สาระน่ารู้ ชั่งตวงวัด

คุณภาพน้ำประปา... คุณภาพชีวิต... คุณภาพวัสดุมาตรวัดปริมาตรน้ำ

 

 

คุณภาพน้ำประปา... คุณภาพชีวิต...

 

 

คุณภาพวัสดุมาตรวัดปริมาตรน้ำ
 
 
            จากเกณฑ์กำหนดคุณภาพน้ำประปาการประปานครหลวง และมาตรฐานคุณภาพน้ำประปาของการประปาส่วนภูมิภาคตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ปี 2011 เมื่อได้อ่านแล้วยอมรับเลยครับว่าสร้างความสบายใจ และยินดีต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนคนไทยในราชอาณาจักรไทย ดังนั้นสำนักงานกลางชั่งตวงวัดก็ไม่ละเลยเรื่องดังกล่าวด้วยเช่นกันโดยได้ระบุประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิด และลักษณะของมาตรวัดปริมาตรน้ำ รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต และอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด พ.ศ. 2561 ใน
 
ข้อ 13 มาตรวัดปริมาตรน้ำต้องมีลักษณะ ดังต่อไปนี้
(1) มาตรวัดปริมาตรน้ำ............
(2) ............
(3) มาตรวัดปริมาตรน้ำต้องทำจากวัสดุคงทนถาวรต่อการใช้งาน ไม่เกิดสนิมได้ง่าย ไม่ทำปฏิกิริยาหรือเจือปนกับน้ำ และทนต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลง
(4) ...........
 
