัยมันไม่จบหรือจบช้ากว่า เสียเวลาเปล่าๆ
        “ระบบฐานข้อมูล” มันมีชีวิตมันต้องใช้อยู่เสมอ มันค่อยๆสะสมข้อมูลปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไขทำให้ทันสมัยอยู่ตลอดเวลาเมื่อเวลาผ่านไปมันจะให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าโดยต้องมีคนที่มีคุณภาพและตั้งใจเพื่อเปลี่ยนแปลงและตีความจาก “ข้อมูล (DATA)” เป็น “ข่าวสาร (Information)”   ระบบฐานข้อมูลมันเสมือนไม้ยืนต้นที่ต้องอดทนและดูแลรักษาอย่างยาวนานกว่าจะให้ผลผลิตที่หอมหวาน แต่ระบบราชการชอบการปลูกพืชล้มลุก 2-6 เดือนขอให้เก็บเกี่ยวได้เมื่อสมใจถ่ายรูปนำไปประชาสัมพันธ์ฯได้แล้วก็ปล่อยไปอย่างไม่นำพา   ไม่เชื่อลองติดตามโครงการฯ ที่ทำด้วยระบบราชการดูสิว่าที่สำเร็จและไม่สำเร็จมากน้อยเท่าใด และในปัจจุบันได้รับการดูแลสนับสนุนให้มันยั่งยืนกี่โครงการฯ  ฮ้าว... อยู่ดีๆ ดันหาเรื่องเข้าตัวอีกแล้วตรูย้ำแล้วย้ำอีกกว่าจะจบ “เล่าสู่กันฟัง 5” อย่าถือผมเราน่ะๆๆๆ
        จำได้ว่าเมื่อเข้ารับราชการที่ชั่งตวงวัดทั้งกองชั่งตวงวัดมีข้าราชการประมาณ 240 -250 นายมีเครื่องคอมพิวเตอร์จอขาวดำเพียงเครื่องเดียว   ถ้าจำไม่ผิดเป็นภาคเอกชนบริจาคมาให้ฝ่ายการอนุญาตและทะเบียนฯ และพี่เพียงพรดูท่าทางจะห่วงเสียเหลือเกิน แต่ใช้งานได้เพียงเป็นเครื่องพิมพ์ดีดเท่านั้น.. ลงไปทุกทีเห็นมีพลาสติกคลุมไว้อย่างดีทุกเวลาร่ำไป....5555   ภาษาไทยก็ต้องใช้ CU Word หรือ รามาหรือราชวิถี Word สักอย่าง ระบบ Operation System (OS) ยังเป็นระบบ DOS  และนี้กระมังที่พี่เพียงพรช่วยรักษาระบบฐานข้อมูลชั่งตวงวัดให้รอดจากการไม่ใช้งานโดยพวกเราชั่งตวงวัด ส่วนสาเหตุจริงๆนั้นมีทั้งในเชิงตื้นเขินและในเชิงลึกว่าทำไมจึงไม่ใช้ระบบงานชั่งตวงวัดกันส่วนตัวเรานั้นรู้ซึ้งดีไม่ต้องบอกน่ะ... และไม่ต้องให้ “เล่าสู่กันฟัง” หรอกนะ   จนไม่นานมานี้ประมาณสัก 4-5 ปี (ถ้าจำไม่ผิด) มานี้อธิบดีท่านหนึ่งสั่งให้ใช้งาน “ระบบชั่งตวงวัด” ทุกโหมดการทำงานที่สำคัญโดยเฉพาะโหมดตรวจสอบให้คำรับรอง (Verification) และให้นำระบบการจ่ายค่าธรรมเนียมการตรวจสอบให้คำรับรองและตรวจสอบความเที่ยงในรูปแบบ “Pre-Paid” คือจ่ายค่าธรรมเนียมตามใบคำขอฯ ก่อนเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัดไปดำเนินการตรวจสอบให้คำรับรองหรือสอบเทียบเครื่องชั่งตวงวัด    ขอบอกความรู้สึกในวันนั้นที่ได้รับรู้คำสั่งดังกล่าวว่า “โคตระ สะใจๆๆๆๆๆๆ    ตรูรอมานานแสนนานๆๆๆๆๆๆ.....”  เพราะอะไรหรือครับ  เพราะระบบฐานข้อมูลใดๆ จะสำเร็จลุล่วงก็ต่อเมื่อ “หัวหน้าหน่วยงาน” นั้นให้ความใส่ใจและสั่งการอย่างจริงจังด้วยความบริสุทธิ์ใจเท่านั้น  ถ้าระบบราชการก็ “อธิบดี” ถ้าบริษัทก็ “CEO”  ตัวเล็กๆ อย่างเราเดินไปบอกระดับกองว่าช่วยบังคับให้ใช้งานระบบฐานข้อมูลหน่อย... มันไม่สำเร็จ เพราะมันมีเหตุผลเยอะ ความอดทนมันน้อย อบรมมาแล้วไม่เข้าใจมันยาก  โปรแกรมไม่ตอบสนองความต้องการทั้งๆที่ตอนเรียกเจ้าหน้าที่บริษัทฯ ที่เขียนโปรแกรมให้มารับฟังความต้องการรู้แบบการทำงานและประเภทข้อมูลที่ต้องการบันทึกและค้นหาในภายหลัง  (Workflow) และ ฯลฯ   พอวันที่มาพบเจ้าหน้าที่บริษัทฯที่เขียนโปรแกรมก็ส่งข้าราชการระดับเด็กๆๆไม่รู้ความมาให้ข้อมูลว่าต้องการอย่างนั้นอย่างนี้ตามประสาเด็ก   จนภายหลังเลยมีแต่ปัญหา......   มันเยอะ....   มันก็มันอย่างนี้แหละครับหากชีวิตนี้คิดที่จะวางรากฐานโครงสร้างพื้นฐานในระบบราชการ..... ด้วยเหตุนี้ทำให้ตระหนักว่า ข้าราชการตัวเล็กๆทำงานอะไรมาเป็น 10 ๆๆ ปีก็ไม่สำเร็จพออธิบดีทำแค่สั่งออกมาภายใน 2 นาทีเรื่องมันก็สำเร็จ ทำให้นึกต่อถึงคำสอนของพ่อหลวงพ่อของแผ่นดิน
 
“ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี
ไม่มีใครจะทำให้ทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด
การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย
จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี
หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี
ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง
และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ
ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้”
++++++++++++++
 
พระบรมราโชวาท พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
ในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี
วันที่ 11 ธันวาคม 2512
 
 
        ตบกลับเข้าเรื่องของเราชั่งตวงวัด เหมียนเดิม.... เราชอบแวะข้างทางนั่งเล่นใต้ต้นไม้เป็นประจำ...   หากทุกคนตั้งสติให้ดีแล้วมองโลกย้อนกลับมาเพื่อสังเกตพัฒนาการเปลี่ยนแปลงของโลก หรือถ้ามองไม่ออกก็ไปหาหนังสือดีๆ ที่เขียนเรื่องราวของการพัฒนาการของโลกและการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลกเราจะพบว่า “Internet” คือปัจจัยสำคัญที่สุดปัจจัยหลักปัจจัยหนึ่งที่ทำให้สังคมและวิถีการดำรงชีวิตของชาวโลกอย่างเราเปลี่ยนแปลงอย่างคาดคิดไม่ถึงแทบทุกเรื่องราว เพราะทุกเรื่องราวได้แปรเปลี่ยนจากตัวอักษร คำออกเสียง จินตนาการ ศิลปะ หรือฯลฯ หรือที่เรียกว่ารูปแบบ “อนาล็อก” ไปเป็นหรืออยู่ในรูปของ “0” และ “1”  หรือรูปแบบ “Digital” อย่างมากมายมหาศาล   อย่างผมมี iPad ตัวเดียวเก็บหนังสือ E-Book ได้มากมายไม่นับรูปสวยๆงามๆอีกเป็น Gb นั้นว่าเข้าไป 5555
        คำว่า ERP : Enterprise Resource Planning มันดังก้องหูมาตลอดเวลานับย้อนหลังไปเกือบ 10 ปีมานี้  บริษัทปูนซิเมนต์ไทย จำกัด ก็ทำ ERP  เคยอ่านเอกสารของหน่วยงานราชการ กพ. ก็บอกว่าจะทำ ERP หรือ Digital Transformation ในระบบราชการไทยจำได้ไม่ชัด ยังเห็นกรมสรรพากรให้มีระบบจ่ายภาษีทางระบบ Internet แล้วก็ชื่นใจ ใจเรามันอยากทำด้วยเพราะชั่งตวงวัดเรามี “ระบบงานชั่งตวงวัด” เป็นต้นทุนมานานปีอยู่แล้ว นั่นงัยกิเลสล้วนๆๆ  เรามาดูกันเล็กน้อยว่า ERP : Enterprise Resource Planning หรือพัฒนาระบบสารสนเทศงานชั่งตวงวัดเพื่อการวางแผนพัฒนาทรัพยากรองค์กร มันคืออะไร และตั้งปุจฉาทิ้งไว้  เพียงเล็กน้อยเพื่อคอยคนดีและคนเก่งต่อไป   ด้วยรูปภาพข้างล่าง
 
มันคือ
·            Digitization (ดิจิไตเซชั่น) คือ การแปลงสัญญาณจากอนาล็อกไปเป็นดิจิทัล   สำหรับเรามี ระบบงานชั่งตวงวัดแล้วในเบื้องต้น เดินต่ออีกหน่อยก็ไม่เหนื่อยมากนัก
·            Digitalization (ดิจิทัลไลเซชั่น) คือ กระบวนการในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และผลกระทบที่มีต่อการดำเนินธุรกิจ   เช่นการแปลงกระบวนการทำงานไปเป็นดิจิทัล อันนี้สิเหนื่อย เพราะต้องการคนมีคุณภาพสูงขึ้นเพราะสุดท้ายมันก็ต้องใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ภาครัฐมีจุดอ่อนเรื่องนี้อย่างแรงขาดความยืดหยุ่นมากกว่าเมื่อเทียบกับภาคเอกชน รวมถึงงบประมาณที่ต้องจัดหาและเตรียมการอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง
·            Digital transformation (ดิจิทัล ทรานส์ฟอร์เมชั่น) คือ วิธีการทำให้ระบบดิจิทัลครอบคลุมธุรกิจทุกประเภท โดยไม่คำนึงถึงว่าจะเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับทางด้านดิจิทัลหรือไม่ (ระบบราชการก็ไม่เว้น) ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างตลาดและธุรกิจใหม่ๆ   ส่วนของราชการก็นำไปสู่การกำกับดูแลกฎหมายที่ตนเองรับผิดชอบในรูปแบบใหม่ เช่น กรมสรรพากรก็ยื่นแบบเสียภาษีผ่านทาง Internet เป็นต้น   ทั้งนี้สามารถพัฒนาการตอบสนองความต้องการภาคเอกชนเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตของภาคเอกชน ให้เอกชนเพิ่มขีดความสามารถไปหาเงินเข้าประเทศบ้าง หรือให้สินค้าและบริการที่มีคุณภาพสูงขึ้นในราคาที่ถูกลงแก่ประชาชนในราชอาณาจักรไทย    ภายใต้การทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชนมันต้องเดินไปด้วยกัน ยิ่งภาครัฐโดนทิ้งห่างและล้าหลังห่างไกลจากภาคเอกชน ภาคเอกชนอย่าดีใจน่ะครับเพราะท่านอาจโดดกระตุกขาด้วยภาครัฐที่ล้าหลังนี้แหละครับล้มหน้าฟาดกับพื้นคอนกรีตก็อาจเป็นได้   แล้วอย่าหันไปแก้ไขปัญหาแบบลืมถุงขนมไว้ในห้องข้าราชการผู้มีอำนาจ    มันอาจดีที่ท่านไม่ล้มแต่มันยิ่งซ้ำเติมราชอาณาจักรไทยที่ลูกหลานท่านต้องกิน.. ขี้... ป.. นอน.. บนแผ่นดินนี้ละครับ
 
