สาระน่ารู้ ชั่งตวงวัด

กรณีศึกษาถังตวงแบบมาตรา : Case Study of Prover Tanks

 

กรณีศึกษาถังตวงแบบมาตรา

 

Case Study of Prover Tanks
 
 
ถังตวงแบบมาตรา ถือเป็นแบบมาตราหนึ่งที่ถูกจัดเป็นกลุ่มแบบมาตราที่อยู่ต้นน้ำในด้านปริมาตร  ถือเป็นการวัดปริมาตรแบบ Static ที่ให้ผลการวัดที่น่าเชื่อถือ ประกอบกับตัวแบบมาตราเองก็สามารถเคลื่อนย้ายได้สะดวก ในด้านราคาค่าตัวก็พอรับได้  แถมการเก็บและบำรุงรักษาก็มีค่าใช้จ่ายน้อยกว่าเมื่อเทียบกับแบบมาตราที่มีหลักการทำงานที่ซับซ้อนกว่านี้อย่างเช่น Master Flowmeter หรือ Compact Prover  ในส่วนของการใช้งานและควบคุมถังตวงแบบมาตรานั้นความต้องการใช้บุคคลากรที่ต้องมีความรู้ความสามารถและทักษะในการใช้งานหรือ operate แบบมาตราไม่สูงมากนักเมื่อเทียบกับแบบมาตราอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามถังตวงแบบมาตราไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้านที่จะถูกใช้งานในการสอบเทียบเครื่องชั่งตวงวัดด้านปริมาตรได้ในทุกกรณี เช่น ในกรณีที่ของเหลวมีค่าความหนืดเกิน 5 cSt นั้นไม่เหมาะสมกับการเลือกถังตวงแบบมาตราในการตรวจสอบให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดด้านแบบมาตรา, อัตราการไหลทดสอบที่ให้ค่าปริมาตรรวมภายในระยะเวลา 90 วินาทีแล้วมีปริมาตรเกินพิกัดกำลังของถังตวงแบบมาตราก็ไม่เหมาะสมที่จะใช้ถังตวงแบบมาตราเช่นกัน ทำไมหรือครับ... สงสัยจะยาวครับจึงขอไม่ตอบแล้วกันครับ   ขอรบกวนไปอ่านหนังสือ “การคำนวณผลการสอบเทียบด้านปริมาตร (ฉบับปรับปรุง)” ซึ่งเป็น E-Book ในเวปไซด์ www.cbwmthai.org
 
TSR_DownstreamPetroleum_Recommendations_AppendixB_e.png
รูปที่ 1   การสอบย้อนกลับ (Traceability Chain) ของถังตวงแบบมาตรา
 
 
เนื่องจากชั่งตวงวัดไม่มีงบประมาณที่มากมาย รวมทั้งจำนวนและคุณภาพของบุคลากรก็ไม่ได้มากมายเมื่อเทียบกับสถาบันฯ หน่วยงานฯ หน่วยงานเอกชนฯ   ดังนั้นจึงต้องหาจังหวะเกาะกุมงานด้านชั่งตวงวัดทางด้านต้นน้ำเอาไว้ก่อน โดยคาดหวังว่าเครื่องชั่งตวงวัดกลางน้ำ ปลายน้ำ จะไม่บิดเบี้ยว เบี่ยงเบนมากนัก (คาดหวังด้วยใจบริสุทธิ์) เพราะไม่สามารถมีกำลังคนกำลังงบฯ ไปดูแลเครื่องชั่งตวงวัดที่มีอยู่ภายในราชอาณาจักรไทยซึ่งโดยหลักการแล้วไม่ใช่เพียงแต่เครื่องชั่งตวงวัดในด้านการค้า (Trade) ซึ่งรวมถึงการค้าสินค้าและการบริการเท่านั้นแต่ยังรวมถึงทางเครื่องชั่งตวงวัดด้านการบังคับใช้กฎหมาย (Official Controls) เช่น เครื่องวัดตรวจจับความเร็ว เป็นต้น, เครื่องชั่งตวงวัดด้านสุขภาพ (Health), เครื่องชั่งตวงวัดด้านความปลอดภัย (Safety) และเครื่องชั่งตวงวัดด้านสิ่งแวดล้อม (Environment)  รวมกันเป็น 5 ด้านหลักในงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมายหรืองานชั่งตวงวัดในเชิงกฎหมาย (Legal Metrology) นั้นเอง แต่ภายใต้พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ชั่งตวงวัดยังสงวนเวทีแค่เพียงด้านการค้า (Trade) แถมต้องอยู่ในแผนกการตลาด (Marketing) ของรัฐบาลอีกต่างหาก   แต่อย่างว่าแหละครับแค่งานด้านการค้า (Trade) ก็ดูแลแทบไม่ไหวอยู่แล้ว ดังนั้นหากยังคงดำรงอยู่ในการบริหารแบบนี้ต่อไป มันไม่พังหรอกครับ มันมีความก้าวหน้าและดีขึ้นครับ.....แต่มันจะทันต่อความต้องการของกิจกรรมทางเศรษฐกิจหรือเปล่านั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง บ่นไปก็แค่นั้น......ทำซิครับเจ้านาย.......   บ่นไปพอหอมปากหอมคอแล้วกลับมาเข้าเรื่องของเราดีกว่าครับ งานรากฐานของชั่งตวงวัดมีด้วยกันหลายด้านเช่นด้านพัฒนากฎหมาย ด้านพัฒนาแบบมาตราชั่งตวงวัด เป็นต้น แต่ด้านที่สำคัญที่สุดคือด้านบุคคลากรที่ทำงานชั่งตวงวัดดังนั้นเพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านชั่งตวงวัดในเรื่องแบบมาตราต้นน้ำโดยเฉพาะ “ถังตวงแบบมาตรา” โดยคาดหวังว่าจะสามารถส่งมอบความรู้และมุมมองให้กับบุคคลากรชั่งตวงวัดทั้งที่ทำงานอยู่ในภาครัฐและภาคเอกชนตลอดจนภาคประชาชนที่มีความสนใจส่วนจะผิดถูกอย่างไรก็ถือว่าเป็นความรู้สะสมก็แล้วกัน เมื่อกระนั้นแล้วจึงต้องปลุกปลอบขวัญกำลังใจ กระตุ้นจิตใจ นั่งสกดจิตให้ปรับทัศนคติตัวเอง.... จึงตัดใจมานั่งเขียน (จิ้มคีย์บอร์ด) บทความนี้ซึ่งตั้งชื่อว่า “กรณีศึกษาถังตวงแบบมาตรา” เพื่อรวบรวมปัญหาและสาระเกี่ยวกับถังตวงแบบมาตราที่ผู้ครอบส่งมาให้ชั่งตวงวัดทำการตรวจสอบและสอบเทียบตลอดจนผู้ประกอบการฯขอคำแนะนำ และ/หรือขอคำปรึกษาในการออกแบบถังตวงแบบมาตรา รวมทั้งผลการปฏิบัติงานตรวจสอบและสอบเทียบกถังตวงแบบมาตราที่ติดตรึงอยู่กับที่ในภาคสนามของเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัด  นอกจากนี้ยังรวบรวมจากมุมมองการพิจารณาชี้แจงให้เหตุผลและขอให้ผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตรากลับไปดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้ถังตวงแบบมาตราได้มาตรฐานตามที่ควรจะเป็นทั้งนี้เพื่อทำให้ราชอาณาจักรไทยมีมาตรฐานถังตวงแบบมาตราเท่าเทียมกับอานารยะประเทศ   ส่วนจะยกระดับ ปรับปรุงระดับ บังคับให้มีระดับ ดันให้มีระดับ ขอร้องให้มีระดับ ชี้แจงให้มีระดับ ปฏิเสธไม่สอบเทียบก่อนปรับปรุงระดับ.......ฯลฯ   จนหลายคนเกียดชังชั่งตวงวัดเท่าเทียมเป็นระดับเดียวกัน ผมก็ยอมครับ.... 555   ทุกอย่างมันมีต้นทุนเสมอครับ
          ก่อนอื่นปูพื้นสักนิดน่ะครับ ถังตวงแบบมาตราที่พบเห็นและนิยมใช้กันทั่วไป ย้ำน่ะครับว่า “โดยทั่วไป” ไม่รวมพวกถังตวงแบบมาตราที่ออกแบบพิเศษใช้เฉพาะงานจะมี 2 ลักษณะ (ดูรูปที่ 2) คือ ถังตวงแบบมาตราแบบคอน้ำล้น (Weir Type) แบบมาตราชนิดนี้จะให้ผลการวัดค่าปริมาตรเพียงค่าเดียวตามที่ได้ออกแบบ กับถังตวงแบบมาตราแบบคอขีดขั้นหมายมาตรา (Neck Scale Type) ซึ่งจะให้ผลการวัดได้หลายค่าปริมาตรนอกเหนือจากค่าปริมาตรพิกัดกำลัง แต่จะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับปริมาตรของคอถังตวงแบบมาตรา
 
 

 

รูปที่ 2 เครื่องตวงชนิดคอน้ำล้น (Weir Type) เครื่องตวงชนิดคอมีขีดขั้นหมายมาตรา (Neck Scale Type)
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 1 : ถังตวงแบบมาตรา ก็ต้องฝึกกังฟู.....
          อย่างที่ว่าในหัวข้อแหละครับรากฐานของการฝึกกังฟู (ตามที่ดูในหนังจีนกำลังภายใน) พระเอกก็ต้องฝึกกำลังขาให้แข็งแรง เพื่อการทรงตัวที่ดี ก่อนจะไปฝึกท่ายากต่อไป  พระเอกต้องไปตักน้ำในลำธารแล้วเดินหิวน้ำขึ้นภูเขาเอาไปให้พระผู้ใหญ่อาบก่อให้เกิดประโยชน์ 2 เด้ง เด้งแรกก็ตอบแทนคุณอาจารย์เด้งที่สองก็ได้ฝึกกำลังขากำลังแขน  ถังตวงแบบมาตราก็เช่นเดียวกันครับเพราะปลายทางของถังตวงแบบมาตรานั้นก็คือผลการวัดปริมาตรของเหลวภายในถังฯ สิ่งที่จะบอกค่าปริมาตรของเหลวภายในถังฯก็ใช้หลักการธรรมชาติคือ “แรงโน้มถ่วงของโลก” ด้วยการอ่านค่าปริมาตรของเหลวตามระดับของเหลวภายใต้แรงโน้มถ่วง ให้ธรรมชาติทำงานเพราะธรรมชาตินั้นถูกต้องเที่ยงตรง ไม่เปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา (ซึ่งจริงๆ มันก็เปลี่ยนแปลงแหละแต่..เราตายก่อน) การจะให้ระดับของเหลวขนานกับพื้นโลกได้ก็ต้องปรับระดับของถังตวงแบบมาตราให้ได้ระดับเสมอตลอดเวลาทำการวัด เพราะในภาคสนามจริงหาพื้นที่วางถังตวงที่มีระดับ HISO ออได้ระดับจริงๆนั้น ค่อนข้างยาก ดังนั้นถังตวงแบบมาตราต้องมีตัวปรับระดับประจำถังเสมอในกรณีที่เป็นถังตวงแบบมาตราเคลื่อนที่ได้   รวมไปถึงถังตวงแบบมาตราชนิดติดตรึงอยู่กับที่ก็ต้องทำการปรับระดับให้ได้ก่อนทำการยึดแน่นตัวถังตวงแบบมาตราต่อไป    ดังรูปที่ 3   เมื่อปรับระดับถังตวงแบบมาตราได้ที่แล้วคอถังตวงแบบมาตราจะตั้งฉากกับพื้นโลก จากนั้นปล่อยให้ธรรมชาติทำงานในการวัดแต่ละครั้ง ซึ่งจะส่งผลต่อค่า Repeatability, Uncertainty, ….พวกตี๋ๆ... กันต่อไป   ดูรูปที่ 4 แถวบน กรณีถังตวงแบบมาตราที่มีคอถังเป็นแบบคอขีดขั้นหมายมาตราเมื่อระดับของเหลวภายในคอถังตวงแบบมาตราขนานไปกับพื้นโลกตามแรงโน้มถ่วงของโลกในก็จะอ่านค่าปริมาตรตามที่ปรากฏบนแผ่นขีดขั้นหมายมาตรา (Scale Plate) ต่อไป  ในกรณีถังตวงแบบมาตราที่คอถังเป็นแบบคอน้ำล้นนั้นธรรมชาติที่เข้ามาช่วยทำงานเพิ่มเติมอีกอย่างหนึ่งนอกเหนือจากแรงโน้มถ่วงของโลกนั้นก็คือ “แรงตึงผิวของของเหลว” (ดูรูปที่ 4 แถวล่าง) ด้วยเหตุนี้หากของเหลวใดที่มีแรงตึงผิวน้อยมากจนไม่สามารถขึ้นรูปนูนๆ อูมๆ ได้คล้ายหรือใกล้เคียงกับน้ำแล้วละก็   ถังตวงแบบมาตราแบบคอถังน้ำล้นก็ไม่เหมาะกับการนำไปใช้งานนะครับ   เพราะธรรมชาติมันเรียกร้องๆๆๆ..
 
 
 
 
ล้อและตัวปรับระดับ (2).JPG
 
รูปที่ 3 ถังตวงแบบมาตราต้องมีตัวปรับระดับ
 
 
การอ่านระดับปริมาตร.jpg
 
 
 
รูปที่ 4 คอถังตวงแบบมาตราแบบขีดขั้นหมายมาตรา (บน) กับแบบคอน้ำล้น (ล่าง)
 
 
          ดังนั้นหากผู้ครอบครองส่งถังตวงแบบมาตราโดยที่ไม่มีตัวปรับระดับประจำถัง ย้ำน่ะครับติดตั้งประจำถังถาวรแล้วล่ะก็ ชั่งตวงวัดจะขอร้องให้ไปดำเนินการติดตั้งให้แล้วเสร็จก่อนจึงจะพิจารณาดำเนินการสอบเทียบให้   ออ.. แต่ผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราอย่าพึ่งรีบไปดำเนินการแก้ไขน่ะครับ  รออ่านให้จบบทความก่อนท่านอาจจะได้อีก 1 หรือ 2 หรือ 3 หรือ...รายการแก้ไข   หรือไม่มีรายการแก้ไขเพิ่มเลยก็เป็นได้ทั้งนั้น    ช่วยร่วมมือกันพัฒนางานด้านชั่งตวงวัดของบ้านเรากันน่ะครับ อย่าโกรธกัน
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 2 : ส่วนวัดระดับประจำถังตวงแบบมาตรา
          จากกรณีศึกษาที่ 1 สรุปว่าถังตวงแบบมาตราต้องมีตัวปรับระดับ  ดังนั้นเมื่อทำการปรับระดับแล้วต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ใดบ้างเพื่อตรวจสอบว่าถังตวงแบบมาตราได้ระดับจริง ๆ การคาดหวังว่าจะให้ผู้ใช้งานถังตวงแบบมาตราทุกคนต้องพกพาเครื่องวัดระดับน้ำทุกครั้งที่ใช้งานดูเหมือนจะเป็นเรื่องใกล้เกินเอื้อม ออ..ไกลเกินเอื้อมจนให้น่าไว้ใจได้   ดังนั้นจึงต้องกำหนดให้ถังตวงแบบมาตราต้องมีส่วนวัดระดับประจำถังตวงแบบมาตรา และต้องวัดพร้อมกันได้ทั้ง 2 ระนาบเพื่อประกันว่าเมื่อตั้งระดับถังตวงแบบมาตราแล้วคอถังตวงต้องตั้งฉากกับพื้นโลกและเพื่อประกันว่าส่วนวัดระดับดังกล่าวให้ผลการวัดระดับถูกต้องอยู่ตลอดเวลาชั่งตวงวัดจึงกำหนดให้มันมีที่ซีลป้องกันการปรับแต่งเพื่อประกันว่าหากทำการปรับแต่งส่วนวัดระดับแล้วซีลต้องขาด เพราะหากทำการแก้ไขระดับจนทำให้คอถังตวงแบบมาตราเอียงตัวจะส่งผลให้ผลการวัดปริมาตรผิดไปจะเกิดปัญหาการได้เสียเกิดขึ้นส่วนใครจะได้ประโยชน์หรือเสียประโยชน์ก็อีกเรื่องหนึ่งค่อยๆ คิด
 
 
 
 
รูปที่ 5 การติดตั้งส่วนวัดระดับจำนวน 2 ตัวให้ตั้งฉากกันเพื่อตรวจวัดระดับได้ 2 ระนาบพร้อมกัน
 
 
 
Prover_tank_details_02.jpg
 
รูปที่ 6 การติดตั้งส่วนวัดระดับที่สามารถวัดได้ 2 ระนาบภายในตัวเดียว
 
 
         หากถังตวงแบบมาตราใดไม่ได้ติดตั้งส่วนวัดระดับประจำถังตวง  ชั่งตวงวัดก็ขอให้ปรับปรุงแก้ไข   แต่ถ้าหากมีแล้วอย่างตัวอย่างเช่นในรูปที่ 7   ชั่งตวงวัดก็ขอให้แก้ไขด้วยเช่นกันครับ...ไม่ตอบว่าเพราะอะไรน่ะครับ แต่ถ้าสงสัยขอให้ย้อนกลับไปดูรูปที่ 5 และรูปที่ 6 ครับ
 