            เรากำหนดคุณภาพทางกายภาพของมาตรวัดปริมาตรน้ำได้ระดับหนึ่งเท่านี้ เนื่องจากสำนักงานกลางชั่งตวงวัดนั้นดูแลงานด้านชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมาย (Legal Metrology) เราไม่ได้ดูแลระดับอุตสาหกรรมการผลิตมาตรวัดปริมาตรน้ำแต่เราก็ตระหนักถึงความปลอดภัยของผู้บริโภคประชาชนชาวไทยเราเลยกำหนดไว้ในแบบของเรา แบบที่เปิดโอกาสให้ผู้มีความรู้ความสามารถผู้เชี่ยวชาญเข้ามาทำหน้าที่มาชี้ว่าหรือผู้ผลิต ผู้นำเข้าเครื่องชั่งตวงวัดชนิดมาตรวัดปริมาตรน้ำทำการพิสูจน์เพราะเราถือว่าท่านรู้เรื่องดีที่สุดในสิ่งที่ท่านผลิต นำเข้าและขายเครื่องชั่งตวงวัดของท่าน   โดยต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่า
·    มาตรวัดปริมาตรน้ำต้องทำจากวัสดุคงทนและถาวรต่อการใช้งาน ไม่ใช่เอานิ้วสะกิดนิดสะกิดหน่อยแล้วตัวเรือนมาตรวัดปริมาตรน้ำ (Housing) ก็หลุดหลุยเป็นผงวัสดุตกลงมา  อย่างนี้ไม่เอาน่ะ (ขอเวอร์นิดๆๆ) ในเทอมของความดันน้ำที่มาตรวัดปริมาตรน้ำทนทานได้เรามีกำหนดในประกาศกระทรวงพาณิชย์ฉบับนี้ฯ เช่นกัน นอกจากนีในเทอมความคงทนถาวรอื่นๆที่ผู้บริโภคได้รับว่ายกกันมาเถอะครับแล้วดูว่าผู้มีส่วนได้เสียเค้าจะว่ากันอย่างไร   ประชาธิปไตย....
·        มาตรวัดปริมาตรน้ำต้องทำจากวัสดุที่ไม่เกิดสนิมได้ง่าย   เพราะโดยทั่วไปแล้วมาตรวัดปริมาตรน้ำจะทำจากวัสดุที่เป็นจำพวกโลหะ ดังนั้นเมื่อครบองค์ประกอบ โลหะ น้ำ และออกซิเจน   กระบวนการเกิดสนิมก็เริ่มก่อตัวสิครับ แต่ในกรณีที่ตัวเรือนมาตรวัดปริมาตรน้ำที่ทำจากวัสดุโพลิเมอร์พลาสติกนั้นอันที่จริงไม่ควรนำมาใช้งานในงานนี้ (เฉพาะในความเห็นผู้เขียนน่า...) แต่...ได้รับคำชี้แจงไม่แน่ใจว่ามันน่าเชื่อถือหรือมีน้ำหนักหรือเปล่าน่ะครับว่าการที่ต้องมีมาตรวัดปริมาตรน้ำที่เป็นตัวเรือนโพลิเมอร์พลาสติกเพราะนำไปใช้ทดแทนในพื้นที่ที่มีการขโมยมาตรวัดปริมาตรน้ำชุกชุมเพื่อเอาตัวเรือนไปขายเป็นเศษเหล็ก   ทำไมถึงไม่เชื่อฝีมือโปลิสไทยแลนด์น่ะครับ แฮะๆๆ
·        มาตรวัดปริมาตรน้ำต้องทำจากวัสดุที่ไม่ทำปฏิกิริยาหรือเจือปนกับน้ำ  เรื่องนี้มีผลต่อคุณภาพของน้ำประปาหรือคุณภาพน้ำที่ถูกเครื่องชั่งตวงวัดชนิดมาตรวัดปริมาตรน้ำนำไปวัดปริมาตรน้ำเพื่อทำการซื้อขาย แลกเปลี่ยน หรือคิดค่าธรรมเนียม ภาษีอากร หรือในภาครวมคือการค้า (Trading) ซึ่งครอบคลุมการค้าสินค้า และการค้าบริการ ดังนั้นหากนำไปใช้วัดปริมาตรน้ำประปามาตรวัดปริมาตรน้ำต้องไม่ส่งผลต่อคุณภาพน้ำประปาตามเกณฑ์ที่การประปานครหลวง (กปน) และการประปาส่วนภูมิภาค (กปค) ประกาศไว้ผิดเพี้ยนเบี่ยงเบนไปจากมาตรฐานฯ แต่หากคุณภาพน้ำประปามีคุณภาพต่ำกว่าเกณฑ์ที่ประกาศ ก็ต้องพิสูจน์ว่าไม่ใช่สาเหตุมาจากมาตรวัดน้ำประปา...น่ะครับ
·    มาตรวัดปริมาตรน้ำต้องทำจากวัสดุทนต่ออุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ ฉบับนี้....ครับข้อความมีนัยมันถูกแฝงนัยอยู่ในข้อที่ 18 ว่าอย่างน้อยต้องสามารถใช้งานกับน้ำได้ในช่วงอุณหภูมิน้ำ 0.1 °C – 50 °C หากมีอุณหภูมินอกเหนือไปจากขอบเขตอุณหภูมิที่ระบุ อันนี้ไม่ใช้เรา (มาตรวัดปริมาตรน้ำเป็นเครื่องชั่งตวงวัดและอยู่ภายใต้บังคับใช้ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม)
 