 
 
 
        อ่านบทความหนึ่งและชอบนิยามนี้มาก Digital Transformation” คือ “การเปลี่ยนแปลงธุรกิจอย่างมีกลยุทธ์ เพื่อที่จะเติบโตในเศรษฐกิจยุคดิจิทัลได้อย่างยั่งยืน” จึงขอลอกผลงานคุณภูริ เฉลิมเกียรติสกุล (eX ACADEMY) ในชื่อที่ว่า “Digital Transformation คืออะไร?” วันที่ 23 สิงหาคม 2561 จาก Internet มาลอกใส่ในบทความนี้โดยไม่ได้ขออนุญาต และสอดใส่ความคิดเห็นของตัวเองไปเพื่อให้เข้ากับบริบทของงานราชการชั่งตวงวัด ดังนี้
        การทำ Digital Transformation ในมุมมองของสถาบัน ionology นั้นจะต้องประกอบไปด้วยองค์ประกอบทั้ง 5 อย่างดังภาพ คือ กลยุทธ์ (Digital Business Strategy), การสื่อสารปฏิสัมพันธ์ (Staff & Customer Engagement), วัฒนธรรมองค์กรในนวัตกรรม (Culture of Innovation), เทคโนโลยี (Technology), และข้อมูล (Data & Analytics) หากขาดสิ่งใดสิ่งหนึ่งจะทำให้ Digital Transformation นั้นไม่สำเร็จ
 
 
       
        อาการหรือปัญหาอุปสรรคในการทำ digital transformation ที่ไม่สำเร็จที่จะพบดังในรูปข้างล่าง ซึ่งมันสะท้อนความคิดและประสบการณ์ได้อย่างน่าละมุมละมัยดี
 