 
รูปที่ 7 การติดตั้งส่วนวัดระดับที่สามารถวัดได้ 2 ระนาบภายในตัวเดียวแต่ชั่งตวงวัดขอให้แก้ไข
 
 
กรณีศึกษาที่ 3 : ท่อทางเข้าของถังตวงแบบมาตราบนหลักการ 1 Inlet - 1 Outlet - 1 Prover Tank
          ใน ณ ปัจจุบันเท่าที่ทราบและพบเห็น ชั่งตวงวัดจะพบลักษณะท่อทางเข้าถังตวงแบบมาตรา 3 รูปแบบคือ แบบแรกท่อทางเข้าถังตวงแบบมาตราเข้าทางปากถัง (Top Loading) โดยปลายท่อจะอยู่บริเวณปากถังตวงแบบมาตราดังนั้นเมื่อของเหลวไหลเข้าถังตวงแบบมาตราของเหลวจะไหลตกลงจากปากถังลงไปยังก้นถังซึ่งหากของเหลวเป็นของเหลวปิโตรเลียมซึ่งระเหยตัวกลายเป็นไอได้ง่าย (ความดันไอสูง) อยู่แล้วจะก่อให้เกิดการฟุ้งกระจายตัวเป็นไอปิโตรเลียมหากผู้ปฏิบัติงานอยู่ใกล้บริเวณถังตวงแบบมาตราก็จะได้รับรู้ถึงความเข้มข้นก็กลิ่นไอของเหลวปิโตรเลียม  ในอดีตสังคมยังไม่ได้ใส่ใจในเรื่องสุขภาพหรือสิ่งแวดล้อม แต่จะทุ่มความสนใจไปด้านความปลอดภัยรวมทั้ง Oil Loss Control กันมากกว่า   แบบสองเป็นท่อทางเข้าถังตวงแบบมาตราเข้าทางก้นถัง (Bottom Loading) (ดูรูปที่ 8)  ตอนแรกๆเมื่อของเหลวไหลเข้าถังของเหลวจะต้องถูกออกแบบให้ไม่ให้ของเหลวพุ่งขึ้นออกไปทางปากถังด้วยการติดตั้ง Buffer บริเวณปากทางเข้า (ดูรูปที่ 9) ดังนั้นในช่วงแรกๆจึงมีการฟุ้งกระจายของเหลวปิโตรเลียมที่กลายเป็นไอมากอยู่ในระดับหนึ่งแต่เมื่อเวลาผ่ายไประดับของเหลวท่วมปากทางเข้า ของเหลวจะกดทับของเหลวที่เข้ามาทำให้การเกิดการฟุ้งกระจายลดลงและทำให้ระดับของเหลวภายในถังตวงแบบมาตราเพิ่มระดับสูงขึ้นแบบนิ่มนวลผิวหน้าระดับของเหลวกระเพื่อมตัวน้อยมากเมื่อเทียบกับท่อทางเข้าแบบ Top Loading ทำให้สามารถอ่านค่าปริมาตรจากคอถังได้รวดเร็วไม่ต้องรอให้ของเหลวหยึดกระเพื่อมตัว และยิ่งโลกให้ความสำคัญในเรื่องสุขภาพและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น (หรือไม่ทราบว่าเป็นกฎหมายบังคับกันแน่) ผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราบางรายก็เพิ่มเติมอุปกรณ์ Vapor Recovery เข้ากับถังตวงแบบมาตราเข้าไปอีก ยิ่งดีต่อกายและดีต่อใจ    แบบที่สาม เป็นแบบประยุกต์แบบแรกคือแทนที่ท่อทางเข้าจะจ่อลงเข้าปากถังตวงแบบมาตราในบริเวณทางด้านบนแต่ปรับปรุงด้วยการต่อท่อให้ยาวเพิ่มลงมาถึงเกือบก้นถังโดยทำปลายทางออกให้เป็นปากฉลามหันไปในทิศทางเปิดโล่งเพื่อลดแรงกระแทกพื้นถัง (ดูรูปที่ 10) ดังนั้นเสมือนเป็น Bottom Loading ดีๆ นี้เอง  ซึ่งช่วยแก้ไขปัญหาในทางปฏิบัติที่ยังต้องการทำงานในลักษณะ Top Loading อยู่ก็ถือว่าดีเหมือนกันแถมสามารถติดตั้ง Vapor Recovery เข้ากับถังตวงแบบมาตราได้อีกด้วย    ซึ่งดูๆไปแล้วถังตวงแบบมาตราในอุตสาหกรรมปิโตรเลียมได้มีพัฒนาการในเรื่องถังตวงแบบมาตราจากระบบเปิดให้กลายเป็นระบบปิดกลายๆ แต่ไม่ถึงกับเป็นถังแรงดันในระดับ ASME Pressure Vessel Section VIII แต่ก็มีความดันเล็กน้อยๆ  
 
รูปที่ 8 Top Loading หรือ Top Filling กับ Bottom Loading หรือ Bottom Filling
 
 
 
รูปที่ 9 การติดตั้ง Buffer ทางเข้าถังตวงแบบมาตราแบบ Bottom Loading
 
 
 
รูปที่ 10 การประยุกต์ Top Loading ให้เป็นเสมือน Bottom Loading
 
 
          จากเอกสาร NIST Handbook 105-3, Specifications and Tolerances for Graduated Neck Type Volumetric Field Standards  ท่อทางเข้าแบบ Bottom Loading ก็ได้รับการออกแบบในอีกรูปแบบหนึ่ง ดังในรูปที่ 11 และรูปที่ 12  แต่ในราชอาณาจักรไทยนั้นชั่งตวงวัดเจอถังตวงแบบมาตราที่ดูเหมือนจะเป็นไปตามเอกสารดังกล่าวข้างบน  ย้ำ..น่ะครับว่า “ดูเหมือน” แต่เมื่อดูเนื้อในรายละเอียดพบว่ามันเป็นอีกอย่างหนึ่งดังในรูปที่ 13 ซึ่งชั่งตวงวัดพบว่ามีแนวคิดนี้อยู่หลายผู้ครอบครองและชั่งตวงวัดยิ่งสงสัยในเบื้องหลังความคิดของคนจัดสร้างถังตวงแบบมาตราดังกล่าวตามดังในรูปที่ 13 ชั่งตวงวัดเลยสืบสวนสอบสวน (ยังกับนิยาย) ซึ่งได้พบว่า
 
 
 
รูปที่ 11 ท่อทางเข้าถังตวงแบบมาตราตาม NIST Handbook 105-3, Specifications and Tolerances for Graduated Neck Type Volumetric Field Standards
 
 
 
 
 
รูปที่ 12 ท่อทางเข้าถังตวงแบบมาตราตาม NIST Handbook 105-3
 
 
 
 
 
20180608_110501.jpg
 
รูปที่ 13 ท่อทางเข้าถังตวงแบบมาตราที่ยังมีข้อสงสัยเมื่อเทียบกับ NIST Handbook 105-3 และไม่ทำการสอบเทียบจนกว่าทำการแก้ไข
 
 
 
ดูรูปที่ 14 จะเห็นว่าเป็นถังตวงแบบมาตราที่ออกแบบให้เป็นลูกผสมกันหลากหลายรูปแบบเพื่อให้สามารถใช้งานได้หลากหลายชนิด อาจจะด้วยการสร้างถังตวงแบบมาตราหนึ่งถังมันมีค่าใช้จ่ายดังนั้นเมื่อจ่ายเงินไปแล้วต้องสามารถนำไปใช้งานได้หลากหลายตามความต้องได้หมด หากไปใช้งานตรวจสอบมาตรวัดปริมาตรของเหลวที่ใช้ซื้อขายแบบขายส่ง (Whole Sale) ในสถานที่ Truck Loading ก็สามารถต่อเข้าวาล์ API ได้เลยซึ่งติดตั้งบริเวณข้างถังฯ แต่หากไปตรวจมาตรวัดปริมาตรของเหลวที่มีทางออกเป็นท่อยาง (Rubber Hose) แทนที่เป็น Loading Arm ตามที่ปรากฏใน Truck Loading ก็สามารถต่อท่อตรงเข้าทางด้านล่างก้นถังตวงแบบมาตราได้เลยเพราะมันมีทางเข้าถังตวงแบบมาตราได้ทั้ง 2 ทางช่างเป็นความชาญฉลาดเสียเหลือเกินครับ... น่าสนใจครับ แถมยังมีอุปกรณ์ Vapor Recovery บริเวณปากถังบนสุดได้ด้วยซึ่งชั่งตวงวัดจะไม่เห็นในรูปที่ 14 แต่มีร่องรอยระบบท่อให้คาดว่าน่าจะเป็นเช่นนั้น
 
 
 

  

รูปที่ 14 ท่อทางเข้าถังตวงแบบมาตราเข้าทางผนังด้านข้างถังตวงแบบมาตรา
 
 
          แต่ขอให้คิดว่าเมื่อมีโหมดการทำงานหรือการใช้ถังตวงแบบมาตราทั้ง 2 โหมด (เข้าข้างถังด้วย API วาล์กับเข้าทางท่อก้นถัง) แล้ว อย่าลืมยังมีอีกโหมดที่ต้องคำนึงถึงนั้นคือโหมดการสอบเทียบถังตวงแบบมาตราซึ่งจะมีรายละเอียดการทำงานเสมือนกับโหมดต่อท่อยาง (Rubber Hose) เข้ากับท่อทางเข้าทางด้านล่างก้นถังตวงแบบมาตรา นั้นคือเมื่อทำการสอบเทียบถังตวงแบบมาตราดังกล่าวด้วยวิธีการตวงเปรียบเทียบ (Volumetric Method) โดยให้ถังตวงแบบมาตราอยู่เหนือถังตวงที่ต้องการสอบเทียบ (ก็คือถังดังในรูปที่ 14) เมื่อปล่อยน้ำเข้าถังตวงที่ต้องการสอบเทียบระดับน้ำจะค่อยๆเพิ่มสูงขึ้นจากก้นถังจนน้ำเข้าไปในท่อที่ยื่นเข้าผนังถังที่โค้งงอลง (ดูรูปที่ 14) ข้อกังวลว่าจะเกิดกับดักอากาศ (Vapor Trap) ภายในท่อดังกล่าวจะมีสูง แต่ได้รับการชี้แจงจากผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราดังกล่าวว่าได้ทำการเจาะรูหลายรูบนหลังท่อใกล้บริเวณผนังถังที่ยื่นเข้ามาภายในถังแล้ว ซึ่งวันนั้นชั่งตวงวัดเองก็ไม่ได้มุดเข้าไปดูหรือตรวจสอบว่ามีจะรูบนหลังท่อจริงหรือเปล่า แต่งานชั่งตวงวัดเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณชนจึงต้องพิจารณาถึงความโปร่งใส่ ง่ายต่อการตรวจสอบ ง่ายต่อการใช้งาน ง่ายต่อการบำรุงรักษาและน่าเชื่อถือ ถึงแม้ภายหลังที่ทำการสอบเทียบถังตวงแบบมาตราไปแล้วและให้ค่า Repeatability ดีก็ตาม   ชั่งตวงวัดก็ยังไม่สบายใจว่ารูที่เจาะบนหลังท่อบริเวณใกล้ผนังถังดังกล่าวจะไม่อุดตันเมื่อเวลาผ่านไปเนื่องจากการใช้งานถังตวง ประกอบกับการออกแบบถังที่ให้ความหลากหลายอาจสร้างความสับสนและความชัดเจนในการใช้งานกับสาธารณชนเพราะมีทางเข้าถึง 2 ทางซึ่งขัดกับหลักการที่ชั่งตวงวัดยึดคือ 1 Inlet - 1 Outlet - 1 Prover Tankจึงขอให้ผู้ครอบครองถังตัดท่อทางเข้าที่ติดตั้ง API วาล์วบริเวณผนังถังออกไปเพื่อให้เหลือท่อทางเข้าเพียงท่อทางเดียวและตัดปัญหาและความเสี่ยงที่จะเกิดกับดักอากาศ (Vapor Trap) ภายในท่อ ซึ่งสามารถตรวจสอบด้วยทางสายตาก่อนและหลังใช้งานได้ง่ายกับสาธารณชน ดังในรูปที่ 15  ซึ่งผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราดังกล่าวท่านเมตตาชั่งตวงวัดได้ดำเนินการแก้ไขให้....ขอบพระคุณครับ
 
 
 
รูปที่ 15 ตัดท่อทางเข้าถังตวงแบบมาตราเข้าทางผนังด้านข้างถังตวงแบบมาตรา
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 4 : ท่อทางออกของถังตวงแบบมาตราบนหลักการ 1 Inlet - 1 Outlet - 1 Prover Tank
          งานนี้เป็นงานที่เหนื่อยในการชี้แจงและขอให้ปรับปรุงเพราะว่าพนักงานบริษัท/บริษัทผู้ครอบครองเป็นผู้ที่มีความรู้สูงจากต่างประเทศหรืออาจจะเป็นปัญหาด้านการสื่อสารหรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้แต่ข้าราชการผู้น้อยชั่งตวงวัดอย่างเราก็หัวดื้อจนต้องยื่นคำขาดว่าถ้าไม่แก้ไขก็ไม่สอบเทียบครับ ชั่งตวงวัดดื้อครับแต่รับรองจิตใจไม่กลั่นแกล้ง 100% ชั่งตวงวัดมีมาตรฐานและรักษามาตรฐานและหากเมื่อประสงค์ยกระดับให้มีมาตรฐานสูงขึ้นอย่างมีเหตุผลก็ต้องยกระดับมาตรฐานกันซึ่งวันนี้ท่านไม่ปฏิบัติพรุ่งนี้ชั่งตวงวัดก็ขอช่วยขอความร่วมมือให้ปฏิบัติและจะขอเป็นเด็กดื้อจนกว่าท่านผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราจะปฏิบัติน่ะขอรับท่าน.... แต่ทั้งนี้และทั้งนั้นความดื้อก็ไม่คงทนถาวรหรอกครับ....??
          งานนี้ง่ายๆ คือ “1 Inlet - 1 Outlet - 1 Prover Tank” ผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราต้องการใช้ถังตวงแบบมาตราในการตรวจสอบปริมาตรของช่องเก็บน้ำมัน (Compartments) ของถังบรรจุน้ำมันซึ่งติดตั้งบนรถยนต์ขนส่งบรรทุกน้ำมันที่มีอยู่หลายช่องเก็บตามชนิดของผลิตภัณฑ์ของเหลวปิโตรเลียมซึ่งอาจมีปริมาตร 3,000 ลิตร 4,000 ลิตร 5,000 ลิตร และ ฯลฯ (ดูรูปที่ 16) เพื่อความสะดวกในการทำงานในภาคอุตสาหกรรมซึ่งเราก็เข้าใจเพราะเราก็เคยอยู่ในภาคอุตสาหกรรมมาก่อน ผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราซึ่งมีถังตวงแบบมาตรา 3000 ลิตรจำนวน 1 ถัง และ1000 ลิตร จำนวน 1 ถัง ติดตั้งอยู่บนชั้นลอยเหนือรถยนต์บรรทุกขึ้นไปพร้อมติดตั้งรางเลื่อนชั้นลอยให้สามารถลอยไปลอยมาเลื่อนไปข้างหน้าเลื่อนไปข้างหลัง วันไหนอยากเลื่อนไปข้างหน้าก็เลื่อน วันไหนอยากเลื่อนไปข้างหลังก็เลื่อน สนุกครับชั้นลอย   ท่านก็จับท่อทางออกของทั้ง 2 ถังคือถังตวงแบบมาตรา 3,000 ลิตรกับ 1,000 ลิตรเข้าด้วยกัน ดังรูปที่ 17   ซึ่งบนหลักการ 1 Inlet - 1 Outlet - 1 Prover Tank ชั่งตวงวัดก็ไม่สบายใจ เพราะชั่งตวงวัดไม่สามารถตรวจสอบด้วยมางสายตาว่าหากวาล์วรั่วจะเป็นวาล์วของถัง 3000 ลิตร หรือ 1000 ลิตร   ในขณะเดียวกันในการสอบเทียบชั่งตวงวัดก็ไม่สามารถตรวจสอบ Drain Time จากท่อร่วมดังกล่าวหากมีสภาพของเหลวค้างในท่อใดท่อหนึ่ง    อย่างที่กล่าวไว้ชั่งตวงวัดเข้าใจว่าเป็นการทำงานในภาคอุตสาหกรรมต้องการความรวดเร็ว ระยะเวลาที่สั้นกระชับได้งาน ประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน แต่อย่าลืมผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราต้องการความเที่ยงของถังตวงแบบมาตราและต้องการให้ชั่งตวงวัดรับรองปริมาตรของถังตวงแบบมาตราดังกล่าว   เมื่อถังตวงแบบมาตราเข้ามาอยู่ในโซนของงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมายนี้เป็นกฎบ้านท่านต้องปฏิบัติตามกฎบ้านด้วยเพราะชั่งตวงวัดเองก็ได้รับการสอบถามและข้อข้องใจถึงปริมาตรน้ำมันในถังบนรถยนต์บรรทุกน้ำมันว่าระดับน้ำมันท่วมแป้นน้ำมันแล้วแต่ไม่ใช่ปริมาตรที่ถูกต้อง ชั่งตวงวัดก็ทำอะไรไม่ได้มากนักเพราะความถูกต้องของปริมาตรแต่ละ compartment ของถังน้ำมันบรรทุกรถยนต์ไม่ได้เป็นเครื่องชั่งตวงวัดตามพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ชั่งตวงวัดจึงขอให้ปรับปรุงแก้ไขให้แต่ละถังมีท่อทางออก 1 ทางออกประจำถังตวงแบบมาตราเท่านั้น หลังจากเหนื่อยอกเหนื่อยใจไปก็ได้รับความเมตตาจากผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราดำเนินการแก้ไขปรับปรุงให้โดยแยกท่อทางออกให้เป็นท่อทางออกประจำถังตวงแบบมาตราดังในรูปที่ 17 แต่หลังจากนั้นผู้ครอบครองจะต่อท่อ Rubber Hose เพื่อรวบปลายท่อทางออกทั้งสองถังเป็นท่อทางออกเดียวกันหรือเป็นอย่างไร ชั่งตวงวัดก็ไม่ได้เฝ้าบริษัทเค้าตลอดเวลา 24 ชั่วโมงดังนั้นมันเป็นเรื่องของจริยธรรมล้วนๆ..........ครับ ชั่งตวงวัดก็ไม่ทราบได้
 