            ประเด็นที่เราจะพูดคุยในบทความนี้จึงขอตีกรอบไว้ที่วัสดุที่ใช้ผลิตมาตรวัดปริมาตรน้ำ ส่วนจะลงลึกแค่ไหนก็ค่อยๆ คลานกันไปครับเพราะงานนี้เป็นเรื่อง Material Science ครับ ตัวเองก็อ่านมาและรู้ไม่เยอะแต่จะพยายามส่งสารความรู้เท่าที่ทำได้น่ะ   ถ้าใครอ่านมาหลายๆบทความท่านจะรู้ว่างานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมายเป็นเรื่องของสหวิชาชีพจริงๆ ครับ การรับสมัครคัดเลือกข้าราชการชั่งตวงวัดรุ่นใหม่ๆเข้ามาจึงต้องมีธรรมภิบาลสูงเยอะหน่อย   คิดให้มากๆ ลดความเห็นแก่ตัวให้น้อยๆ นึกถึงประชาชนชาวไทยและราชอาณาจักรไทยเยอะๆ แต่ถ้ารู้สึกมากไปก็ขอแค่คิดถึงแค่ลูกของคุณก็พอ ว่าเขาจะเติบโตในสังคมอย่างไรก็พอ.......ถ้าทำดีไม่ได้ก็คืนอำนาจการจัดสอบแข่งขัน ภาค ข. กลับไปยังหน่วยงานที่มีความสามารถและมีธรรมาภิบาลสูงเถอะ...ครับ......ขอบ่นตามประสาคนหนุ่ม 5555
            เนื่องจากสังคมโลกของประเทศที่พัฒนาแล้วสนใจในคุณภาพของชีวิตประชากรของตนเองให้สามารถเข้าถึงน้ำกินน้ำใช้ที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะน้ำดื่มได้กำหนดคุณภาพสูงมากขึ้น ให้สารปนเปื้อนต้องมีค่าน้อยลงโดยเฉพาะตะกั่ว (Lead) ที่เป็นโลหะที่มีผลต่อสุขภาพต่อคนอย่างชัดเจน ถ้าใครนึกย้อนเวลากลับไปในเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิงรถยนต์ก็อาจจะนึกได้ว่าเดิมทีน้ำมันเบนซิลจะผสมสารตะกั่วเพื่อประโยชน์ในการหล่อลื่นและรักษาลิ้นวาล์วของเครื่องยนต์ จากนั้นมีการรณรงค์ให้ใช้น้ำมันเบนซิลปลอดสารตะกั่วซึ่งใช้กันมาพักหนึ่งจากนั้นก็ประสบปัญหาเรื่องราคาน้ำมันเชื้อเพลิงยังสูงอยู่เลยต้องมีการล้ำเส้นมาทางด้านอาหารโดยเอาแอลกอฮอล์มาผสมกับน้ำมันเบนซิลเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 และน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 ในปัจจุบัน   นอกจากนี้ยังนับไม่รวมผลงานวิชาการทางการแพทย์ที่ชี้มายังตะกั่ว (Lead) ว่ามีผลต่อสุขภาพอีกหลายๆมิติ....สรุปตะกั่ว (Lead) คือผู้ร้ายครับ   ต้องไม่มีหรือมีค่าน้อยสุดเท่าที่ทำได้หากต้องเข้าสู่ร่างกายมนุษย์   หน่วยงานระดับโลกอย่าง World Health Organization (WHO) จึงกำหนดให้คุณภาพน้ำประปามีตะกั่วไม่เกิน 0.01 mg/l (ดูรูปที่ 1) รวมทั้งสารพิษต่อร่างกายมนุษย์อีกหลายรายการ  นอกจากนี้เรายังมีมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ำบริโภค มอก. 257-2549 กำหนดคุณภาพน้ำบริโภคด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะตะกั่ว (ดูรูปที่ 2) ตามไปอ่านดูครับ
 
รูปที่ 1 คุณภาพน้ำประปาของการกระปาส่วนภูมิภาค (กปค)
 
 
รูปที่ 2 คุณภาพน้ำประปาของมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ำบริโภค มอก. 257-2549 
 
            จากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรวัดน้ำต่อด้วยเกลียวชนิดใบพัด มอก. 1021-2534 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรวัดน้ำต่อด้วยเกลียวชนิดลูกสูบ มอก. 1271-2538 ได้กำหนดให้ใช้วัสดุ ทองบอรนซ์ ทองเหลืองแท่งตีขึ้นรูป เหล็กกล้าไร้สนิม และวัสดุสังเคราะห์ซึ่งเข้าใจว่าเป็นพวกโพลีเมอร์พลาสติก   ดังนั้นรายละเอียดการกำหนดชนิดวัสดุในวันดังกล่าวซึ่งทันสมัยในวันนั้น แต่ในวันนี้มีความรู้สะสมมีการพัฒนาการทางเทคโนโลยี คุณภาพชีวิตสูงขึ้น มีนวัตกรรมทางวัสดุศาสตร์เพิ่มมากขึ้น  เราจึงต้องเปลี่ยนแปลงปรับปรุงและปรับใช้ความรู้ให้เหมาะสมกับประชาชนของเราซึ่งนั้นก็ต้องคำนึงในหลายมิติ  การมองพลวัตรจากภายนอกประเทศจึงละเลยไม่ได้
            ในประเทศที่เจริญแล้ว  ไม่ทราบจะเป็นสาเหตุที่ต้องการประกันและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนของตนเองหรือจะเป็นเทคนิคการกีดกันทางการค้าเพื่อไม่ให้ผิดกติกาของ WTO หรือจะรวมๆของเหตุผลนั้นๆ หรือจะด้วยเหตุผลใดสุดจะคาดเดา แต่ที่แน่ๆ สหรัฐอเมริกาและประเทศแคนนาดาได้ออกกฎระเบียบโดยได้กำหนดให้วัสดุอุปกรณ์ที่สัมผัสหรือใช้กับน้ำดื่มนั้นต้องได้รับการผ่านมาตรฐาน NSF/ANSI 61-2016 Drinking Water System Components-Health Effects เพื่อทดสอบการปนเปื้อนของสารตะกั่วที่หลุดเข้าไปในระบบน้ำดื่มว่าไม่เกินค่าที่ยอมให้ได้ และผ่านมาตรฐาน NSF 372-2016 Drinking Water System Components - Lead Content เพื่อแสดงให้เห็นถึงวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าวเมื่อสัมผัสกับน้ำดื่มแล้วต้องไม่มีสารปนเปื้อนตะกั่วเกิน 0.25% เป็นต้น ข้อมูลประดับหัวว่า “NFS International Standard” เดิมชื่อ “National Sanitation Foundation”
 