        Digitization— คือกรณีตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีมาใช้แต่ขาดกลยุทธ์ที่ถูกต้อง ทำให้ผลลัพธ์เป็นเพียงแค่การเปลี่ยนรูปแบบการทำงานจากแอนะล็อกเป็นดิจิทัล เช่นการทำ paperless system หรือการสร้างเว็บไซต์ขององค์กร เป็นต้น อันนี้เราเจอเข้าพออ่านเสร็จสะดุดเลยสงสัยชั่งตวงวัดตกหลุมนี้เข้าบ้างแล้ว ดังนั้นชั่งตวงวัดต้องทำด้วยความระมัดระวังว่าจะต้องนำ Digitization ไปใช้เพื่อประโยชน์ในการกำกับดูแลกฎหมายด้วยกลยุทธ์ที่เหมาะสมได้อย่างไร
        Resistance — การต่อต้านจะเกิดขึ้นกับพนักงานและลูกค้าอย่างแน่นอน หากว่าเราพยายามทำ Digital Transformation แต่ขาดการสื่อสารและความร่วมมือที่ดีกับพวกเขาเหล่านั้น เรื่องนี้จึงต้องเป็นเรื่องของ “หัวหน้าหน่วยงานราชการ” ซึ่งหากหัวหน้าหน่วยงานราชการไม่เป็นตัวหลักและไม่จริงจัง   การทำ Digital Transformation ของภาครัฐมันจบลงทันที   เท่าที่ผมประเมินซึ่งเราอาจผิดก็เป็นได้   สาธุขอให้เราประเมินผิดๆๆๆๆ   ส่วนลูกค้าของเราก็คือ “ประชาชน” เรื่องนี้ต้องค่อยๆประชาสัมพันธ์ แต่คิดว่าหลังเราเจอภัยภิบัติโรคติดต่อ COVID-19 นี้เราเชื่อลึกๆว่าประชาชนส่วนใหญ่เข้าใจระบบการติดต่อประสานงานแบบดิจิตอลได้มากขึ้น   ถ้าไม่มากขึ้นก็ไม่ได้รับเงินและใช้เงิน เช่น “เป๋าตุง” หรือ “คนละครึ่ง” ไม่ได้แน่นอน 5555    กลัวแต่ข้าราชการนี้สิไม่ได้สิทธิดังกล่าวจึงอาจทำให้ล่าหลังได้
        Incoherent Action — เป็นผลลัพธ์จากการขาดวัฒนธรรมองค์กรในการสร้างนวัตกรรมของสินค้าบริการหรือขั้นตอนการดำเนินอย่างต่อเนื่อง สิ่งที่ได้คือ Random Acts of Digital” นั่นคือประโยคเท่ๆ ที่ Professor Niall McKeown (คอร์ส Leading Digital Transformation สอนโดย Professor Niall McKeown ผู้ก่อตั้งสถาบัน ionology ที่ให้คำปรึกษาทางด้านการทำ Digital Transformation) ได้กล่าวเอาไว้   นำเป็นประโยคทองคำครับ... ยอมรับจริงๆ เดกดันนิดๆ 555   เนื่องจากเราเป็นคนชอบอ่านหนังสือของ Dr. Peter F. Drucker มากเพราะผลงานของอาจารย์ไม่รกรุ่งรัง เยินเย่อ แต่เป็นผลึกความคิดก้อนใสๆๆที่ตกและกลั่นออกมาจากคนทำงานจริงๆ   ท่านให้ความสำคัญเรื่อง “Innovation” มากมายถ้าประมวลในความคิดตนเองแทบจะบอกว่าถ้าบริษัทใดไม่มีนวัตกรรมออกมาใหม่ๆต่อเนื่องแล้วล่ะก็เตรียมตัวปิดบริษัทไปได้เพราะคุณไม่ได้คิดค้นสิ่งที่แก้ไขปัญหาชีวิตของคนได้ นั้นทำให้ท่านไม่สามารถเอาเงินจากท้องถนนสาธารณะได้นั่นเอง    เรื่องนี้ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่สุดในภาคราชการคือ “นวัตกรรม” เพราะวัฒนธรรมองค์กรราชการและการรับคนเข้ารับราชการ??  เพราะระบบราชการคือการแบ่งงานชิ้นใหญ่ๆยากๆย่อยลงเป็นชิ้นเล็กๆ ร้อยเรียงต่อกันโดยหาคนไม่ต้องมีคุณภาพสูงเพื่อทำงานชิ้นเล็กๆซ้ำแล้วซ้ำเล่าๆนั้นแล้วส่งมอบต่อถึงกันจนเป็นระบบที่เรียกว่า “ระบบราชการ” นิยามนี้ผมจำไม่ได้ว่าใครบรรยายระบบราชการดังกล่าวแต่มันสะใจและปวดใจดี ผมเอามาเขียนในภาษาของผมแต่ใจความหลักๆไม่หนีไปจากนี้แหละครับ    ดังนั้นในระบบราชการจะแต่เอานวัตกรรมเทียมๆได้น่ะครับเช่นจ้างบริษัทเอาอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องตลาดมาต่อนั้นต่อนี้หน่อยเดียวเลือกโหมดการทำงานที่มีอยู่ในอุปกรณ์นั้นมาใช้งานจากนั้นป่าวประกาศว่า นวัตกรรม    อย่างนั้นในระบบราชการมีเยอะครับเป็นเรื่องปกติ    ขนาดสภาวิจัยแห่งชาติมีคนตั้งมากมายยังไม่เห็นนวัตกรรมในเชิงพาณิชย์แบบโดนใจสักชิ้นเลยที่ประชาชนอย่างผมทราบ สมแล้วครับที่ Professor Niall McKeown เล่นลิ้นว่า  Random Acts of Digital”
        Frustration — แน่นอนว่าความผิดหวังและความล้มเหลวจะเกิดขึ้นหากเรามีกลยุทธ์และแผนในการทำ Digital Transformation ที่ดีแต่ขาดความรู้ความเข้าใจในการนำเทคโนโลยีมาใช้   อันนี้ไม่น่ากลัวในความคิดของเรา ทั้งนี้ก็เพราะสามารถจ้างที่ปรึกษามาแนะนำ แต่เราต้องมีความรู้มากพอที่ตัดสินใจให้ถูกต้องกับงานและความต้องการของเราด้วยเช่นกัน
        Stagnation — ธุรกิจในเศรษฐกิจยุคดิจิทัลนั้นล้วนต้องใช้ข้อมูลเป็นตัวขับเคลื่อน ผ่านการตัดสินใจที่ถูกต้อง หากขาดส่วนนี้ไปธุรกิจก็จะเติบโตได้ยาก ในความเห็นของเราข้อมูลก็เรื่องหนึ่ง แต่การเอาข้อมูลมาตีความหมายหรือวิเคราะห์นั้นต้องใช้คนที่มีความไวต่อความร้อนหนาว กินข้าวร้อนต้องรู้ว่าร้อน กินแกงเผ็ดต้องรู้ว่าเผ็ด ต้องรู้ความต้องการประชาชน และในแง่มุมแตกต่างหลากหลายมุมมอง   งานนี้ต้องเป็นคนที่มองและมีสายตาดังนกอินทรีย์และทำตัวเหมือนหนูเสียจริงๆๆ   555     เจอคำศัพท์นี้ทำให้นึกถึงการไหลของไหลแล้วมันมีคำว่า Stagnation Point นั้นมันคือจุดที่ของไหลมันอยู่นิ่งๆสงบๆจริงๆ ถือเป็นจุดที่พระภิกษุสงฆ์ (วัดสร้อยๆๆ อะไร เนี้ย..) ควรถูกนิมนต์ไปนั่งปลงวิเวกและสังขาร เพื่อปรินิพานน่ะ
        ด้วยเหตุนี้ผู้เขียนบทความได้กล่าวว่า องค์ประกอบทั้ง 5 อย่างนั้นล้วนสำคัญและจำเป็นทั้งสิ้นในการทำ Digital Transformation ให้สำเร็จ   สำหรับเราเมื่อกลับมาพิจารณางานชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมายเราแล้วมันขาดอะไรหนอ ???????    แล้วจะมีโอกาสสำเร็จหรือเปล่าหนอ?????   เราขาดองค์ประกอบส่วนไหนหรือ???? 
        ขอบคุณ...คุณภูริ เฉลิมเกียรติสกุล อีกครั้งทั้งที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้นำบทความมาลงนะครับ
 