 
รูปที่ 16 ถังบรรทุกน้ำมันที่ถูกแยกออกเป็นส่วนๆ เพื่อแยกชนิดผลิคภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ต้องการขนส่งและเพื่อความปลอดภัย
 
 
 
 
ก่อน
หลัง
รูปที่ 17 ให้แยกท่อทางออกถังตวงแบบมาตราออกจากกัน โดยให้มี 1ท่อทางออกต่อ 1ถังตวงแบบมาตรา
 
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 5 : ท่อกับวาล์ว ในเทอมของชนิด Port ของวาล์ว
          ตามหัวข้อเลยครับ   เนื่องจากมาตรฐานของถังตวงแบบมาตราเป็นการออกแบบเพื่อให้ทราบปริมาตรของเหลวที่บรรจุภายในถังที่มีค่าปริมาตรคงที่แน่นอนตามพิกัดกำลังของถังตวงแบบมาตรานั้นๆ ภายใต้การทำงานของถังตวงแบบมาตราตั้งแต่เปิดวาล์วเอาของเหลวเข้าถังตวงแบบมาตรา จากนั้นปิดวาล์ว อ่านค่าปริมาตรของเหลว แล้วเปิดวาล์วด้านทางออกเพื่อเอาของเหลวออกจากถังตวงแบบมาตราให้เกลี้ยงสนิทก่อนที่จะปิดวาล์วด้านทางออกทั้งนี้เพื่อให้สามารถใช้ถังตวงแบบมาตราเพื่อตวงวัดปริมาตรของเหลวในครั้งถัดไป วาล์วที่ใช้ประจำถังตวงแบบมาตราจึงต้องทำหน้าที่ปิด-เปิดหรือกั้นของเหลวไม่ก่อให้เกิดการรั่วซึมตามหน้าที่ของมันในฐานะวาล์วแล้ว แต่ในงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมาย (Legal Metrology)  แล้วยังต้องมีหน้าที่เพิ่มเติมอีกหน้าที่หนึ่งนั้นคือต้องไม่กักเก็บหรือทำให้ของเหลวค้างคาในตัววาล์และในระบบท่ออย่างเด็ดขาด ด้วยเหตุนี้จึงต้องกำหนดให้วาล์วที่ใช้งานกับถังตวงแบบมาตราจึงต้องเป็นวาล์วที่มีช่องเปิด (Port) เป็นแบบ “Full Port” หรือ “Full Bore” เท่านั้น (ดูรูปที่ 18)  เพราะถ้าหากใช้แบบ Reduce Port อาจทำให้มีของเหลวค้างในท่อและในวาล์วซึ่งปริมาณของเหลวในการค้างอยู่ในแต่ละครั้งอาจไม่เท่ากันทำให้ปริมาตรของถังตวงแบบมาตราคลาดเคลื่อนได้แต่จะมากน้อยเพียงใดอันนี้ชั่งตวงวัดยังไม่มีคณะทำงานที่จบ PhD. มาทำการศึกษาค้นคว้าแต่อย่างใดน่ะขอรับ....ส่วนจะเป็น Ball Valve หรือ Butterfly Valve ก็ว่ากันตามต้องการหากยังทำหน้าที่ได้ตามที่ต้องการดังที่กล่าวมาข้างต้น  ซึ่งชั่งตวงวัดเองก็พยายามชี้แจงเจ้าของถังตวงแบบมาตราโดยเฉพาะในรุ่นเก่าๆ รวมทั้งรุ่นใหม่ๆ ขอให้เปลี่ยนแปลง หรือตอนที่วาล์วเก่ารั่วก็ขอให้เปลี่ยนเป็น Full Port ในตัวใหม่ทันที.....ตามนั้นน่ะครับ   ขอบขอบพระคุณล่วงหน้าขอรับ
 
Full bore & Reduce ball Valve.JPG
Full Reduced Venturi ports- Ball Valves.png
รูปที่ 18 ชนิดของช่องทางเปิดของตัวเรือนวาล์ว
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 6 : ท่อกับวาล์ว ในเทอมของขนาดท่อ ความหนาของท่อ ขนาดวาล์ว
          ในการออกแบบท่อทางเข้าและท่อทางออกถังตวงแบบมาตรา ผู้ผลิตถังตวงแบบมาตราต้องวางแผนความสัมพันธ์ของขนาดท่อและขนาดวาล์ว, ความสัมพันธ์ขนาดท่อกับอัตราการไหล, รูปแบบการต่อเชื่อมระหว่างท่อกับวาล์ว,  ความหนาของท่อและข้อต่อ, และอื่นๆ 
เริ่มด้วยความสัมพันธ์ของขนาดท่อและขนาดของวาล์ว ผู้ออกแบบถังตวงแบบมาตราต้องคำนึงถึงอัตราการไหลผ่านท่อว่าเหมาะสมหรือสอดคล้องกับขนาดท่อหรือไม่ เมื่อทราบขนาดท่อแล้วก็ต้องตรวจสอบว่าขนาดวาล์วที่มีขายในท้องตลาดแบบ Full Port มีขายหรือไม่ อีกทั้งต้องตรวจสอบการเชื่อมต่อระหว่างท่อกับวาล์วต่อไปว่าต้องการเป็นแบบหน้าแปลน (Flange) หรือแบบเกลียว (Thread) ซึ่งมีผลต่อการออกแบบการเชื่อมหน้าแปลนหรือต้องขึ้นเกลียวซึ่งต้องคำนึงด้วยว่าท่อมีความหนาเพียงพอหรือไม่ที่จะทำการเชื่อมหรือกลึงเกลียวท่อต่อไป แต่หากไม่ได้เตรียมการกันรอการแก้ไขปัญหาที่ละเปราะก็จะมีปัญหาทีละปัญหาไม่จบไม่สิ้นอย่างเช่นในรูปที่ 19 พบว่าเลือกการเชื่อมต่อของวาล์วแบบเกลียวแต่ไม่ทราบเพราะขนาดท่อไม่เหมาะกับขนาดของวาล์ว หรือท่อมีขนาดบางจนขึ้นเกลียวไม่ได้ หรือ ฯลฯ ผลที่ออกมาคือผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราใช้ Nipple มาเชื่อมต่อระหว่างท่อทางออกกับวาล์ว   ทั้งที่การออกแบบและจัดสร้างท่อทางออกนั้นต้องออกแบบให้ของเหลวไหลออกจากถังตวงแบบมาตราได้สะดวก ไม่มีการกักเก็บหรือมีร่องมีเหลือบที่ทำให้ของเหลวค้าง แบบนี้ต้องขอให้ทำการแก้ไขน่ะครับ     สถานการณ์ต่อมาเป็นอย่างไรก็จำไม่ได้แล้วครับว่าผู้ครอบครองได้ทำการแก้ไขหรือไม่ ?
 
 
 
รูปที่ 19 การเชื่อมต่อระหว่างท่อและวาล์วที่ไม่ได้ออกแบบและจัดทำที่ดี
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 7 : ท่อกับวาล์ว ในเทอมของข้อต่อ (ข้อลด-ข้อเพิ่ม) ในท่อ
          เมื่อพูดถึงท่อ (Pipe) แน่นอนต้องมีข้อต่อ (Fitting)  ชั่งตวงวัดพบว่าปัญหาเรื่องข้อต่อนี้เริ่มมีเข้ามามากขึ้นทั้งจากถังตวงแบบมาตรารุ่นเก่าๆ กับรุ่นใหม่ล่าสุด ซึ่งมีรากของปัญหาที่อาจแตกต่างกันปัญหาเรื่องข้อต่อในถังตวงแบบมาตราเก่าๆ มักเกิดจากความรู้ความเข้าในที่ไม่ชัดเจนในอดีตเนื่องจากความรู้งานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมาย (Legal Metrology)  นั้นเอกสารส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปภาษาอังกฤษ อีกทั้งไม่มีการสอนในระดับอุดมศึกษา ความรู้ในด้านนี้จึงสะสมกันมาในกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องโดยตรง เรียนรู้ศึกษาเพิ่มเติมไปด้วยกันหากเข้าใจผิดหรือมีความรู้ใหม่มาเพิ่มเติม การปรับปรุงแก้ไขก็ต้องทำกันไปถือเป็นงานที่ต้องพึงพาตนเองไม่มีสอนกันในรั้วมหาวิทยาลัยจะสอนกันก็แค่พื้นฐานดังนั้นให้ความรู้และสร้างความเข้าใจจึงต้องทำเป็นระยะตามกำลังส่วนจะเข้าใจมากน้อยเพียงใดอันนี้ก็ยากต่อการประเมิน วันนี้ก็เป็นโอกาสอีกโอกาสหนึ่งจึงนั่งลงและเขียนบทความนี้ให้ท่านๆอ่านสิครับส่วนจะอ่านกันมากอ่านกันน้อยหรืออ่าน 8 บรรทัดหรืออย่างไรก็สุดแต่ใจใฝ่คว้า.... ในส่วนของปัญหาเรื่องข้อต่อในถังตวงแบบมาตราใหม่ๆ ส่วนใหญ่เกิดจากปัญหาค่าใช้จ่ายคือต้องการลดค่าใช้จ่ายหรือลดราคาถังตวงแบบมาตราแต่นั้นแหละมันก็ยากที่จะพิสูจน์  ถัดมาเป็นเรื่องมาตรฐานซึ่งยังไม่มีความชัดเจนเป็นรูปตัวเอกสารซึ่งก็ต้องทำการต่อไป  ในส่วนปัญหาด้านเทคนิคอื่นๆก็มีด้วยกันหลากหลาย เช่น คำนวณอัตราการไหลกับขนาดท่อไม่เหมาะสมกันจนต้องมาปรับเปลี่ยนขนาดท่อทางเข้าถังตวงแบบมาตราให้เหมาะสม, หรือวันหนึ่งปล่อยของเหลวออกด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกแต่พบว่าอัตราการไหลออกจกถังตวงแบบมาตราใช้เวลานานเกินไปเลยอยากติดตั้งปั๊มเพื่อดูดขงเหลวอกจากถังตวงแบบมาตราก็ทำการปรับขนดท่อททางออก  เป็นต้น
          หลักคิดสำหรับท่อทางเข้าและท่อทางออกของถังตวงแบบมาตราก็คือ “1 ท่อ 1 ขนาด” หรือ 1 pipe 1 Size ต้องไม่มีการปรับลดหรือเพิ่มขนาดท่อของถังตวงแบบมาตรา แต่หากจำเป็นต้องปรับลดเพิ่มขนาด ก็ควรกระทำก่อนวาล์วท่อทางเข้าหรือหลังวาล์วท่อทางออกจากถังตวงแบบมาตราเท่านั้น เนื่องจากอย่างที่กล่าวไว้ว่าท่อทางเข้าและท่อทางออกจากถังตวงแบบมาตราต้องออกแบบให้ของเหลวไหลเข้าออกได้สะดวก ไม่ให้มีการสะสมค้างอยู่บริเวณใดๆที่อาจกระทบต่อค่าปริมาตรของถังตวงแบบมาตรา ดูรูปที่ 20 จะเห็นได้ว่าผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราได้ติดตั้งข้อต่อแบบข้อลดศูนย์ร่วม (Concentric Reducer) เข้ากับท่อทางออกและท่อทางเข้า ซึ่งจะส่งผลให้การไหลของของเหลวออกจากถังตวงแบบมาตราไม่สะดวกและค้างอยู่ในท่อที่ขนานกับพื้นในรูปตัว “T” ถึงแม้จะจัดให้มีวาล์วตัว ½ นิ้วอยู่ในตำแหน่งตรงกลางของท่อโดยมุ่งหมายให้ระบายของเหลวออกจากถังตวงแบบมาตราภายหลังปิดวาล์วทางออกแล้วก็ตาม ซึ่งการจัดทำท่อดังกล่าวจะนำไปสู่ปัญหาอีกปัญหาหนึ่งนั้น ซึ่งจะกล่าวต่อไปในกรณีศึกษาเรื่อง 1 Valve 1 Drain Timeจะอธิบายให้ทราบได้ต่อไป   แต่ขอย้ำเตือนหลักคิดว่าเนื่องจากถังตวงแบบมาตราถูกใช้งานกับสาธารณชนจึงต้องมีกติกาและช่วยกันสร้างมาตรฐาน การออกแบบที่ง่ายต่อการใช้งานและสาธารณชนง่ายต่อการเข้าใจเป็นเรื่องที่ชั่งตวงวัดพยายามสื่อสารให้ทราบ แต่อาจไม่ทันใจก็ขอโทษด้วยน่ะครับ
 
 
รูปที่ 20 ติดตั้งข้อต่อแบบข้อลดศูนย์ร่วม (Concentric Reducer) เข้ากับท่อทางออกและท่อทางเข้า
 
 
 
 
 
รูปที่ 21 ติดตั้งข้อต่อแบบข้อลดเยื้องศูนย์ (Eccentric Reducer) เข้ากับท่อทางออกและท่อทางเข้า
 