 
 
รูปที่ 3 ให้วัสดุอุปกรณ์สัมผัสกับน้ำโดยตรงตามเงื่อนไขที่กำหนดจากนั้นค่อยนำน้ำดังกล่าวไปวิเคราะห์สารปนเปื้อนที่ออกมาจากวัสดุอุปกรณ์ดังกล่าว; NSF/ANSI 61-2016  
 
รูปที่ 4 วิเคราะห์สารปนเปื้อนที่ออกมาจากวัสดุอุปกรณ์ในน้ำ; NSF/ANSI 61-2016
 
 
รูปที่ 5 การวิเคราะห์น้ำหนักของสารปนเปื้อนที่ออกมาจากวัสดุอุปกรณ์เมื่อสัมผัสกับน้ำดื่มแล้วต้องไม่มีสารปนเปื้อนตะกั่วเกิน 0.25%; NSF 372-2016
 
รูปที่ 6 Material dissolution and lead content by ICP-MS; NSF 372-2016
 
 
รูปที่ 7   หน่วยงานที่เป็น ANSI-accredited third-party
 
หากมองไปยังทางด้านกลุ่มประเทศสหภาพยุโรป (European Union; E.U.) ได้มีกฎหมายตัวหนึ่งเพื่อดูแลคุณภาพของน้ำดื่มของกลุ่มประเทศทั้งหมดเรียกว่า European Drinking Water Directive (DWD) ซึ่งครอบคลุมในหลายมิติของสารปนเปื้อนในน้ำดื่มคือทั้งเรื่อง Microorganisms (จุลินทรีย์ คือ สิ่งมีชีวิตที่มีขนาดเล็กมากๆ เช่น แบคทีเรีย รา ยีสต์ โปรโตซัว เป็นต้น) , Chemicals (สารปนเปื้อนเคมี) และ Metallic Elements (สารปนเปื้อนโลหะ) เป็นต้น   แต่การดำเนินการดังกล่าวภายใน EU เองยังมีปัญหาอุสรรค ดังนั้นในปี ค.ศ. 2006 มี 4 ประเทศบอกว่าผมไม่รอท่านแล้ว เราขอเป็นหน่วยล่วงหน้า หน่วยแมวเซา จึงได้จับมือเพื่อนำร่องการดำเนินการยกระดับคุณภาพน้ำดื่มทั้งระบบเรียกตัวเองว่า “4MS” ประกอบด้วยประเทศ France, Germany, Netherlands และ United Kingdom ในปี ค.ศ. 2018 ประเทศ Denmark ได้เข้าร่วมด้วยอีกประเทศหนึ่ง จากนั้นแบ่งงานกันทำโดยแยกตามชนิดวัสดุที่ใช้ในระบบน้ำดื่ม โดย France รับผิดชอบวัสดุพวก Cementitious Material, Germany รับผิดชอบวัสดุพวก Metallic Material, Netherlands รับผิดชอบในด้านพวก Organic และสุดท้าย United Kingdom รับผิดชอบวัสดุอื่นๆที่นอกเหนือจากที่ได้แบ่งงานไป ประเทศอังกฤษคงบอกว่าผมเจ๋ง รับได้ทุกเรื่อง (แต่ยังไม่เห็นมีเอกสารแสดงผลงานเลยในวันนี้...) ทั้งนี้เพื่อให้ได้คุณภาพน้ำดื่มที่ต้องการตามรูปที่ 9  สำหรับหน่วยงานของแต่ละประเทศใน 4MS ที่เกี่ยวข้องได้แก่
·        Department for Environment, Food and Rural Affairs (United Kingdom)
·        Bundesministerium fùr Gesundheit (Germany)
·        Ministère du Travail, de l’Emploi et de la Santé (France)
·        Ministerie van Infrastructuur en Milieu (Netherlands)  
 