        เมื่อประมาณ 20 ปีที่แล้วอย่างที่เรากล่าวไว้ในตอนต้นว่าเราให้ความสำคัญในเรื่องของฐานข้อมูล นั้นเป็นขั้นตอนแรกที่เราทำการเปลี่ยนบันทึกข้อมูลจากในรูปแบบกระดาษ หรือที่เรียกว่าแบบ Analog ไปเป็นรูปแบบ  “Digital” หรืออยู่ในรูปของ “0” และ “1”   และหากเราทำงานอย่างต่อเนื่องอย่างมีวินัย การที่เราจะขยับจาก “Digitization” ไปยัง “Digitalization” ก็ง่ายนิดเดียวขอให้มีงบประมาณ  รวมทั้งมีคนดีและคนเก่งเข้ามาในระบบราชการ 5555….. จากนั้นเราก็พัฒนาการรูปแบบการกำกับดูแลพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 (ฉบับเดิม พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466) ได้ รวมทั้งกิจกรรมที่เกี่ยวข้องได้อย่างสบาย สุดแต่ความต้องการของภาคเอกชน ภาคประชาชน   ...   เราอาจสำรวจสอบถามประชาชนว่าต้องการให้ชั่งตวงวัดช่วยทำอะไรได้บ้างเพื่อให้การดำรงชีวิตหรือการทำธุรกิจของท่านสะดวกราบรื่นและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับท่านอย่างไรบ้าง   เช่น การรายงานผลการตรวจสอบให้คำรับรองของผู้ผลิตผู้ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัดตามมาตรา 41 หรือหน่วยงานรัฐหรือรัฐวิสาหกิจที่ทำการตรวจสอบให้คำรับรองตามที่เราร้องของตามมาตรา 31 ถ้าจำไม่ผิด   ให้สามารถรายงานผลฯอย่าง Real Time ได้เลยและได้รับการกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดจากชั่งตวงวัด และอื่นๆอีกมากมายในการสร้างกลยุทธ์เพื่อให้งานชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมายยั่งยืนต่อไปหรืออย่างน้อยก็ดีขึ้น (คำว่า “ดีขึ้น” ในระบบราชการนี้มันปวดตับทุกครั้งเป็นร่ำไปจริงๆ ครับ 555)
        เรามองเห็นว่าระบบงานชั่งตวงวัดในปัจจุบันมันมาถึงทางตัน เพราะการแก่ไขปรับปรุงโปรแกรมกระทำได้ยากเนื่องจากเป็นโปรแกรมใหญ่โปรแกรมเดียว เวลาแก้ไขมันต้องแก้ไขทั้งก้อนใหญ่มันไม่ได้ออกแบบให้แยกออกเป็นโมดูล หากจะแก้ไขก็แก้ไขเฉพาะโมดูลที่เป็นปัญหา หรือการจัดการข้อมูลกลางที่ใช้งานร่วมกันของระบบฯก็ไม่สามารถแก้ไขทีเดียวแล้วส่งผลไปต่อทุกส่วนงานในระบบงานชั่งตวงวัด    มันเป็นโปรแกรมแบบไม่มีอนาคตแล้วเมื่อสัก 4 -5 ปีก่อนเป็นอย่างน้อยเนื่องจากหากจำได้ว่า เราเมื่อเจอระบบงานชั่งตวงวัดเรากระโดดเข้าใส่ใช้งานทันทีและใช้อย่างอดทน (เพราะเข้าใจและเห็นความสำคัญในบางมิติพูดไปก็เหนื่อยใจและเสียเวลาเปล่า)  พร้อมกับแจ้งให้บริษัทที่เขียนโปรแกรมทำการแก้ไข หลายต่อหลายครั้งเราเห็นว่าเป็นการเขียนโปรแกรมเหมือนกับเด็กจบมหาลัยใหม่ๆ ถึงแม้ไม่ได้เห็น Source Codes ก็ตาม (ถึงเห็นก็ช่วยอะไรไม่ได้ เพราะขนาดภาษา Fortran ยังเขียนไม่เป็นเลย)  มันเป็นโปรแกรมที่ไม่ใช่ Good Practice มันไม่ใช่โปรแกรมที่ให้ทำการแก้ไขปรับปรุงได้ง่ายๆหรือขยายความต้องการเพิ่มเติมได้ง่ายๆแต่อย่างใด มันคือจบ...แค่นั้น...   หากต้องการเพิ่มเติม ต้องเขียนใหม่...
        จึงเสนอ....ทิ้งไว้ว่า....
        ตามที่หน่วยงานชั่งตวงวัดมีระบบงานชั่งตวงวัดที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันนั้น ได้ถูกพัฒนาและผ่านการใช้งานมาเป็นระยะเวลานานแล้ว โดยช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาได้มีการปรับปรุงกฎหมาย กฎกระทรวง ประกาศกระทรวงพาณิชย์ และระเบียบคำสั่งที่เกี่ยวข้องกับภาระกิจงานด้านชั่งตวงวัด ประกอบกับภูมิทัศน์การดำเนินธุรกิจของประเทศไทยและสังคมโลกได้เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเพื่อให้ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงและอำนวยความสะดวก รวดเร็ว ถูกต้องแม่นยำในการปฏิบัติราชการ กำกับ ดูแลและบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2557 (ฉบับที่ 3) รวมทั้งภาคเอกชนตลอดจนประชาชนที่เกี่ยวข้องทั่วทั้งประเทศ
        ในเทอมของการเพิ่มประสิทธิภาพและความเข้มแข็งของระบบเศรษฐกิจไทย ในเรื่องการพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารเพื่อสนับสนุนทางการค้าที่เปิดกว้างขึ้น   การพัฒนาระบบงานชั่งตวงวัดให้เกิดความสอดคล้องกับกฎหมายฯและสามารถลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค   พิจารณาแล้วจึงเห็นควรนำเอาระบบ ERP (Enterprise Resource Planning) มาใช้กับ “ระบบงานชั่งตวงวัด” หรือ “ระบบ ERP ชั่งตวงวัด” เพื่อต้องการปรับปรุงและพัฒนาให้มีการบูรณาการ (Integrate) ในส่วนของฟังก์ชันงานทั้งหมดในงานด้านชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมาย (Legal Metrology) ของราชอาณาจักรไทย รวมทั้งเพื่อให้มีการเชื่อมโยงในส่วนของกลุ่มงานหลัก (Module) ทั้งหมดเข้าด้วยกัน โดยมีการทำงานในลักษณะของ Real Time ทั่วทั้งประเทศ อันจะทำให้เกิดมาตรฐานการปฏิบัติงานราชการที่ได้มาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งประเทศ (Best Practice) เพื่อภาคเอกชนและประชาชนได้รับการปฏิบัติที่ถูกต้อง รวดเร็ว เท่าเทียมกันทั่วทั้งประเทศ   โดยในเวลานี้คิดได้...คือ
1.         ระบบ ERP ทำงานอยู่บนโปรแกรมซอฟต์แวร์ที่บูรณาการ (Integrate) ในส่วนของฟังก์ชันงานทั้งหมดในงานด้านชั่งตวงวัด และ/หรือ มีการเชื่อมโยงในส่วนของกลุ่มงานหลัก (Module) ทั้งหมดเข้าด้วยกัน ให้มีการทำงานในลักษณะของ Real Time
2.    กลุ่มงานหลัก (Module) ของระบบ ERP ชั่งตวงวัดซึ่งครอบคลุมหน่วยงานชั่งตวงวัดส่วนกลางและส่วนภูมิภาค (ศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคฯ และสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขตฯ) ประกอบด้วย
2.1.           งานบริหารจัดการด้านการประกอบธุรกิจชั่งตวงวัด
2.2.           งานสนับสนุน กำกับและบังคับใช้กฎหมาย ด้านการตรวจสอบความเที่ยง (Calibration) แบบมาตราเครื่องชั่งตวงวัด
2.3.           งานกำกับและบังคับใช้กฎหมาย ด้านการตรวจสอบให้คำรับรอง (Verification) เครื่องชั่งตวงวัด
2.4.           งานกำกับและบังคับใช้กฎหมาย ด้านการตรวจสอบ (Inspection) เครื่องชั่งตวงวัด
2.5.           งานกำกับและบังคับใช้กฎหมาย ด้านการตรวจสอบ (Inspection) สินค้าหีบห่อ
2.6.           งานบริหาร สนับสนุนการปฏิบัติงานด้านชั่งตวงวัด
2.7.           งานสนับสนุนและกิจการพิเศษ ด้านชั่งตวงวัดของประเทศ
 