 
          จากรูปที่ 21 จะเห็นได้ว่าท่อทางออกได้ออกแบบให้มีการเอียงเทลงประมาณ 5 - 7 องศาเพื่อให้ของเหลวระบายออกจากถังตวงแบบมาตราได้สะดวกและยังอยู่ในหลักการที่ว่า “1 Valve 1 Drain Time” แต่ก็ไม่สอดรับกับหลักการ “1 pipe 1 Size” นั้นคือท่อทางออก 1 ท่อต้องมี 1 ขนาด / ท่อทางเข้า 1 ท่อต้องมี 1 ขนาด ในรูปทางขวามือมีท่อทางออกเดียวแต่ไปติดตั้งข้อต่อแบบข้อลดเยื้องศูนย์ถึงแม้ข้อลดเยื้องศูนย์สามารถระบายของเหลวออกจากถังตวงแบบมาตราได้สะดวกก็ตามแต่อย่างที่กล่าวไว้เสมอว่าเนื่องจากงานชั่งตวงวัดเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณชนจำนวนมากการมีข้อปลีกย่อยรายละเอียดมาก การมีข้อยกเว้นมากๆ อาจสร้างความสับสนและความเข้าในในทางปฏิบัติงานกับสาธารณชนได้ง่ายดังนั้นเพื่อตัดและลดปัญหามาตรฐานเดียวกันและปฏิบัติได้ง่าย เข้าใจชัดเจนทุกกลุ่มอาชีพที่มีระดับความรู้ความเข้าใจที่แตกต่างกันจึงขอให้ไปปรับเปลี่ยนขนาดวาล์วหรือขนาดท่อให้มีเพียงขนาดเดียวส่วนจะเลือกวาล์วหรือเลือกท่อก็แล้วแต่ผู้ครอบครองครับ แต่ลึกๆในใจในรูปที่ 21 ก็กลัวว่าน่าจะลดค่าใช้จ่ายในการสร้างถังตวงแบบมาตราหรือเปล่า   สำหรับรูปทางซ้ายซึ่งออกแบบให้ใช้ท่อร่วมกันระหว่างท่อทางออกและท่อทางเข้าถึงแม้จะทำให้ท่อทางออกลาดเอียงไปเพื่อระบายของเหลวได้สะดวกแต่ปรับเปลี่ยนขนาดโดยไม่มีเหตุผลทางเทคนิคในเชิงลึกแล้วถือว่าไม่เป็นไปตามหลักการ “1 pipe 1 Size” จึงข้อให้ผู้ครอบครองไปดำเนินการแก้ไขให้มีเพียงขนาดเดียวกัน และหากประเมินน้ำหนักของท่อและวาล์วและก็ควรไปดำเนินการติดตั้ง Pipe Supports ไว้บ้างก็จะดี ก็แอบคิดในใจว่าเอ๋มันจัดทำถังตวงแบบมาตราเสร็จแล้วหรือ?   จึงขอให้ผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราดังกล่าวกลับไปดำเนินการแก้ไขให้ด้วย  จากกรณีศึกษานี้ดังนั้นชั่งตวงวัดจึงขอชี้แจงว่าถังตวงแบบมาตราที่จะส่งมาให้ชั่งตวงวัดทำการสอบเทียบต้องเป็นถังตวงแบบมาตราที่จัดสร้างแล้วเสร็จพร้อมใช้งานและหากเป็นถังตวงแบบมาตราชนิดติดตรึงอยู่กับที่ก็ขอให้ทำการติดตรึงอยู่กับที่พร้อมใช้งานด้วยเช่นกันก่อนยื่นขอสอบเทียบ เพราะหากไม่พร้อมใช้งานและชั่งตวงวัดเคยอะลุ่มอล่วยไปพบอีกครั้งในภายหลังว่ามีการทำการปรับปรุงแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปจากที่ชั่งตวงวัดคาดคิดไว้ บอกแล้วครับงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมาย (Legal Metrology) เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับสาธารณชนร้อยพ่อพันแม่ ผมเลยต้องเลียนแบบพระธรรมวินัยของพระพุทธเจ้าสิครับ   คือมีปัญหาเกิดก็ตามมาด้วยการบัญญัติพระธรรมวินัยสิครับ ผ่านไปร้อยปีพันปีก็ไม่น่าเปลี่ยนหรอกครับ กิเลสมนุษย์มันติดตัวตามมาและผูกติดกับ DNA ของมนุษย์อยู่แล้ว....... 55555
          ส่วนในรูปที่ 22 นั้นผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราได้ทำการติดตั้งข้อต่อแบบข้อลดศูนย์ร่วม (Concentric Reducer) ก่อนวาล์วท่อทางเข้าซึ่งก็พอรับได้เนื่องจากยังคงอยู่ในหลักการ “1 pipe 1 Size” แต่ก็กังวลถึงในการเตรียมระบบท่อเพื่อทำการสอบเทียบมาตรวัดปริมาตรของเหลวซึ่งอาจมีอากาศถูกดักอยู่ในข้อลดทำให้ระบบท่อไม่ได้มีเฉพาะของเหลวเท่านั้นในระบบการวัดปริมาตรของเหลวแต่อาจมีอากาศค้างอยู่ในระบบท่อซึ่งจะกระทบต่อ “ระบบการวัดปริมาตรของเหลว” ซึ่งต้องเป็นระบบทำการวัดของเหลวเพียงเฟสเดียวเท่านั้น   งานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมายซึ่งอ้างอิงจาก OIML ยังอยู่ภายใต้ขอบเขตการไหลที่เรียกว่า “Single Phase Fluid” เท่านั้นซึ่งก็เป็นเรื่องต่อเนื่องที่ต้องกล่าวกันอีกต่อไปเพราะ “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว” สิครับ   อีกประเด็นหนึ่งก็คือเมื่อท่อเล็กลงอาจรองรับอัตราการไหลได้น้อยลงหรือถึงแม้ได้ก็อาจมี Fiction Loss สูงขึ้น หรืออาจเกิด Cavitation บริเวณข้อลดเนื่องจากความเร็วของเหลวสูงแต่ความดันลดต่ำลงหากความดันต่ำกว่าหรือใกล้เคียงค่าความดันของเหลวนั้น  เอ๋ .. หรือชั่งตวงวัดคิดมากไป ?? กรณีในรูปที่ 22 ในความเห็นควรจะเลือกข้อลดเยื้องศูนย์ส่วนจะเยื้องศูนย์คว่ำหรือเยื้องศูนย์หงายก็เอารูปที่ 23 ไปพิจารณากันก่อนครับ    ในความเห็นของผมก็คิดว่าควรเลือกใช้ข้อลดเยื้องศูนย์แบบท้องเรียบหลังเอียง   ผิดถูกประการใด.. ก็ว่ากันมาครับ ถ้าเค้าผิด...เค้าขอโทษ... เค้าแก้ไขให้น่ะ....
 
 
 
รูปที่ 22 ติดตั้งข้อต่อแบบข้อลดศูนย์ร่วม (Concentric Reducer) ก่อนวาล์วท่อทางเข้า
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 23 แนวคิดการเลือกใช้และติดตั้งข้อลดเยื้องศูนย์ (Eccentric Reducer)
 
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 8 1 Valve 1 Drain Time
          ในขั้นตอนสอบเทียบถังตวงแบบมาตรานั้นมีค่าตัวเลขหนึ่งที่เรียกว่า “Drain Time” คือเป็นค่าสภาวะสุดท้ายของการยอมให้ของเหลวถ่ายออกไปจากถังตวงแบบมาตราซึ่งถือเป็นสภาวะจุดอ้างอิงทุกครั้งในการบ่งบอกปริมาตรของถังตวงแบบมาตรา ดังนั้นการระบุระยะเวลา Drain Time จึงถือเป็นค่าที่มีผลกระทบโดยตรงต่อปริมาตรถังตวงแบบมาตรา ชั่งตวงวัดจึงให้ความสำคัญและเป็นเรื่องหนึ่งในเรื่องหลักในการปฏิบัติงาน ซึ่งท่านสามารถไป Download ขั้นตอนการสอบเทียบถังตวงแบบมาตราได้จาก www.cbwmthai.org ในส่วนของสาระน่ารู้ - E Book
          หลักคิด 1 Valve 1 Drain Time เป็นเรื่องของท่อทางออกจากถังตวงแบบมาตราที่ต้องมีวาล์วควบคุมการไหลออกเพียงวาล์วตัวเดียวจากนั้นจะดูว่าของเหลวออกจากวาล์วในตอนท้ายสุดที่ของเหลวเริ่มเปลี่ยนการไหลจากสายกลายเป็นหยดจากนั้นให้ผู้ปฏิบัติงานเริ่มจับเวลา Drain Time ว่าจะเป็น 30 วินาที 60 วินาที หรือ 120 วินาทีขึ้นอยู่กับพื้นที่ผิวสัมผัสภายในของถังตวงแบบมาตราซึ่งสะท้อนออกมาในค่าพิกัดกำลังของถังตวงแบบมาตรา   ด้วยเหตุนี้เมื่อชั่งตวงวัดรายงานผลการสอบเทียบด้วยขั้นตอนการใช้งานถังตวงแบบมาตราเป็นอย่างนี้ดังนั้นเมื่อผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตรานำถังตวงแบบมาตราไปใช้งานท่านก็ต้องใช้งานด้วยขั้นตอนเช่นเดียวกับขั้นตอนสอบเทียบถังตวงแบบมาตราเพื่อให้ได้ค่าปริมาตรถูกต้องตามที่ท่านต้องเสียเวลาและเสียเงินทองสิครับ  เรื่องก็มันเท่านี้เอง ดังนั้นจึงขอยกเทคนิคซึ่งอยู่ในหนังสือที่เขียนมานานดังกล่าวให้ดูเป็นตัวอย่างดังในรูปที่ 24   ส่วน Sight Glass จะหันไปมุมไหนจะเป็นแนวข้าง แนวบนล่าง หรือแนวไหนก็ขึ้นกับตำแหน่งที่ผู้ปฏิบัติงานมองและสังเกตุของเหลวระบายออกจากถังตวงแบบมาตราหมดแล้วหรือไม่ หรือจับเวลา Drain Time
 
 
 
scan0007.jpg
รูปที่ 24 เทคนิคการใส่ Sight Glass เพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ 1 Valve 1 Drain Time
 
 
 
          หลักคิด 1 Valve 1 Drain Time มันมีอยู่แล้วแต่หลายคนอาจไม่ทราบดังนั้นพอเจอปัญหาซ้ำแล้วซ้ำอีกต้องอธิบายกันเยอะมากครับ เลยต้องออกมาย้ำๆๆซ้ำๆๆ อย่าเบื่อละ สงสัยว่าไม่มีใครอ่านหนังสือที่ได้เขียนไปและเข้าใจว่าผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราอาจต้องการอะไรสักอย่างเพื่อดูหรือตรวจสอบให้แน่ใจว่าของเหลวมันได้ถูกถ่ายเทออกไปจากถังตวงแบบมาตราหมดสนิทจริงหรือไม่ แล้วพยายามค้นหาวิธีการที่ตนเองคิดว่าเหมาะสมกับประเภทหรือรูปแบบเนื้องานของตนเอง   ดูรูปที่ 25 จะเห็นได้ว่ามีวาล์วทางออก 2 วาล์วพร้อมติดตั้ง Sight Glass แต่ทำไมถึงไม่ถูกต้อง ก็ขออธิบายว่าการปรับแต่งเอาข้อต่อตัว “T” มาติดตั้งกระจกใส่ นั้นไม่ตอบโจทย์ในการสังเกตการไหลของเหลวออกจากถังตวงแบบมาตราในขั้นสุดท้ายที่เปลี่ยนแปลงจากการไหลจากสายกลายเป็นหยดแล้วจึงจับเวลา Drain Time  ดังนั้นติดตั้งไปก็ไม่ตอบโจทย์ครับ ประเด็นต่อมาการมีวาล์วตัวใหญ่ 1 ตัวพร้อมวาล์วตัวเล็ก 1 ตัวแล้วจะปิดตัวไหนก่อนหลังครับหรือ เปิดพร้อมกันและปิดพร้อมกัน หรือเปิดไม่พร้อมกันและปิดไม่พร้อมกัน หรือ เปิดวาล์วตัวใหญ่ก่อนพอผ่านไป 20 วินาทีเปิดวาล์วตัวเล็ก หรือ ฯลฯ    ไม่ใช่คำถามกวนเท้าใคร แต่เป็นการบอกให้นึกถึงว่าถังตวงแบบมาตรามันเกี่ยวข้องคนหลายคนร้อยพ่อพันแม่แต่ละคนก็มีความคิดความอ่านแต่จะผิดถูกก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งดังนั้น “การออกแบบดีที่สุดคือการทำงานง่ายที่สุด” นอกจากนี้ถังตวงแบบมาตราดังกล่าวก็ติดตั้งข้อลดก่อนวาล์วทางออกอีกซึ่งผิดหลักการ “1 pipe 1 Size” อีก  ส่วนในรูปที่ 26 สงสัยไม่อยากน้อยหน้าใครหรือที่บริษัทมีวาล์เยอะ ติดตั้งวาล์วทางออก 3 ตัวเลยครับ .... 555   กุมขมับ..... แซวเล่นอย่าโกรธกัน ร่าเริงกันหน่อยไม่ต้องเครียด บอกแล้วครับงานสาธารณชนมันมีบางมุมที่ชั่งตวงวัดต้องแอบยิ้มมุมปาก (ไม่กล้าหัวเราะ...กลัวโดนถีบ..)
 
 
 
รูปที่ 25 ตัวอย่างที่รวมเอาปัญหาทั้ง “1 Valve 1 Drain Time” เข้ากับ “1 pipe 1 Size” เข้าด้วยกัน
 
 
 
 
 
รูปที่ 26 “1 Valve 1 Drain Time” และมีวาล์วถึง 3 ตัว คนใช้ถังคงมี 3 มือหรือต้องการเทคนิคในการทำงานมากจริงๆ
 
     
    
สำหรับรูปที่ 27 ถังตวงแบบมาตราโดยภาพรวมจัดสร้างมาเรียบร้อยดูดีเห็นแล้วถือเป็นแบบมาตราที่น่าเชื่อถือแต่มาตกม้าตายในหลักการที่ว่า “1 Valve 1 Drain Time” เข้าใจครับว่าหากนำถังตวงแบบมาตรานี้ไปใช้ในพื้นที่อุตสาหกรรมวงการปิโตรเลียม เจ้าหน้าที่ซึ่งทำงานด้าน Safety ของพื้นที่ดังกล่าวไม่ชอบพวก Sight Glass เนื่องจากเป็นจุดที่อาจก่อให้เกิดการรั่วไหลได้ แต่ในการทำงานสอบเทียบมาตราวัดปริมาตรของเหลวด้วยถังตวงแบบมาตราดังกล่าวผู้ที่เกี่ยวข้องก็ต้องของ Work Permit ส่วนจะเป็น Hot Permit หรือ Cold Permit พวกทำงานด้าน Safety ในพื้นที่นั้นก็ต้องเข้ามาดูแลเตรียมการการระงับเหตุผจญเพลิงอยู่แล้ว ผู้ครอบครองจะมาหาเหตุขอติดตั้งวาล์วเล็กเพิ่ม 1 ตัวไว้ดู Drain Time นั้นถือว่าไม่จำเป็นครับ อีกทั้งต้องหาถังกระป๋องมารองรับใต้วาล์วตัวเล็กให้วุ่นวายเกิด Oil spill เปล่าๆ แต่หากผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราติดตั้ง Sight Glass หลังวาล์วทางออกดังในรูปที่ 24 แล้วติดตั้ง Quick Coupling ถัดมา ผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราก็ไม่ต้องหาถังกระป๋องมารองรับใต้วาล์วตัวเล็กให้วุ่นวาย อีกทั้งไม่ต้องถอด Rubber Hose เข้าออกจากปลายท่อทางออกซึ่งเป็น Quick Coupling แต่อย่างใดใช่หรือไม่???   บ่อยครั้งที่ผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตรารู้ว่าต้องการอะไรแต่ผู้ครอบครองฯไม่รู้จะใช้วิธีการอย่างไร   ชั่งตวงวัดแนะนำแล้วน่ะครับ
 
 
 
รูปที่ 27 “1 Valve 1 Drain Time” ท่อทางออกจะลาดเอียง
 
 
 
จากกรณีศึกษาการติดตั้ง Sight Glass เข้ากับหลังวาล์วของท่อทางออกเพื่อใช้งานในการตรวจสอบของเหลวระบายออกจากถังตวงแบบมาตราหมดแล้วหรือไม่ พร้อมจับเวลา Drain Time ซึ่งถือว่าจุดอ้างอิงเป็น “จุดอ้างอิงสิ้นสุด”  รอบการใช้งานถังตวงแบบมาตราซึ่งยังเข้าใจไม่ตรงกันหลายท่านตามที่ชั่งตวงวัดได้ยังตัวอย่างเป็นกรณีศึกษาไปแล้วนั้นแต่ในส่วนตัวแล้วคงยังมีอีกเยอะที่ไม่ได้ยกมาเป็นตัวอย่างในที่นี่แต่ถ้าจับหลักการ “1 Valve 1 Drain Time” แล้วน่าจะแก้ปัญหาได้หลายมิติ    อ้าวเมื่อมีจุดอ้างอิงที่เรียกว่า “จุดอ้างอิงจุดสิ้นสุด”  แล้ว  “จุดอ้างอิงจุดเริ่มต้น” ของการใช้งานถังตวงแบบมาตราละมันอยู่ตรงไหน ตามมาครับกับปัญหากรณีศึกษาถัดไป
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 9 : แนวปะทะการวัดแบบ Dynamic กับการวัดแบบ Static   (“จุดอ้างอิงเริ่มต้น”)
          ในกรณีที่เลือกใช้ถังตวงแบบมาตราเพื่อใช้สอบเทียบมาตรวัดแบบมาตรา หรือใช้ถังตวงแบบมาตราเพื่อทำการตรวจสอบให้คำรับรองมาตรวัดปริมาตรของเหลวนั้น เป็นที่ทราบกันแล้วหรือพึงจะทราบก็ตาม   ชั่งตวงวัดก็ขอบอกว่า...การวัดปริมาตรของมาตรวัดปริมาตรของเหลวนั้นถือเป็นการวัดแบบ Dynamic น่ะครับเพราะส่วนวัด (Measuring Device) มันเคลื่อนที่ขณะที่ทำการวัด ส่วนการวัดปริมาตรด้วยถังตวงแบบมาตราตัวถังมันซึ่งถือเป็นส่วนวัดมันอยู่กับที่ขณะวัดปริมาตรจึงเรียกว่าเป็นการวัดแบบ Static  ดังนั้นจะด้วยเหตุ East meet West หรือ North-East-West-South (News) หรือ  Dynamic Confront with Static หรืออย่างไรๆพูดให้มั่วไปมั่วมา… ก็แค่เพียงสั้นว่า   จุดที่ใช้แยกแนวปะทะของการวัดใน 2 หลักการระหว่าง Dynamic กับ Static สำหรับถังตวงแบบมาตราจึงถูกกำหนดตาม OIML Recommendation ด้วยรูปลายเส้น ดูรูปที่ 28 ตรงภาษาปะกิตว่า “Sight glass with weir” นั้นแหละครับและตรงจุดนี้ของเรียกว่า จุดอ้างอิงเริ่มต้น ของถังตวงแบบมาตรา  ซึ่งมีบริษัทคนไทยได้ปรับใช้และจัดสร้างได้สวยงามดังในรูปที่ 30  ซึ่งสามารถติดตั้ง API Valve เข้ากับท่อทางเข้าถังตวงแบบมาตราได้สบายมากแต่ต้องคำนึงถึงแรงดันปลายท่อทางเข้าถังบ้าง   สำหรับชั่งตวงวัดแล้วหากผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราเพื่อประสงค์ในการสอบเทียบ (Calibration) หรือตรวจสอบให้คำรับรอง (Verification) มาตรวัดปริมาตรของเหลวที่ความดันบรรยากาศละก็ ก็แนะนำอย่างแรงกล้าว่าต้องจัดสร้างถังตวงแบบมาตราให้เป็นไปตามแนวทางของ OIML Recommendation ดังตัวอย่างในรูปที่ 29 และ รูปที่ 30  แนะนำอย่างแรงกล้าน่ะครับ ขอย้ำ    ซึ่งท่านอาจไม่สามารถทำได้ในวันนี้แต่วันหน้าท่านต้องเริ่มคิดและต้องทำ เพื่อยกระดับมาตรฐานงานด้านชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมายของราชอาณาจักรไทย   ในที่นี้ท่านจะเห็นว่าชั่งตวงวัดขอใช้คำว่า “ต้อง” กันเลยทีเดียว เพราะเชื่อว่ามันจะส่งผลดีกับทุกฝ่ายรวมทั้งราชอาณาจักรไทยด้วย...ขอรับท่าน..   ขอความเมตตาสนับสนุนด้วยเถอะ...
Meter & Tank Cal 1.png
รูปที่ 28 ตรวจสอบให้คำรับรองมาตรวัดปริมาตรของเหลวด้วยถังตวงแบบมาตรา ตาม OIML Recommendation
 