 
รูปที่ 8  การรวมกลุ่มของ 4MS
 
 
 
รูปที่ 9 เกณฑ์ยอมรับโลหะปนเปื้อนเข้าสู่น้ำดื่มจากวัสดุที่ใช้ในระบบน้ำดื่มของ 4MS
 
หลังจากแบ่งงานกันดำเนินการผลงานที่ออกมาของประเทศสหพันธ์รัฐเยอรมัน (Germany) ซึ่งรับผิดชอบวัสดุพวก Metallic Material ได้ออกรายงาน
1.       ‘Procedure for the acceptance of metallic materials for products in contact with drinking water’, Part A, ‘Procedure for the acceptance’, 4MS Joint Management Committee, 2nd Revision, March 7, 2016.
2.       ‘Procedure for the acceptance of metallic materials for products in contact with drinking water’, Part B, ‘4MS Common Composition List’, 4MS Joint Management Committee, 11th Revision, March 5, 2019.
 
ผลงานที่ออกมาของประเทศ France ซึ่งรับผิดชอบวัสดุพวก Cementitious Material ได้ออกรายงาน
1.       Assessment of Cementitious Products in Contact with Drinking Water, Draft Sep 2018
2.       Cementitious Products in Contact with Drinking Water, Admixture Positive list, 4MS Common Approach: 1st Revision:, 24th November 2016
Part 1 –Transitional Admixture Constituents
Part 2 – Admixture Constituents under consideration
 
ผลงานที่ออกมาของประเทศ Netherlands ซึ่งรับผิดชอบวัสดุพวก Organic Materials ได้ออกรายงาน
1.       Positive List for Organic Materials, 4MS Common Approach
Part A – Compilation and management of the Positive List (PL) for organic materials
Part B – Assessment of products for compliance with Positive List requirements
Adopted by the 4MS Joint Management Committee, 1st Revision:,02.03.2016
2.       POSITIVE LISTS for ORGANIC MATERIALS Used in Products in contact with Drinking Water, Original: 9 May 2017, Rev 2 (lists only): 13 September 2019
3.       TON and TOC requirements, 4MS Common Approach:, Tests of products made of organic materials, 23rd May 2018
 
ในกรณีของวัสดุพวกโลหะ (Metallic Material) ที่ใช้กับอุปกรณ์ที่สัมผัสน้ำดื่มโดยตรงเพื่อป้องกันสารปนเปื้อนจากโลหะที่ใช้ทำเครื่องมืออุปกรณ์ในระบบน้ำ กลุ่มประเทศ 4MS จึงกำหนดแนวปฏิบัติเพื่อจะได้ทำเป็นกฎระเบียบต่อไปแต่ก่อนจะไปถึงตรงนี้นเราจึงขอปูพื้นคอนกรีตเล็กๆ น้อยๆ เพื่อจะเข้าใจต่อไปถึงกลุ่มพวกโลหะโดยจะให้ความสนใจโลหะทองแดง (Copper) และโลหะทองแดงเจือ (Copper Alloy) เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วมักเป็นโลหะที่ใช้ในมาตรวัดปริมาตรน้ำนั้นจะอยู่ในกลุ่มโลหะพวกนี้เป็นส่วนใหญ่   ส่วนโลหะ Stainless Steel นั้นกลุ่ม 4MS ยอมให้ใช้อยู่แล้วเลยเว้นไว้ก่อนในวันนี้
 