 
3.         เทคโนโลยีทางด้าน Database System และ Client/Server ของระบบ ERP ที่ต้อง Integrate ในส่วนของฟังก์ชันงานทั้งหมดของสำนักงานกลางชั่งตวงวัด โดยข้อมูลทั้งหมดต้องเก็บอยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน (Common Database)
4.         Client/Server มีรูปแบบการทำงานในส่วนของ Front Office ต้องเป็นหน้าจอในลักษณะ GUI (Graphical User Interface) การเข้าถึงข้อมูล การป้อนข้อมูลเข้า (Input Data) การนำข้อมูลมาแสดงผลผ่านโปรแกรม Web Brower ผ่านทางระบบเครือข่าย Internet สำหรับการทำงานชั่งตวงวัดทั่วประเทศ
5.    สรุปผลการปฏิบัติงานได้แบบ Real Time รวมถึงต้องมีความยืดหยุ่นในการปรับเปลี่ยนรูปแบบสรุปผลการปฏิบัติงานหรือติดตามการปฏิบัติงาน และสามารถดูผลการปฏิบัติงานทุกด้านผ่านทางโปรแกรม Web Browser หรือ Excel ได้
6.         โครงสร้างระบบงานฯ ต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากข้อมูลดิบใน Database System ของระบบ ERP ชั่งตวงวัดให้กับการทำงานในทุกขั้นตอน เพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานด้านชั่งตวงวัดและสินค้าหีบห่อ ซึ่งรวมไปถึงประชาชนทั่วไปด้วย เช่น การยื่นคำขอตรวจสอบให้คำรับรองและสอบเทียบเครื่องชั่งตวงวัด, การจองคิวตรวจสอบให้คำรับรองและสอบเทียบเครื่องชั่งตวงวัด, การรับใบรายงานผลการตรวจสอบให้คำรับรองและใบรายงานผลตรวจสอบความเที่ยงเครื่องชั่งตวงวัด, การรายงานผลการตรวจสอบให้คำรับรองของผู้ผลิตและผู้สอบเครื่องชั่งตวงวัด ตามมาตรา 41 และการรายงานการตรวจสอบให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดของหน่วยงานราชการ ตาม มาตรา 31, การเข้าตรวจสอบหมายเลขประจำเครื่องชั่งตวงวัดที่ผ่านการตรวจสอบให้คำรับรองจากประชาชนทั่วไป, การตรวจสอบโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ร่วมกับเครื่องชั่งตวงวัด รุ่น (Version) ผู้ถือลิขสิทธิ์เจ้าของโปรแกรม, การทำแผนตรวจสอบเครื่องชั่งตวงวัดตามฤดูการเก็บเกี่ยวสินค้าเกษตรที่สำคัญ, การตรวจสอบหมายเลขประจำเครื่องและ/หรือเลขลำดับประจำเครื่องของเครื่องชั่งตวงววัดที่ผ่านการตรวจสอบให้คำรับรองและสอบเทียบเครื่องชั่งตวงวัดที่ซ้ำซ้อน, การรองรับผลการชั่งน้ำหนักเครื่องชั่งรถยนต์บรรทุกจากโครงการประกันราคาสินค้าเกษตรแบบ Real Time, ออกรายงานติดตามผลเครื่องชั่งตวงวัดที่หมดอายุให้คำรับรอง, มีช่องทางและรูปแบบข้อมูลที่เป็นมาตรฐานเพื่อรองรับการแลกเปลี่ยนและประสานงานในเรื่องข้อมูลระหว่างหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ  เป็นต้น
 