 
 
 
รูปที่ 29 เทคนิคการใส่ Sight Glass เพื่อกำหนด “จุดอ้างอิงจุดเริ่มต้น”
 
 
 
 
รูปที่ 30 เทคนิคการใส่ Sight Glass เพื่อกำหนด “จุดอ้างอิงจุดเริ่มต้น” สำหรับแนวปะทะการวัดแบบ Dynamic กับ Static
 
 
 
          บทความที่เขียนตั้งแต่ก่อนหน้านี้หรือกำลังเขียนอยู่ ท่านใดอ่านแล้วรู้สึกหงุดหงิดว่ามันจะเขียนเชิงวิชาการหรือเขียนเล่นไปวันๆ หรือเขียนไปกวนทีนท่าน   อันนี้เราก็..ก็....ขอ....ขอโทษ.... เพราะไม่อยากให้คิดว่าเป็นงานวิชาการวิชาเกินอะไรเถอะครับ หรืออย่าไปคิดว่าไอ้คนเขียนมันอวดภูมิ หรือ....นานาจิตตังครับ...... ไม่ว่าอะไรกันหรอกครับ    แต่สำหรับผมแล้วเพียงแค่เป็นการสื่อสารภายในองค์กร รวมทั้งสื่อสารกับบุคคลากรในงานด้านชั่งตวงวัดของราชอาณาจักรไทยทั้งที่อยู่ในภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคไม่ใช่เอกชน (ก็ไม่รู้เหมือนกันมันจะมีกี่ภาค อาจรวมภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ว่าไปนั่น) ถือเป็นการจุดพลุให้มีหัวข้อวิจารณ์ หรือบางครั้งก็เพื่อบอกทิศทางที่ชั่งตวงวัดจะไป หรือบางครั้งบอกทิศทางที่ชั่งตวงวัดถึงเวลากลับบ้านเพราะวันนี้ไม่มีข่าวน่ะลูก ฮ่าๆๆๆ (บังเอิญนึกถึง “ป๋าเปรม” ) ตามนั้นน่ะ.....เข้าใจตรงกัน ......
 
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 10 : การตรวจสอบด้วยสายตา ลดปัญหาได้
          จากที่ทำงานและสอนน้องๆ พบว่าการตรวจสอบด้วยสายตาก่อนรับถังตวงแบบมาตราเข้ารับการสอบเทียบสามารถกลั่นกรองเนื้องานและแก้ไขปัญหาให้ทุกฝ่าย และลดการขัดแย้งทางอารมณ์ได้ไปพอสมควร รวมทั้งความชัดเจนความเสียของทรัพย์สินก่อนจะต้องการคนรับผิดชอบ ลำพังเงินเดือนข้าราชการไม่พอต่อความรับผิดชอบถังตวงแบบมาตราที่มีราคาสูงอยู่แล้วครับ ไหนหนี้สินเชื่อธนวัตรของกรุงไทยที่ต้องแบกภาระมาตลอดชีวิตรับราชการแล้ว...เศร้า    นอกจากนั้นยังพอทำนายนิสัยใจคอผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราไปด้วย ดูโหงวเฮ้งถังตวงแบบมาตราก็พอทราบโหงวเฮ้งผู้ครอบครองได้ทีเดียวก็ว่าได้ (หยอกเล่น..แต่คงจริงบ้างแหละ)   หากชั่งตวงวัดพบว่ามีการดัดแปลงซ่อมแซมถังตวงแบบมาตราในรูปแบบที่ไม่สมเหตุสมผลทางเทคนิคแล้ว เมื่อพิจารณาร่วมกันร่วมกับทีมงานแล้วชั่งตวงวัดจะขอสงวนสิทธิ์ปฏิเสธรับเครื่องมาสอบเทียบจนกว่าผู้ครอบครองดำเนินการแก้ไขปรับปรุงเพื่อให้ถังตวงแบบมาตราของท่านให้อยู่ในไลน์ที่ได้ระดับมาตรฐานโดยภาพรวมซึ่งชั่งตวงวัดได้ทุ่มเทค่อยๆผลักดันปรับปรุงกันอยู่อย่างต่อเนื่อง ดังเช่นตูดของถังตวงแบบมาตรามีเนื้อปูดยื่นออกมาดังรูปที่ 31 หรือถังตวงแบบมาตราที่มีการฝังเหล็กน้ำพี้ดังรูปที่ 32 หรือแม้ถังตวงแบบมาตราที่ผู้ครอบครองทะเลาะกับภรรยา (เมีย) ที่บ้านแล้วจับถังตวงแบบมาตรากระแทกวางกับพื้นขรุขระหรือกระทุงก้นถังตวงแบบมาตราเข้าบ้าง - กระทุ้งก้นแบบมาตราออกบ้างดังรูปที่ 33 เป็นต้น
 
 
 
รูปที่ 31 ถังตวงแบบมาตราที่มีเนื้อปูดยื่นออกมา
 
 
 
 
รูปที่ 32 ฝังเหล็กน้ำพี้เข้ากับก้นถังตวงแบบมาตรา
 
 
 
 
รูปที่ 33 ก้นถังตวงแบบมาตราผ่านการกระทำชำเรา
 
 
 
 
Case Study 12.JPG
 
รูปที่ 34 ปะผุก้นของถังตวงแบบมาตรา บางครั้งต้องตัดใจทิ้งบ้างน่ะครับ
 
 
 
          ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงขวดน้ำพลาสติกลอยขึ้นมาเมื่อนำถังตวงแบบมาตราไปแช่น้ำเพื่อตรวจสอบการรั่วซึมในเบื้องต้น และปัญหาอื่นๆ ฯลฯ จำได้บ้างลืมบ้าง เอาเท่าที่จำได้พอประมาณแค่นี้น่ะ   บางครั้งถือเป็นความโชคดีที่รู้จักการลืมเสียบ้าง ใช่ปะ
          ดังนั้นการตรวจสอบด้วยสายตา การเดินรอบๆถังตวงแบบมาตราหลายๆๆ รอบ การก้มๆ เงยๆๆ ปีนๆๆ มุดไปรอบถังตวงแบบมาตรามันก็ช่วยอะไรได้เยอะ   ไม่เชื่อลองทำดู...ฉันทะ-วิริยะ-จิตตะ-วิมังสา...
 
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 11 : อัตราส่วนคอถังตวงแบบมาตรา (Neck Scale Incremental Ratio) ในกรณีถังตวงแบบมาตราชนิดคอขีดขั้นหมายมาตรา
          ในการผลิตจัดสร้างถังตวงแบบมาตราชนิดคอมีขีดขั้นหมายมาตรา (ดูรูปที่ 2) นั้นพบว่าเมื่อหาอัตราส่วนคอถังเพื่อนำไปจัดทำแผ่นขีดขั้นหมายตรา (Scale Plate) ซึ่งควรให้ผลการวัดที่เป็นและมีความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างปริมาตรของเหลวในคอถังตวงเมื่อเทียบกับความสูงของคอถังตวงแบบมาตรา ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่ดีของเครื่องชั่งตวงวัดที่ดีเพราะเครื่องชั่งตวงวัดที่ผลิตออกมานั้นก็เป็นเพียงเครื่องมือเพื่อใช้หาความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างค่าทางฟิสิกส์กับค่าที่ต้องการวัดแค่นั้นเอง ยกตัวอย่างง่ายๆ เครื่องชั่งสปริงซึ่งอาศัยความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงระหว่างระยะยืดตัวของสปริงกับค่าน้ำหนักที่ชั่งภายใต้แรงโน้มถ่วงของโลกนั้นเอง ต่อน่ะ...แต่จากความไม่เข้าใจในเรื่องดังกล่าวให้ลึกซึ้งตรึงใจตรึงจิตพิศวาส ...อ้าวเป็นไปได้....เพียงแต่มองในประเด็นของความต้องการใช้งานถังตวงแบบมาตราอย่างไร หรือด้วยเหตุผลแต่ละผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราดังในรูปที่ 35 จึงมี 2 ประเด็นชวนให้คิดกันคือ ประเด็นแรกการทำให้อัตราส่วนคอถังไม่คงที่ตลอดช่วงการวัดก็คือติดตั้งท่อขนานกับคอถังตวงแบบมาตราที่มีขนาดท่อ 2 ขนาดทำให้ท่อดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคอถังตวงแบบมาตราไปโดยอัตโนมัติ ประเด็นที่ 2 นั้นคือผู้ผลิตนำเอาเหล็กแผ่นมาม้วนขึ้นรูปทรงกระบอกจากนั้นทำการเชื่อมโลหะขึ้นรูป โดยงานเชื่อมโลหะดังกล่าวเป็นที่ทราบว่ามันจะต้องเกิดการยึดดึงระหว่างเดินแนวเชื่อมตลอดแนวเชื่อมไม่สามารถเป็นรูปทรงกระบอกกลมคงที่ได้เลยด้วยคุณภาพแนวเชื่อมดังรูปที่แสดงไว้ ไม่ต้องพูดถึง HAZ หรือ ABC   ออ มั่วกันไปใหญ่...ถอยกลับๆๆ    ส่งผลให้สัดส่วนการเพิ่มของปริมาตรของเหลวเมื่อเทียบกับการเพิ่มความสูงของปริมาตรของเหลวภายในคอถังตวงแบบมาตราไม่ให้ความสัมพันธ์เป็นเชิงเส้น (ดูรูปที่ 41)   ดังนั้นแนะนำให้เลือกใช้ท่อแบบไม่มีตะเข็บ (Seamless) จากการผลิตท่อโดยตรงเลยอีกทั้งควรเลือกโรงงานผลิตท่อที่น่าเชื่อถือมีมาตรฐานการผลิตที่ดีด้วยครับเป็นทางออกที่ดีกว่า และใช้กันในปัจจุบันแทนการม้วนเหล็กแผ่นแล้วนำมาเชื่อมเป็นทรงกระบอก นอกเสียจากไม่สามารถหาท่อที่มีขนาดใหญ่ๆ มากๆได้ซึ่งในทางปฏิบัติโดยปกติก็ไม่ได้ใช้คอถังตวงแบบมาตราที่มีขนาดใหญ่มากอยู่แล้ว   เนื่องจากขนาดคอถังมันถูกสมการข้างล่างนี้กำหนดกรอบไว้อยู่แล้ว
 

 

เมื่อ

Dh          ความแตกต่างของระดับของเหลวภายในคอเครื่องตวงแบบมาตรา (mm.)

MPE.       =  อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด (Maximum Permissible Error); DV (mm.3)

 

โดย

 
 
 
 
รูปที่ 35 อัตราส่วนคอถังตวงแบบมาตรา (Neck Scale Incremental Ratio) มีค่าไม่คงที่ตลอดช่วงการวัดบริเวณคอถังเพราะมีการติดตั้งท่อที่มีขนาดไม่เท่ากันในแนวขนานกับคอถังตวงแบบมาตรา รวมทั้งการใช้เหล็กแผ่นมาม้วนแล้วเชื่อมโลหะ
 
 
 
          ตัวอย่างกรณีศึกษาในหัวข้อนี้ดังในรูปที่ 36 พบว่าภายหลังชั่งตวงวัดทำการสอบเทียบถังตวงแบบมาตราไปแล้ว แต่เมื่อผู้ครอบครองฯนำถังตวงแบบมาตราไปใช้งานผู้ครอบครองได้สอดอุปกรณ์ตรวจจับระดับของเหลวภายในคอถัง ทำให้อุปกรณ์ดังกล่าวซึ่งมีปริมาตรค่าหนึ่งไปแทนที่ปริมาตรในคอถังทำให้อัตราส่วนคอถังตวงแบบมาตราผิดไป ค่าปริมาตรที่อ่านจากแผ่นขีดขั้นหมายมาตราก็ผิดไปโดยสิ้นเชิงและค่าที่อ่านได้จากแผ่นขีดขั้นหมายมาตราก็ไม่ถูกต้องไม่มีประโยชน์ในทันที่ ชั่งตวงวัดเองก็เข้าใจว่าเป็นเรื่องการทำงานในภาคอุตสาหกรรมตามวิถีของมัน แต่อย่างไรก็ต้องมีวิธีการแก้ไขปัญหาหรือปรับใช้ที่น่าจะมีหรือเป็นวิธีการที่ดีกว่านี้ เช่นอาจใช้ระบบการตรวจจับระดับของเหลวในคอถังด้วยแสงโดยติดตั้งภายนอกคอถัง เป็นต้น  ทุกปัญหามีวิธีแก้ไข แต่ต้องใช้ปัญญาร่วมกันหลายๆคนช่วยกัน
 
 
 
 
รูปที่ 36 ภายหลังสอบเทียบแล้วนำไปใช้งานได้สอดอุปกรณ์ตรวจจับระดับของเหลวภายในคอถัง
 
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 12 1 Prover Tank 1 Display Indicator   
เป็นเรื่องที่น่าสนใจมากในประเด็นนี้ เนื่องจากเป็นเรื่องพัฒนาการของการใช้งานถังตวงด้วยวัตถุประสงค์แตกต่างกันไปซึ่งดูเหมือนจะเป็นเรื่องคล้ายๆ กันกับเครื่องชั่งตวงวัดที่ถูกใช้งานในงานด้านชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมาย (Legal Metrology) โดยทั่วไปเรื่องนั้นก็คือ การมีส่วนแสดงค่าของถังตวงมากกว่า 1 ส่วนแสดงค่า ซึ่งเป็นเรื่องปกติหากเป็นเครื่องชั่งตวงวัดที่ใช้ในการซื้อขายในสาธารณชนทั่วไป ดังนั้นในประกาศกระทรวงฯ กำหนดลักษณะเครื่องชั่งตวงวัดฯ จึงกำหนดดังตัวอย่างเช่น
          “ถ้ามีส่วนแสดงค่าหลายแห่ง ทุกแห่งต้องแสดงค่าถูกต้องตรงกัน” ในกรณีที่ส่วนแสดงค่าเป็นแบบดิจิตอล   และ “ถ้ามีส่วนแสดงค่าหลายแห่ง ทุกแห่งต้องแสดงค่าสอดคล้องกัน” ในกรณีที่ส่วนแสดงค่าเป็นแบบบแอนะล็อก
          แต่หากเป็น “ถังตวงแบบมาตรา” นั้นควรมีส่วนแสดงค่าเพียงส่วนเดียวเท่านั้นเนื่องจากวัตถุประสงค์การใช้งานไม่ได้เป็นการซื้อขายสินค้าและบริการ ประกอบกับผู้ใช้งานถังตวงแบบมาตราใช้งานเพียงผู้เดียวในการอ่านผลการวัดเพื่อให้ผลการวัดได้ค่า Repeatability ที่น้อยที่สุด รวมไปจนถึงค่า Uncertainty  ด้วยเหตุนี้สำหรับส่วนแสดงค่าของถังตวงแบบมาตราจึงอยู่บนหลักการ 1 Prover Tank 1 Display Indicator
มาดูกรณีศึกษาต่อไปในรูปที่ 37 เป็นถังตวงแบบมาตราซึ่งเดิมติดตั้งส่วนแสดงค่าด้วยหลอดแก้ว จากนั้นทำการติดตั้งหลอดแก้วเพิ่มเติมพร้อมติดตั้งทุ่นลูกลอยภายในหลอดแก้วกับ Proximity Switch แนบอยู่ด้านหลังท่อเพื่อบอกระดับความสูงของน้ำในหลอดแก้ว   แต่ผลที่ชั่งตวงวัดไปเห็นเข้าและถ่ายรูปออกมานั้นพบว่าระดับความสูงของน้ำในหลอดแก้ววัดระดับทั้ง 2 ส่วนให้ผลแตกต่าง แต่จะด้วยเหตุผลใดยอมรับว่าจำไม่ได้ครับ แต่ชั่งตวงวัดได้แนะนำให้ทำการแก้ไขปรับปรุงส่วนแสดงค่าให้เหลือส่วนแสดงค่าเพียง 1 ส่วน ส่วนจะนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้ทดแทนหรือออกแบบถังตวงแบบมาตราใหม่เพื่อให้ได้ผลการทำงานหรือควบคุมการทำงานตามที่ต้องการก็สุดแล้วแต่ใจจะไขว้คว้า
 
 
รูปที่ 37 ถังตวงแบบมาตรามีส่วนแสดงค่า 2 ส่วน แต่ให้ผลการวัดแตกต่างกัน
 
 
          ในรูปที่ 38 ถังตวงแบบมาตราถูกติดตั้งอยู่ในตำแหน่งที่สูงจากพื้นดิน การเข้าถึงส่วนแสดงค่าหลักเพื่ออ่านค่าผลการวัดปริมาตรอาจลำบากจึงได้มีการติดตั้งส่วนแสดงค่าเพิ่มเติมในภายหลังหรือจะติดตั้งพร้อมกันไปเลยในคราวเดียวกันก็ไม่ทราบได้ แต่ชวนให้มาดูพัฒนาการทางความคิดได้จากรูปที่ 39 ต่อจากรูปที่ 38 เนื่องจากผู้ใช้งานถังตวงแบบมาตราสำหรับสอบเทียบกับปริมาตร Compartments แต่ละช่องของถังบรรทุกน้ำมันซึ่งติดตั้งอยู่บนรถยนต์บรรทุก ดังนั้นในรูปที่ 39 จึงแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าผู้ครอบครองฯสนใจค่าปริมาตรที่วัดเพียงค่าเดียวคือ ค่าที่พิกัดกำลังของถังตวงแบบมาตรา เช่น ที่ 3000 ลิตร เป็นต้น     แต่เมื่อพิจารณาในภาพรวมแล้ววัตถุประสงค์หลักการใช้งานทั้งในรูปที่ 38 และรูปที่ 39 นั้นก็คือความต้องการใช้งานถังตวงแบบมาตราอย่างง่ายรวดเร็ว คนไม่ต้องอ่านเพียงแค่นำสัญญาณไปแสดงแล้ววัดผลการวัดที่ไม่ต้องการความละเอียดถูกต้องสูง ก็แค่ต้องการให้ผลการวัดอยู่ในช่วงแคบๆๆ ก็พอซึ่งถ้าหากผลการประเมินพิจารณาดังกล่าวของชั่งตวงวัดเป็นดังนั้นจริง ชั่งตวงวัดก็ขอแนะนำให้ใช้ถังตวงแบบมาตราแบบคอน้ำล้น (ดังในรูปที่ 40) ไปเลยเพราะตรงกับเจตนารมย์ของผู้ใช้งานและเหมาะสมกับงานของผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตรา  และที่สำคัญถังตวงแบบมาตราดังกล่าวยังให้ผลการวัดที่ดีละเอียดถูกต้องสูงเพียงพอต่อความต้องการความถูกต้องผลการวัดปริมาตรของ Compartments แต่ละช่องของถังบรรทุกน้ำมัน ..... น่าจะ Work กว่า และเท่าทีฟังๆมา..ขอให้โชคดี   ดังนั้นถ้าผู้ประกอบการให้บริการสอบเทียบปริมาตรของ Compartments แต่ละช่องของถังบรรทุกน้ำมันอ่านมาเจอบทความนี้ ชั่งตวงวัดขอแนะนำให้ใช้ถังตวงแบบมาตราแบบคอน้ำล้น โดยจัดให้มีถังน้ำสำรองปริมาตรที่เพียงพอทำงานติดตั้งให้สูงกว่าถังตวงแบบมาตราจากนั้นค่อยปล่อยน้ำเข้าถังตวงแบบมาตราคอน้ำล้นด้วยแรงโน้มถ่วงของโลกจะช่วยลดฟองอากาศในระบบท่อได้ดี อย่าใช้วิธีการปั๊มน้ำอัดเข้าถังตวงแบบมาตราคอน้ำล้นอย่างเด็ดขาดเพราะจะมีฟองอากาศเข้ามาด้วยในระบบท่อและต้องรอคอยเวลาให้ฟองอากาศถูกไล่ออกจากถังตวงแบบมาตราดังกล่าวก่อนหากต้องการความเที่ยงตรงของถังตวงแบบมาตรา            แต่ได้ข่าวแว่วๆมาว่าเมื่อชั่งตวงวัดให้ผู้รับจ้างของผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราดังกล่าวไปแนะนำผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราทำถังตวงแบบมาตราตามในรูปที่ 40  แล้วแต่เมื่อติดตั้งถังตวงแบบมาตราเพื่อใช้งานจริงผู้ครอบครองถังจะดื้อหรือไม่ทราบเพราะเหตุใดดันเอาถังตวงแบบมาตราไปตากแดดตลอดเวลาใช้งาน.....  มันจะดื้อ..ไปหาแสงแดดกันไปถึงไหน.....  แอบช่วยแก้ไขปัญหาให้  แอบช่วยแนะนำให้  เชื่อกันบางเถอะพ่อคุณ....  ขอร้องครั้งสุดท้ายทำ shading ถังตวงแบบมาตราทั้ง 4 ชุดที่หอวัดน้ำเสียบัด Now  ถึงจะเข้าใจว่าใช้เป็นการภายใน

 
 
 
S__45023236
 
รูปที่ 38 ถังตวงแบบมาตรามีส่วนแสดงค่า 2 ส่วน การเข้าถึงส่วนแสดงค่าหลักยาก
 
 

 

S__45039627
 
รูปที่ 39 ถังตวงแบบมาตรามีส่วนแสดงค่า 2 ส่วน ผสมกันคือแบบน้ำล้น กับคอขีดขั้นหมายมาตรา
 
รูปที่ 40 ถังตวงแบบมาตราแบบคอน้ำล้น 3,000 ลิตร
 
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 13 : ส่วนแสดงค่าและแผ่นขีดขั้นหมามาตราและการซีลแผ่นขีดขั้นหมายมาตรา
          พัฒนาการของปัญหาที่เป็นกรณีศึกษาในกรณีนี้เกิดจากมีข้อร้องเรียนและปัญหาให้ช่วยพิจารณาว่าทำไมค่าที่อ่านได้จากบนขีดขั้นหมายมาตราบนส่วนแสดงค่าของถังตวงแบบมาตราแบบคอมีขีดขั้นหมายมาตรานั้นให้ผลการวัดไม่ตรงกันกับอีกถังหนึ่ง และ ฯลฯ    เราเองก็สงสัยจึงตรวจสอบว่าค่าความสูงของค่าปริมาตรพิกัดกำลังจากจุดอ้างอิงของถังตวงแบบมาตราถูกต้องสอดคล้องกับใบรายงานผลการสอบเทียบหรือไม่ ปรากฏว่าตรงกัน   จากนั้นตรวจสอบและหาอัตราส่วนคอถัง (Neck Scale Incremental Ratio) ซ้ำอีกครั้งว่าตรงกับค่าอัตราส่วนคอถังที่ปรากฏในใบรายงานผลการสอบเทียบหรือไม่เพราะกลัวว่าอาจมีการติดตั้งหรือสอดแทรกสิ่งของใดเข้าไปในคอถังตวงแบบมาตรา ผลปรากฏว่าก็ได้ค่าอัตราส่วนคอถังตรงกับค่าที่ปรากฏในใบรายงานผล เอาละสิมึน.. คิดกันไปคิดกันมาหลายหัวจึงเลยขอให้ถอดแผ่นขีดขั้นหมายมาตราประจำถังตวงออกมาวัดเพื่อหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างปริมาตรและระยะห่างระหว่างขีดขั้นหมายมาตราแสดงค่าปริมาตรว่ามีค่าสอดคล้องตรงกับค่าอัตราส่วนคอถังหรือไม่   ปรากฏว่าหงายท้องเลยครับมันไม่สอดคล้องกันค่าก็ผิด.... หลุดครับ..ยอมรับว่าหลุดครับ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ชั่งตวงวัดคาดไม่ถึง (เข็มขัดมันสั้น) และไว้ใจฝีมือผู้ผลิตถังตวงแบบมาตราว่าเป็นผู้ที่รู้ดีที่สุดในงานการที่เขาทำแต่ปรากฏว่า... โลกไม่เป็นตามที่คาดหวัง     ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาชั่งตวงวัด......กวาดบ้าน..... ครับ กวาดกันจริงๆ มีการโกรธกัน ง้อแงบ้าง บางบริษัทฯ ก็บอกว่าแผ่นขีดขั้นหมายมาตราทิ้งอยู่กับพื้นเต็มไปหมด และ ฯลฯ   เพราะชั่งตวงวัดขอให้เปลี่ยนแผ่นขีดขั้นหมายมาตราทุกถังตวงแบบมาตราหากพบว่าแผ่นขีดขั้นหมายมาตราไม่ถูกต้องตรงกับค่าอัตราส่วนคอถัง (Neck Scale Incremental Ratio)  ซึ่งรวมทั้งถังตวงแบบมาตราของชั่งตวงวัดเองก็ถูกกวาดบ้านด้วยเช่นกัน  ทุกเสียงบ่นเสียงร้อง เสียงด่าทอ (ลับหลัง) เราก็รับทราบและรับรู้เพราะเราก็เป็นมนุษย์อากาศร้อนเราก็ร้อน กินของร้อนเราก็รู้ว่าลิ้นเราร้อน กินของเผ็ดเราก็เผ็ดเช่นเดียวกับท่านแหละครับ....แต่ไม่รู้จะทำอย่างไรเพราะชาวบ้านเดือดร้อนเยอะครับ เพราะอะไรหรือครับ....เพราะถังตวงแบบมาตราบ้างก็ถูกใช้กับการตรวจสอบให้คำรับรองมาตรวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปปิโตรเลียม (น้ำมัน..ครับ)  ราคาน้ำมันแพงมั๊ยละท่าน   บ้างก็ใช้ถังตวงแบบมาตรากับการตรวจสอบให้คำรับรองมาตรวัดน้ำประปาซึ่งมีราคาต่อหน่วยถือว่าไม่แพงเมื่อเทียบกับของเหลวผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปปิโตรเลียมแต่มาตรวัดน้ำประปามันใช้กับทุกครัวเรือนทั่วประเทศทุกที่ที่การประปาไปถึงและไปไม่ถึงแต่มีประปาหมู่บ้านแทน..อีกละครับ มูลค่าโดยรวมทั้งประเทศและประชาชนทั้งประเทศมันๆๆซิ   มูลค่าการซื้อขายทั้งน้ำมันและน้ำประปาโดยรวมจากผลกระทบของความถูกต้องของถังตวงแบบมาตรามันสูงน่ะครับ (แต่งบประมาณและกำลังพนักงานเจ้าหน้าที่เล็กน้อยมากเมื่อเทียบกับหน้าที่การรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ...ตอดเล็กๆ...เอาน่า) 
 
รูปที่ 41 การหาอัตราส่วนคอถังตวงแบบมาตรา
 
         
เมื่อมีปัญหาและแก้ไขปัญหาจึงต้องสื่อสารออกไปว่าแผ่นขีดขั้นหมายมาตราประจำถังตวงแบบมาตราชนิดคอขีดขั้นหมายมาตราโดยทั่วไปแนะนำให้มี 2 แบบดังรูปที่ 42 (ก) และรูปที่ 42 (ข) แบบแรกใช้แผ่นขีดขั้นหมายมาตรา 2 แผ่นที่มีค่าขีดขั้นหมายหมายตราเหมือนกันเอามาประกบด้านหน้าหลอดแก้ว ให้แนวโค้งหลอดแก้วโผล่มาระหว่างแผ่นขีดขั้นหมายมาตราทั้ง 2 แผ่นเพื่อให้ผู้ใช้งานที่ทั้งถนัดมือขวา หรือถนัดมือซ้ายอ่านค่าได้  แผ่นขีดขั้นหมายมาตราแบบนี้จัดสร้างยุ่งยากกว่าแต่ง่ายต่อการปรับระดับขึ้นลงของแผ่นขีดขั้นหมายมาตราซึ่งแทบจะต้องปรับทุกครั้งเมื่อนำถังตวงแบบมาตรามาสอบเทียบในครั้งถัดไป ลดปัญหาการอ่านค่าปริมาตรเนื่องจากสาเหตุเรื่อง Parallax  แบบที่ 2 เป็นแผ่นขีดขั้นหมายมาตราแผ่นเดียวอยู่หลังหลอดแก้ว จัดสร้างและติดตั้งง่ายแต่ปรับระดับขึ้นลงยากเมื่อมีการสอบเทียบถังตวงแบบมาตราในครั้งถัดไป มีปัญหาในการอ่านผลการวัดปริมาตรเมื่อมองผ่านของเหลวในหลอดแก้วทะลุไปยังแผ่นขีดขั้นหมายมาตราด้านหลังซึ่งอาจมีปัญหาในเรื่อง Parallax หากแผ่นขีดขั้นหมายมาตราห่างจากหลอดแก้วมากกว่า 6 มิลลิเมตร และหากของเหลวมีสีทึบไม่ใสก็จะมองทะลุไปยังแผ่นขีดขั้นหมายมาตราไปยังด้านหลังลำบาก
ปกติการอ่านค่าผลการวัดปริมาตรบนส่วนแสดงค่าที่เป็นหลอดแก้ว จะทำการเล็งแนวสายตาไปใต้ท้องน้ำของของเหลวภายในหลอดแก้วเทียบกับแผ่นขีดขั้นหมายมาตรา ดังในรูปที่ 43
 
รูปที่ 42 (ก) แผ่นขีดขั้นหมายมาตรา 2 แบบทั่วไป
 
 
รายละเอียดแผ่นขั้นหมายมาตรา แบบมาตรา.jpg
รูปที่ 42 (ข) แผ่นขีดขั้นหมายมาตรา 2 แบบทั่วไป
 
 
 
 
รูปที่ 43 การอ่านค่าปริมาตรของเหลวอ่านใต้ท้องน้ำแล้วเทียบกับค่าบนแผ่นขีดขั้นหมายมาตรา
 
 
ปัญหาตามมาอีกประการคืออาจจะเป็นเพราะภาวะเศรษฐกิจไม่ดีหรือปัญหาขั้นตอนการผลิตคอถังของถังตวงแบบมาตราไม่ได้เลือกใช้ท่อประเภทไม่มีตะเข็บ (Seamless Pipe) ที่มีคุณภาพสูงเพียงพอจึงทำให้อัตราส่วนคอถังไม่คงที่ การจัดทำแผ่นขีดขั้นหมายมาตราจึงมีลักษณะแบบ Trailer Made คือถังตวงแบบมาตรราพิกัดเดียวกันมีอัตราส่วนคอไม่เท่ากันจึงต้องสั่งทำแผ่นขีดขั้นหมายมาตราเป็นอันๆ ไม่สามารถผลิตคราวละมากๆเพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย การเรียกร้องและร้องขอให้มีแผ่นขีดขั้นหมายมาตราเพียงแผ่นเดียวสำหรับแบบแผ่นขีดขั้นหมายมาตรา 2 แผ่นที่มีค่าขีดขั้นหมายหมายตราเหมือนกันเอามาประกบด้านหน้าหลอดแก้วดังรูปที่ 42 (ก) และรูปที่ 42 (ข) จึงเริ่มปรากฏมาให้รับทราบ   ดังนั้นชั่งตวงวัดขอยืนยันว่ารักษามาตรฐานกันไว้เถอะครับอย่าเปลี่ยนแปลงยังขอให้คงมีแผ่นขีดขั้นหมายมาตรา 2 แผ่นเท่าเดิม  
 
 
 
 
รูปที่ 44 การออกแบบและการใช้งานแผ่นขีดขั้นหมายมาตราแบบพิเศษ
 
 
 