        ส่วนในภายหลังหากมีหัวข้อที่ต้องการประสงค์ให้มีมากกว่านี้ก็ขอให้คิดกัน   เราแค่ตั้งตุ๊กตาเพื่อให้เกิดการถกและพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น  ถ้าไม่มีความรู้หรือเริ่มต้นอย่างไรก็จ้างที่ปรึกษาฯมาให้ความรู้ จัดทำ TOR เพื่อใช้ในการจัดจ้าง ขอให้ช่วยเลือกเทคโนโลยีที่เหมาะสมกับงานชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมาย และ ฯลฯ หาก “ระบบ ERP ชั่งตวงวัด” สำเร็จหลังจากนั้นเราก็มุ่งหน้าสู่ “Digital transformation” ก็ช่วยกันสรรหาว่าจะมีรูปแบบกิจกรรมใดที่ช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตของประชาชนภายในราชอาณาจักรไทยได้ ส่วนประชาชนจะอยู่ในภาคอุตสาหกรรม ภาคการเกษตร และหน่วยงานของรัฐ รวมทั้งกิจกรรมอื่นๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคต หรือจะอยู่ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ภาคตะวันออก ภาคตะวันตก ก็สุดแล้วแต่ เออ... จะกวนทีนสักทีมันก็เหนื่อยในการจิ้มคีย์บอร์ดอยู่เหมือนกัน  
        แน่ละตามปกติ เราก็จะเจอคำถามที่ตอบได้ยากหรือตอบได้ง่ายแต่ขาดเอกสารอ้างอิงในเชิงหลักฐานอีกเช่นเคย คำถามนั้นคือเมื่อเราลงทุนทำระบบ ERP ชั่งตวงวัดแล้วเราได้ประโยชน์อะไรจากการดำเนินการตั้งงบประมาณลงทุนดังกล่าว ซึ่งเราก็เข้าใจดีจึงยกตัวอย่างงานหนึ่งคือ การประกันคุณภาพการสอบเทียบแบบมาตรา (Calibration) เพื่อให้แน่ใจว่าเรามีแบบมาตราที่มีความเที่ยงและได้มาตรฐานเท่าเทียบมอารนารยะประเทศ   เราจึงจัดจ้างที่ปรึกษาฯ มาให้ความรู้และจัดทำเอกสารคุณภาพฯ ตามกติกา ISO 17025 รวมทั้งขั้นตอนปฏิบัติงาน ตั้งงบประมาณจัดซื้อเครื่องมืออุปกรณ์และแบบมาตราตามกรอบการยื่นขอฯ หากท่านใดเคยขอยื่นรับ ISO 17025 มาก่อนท่านจะรู้ว่ามางานหนักหนาและต้องทำงานหนักเพียงใด อีกทั้งต้องได้ทีมที่เก่งจริงๆ ไม่เช่นนั้นยากที่จะสำเร็จ เพราะเราเคยเห็นหนังสือราชการจากระดับกองถึงหัวหน้าส่วนราชการมา 2 สมัยมาแล้วว่าขออนุมัติจัดทำระบบประกันคุณภาพและขีดความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO 17025 แต่แล้วก็ไม่สามารถจัดทำได้สำเร็จ แต่ไม่ต้องมีหลักฐานผมหรอก ผมโยนทิ้งถังขยะไปหมดแล้วอ้าว ซวยละสิ..... จากนั้นก็ไปยื่นขอระบบประกันคุณภาพและขีดความสามารถห้องปฏิบัติการ ISO 17025 ไว้ 11 ขอบข่ายกับ สมอ.  เราได้รับการรับรอง ISO 17025 แล้วอย่างไรต่อครับ เราเจอปัญหาในแทบทุกด้าน เช่นคุณภาพบุคลากร ขาดงบประมาณ การสื่อสารภายในองค์ การซ่อมบำรุง การประชุม ฯลฯ  และในขณะเดียวกันหากมีคนมาถามว่าชั่งตวงวัดได้รับ ISO 17025 ซึ่งต้องเสียงบประมาณและกำลังคนไปมากมายแล้วชั่งตวงวัดได้อะไรหรือได้ประโยชน์อันใดเป็นมูลค่าในรูปของตัวเงินเท่าใดสามารถคำนวณได้หรือไม่    มันตอบได้ครับ แต่ตอบแบบจับต้องเป็นตัวเลขมูลค่าไม่ได้ และหากต้องมีเอกสารหลักฐานที่จับต้องได้มาแสดงสงสัยไม่สามารถทำได้ครับเพราะราชการจะไปแสวงหาผลประโยชน์จากการกำกับดูแลพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542  ในรูปธุรกิจหรือออกมาในรูปค่าธรรมเนียมให้ได้มากมายอย่างนั้นได้หรือครับเพราะมันมี 2 ปรัชญา ว่ารัฐต้องจัดให้มีเพราะเป็นหน้าที่หรือรัฐต้องมีรายได้หลังจัดให้มีโดยไม่สนว่าเป็นหน้าที่ของรัฐหรือไม่ ?? ถ้าเป็นแบบอย่างหลังหน่วยงานนั้นจะถูกโอนไปเป็นรัฐวิสาหกิจไปแล้วหรือจะเป็นรูปบริษัทมหาชนไปแล้วเสียมากกว่า ดังนั้นหากต้องการหลักฐานให้อยู่รูปแบบเป็นตัวเลขมูลค่ามันก็ต้องเสียงบประมาณเพิ่มครับเพื่อจ้างผู้เชี่ยวชาญมาประเมินดังนั้นหากรัฐทำโครงการใดก็ต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญมาประเมินผลลัพธ์เป็นมูลค่าทุกครั้งคราวไปสงสัย งบประมาณบานหทัย   บางครั้งการทำงานใดมันจะสะสมอยู่ในคำว่า “Branding” ชั่งตวงวัด   หรือ “Trust” ของชั่งตวงวัดในเทอมของความเชื่อใจจากประชาชนและนานาประเทศที่เราต้องมีปฏิสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและสังคมภายในโลกใบนี้ด้วยสิครับ สุดท้ายจะไปสะสมใน Banding คำว่า “THAILAND”
        เราก็พยายามขอให้ข้าราชการที่น่าจะมีความรู้ความสามารถช่วยกันทำโครงการฯ ERP แต่ที่ได้รับเป็นสัญญาณไม่ค่อยสวยนัก   อย่างว่าเราไม่อยู่ในฐานะที่สามารถเข้าถึงทรัพยากรบุคคลและงบประมาณราชการได้   เลยตัดสินใจนำเรื่องที่ชั่งตวงวัดต้องทำนี้เขียนฝากทิ้งไว้ให้ข้าราชการที่เป็นคนดีและคนเก่งมาทำหากเห็นด้วยกับแนวความคิดเราตามที่เราได้มา “เล่าสู่กันฟัง” นี้   ถือเสียว่าเป็นการสื่อสารภายในองค์กรแบบเปิดกว้างสู่โลก INTERNET ผู้เปลี่ยนโลก
        ท้ายสุดและสุดท้าย ระบบมันจะอำนวยให้งานชั่งตวงวัดตามข้อบัญญัติของกฎหมาย (Legal Metrology) ของราชอาณาจักรไทยเจริญก้าวหน้าได้มากมายหรือรวดเร็ว หรือมันคลานกันไป ผมตายไปแล้วมันจะคลานต่อไปหรืออย่างไร? ไม่ทราบได้   แต่อยากดึงความคิดให้คำนึงถึงจุดเริ่มต้นของชั่งตวงวัดซึ่งแรกเริ่มเดิมทีพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ทรงมีพระราชประสงค์ก่อตั้งหน่วยงาน 2 หน่วยงานที่สำคัญคือ “สภาเผยแผ่พาณิชย์” เมื่อปี พ.ศ.2463 โดยถูกกำหนดให้เป็นหน่วยงานที่มีบทบาทสำคัญในกระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจของชาติ ซึ่งถ้าหากจะเปรียบเทียบกับหน่วยงานที่มีลักษณะอย่างเดียวกันในปัจจุบันแล้ว ก็อาจกล่าวได้ว่าหน้าที่และบทบาทของสภาเผยแผ่พาณิชย์นั้นใกล้เคียงกับ “สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ” เพราะสภาเผยแผ่พาณิชย์ถูกกำหนดให้เป็นหน่วยงานกลางที่ทำหน้าที่ทั้งในด้านการวางแผน การจัดการประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้เกิดการขยายการผลิต ทั้งในด้านเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ทำการคาดคะเนตลาดสินค้าต่าง ๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ รวมทั้งประสานงานให้การขยายตลาดสินค้าของไทยเป็นไปได้อย่างประสบผล ตลอดจนชี้ช่องทางการลงทุนในด้านต่าง ๆ ที่น่าจะเป็นไปได้แก่เอกชนทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศและอีกหน่วยงานหนึ่งคือ “ศาลแยกธาตุ” ให้มีหน้าที่ด้านการค้นคว้าวิจัย ทดลองต่าง ๆ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญที่จะนำทรัพยากรภายในประเทศมาผลิตเป็นสินค้า อันจะเป็นหนทางไปสู่ความเจริญมั่งคั่งทางเศรษฐกิจของชาติต่อไป เมื่อปี พ.ศ.2460 ซึ่งถือได้ว่าเป็นหน่วยงานที่ก้าวหน้ามากสำหรับยุคนั้นเพราะมีบทบาทเทียบเท่ากับ “สภาวิจัยแห่งชาติ” ที่เพิ่งก่อตั้งขึ้นใหม่ในภายหลัง     ครั้นพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งสภาเผยแพร่พาณิชย์และกระทรวงพาณิชย์ขึ้นในปี พ.ศ. 2463 นั้นก็โอนงานชั่งตวงวัดมาขึ้นกับสภาเผยแพร่พาณิชย์ แล้วจึงได้มีพระบรมราชโองการประกาศให้ตราพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัดขึ้นใช้เป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.2466   ทั้งก่อนหน้านั้นเมื่อปี พ.ศ. 2454 ประเทศสยามได้ขอเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาเมตริก (The International Metric Convention) หรือรู้จักในนาม Treaty of the Metre” และในปีถัดมา พ.ศ. 2455 (ค.ศ. 1912) ประเทศสยามจึงได้เป็นสมาชิก “Member States” ของอนุสัญญาระบบเมตริก และขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกสำนักงานมาตราชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (BIPM) ที่ประเทศฝรั่งเศส และให้เรื่องราวต่อมาดังกล่าวนั้นได้มาอยู่ในความรับผิดชอบของ “สำนักงานกลางชั่งตวงวัด” สิครับ ก่อนจะโอนงานเรื่องดังกล่าวไปยังสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (NIMT)
 