          เมื่อพูดถึงปัญหาแผ่นขีดขั้นหมายมาตรา ยังพบอีกปัญหาที่ซ้ำซากตั้งแต่โบราณจนถึงปัจจุบันเพราะในสังคมยังมี DNA ความเป็นมนุษย์ไม่เปลี่ยนแปลงนั้นคือ การซีลเครื่องชั่งตวงวัดในส่วนที่มีผลต่อความเที่ยงความถูกต้องอย่างไรไม่ให้ทำการปรับแต่งได้โดยซีลไม่ขาด พนังงานเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัดต้องฝึกฝนตนเองให้รู้จักสังเกตการทำงานชิ้นส่วนอุปกรณ์กลไกหรือชิ้นส่วนอิเลคทรอนิค ในกรณีศึกษานี้ต้องใช้การสังเกตและมีความรู้ความเข้าใจกลไกการทำงานการเคลื่อนที่ขึ้นลงของแผ่นขีดขั้นหมามาตราดังในรูปที่ 45 จากนั้นพิจารณาว่าต้องซีลอย่างไรแล้วเมื่อมีการปรับระดับการเคลื่อนที่ขึ้นลงของแผ่นขีดขั้นหมายมาตราแล้วให้ต้องทำให้ซีลขาด ยกตัวอย่างเช่นในรูปที่ 46 ชั่งตวงวัดพบว่าผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราบางรายได้ออกแบบที่ซีลแผ่นขีดขั้นหมายมาตราหรือทำการซีลเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่เมื่อทำการปรับระดับการเคลื่อนที่ขึ้นลงของแผ่นขีดขั้นหมายมาตราแล้วทำอย่างไรซีลก็ไม่ขาด รวมทั้งในรูปที่ 47   เหนื่อยครับ....มันเหมือนหนูไล่จับแมว   ออ...แมวไล่จับหนู....ตายไปกี่รุ่นกี่รุ่นก็ต้องมาทำงานเหมือนเดิม เออถ้าเรื่องแบบนี้หมดไปชั่งตวงวัดก็คงไม่มีงานทำสินะ...555
 
 
 
รูปที่ 45 การออกแบบตำแหน่งซีลแผ่นขีดขั้นหมายมาตราป้องกันการปรับระยะขึ้นลง
 
 
 
 
รูปที่ 46 ตำแหน่งซีลแผ่นขีดขั้นหมายมาตรา ซีลไม่ร้อยทะลุหัวน๊อตยึดแผ่นขีดขั้นหมายมาตรา  ดังนั้นปรับระดับแผ่นขีดขั้นหมายมาตราโดยซีลยังไม่ขาด
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 47 ตำแหน่งซีลแผ่นขีดขั้นหมายมาตรา ถึงแม้ซีลร้อยทะลุหัวน๊อตยึดแผ่นฯ แต่เมื่อเคาะแผ่นขีดขั้นหมายมาตราให้เคลื่อนที่โดยซีลยังไม่ขาด
 
 
 
          นอกจากนี้ยังเจอเรื่องของค่าปริมาตรของขีดขั้นหมายมาตรา (Scale Mark) ซึ่งไม่ได้อยู่ค่าปริมาตรของอนุกรม 1x10n, 2x10n และ 5x10n  เมื่อ n เป็นเลขจำนวนเต็ม   ตัวอย่างเช่น 1 มิลลิลิตร, 2 มิลลิลิตร, 5 มิลลิลิตร, 10 มิลลิลิตร, 20 มิลลิลิตร, 50 มิลลิลิตร,......   แต่ค่าปริมาตรของขีดขั้นหมายมาตราดังกล่าวอยู่ในค่าอื่นตัวอย่าง เช่น 2.5 มิลลิลิตร 3 มิลลิลิตร (เสียดายที่ไม่ได้ถ่ายรูปไว้เป็นกรณีศึกษา)  ชั่งตวงวัดจึงขอให้ไปจัดทำแผ่นขีดขั้นหมายมาตราใหม่ให้มีค่าปริมาตรของขีดขั้นหมายมาตราอยู่ในอนุกรมของ 1x10n, 2x10n, 5x10n  แต่จะขอให้ข้อมูลเพิ่มเติมอีกว่าเมื่อจัดทำให้ระยะห่างระหว่างขีดขั้นหมายมาตราเล็กสุดบนแผ่นขีดขั้นหมายตรา (Scale Plate) ต้องไม่น้อยกว่า 1.6 มิลลิเมตร เพราะเป็นระยะที่โดยปกติคนสามารถแยกแยะด้วยสายตาได้
 
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 14 : Sight Glass
          ในการออกแบบติดตั้ง Sight Glass ของส่วนแสดงค่าปริมาตรของถังตวงแบบมาตรามีแนวปฏิบัติมาตรฐานดังในรูปที่ 48   ซึ่งเป็นรูปแบบที่เข้าใจได้ แต่ที่ผ่านมามีกรณีศึกษาเกิดขึ้นเมื่อผู้ผลิตมือใหม่ท่านประสงค์จะสร้างประกอบถังตวงแบบมาตราเองเพราะท่านก็มีช่างเชื่อม และเครื่องมืออุปกรณ์อื่น ๆจึงอยากสร้างถังตวงแบบมาตราเพื่อไว้ใช้เองทั้งนี้เพื่อลดค่าใช้จ่ายและพึงพาตัวเองสงสัยอันสืบเนื่องจากสภาพเศรษฐกิจภายใต้โรคระบาคไวรัสโควิด-19  เลยเข้ามาปรึกษา   ทางบริษัทฯ ดังกล่าวเลือกจัดสร้างส่วนแสดงค่าปริมาตรของถังตวงแบบมาตราตามรูปแถวล่างรูปซ้ายมือ (รูปที่ 48 (ค))   แต่เมื่อสอบถามไปสอบถามมา สอดรู้สอดเห็นเมื่อสงสัยก็ถามไปถามมา ประเมินความเป็นไปได้ในการจัดสร้างจากงานที่ชั่งตวงวัดเห็น ปรากฏว่าได้รับคำตอบว่าได้สอดใส่หลอดแก้วลงไปในส่วนข้างล่างก่อนให้ยื่นเข้าไปในถังตวงแบบมาตราก่อน (ดูรูปที่ 49 (ก) ซ้ายมือ) จากนั้นดึงหลอดแก้วขึ้นมายันตัวฉากด้านบนแต่ยังมีบางส่วนของหลอดแก้วยื่นโผล่ลงเข้าไปในถังตวงแบบมาตรา ดังนั้นชั่งตวงวัดเลยต้องชี้แจงว่าอย่ากระนั้นเลยหากต้องการความสะดวกในการสอดหลอดแก้วในการสร้าง Sight Glass ชั่งตวงวัดขอแนะนำให้ใช้การสอดหลอดแก้วเข้า Sight Glass ตามรูปแถวล่าวขาวมือแทน (รูปที่ 48 (ง))  เพราะตระหนักแล้วว่าถังตวงแบบมาตราใช้งานกับน้ำ งานนี้ไม่มีรูปให้ดูน่ะครับจิตนาการไปก็แล้วกันว่าแท่งหลอดแก้วเคลื่อนตัวอย่างไรก็เข้าใจเองได้
 
 
Sight Glass 1.jpg(ก)
Sight Glass 2.jpg
(ข)
Sight Glass 3.jpg
(ค)
Sight Glass 4.jpg
(ง)
 
รูปที่ 48 การออก Sight Glass ของส่วนแสดงค่าปริมาตร
 
 
 
        ในกรณีหลอดวัด (Glass tube) เพื่อวัดระดับของเหลวภายในถังตวงแบบมาตราเป็นหลอดแก้วชนิด Borosilicate Glass ควรมีขนาดดังในตารางข้างล่างนี้  ทั้งนี้เพื่อป้องกันปัญหาของธรรมชาติของเหลวที่ต้องเข้าใจนั้นคือ ปรากฏการณ์  Capillary
 
 

 

พิกัดกำลังเครื่องตวง

หลอดวัด (Glass tube)

ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางภายใน

ความหนา

น้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 ลิตร

13 มม. (3/8 – 1/2 นิ้ว)

ไม่ต่ำกว่า 3.2 มม. (1/8 นิ้ว)

มากกว่า 50 ลิตรขึ้นไป

16 มม. (5/8 นิ้ว)

ไม่ต่ำกว่า 3.2 มม. (1/8 นิ้ว)

ตาราง  ขนาดหลอดวัด (Glass Tube)

 

          ชั่งตวงวัดพบกรณีหนึ่งคือมีการติดตั้ง Fittings แบบสำเร็จรูปเพื่อรองรับและติดตั้งเพื่อยึดหัวท้ายหลอดวัด (Glass tube) แต่พบว่าทางเข้าและทางออกของตัว Fittings ดังกล่าวมีรูขนาดเล็กว่าเส้นผ่านศูนย์กลางภายในหลอดวัดทำให้เกิดคอคอด   ชั่งตวงวัดจึงขอให้ปรับเปลี่ยนตัว Fittings ให้มีขนาดรูทางเข้าใหญ่อย่างน้อยเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางภายในหลอดวัด  ชั่งตวงวัดไม่ประสงค์ให้เกิดการหน่วง (Damping) ของส่วนแสดงค่าระดับของเหลวซึ่งจะไปลดเรื่อง Sensitivity ของส่วนวัดระดับของเหลวภายในหลอดวัดแต่อย่างใด กรณีนี้ไม่ได้ถ่ายรูปเก็บไว้เลยไม่ได้ดูรูปกันนะ
 
 
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 15 : จุดอ้างอิงของแผ่นขีดขั้นหมายมาตรา
          ในอดีตนั้นในใบรายงานผลการสอบเทียบถังตวงแบบมาตราจะรายงานค่าความสูงจากจุดอ้างอิงไปยังตำแหน่งค่าพิกัดกำลังถังตวงแบบมาตราว่าจะสูงกี่มิลลิเมตร หรือกี่เซนติเมตร แต่เมื่อกลับมาทบทวนหรือมีปัญหาเพื่อตรวจทานค่าความสูงดังกล่าว พบว่ามึนครับเพราะพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ละคนก็ใช้จุดอ้างอิงกันไปตามความเชื่อหรือความคิดเห็นหรือตามความเข้าใจของแต่ละบุคคลหรือความสะดวกในการทำงานซึ่งบางครั้งการเลือกจุดอ้างอิงก็ตรงกันบางครั้งก็ต่างกัน ทั้งๆได้แจ้งและสื่อสารองค์กรแล้วว่าจุดอ้างอิงต้องเป็นจุดที่ติดตรึงกับที่ตายตัว  ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาก็พยายามขอให้ผู้ผลิตถังตวงแบบมาตราจัดทำจุดอ้างอิงถาวรของแผ่นขีดขั้นหมายมาตราให้ติดตั้งเข้ากับถังตวงแบบมาตราตำแหน่งใต้แผ่นขีดขั้นหมายมาตราเพื่อให้สามารถวางไม้บรรทัดเหล็กแนบขนานไปกับแผ่นขีดขั้นหมายมาตราได้ในการวัดความสูงของตำแหน่งพิกัดกำลังถังตวงแบบมาตรา (ดูรูปที่ 49) ส่วนถังตวงแบบมาตราเก่าๆ ก็ค่อยๆ แก้ไขปรับกันไปน่ะครับ
 
 
 
รูปที่ 49 (ก) จุดอ้างอิงถาวรของแผ่นขีดขั้นหมายมาตราสำหรับถังตวงแบบมาตราแบบคอขีดขั้นหมายมาตรา
 
 
รูปที่ 49 (ข) จุดอ้างอิงถาวรของแผ่นขีดขั้นหมายมาตราสำหรับถังตวงแบบมาตรา 5- 20 ลิตร
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 16 : ส่วนปรับปริมาตร (Volume Adjustment)
          ในการออกแบบและจัดสร้างถังตวงแบบมาตราส่วนใหญ่แล้วแม้ผู้ผลิตฯจะคำนวณขนาดมิติเป็นอย่างดีแล้วก็ตามแต่ครั้นประกอบจัดสร้างถังตวงแบบมาตราแล้วเสร็จผลลัพธ์ที่ได้ก็จะไม่ตรงกับที่ออกแบบและคำนวณหอก ทั้งนี้เพราะงานเชื่อมประกอบในความเป็นจริงแล้วไม่สามารถสร้างรูปทรงทางเรขาคณิตได้ตามทฤษฎีหรอกครับ มันก็บิดเบี้ยวๆ ส่วนจะมองเห็นหรือสังเกตเห็นได้ชัดเจนหรือไม่ก็ยากจะบอกได้ดังนั้นการเตรียมการหรืออกแบบส่วนปรับปริมาตรของถังตวงแบบมาตราจึงเป็นทางเลือกในชีวิตความเป็นจริงโดยไม่ต้องใช้ขวดพลาสติกบรรจุน้ำแล้วโยนเข้าไปในถังตวงแบบมาตราหรอกครับ รูปแบบตัวปรับปริมาตรต่างๆมีด้วยกันหลากหลายเท่าที่มีดังในรูปที่ 50 (ก) รูปที่ 50 (ข) และรูปที่ 50 (ค)
 
 
รูปที่ 50 (ก) ตัวอย่างการออกแบบส่วนปรับปริมาตร
 
 
 
รูปที่ 50 (ข) ตัวอย่างการออกแบบส่วนปรับปริมาตร
 
 
 
รูปที่ 50 (ค) ตัวอย่างการออกแบบส่วนปรับปริมาตร
 
 
 
          เมื่อถังตวงแบบมาตราโดยทั่วไปแล้วจำเป็นต้องมีส่วนปรับปริมาตรประจำถังตวงแบบมาตรา  จึงต้องทำความเข้าใจมาตรฐานการจัดทำส่วนปรับปริมาตรรวมทั้งหลักคิดกันก่อน   ส่วนปรับปริมาตรต้องมั่นคงแข็งแรงติดตรึงอยู่กับที่เพื่อประกันว่าส่วนปรับปริมาตรเป็นส่วนหนึ่งของถังตวงแบบมาตราเป็นเนื้อเดียวกัน รวมทั้งไม่เป็นที่กักเก็บของเหลวหรืออากาศ ไม่ไปขวางทิศทางการไหลเข้าออกของเหลวเข้าออกถังตวงแบบมาตรา ส่วนปรับปริมาตรไม่ควรมีปริมาตรมากจนเกินไป เช่นสมมุตอาจกำหนดให้ไม่เกิน 0.5% ของพิกัดกำลังของถังตวงแบบมาตรา   อีกทั้งต้องมีที่ซีลเพื่อป้องกันการปรับแต่งหรือเปลี่ยนแปลงส่วนปรับปริมาตรเพราะส่วนปรับปริมาตรมีผลต่อความเที่ยงของถังตวงแบบมาตรา
มาดูกรณีศึกษาในรูปที่ 51 เป็นการปรับใช้ Manhole เพื่อติดตั้งส่วนปรับปริมาตร ดังนั้นหากพนักงานเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัดไม่พิจารณาให้ดีแล้วก็เพียงคิดเป็นเพียง Manhole ไม่ได้พิจารณาทำการซีลฝา Manhole  ดังนั้นผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราดังกล่าวจะสามารถถอดเปลี่ยนส่วนปรับปริมาตรได้เนื่องจากส่วนปรับปริมาตรถูกยึดเข้ากับฝา Manhole ด้วยน๊อตเพียง 4 ตัว แต่ถ้าผู้ครอบครองเป็นคนมีศีลธรรมก็คงไม่คิดกระทำ.....555   ดังนั้นหากเราทำการตรวจสอบด้วยทางสายตาและเห็นสิ่งใดที่เป็นสิ่งแปลกปลอมไม่ใช่ส่วนหนึ่งส่วนใดของถังตวงแบบมาตราและมีผลต่อความเที่ยงของถังตวงแบบมาตราต้องกำจัดทิ้งไปให้หมด หากไม่สามารถกำจัดทิ้งไปก็ต้องสามารถซีลได้พร้อมทำการบันทึกในรายงานผลการสอบเทียบด้วย   ในเบื้องต้นจึงขอให้ทำการเชื่อมส่วนปรับปริมาตรให้ติดตรึงกับฝา Manhole อย่างถาวรพร้อมทำการซีลร้อยน๊อตฝา Manhole ในขณะเดียวก็ตรวจสอบขนาดส่วนปรับปริมาตรดังกล่าวต้องไม่ชิดผนังของส่วนที่ยื่นออกมาของ Manhole เพื่อให้แน่ใจว่าไม่ก่อให้เกิดกับดักของอากาศหรือกับดักของเหลวระหว่างช่องว่างระหว่างดังกล่าว
 
 
MH&AdjVOL Before 2
 
MH&AdjVOL Before 3
 
 
รูปที่ 51 การปรับใช้ Manhole เพื่อติดตั้งส่วนปรับปริมาตร 
 
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 17 : Tank - Neck Volume
          ปัญหานี้เป็นปัญหาฝั่งของผู้มีส่วนได้เสียเป็นผัวเมีย   เฮ้ย ไม่ใช่สินะ   เอาเป็นว่าทุกภาคส่วนควรรับฟังและเข้าใจกันสักกะหน่อย   เนื่องจากถังตวงแบบมาตราที่ใช้ในวงการปิโตรเลียมได้รับการพัฒนาปรับปรุงกันมาตลอดช่วงระยะเวลาหลายปีมานี้ ในขณะที่ถังตวงแบบมาตราที่ใช้ในวงการมาตรวัดน้ำประปายังคงเป็นถังตวงแบบมาตรารูปร่างทรงกระบอก เมื่อการประปานครหลวงคิดจะพัฒนาถังตวงแบบมาตรานั้นได้มีเจ้าหน้าที่การประปานครหลวงเข้ามาพูดคุยกับชั่งตวงวัด ชั่งตวงวัดเองก็มองเห็นแล้วว่าการวัดปริมาตรน้ำด้วยมาตรวัดน้ำประปากับมาตรวัดวัดปริมาตรของเหลวปิโตรเลียมก็มีหลักการทำงานเดียวกันโดยเฉพาะมาตรวัดปริมาตรของเหลวแบบเทอร์ไบน์มิเตอร์ เพียงแต่มาตรวัดน้ำประปาที่เป็นแบบเทอร์ไบน์มิเตอร์นั้นมีผลผิดหรือ Maximum Permissible Error (MPE) สูงกว่ามาตรวัดเทอร์ไบน์ที่ใช้ในวงการปิโตรเลียมซึ่งมี MPE 0.5% ของปริมาตรทดสอบ ส่วนผลผิดของมาตรวัดน้ำประปาแบบเทอร์ไบน์มี MPE 5%/2% ของปริมาตรทดสอบแบ่งตามช่วงอัตราการไหล   ในวันนั้นชั่งตวงวัดจึงแนะนำให้ใช้ถังตวงแบบมาตรารูปทรงเหมือนกับถังตวงแบบมาตราที่ใช้ในวงการปิโตรเลียม โดยจัดให้มี “จุดเริ่มต้น” และ “จุดสิ้นสุด” ให้ชัดเจนดังในรูปที่ 52
 
 
(รูปนี้ผิดตรงที่ความสูงของ "จุดเริ่มต้นอ้างอิ่ง" ต้องสูงกว่า Sight Glass  และปลายท่อทางเข้าปากฉลามต้องหันเข้าหาพื้นที่เปิดเพื่อลดแรงถีบของของเหลว  แต่ต้องใช้รูปนี้เพราะไม่มีรูป)
scan0006.jpg
scan0007.jpg
 
รูปที่ 52 ถังตวงแบบมาตรามีท่อทางเข้าจัดให้มี “จุดเริ่มต้นอ้างอิง (Sight glass with weir)” และ ท่อทางออกจัดให้มี “จุดสิ้นสุดอ้างอิง (Inspection glass for liquid discharge)” สำหรับตรวจสอบมาตรวัดปริมาตรน้ำ
 
 
 
 
          ในระหว่างที่จัดสร้างถังตวงแบบมาตรานั้น คาดว่าผู้จัดสร้างถังตวงแบบมาตรามีความรู้ความเข้าใจชัดเจนดีในเรื่องปริมาตรคอถังตวงว่าควรจะมีปริมาตรเท่าไร แต่ฝั่งชั่งตวงวัดเองพบว่าเริ่มมีคนสับสนว่าปริมาตรคอถังตวงแบบมาตราที่จะใช้กับมาตรวัดปริมาตรน้ำควรที่ปริมาตรเท่าไหร่ จึงให้หลักคิดดังนี้คือ “ปริมาตรของคอถังตวงแบบมาตราต้องมีขีดความสามารถตรวจวัดผลผิดของมาตรวัดปริมาตรของเหลวที่ต้องการนำไปใช้งานด้วย”   จะเห็นได้จากรูปที่ 53 เป็นถังตวงแบบมาตราที่ปรากฎในเอกสารของมาตรฐาน API ซึ่งใช้กับมาตรวัดปริมาตรของเหลวปิโตรเลียมระบุปริมาตรของคอถังตวงแบบมาตรามีค่าเท่ากับ ±0.5% ของปริมาตรถังตวงแบบมาตรา    ด้วยเหตุนี้ ปริมาตรของคอถังตวงแบบมาตราที่ใช้กับมาตรวัดปริมาตรน้ำจึงควรมีค่าเท่ากับ  ±5% / ±2% ของปริมาตรถังตวงแบบมาตราขึ้นอยู่กับทดสอบที่อัตราการไหลใดนั้นเอง
 
รูปที่ 53 ปริมาตรของคอถังตวงแบบมาตราต้องมีขีดความสามารถตรวจวัดผลผิดของมาตรวัดปริมาตรของเหลวที่ต้องการนำไปใช้งาน
 
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 18 : Name Plate บัตรประชาชนของถังตวงแบบมาตรา
แผ่นข้อมูลประจำถังตวงแบบมาตรา (Name Plate) คือ “บัตรประชาชน” ประจำตัวถังตวงแบบมาตรา   จากหลักคิดนี้ ชั่งตวงวัดจึงคิดว่าน่าจะเป็นข้อสรุปและคำอธิบายความสำคัญของ Name Plate ได้อย่างชัดเจนที่สุดแล้ว ดังนั้นหากถังตวงแบบมาตราใดไม่มี Name Plate ชั่งตวงวัดจะขอให้กลับไปจัดทำ หากข้อมูลบน “บัตรประชาชน” ประจำตัวถังตวงแบบมาตราไม่ชัดเจนหรือลบเลือนไปหรือไม่คงทนชั่งตวงวัดจะขอให้นำกลับไปแก้ไข   หากหมายเลขประจำตัวเขียนด้วยหมึกเมจิกชั่งตวงวัดจะขอให้กลับไปแก้ไข และ ฯลฯ........ หวังว่าเราเข้าใจตรงกัน
          แผ่นข้อมูลประจำถังตวงแบบมารา (Name Plate) คือ “บัตรประชาชน” ประจำตัวถังตวงแบบมาตรา   ควรประกอบด้วย
·       ชื่อและที่อยู่ของบริษัทผู้ผลิต
·       เลขรุ่น (Model Number)
·        หมายเลขลำดับประจำเครื่อง (Serial Number)
·        วัสดุที่ใช้ทำ (Material)
·       ความหนาของวัสดุ
·       สัมประสิทธิ์การขยายตัวตามบาศก์ของวัสดุต่อองศาเซลเซียส (Coefficient of Expansion)
·       ปริมาตรที่แสดงพิกัดกำลัง (Nominal Capacity) ที่เส้นขีดศูนย์บนแผ่นแสดงขั้นหมายมาตราบนคอเครื่องตวง
·       อุณหภูมิอ้างอิงประจำเครื่องตวง (Reference Temperature)
·       ระยะเวลาที่ระบายน้ำหลังจากการไหลของของเหลวสิ้นสุดลง (Drainage Time) ในกรณีเครื่องตวงเป็นแบบจ่าย
·       ข้อจำกัดการใช้งาน (ถ้ามี)
 
 
 
รูปที่ 54  ตัวอย่าง “Name Plate” คือ “บัตรประชาชน” ประจำถังตวงแบบมาตรา
 
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 19 Prover Tank or Slop Tank
          เมื่อมีทรัพยากรอยู่ในความครอบครอง จึงต้องใช้สอยประโยชน์จากวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่ครอบครองอย่างมีประสิทธิภาพ ให้คุ้มค่าต่อเศรษฐกิจ บริษัทฯ ผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราดังกล่าวก็เลยเห็นถังตวงแบบมาตราวางไว้เฉยๆ ไม่ได้ใช้สอบเทียบมาตรวัดปริมาตรของเหลวในคลังน้ำมัน ก็เลยเอาถังตวงแบบมาตราปรับเปลี่ยนมาทำหน้าที่เป็น “Slop Tank” คือเอาน้ำมันสกปรกหรือเศษน้ำมันทิ้งหรือน้ำมันปนเปื้อนเอามาร่วมไว้ในถังตวงแบบมาตรานานวันเข้าถังตวงแบบมาตราก็สกปรกตกตะกอน คุ้มค่าเศรษฐกิจเหลือประมาณเจ้าพระเดชเจ้าพระคุณ   ถือว่าทำงานมีประสิทธิภาพมากเอาการ.......แต่ไร้ประสิทธิผลอย่างไม่น่าให้อภัย เพราะไม่เข้าใจและไม่แยกแยะ หรือให้ความสำคัญว่ามาตรวัดปริมาตรของเหลวที่วัดปริมาตรการซื้อขายของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมมูลค่ามหาศาลและอาจเสียหายอย่างมหาศาลหากมาตรวัดดังกล่าวให้ผลการวัดคลาดเคลื่อนในทางที่เป็นโทษกับเจ้าของมาตรวัดปริมาตรของเหลวอันสืบเนื่องจากปริมาตรถังตวงแบบมาตรามีค่าปริมาตรผิดคลาดเคลื่อน   ล้างสิครับ....ถ้าล้างถังตวงแบบมาตราไม่สะอาด ชั่งตวงวัดก็ยังไม่สอบเทียบ   แต่ยังมีเรื่องเพิ่มเติมพึ่งนึกออกว่าไม่แน่ใจว่าที่สถานที่นี้ด้วยหรือเปล่าจะให้ใช้น้ำคลองหรือน้ำบาดาลทำการสอบเทียบถังตวงแบบมาตรา มัน เผือก ฟักทอง แตงไทย....พับผ้า..    ชั่งตวงวัดจึงตอบปฏิเสธและขอให้ผู้ครอบครองถังตวงแบบมาตราช่วยไปซื้อน้ำประปามาเป็นคันรถหน่อยเถอะพ่อประคูณหาร   ถ้าในปัจจุบันจะขอให้ขนมาสอบเทียบที่ชั่งตวงวัดเพราะมีเครื่องมืออุปกรณ์แล้ว
 
 
 
รูปที่ 55 Prover Tank หรือ Slop Tank
 
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 20 : ต้องใช้ไม้พาย เมื่อถังตวงแบบมาตรา 3000 ลิตรไม่ติดตั้ง Antiswirl Plates หรือ Antiswirl Device
          มีอยู่วันหนึ่งได้ไปเห็นการตรวจสอบให้คำรับรองมาตรวัดปริมาตรของเหลวประจำ Truck Loading  ในคลังน้ำมันแห่งหนึ่งโดยใช้ถังตวงแบบมาตรา เมื่อครบรอบการทำงานเจ้าหน้าที่บริษัทฯอ่านค่าปริมาตรที่มาตราวัดปริมาตรของเหลวและค่าปริมาตรของถังตวงแบบมาตราแล้วเสร็จ จากนั้นก็ใช้ปั๊มดูดน้ำมันจากถังตวงแบบมาตราเข้าสู่รถยนต์บรรทุกถังน้ำมัน ปรากฏว่าระหว่างทำการดูดน้ำมันไปสักครู่หนึ่งพนักงงานบริษัทก็เอาอุปกรณ์ที่คล้ายไม้พายจุ่มเข้าไปในถังตวงแบบมาตรา 3,000 ลิตร   ชั่งตวงวัดก็สงสัยว่าทำไมก็สอบถามดู ได้รับการบอกกล่าวว่าตอนดูดน้ำมันออกจากถังตวงแบบมาตรา 3000 ลิตร น้ำมันมันไหลวนอยู่บริเวณก้นถังปากทางท่อทาออกอยู่นั้นแหละทำให้ดูดน้ำมันออกไปลงถังบรรทุกน้ำมันช้า    นั้นไง...   อย่ามองข้ามเรื่องเล็กๆน้อยๆ มันจะกลายเป้นเรื่องกวนใจตลอดเวลาที่ทำงานเช่นน่ะ     หลังจากนั้นหากเจอถังตวงแบบมาตราไม่ว่าจะมีพิกัดกำลังมากน้อยเพียงใด   ชั่งตวงวัดจะขอแนะนำให้ติดตั้งอุปกรณ์ที่เรียกกันว่า “Antiswirl Plates” หรือ “Antiswirl Device” บริเวณปากทางออกถังตวงแบบมาตราเสมอ 
 
 
รูปที่ 56  “Antiswirl Plates” หรือ “Antiswirl Device” บริเวณปากทางออกถังตวงแบบมาตรา
 
 
 
 
 
กรณีศึกษาที่ 21 : Too much Protection
          กรณีนี้เป็นกรณีที่น่ารักครับ   ผู้ครอบครองเป็นคนรักษาของและดูแลของเป็นอย่างดีกลัวว่าหากย้ายถังตวงแบบมาตราขึ้นลง-เข้าออกรถยนต์ที่ขับไปทำงานอาจทำให้ถังตวงแบบมาตราบุบหรือโดนกระแทกทำให้เสียหาย ผู้ครอบครองก็ดำเนินการ Wrap ถังด้วยฟองน้ำเสียเรียบร้อยงดงามตามท้องเรื่อง   ชั่งตวงวัดวัดเห็นเข้าก็ชี้แจงว่าเมื่อมีด้านบวกก็มีด้านลบคือ ถ้าหากถังตวงแบบมาตราบุบขึ้นมาก็จะตรวจสอบทางสายตาไม่เห็นซึ่งเป็นมุมกลับของท้องเรื่อง   ชั่งตวงวัดจึงขอให้เอาฟองน้ำออก แต่ถ้ายังประสงค์ป้องกันถังต่อไปก็ให้ไปปรับปรุงซอกเสียบถังตวงแบบมาตราโดยทำการบุฟองน้ำเข้ากับโครงสร้างซอกเสียบเก็บถังตวงแบบมาตราแทนน่าจะดีกว่า    ขอเอาฟองน้ำออก....
 
 
 
 
รูปที่ 57   ทะนุถนอนน่ะ ถังตวงแบบมาตรา
 
 
 
 
ส่งท้ายบทความ
          เมื่ออ่านบทความนี้แล้วรู้สึกมันไม่ชัดเจน ยังมีประเด็นที่เข้าใจไม่สุด หรือมันอัดอั้นตันใจ หรือยังไม่สุดดิ่งกระติ่งแมว ว่าไปงั้น     ก็สามารถไปอ่านบทความ (eDOCs) / หนังสือ (eBOOKs) ใน www.cbwmthai.org หรือลอง Download ไปอ่านเล่นๆซิครับช่วงปีใหม่ 2564 ถ้าว่างๆ ตามรายการชื่อหัวข้อหรือชื่อหนังสือข้างล่างนี้    
 
 เข้า www.cbwmthai   ในส่วน "ข่าว/สาระน่ารู้"   
eDOCs
1.       แนวปฏิบัติการสอบเทียบมาตรวัดแบบมาตรา (MASTER FLOW METER) เทียบกับถังตวงแบบมาตรา (PROVING TANK)
2.       แนวปฏิบัติการสอบเทียบ COMPACT PROVER (CPP) เทียบกับถังตวงแบบมาตรา
3.       แนวปฏิบัติการสอบเทียบถังตวงโลหะ (ไม่เกิน 5,000 ลิตร) เทียบกับถังตวงแบบมาตรา
4.       แนวทางปฏิบัติการยื่นแบบคำขอให้ตรวจสอบความเที่ยงฯ และการนัดวันตรวจสอบความเที่ยงถังตวงโลหะพิกัดกำลัง 50 – 3,000 ลิตร สำหรับห้องปฏิบัติการปริมาตร 3 / นอกสถานที่
 
eBOOKs
1.       แบบมาตราชั่งตวงวัดชั้น 123
2.       VOLUME TRACEABILITY
3.       ถังตวงโลหะแบบมาตรา
4.       สอบเทียบเครื่องตวงแบบมาตรา GRAVIMETRIC METHOD
5.       การสอบเทียบเครื่องตวงแบบมาตรา VOLUMETRIC METHOD
6.       เครื่องตวงแบบมาตรา และมาตรวัดของเหลว
7.       การคำนวณผลการสอบเทียบทางด้านปริมาตร (ฉบับปรับปรุง) 2558
8.       SOP-VOL-105: ขั้นตอนการปฏิบัติงานสอบเทียบเครื่องตวงชนิดถังตวงโลหะ (5–100 ล.) แบบคอมีขีดขั้นหมายมาตรา & แบบคอน้ำล้นด้วยการชั่งน้ำหนัก (GRAVITY METHOD)
9.       SOP-VOL-106: ขั้นตอนการปฏิบัติงานสอบเทียบเครื่องตวงชนิดถังตวงโลหะแบบคอมีขีดขั้นหมายมาตรา (5 - 100 ล.)ด้วยการตวงเปรียบเทียบ
10.มชตว 702-1/25XX: เครื่องตวงแบบมาตราที่ใช้ในภาคสนามชนิดโลหะแบบคอมีขีดขั้นหมายมาตราแสดงปริมาตร (ฉบับร่าง)
 
 
 
 
 
แต่ผมคงไม่อ่านแล้วละครับ.....กะโหลกเริ่มหนาแล้ว.......    แต่ท่านที่ยังมีความใฝ่รู้ก็อ่านเถอะครับดีต่อตัวท่านเอง  ท้ายนี้ขอให้มีความสุขแข็งแรง  ดูแลสุขภาพตัวเองและครอบครัว....สาธุ
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

ชั่งตวงวัด; GOM MOC
 นนทบุรี
21 ธันวาคม 2563
 
 
 

 



จำนวนผู้เข้าชม : 4468