 
        จากที่เขียนมาเพื่อเป็นการตอกย้ำถึงรากเหง้าว่า “ชั่งตวงวัด” เกิดจาก Globalization ในรัชกาลที่ 5 จนมาสำเร็จในรัชกาลที่ 6   โดยพื้นฐานของกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคมของราชอาณจักรไทยในสมัยนั้นมีพื้นฐานจากภาคการเกษตรดังนั้นในแรกเริ่มจึงอยู่ในกระทรวงเกษตรศาสตร์แต่เมื่อชั่งตวงวัดได้เป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาเมตริก (The International Metric Convention) หรือรู้จักในนาม Treaty of the Metre” ก็ได้มีการขยับขยายกรอบงานและความคิดไปอยู่ภายใต้ “สภาเผยแผ่พาณิชย์” ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งในสมัยนั้นที่มีหน้าที่เทียบเท่า “สภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ” ซึ่งก็ควรมีกรอบเนื้องานที่กว้างขว้างครอบคลุมทุกกระทรวง แต่เมื่อผ่านการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาการโยนย้ายเข้าไปอยู่ในร่มของ “กระทรวงพาณิชย์” กรอบเนื้องานชั่งตวงวัดจึงยิ่งจำกัดลงตามร่มเงาที่อยู่ของหน่วยงานแค่ “กระทรวงพาณิชย์” เท่านั้นเองซึ่งขัดแย้งกับเนื้องานโดยนิยามของ Metrology เดิมจากนั้นลดรูปเหลือเพียง  “Legal Metrology” ภายใต้พลวัตรเศรษฐกิจและสังคมรวมทั้งกิจกรรมของโลกเพราะ Metrology ของโลกแตกออกไป 2 สาขาคือ Science Metrology และ Legal Metrology และประเทศไทยเรามี 2  หน่วยงานที่รับผิดชอบเรื่องดังกล่าวคือ “สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ” และ “กองชั่งตวงวัด” ตามลำดับซึ่งนับว่าบุญมากแล้วที่ชั่งตวงวัดยังมีฐานะระดับ “กอง” ไม่ได้เป็นระดับ “งาน”  แต่หากไม่พัฒนาถีบตัวมันก็ไม่แน่... 55555    ด้วยเหตุนี้เราบ่นไปก็เท่านั้น.... ที่เหลือท่านลำดับความคิดเอาเอง..... สมควรแก่เวลาแล้ว....จึงขอลาญาติโยมไปเพียงแค่นี้...... สาธุ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
ชั่งตวงวัด; GOM MOC
นนทบุรี
8 กันยายน 2564
ปรุงยาม COVID-19 ระบาด
 

 



จำนวนผู้เข้าชม : 4913