            เมื่อเราพูดคุยถึงโลหะโดยเฉพาะโลหะที่ใช้กับระบบน้ำดื่มนั้นคือโลหะทองแดงและโลหะทองแดงเจือ เราก็ควรมาทำความรู้จักเล็กๆน้อยๆ ถึงคุณสมบัติของมัน มาตรฐานการเรียกขาน องค์ประกอบทางเคมี หรือเท่าที่ควรรู้ระดับหนึ่งและหากไม่สมดั่งใจก็ให้ไปศึกษาหาเพิ่มเติมต่อยอดกันต่อไป
           
 
ทองแดง (Copper)   เป็นโลหะที่ถูกค้นพบและนำมาใช้ประโยชน์มากในยุคสมัยหนึ่งจนถึงปัจจุบัน ถือว่าใช้กันมานานน่ะจ๊ะ จิกตังเมีย โป้ง... โลหะทองแดงมีคุณสมบัติเด่นหลายประการโดยเฉพาะ
·     ทองแดงที่มีสีเหลือง-แดงเป็นสุดยอดวัสดุที่มีความเหนียว (Extremely Ductile) ที่มีโครงสร้างผลึก (Crystal Structure) รู้จักในนาม ลูกบาศก์แบบเฟซเซ็นเตอร์ (Face-Center-Cubic หรือ FCC)  (ดูรูปที่ 10)
 
 
รูปที่ 10 โครงสร้างผลึกลูกบาศก์แบบเฟซเซ็นเตอร์ (Face-Center-Cubic หรือ FCC)
 
·     คุณสมบัติการนำไฟฟ้า ทองแดงมีค่าสื่อนำไฟฟ้า (Electrical Conductivity) ที่ 97% ดีที่สุดเป็นอันดับสองรองจากโลหะเงิน (Silver) เราจึงมักพบในวงจรไฟฟ้าและสายไฟ ตอนเด็กๆหลายคนอาจหารายได้พิเศษจากการเผาสายไฟฟ้าเก่าๆ เพื่อเอาไปขายแลกกับเงินเพื่อไว้ซื้อของตามอัธยาศัย
·     คุณสมบัติการนำความร้อนที่สูง   ทองแดงมีค่าสื่อนำความร้อน (Thermal Conductivity) ที่สูงมากใกล้เคียง เงิน และทองคำ (Gold)   เราจึงเห็นเครื่องครัวในปราสาทราชวังในภูมิประเทศต่างๆภายในโลกใบนี้ในยุคสมัยหนึ่ง
นอกจากนี้ทองแดงยังมีความต้านทานการกัดกร่อนและการสึกกร่อน มีความสามารถในการขึ้นรูปและความเหนียวสูงจึงสามารถแปรรูปด้วยวิธีต่างๆ ได้ง่ายไม่เสี่ยงต่อการแตกหักเสียหายอีกทั้งยังสามารถปรับปรุงคุณสมบัติทองแดงให้เหมาะสมกับความต้องการใช้งานในแต่ละความต้องได้โดยการเติมธาตุโลหะอื่นๆผสมเข้าไป เช่น สังกะสี นิกเกิล เบอร์รีเลียม เป็นต้น  ก็จะทำให้มีความแข็งแรงเพิ่มขึ้นและมีความต้านทานต่อความล้าสูงขึ้น สามารถนำไปใช้งานประเภทต่างๆได้กว้างขวางมากขึ้น   โลหะทองแดงและโลหะทองแดงเจือจึงเป็นวัสดุทางวิศวกรรมและมีคุณสมบัติที่ทำให้ทองแดงมีความเหมาะสมในการนำไปใช้งานได้หลากหลายประเภท คือ ความแข็งแกร่ง, สภาพการเป็นตัวนำ, ความต้านทานการกัดกร่อน, การแปรรูป และความอ่อน เป็นต้น
ปัจจุบันมีทองแดงเจือ หรือทองแดงผสมอัลลอยเกือบ 400 ชนิดขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน เช่น เส้น (Rods), แผ่นหนา/บาง/เส้น (Plates/Sheets/Strips), ท่อหนา/บาง (Tubes/Pipes), ชนิดที่ผ่านกระบวนการรีดอัด (Extrusions) แผ่นฟอยล์ (Foils) ชนิดที่ผ่านกระบวนการทุบขณะร้อน (Forgings) แบบเส้นลวด (Wires) และการหล่อ (Casting) จากโรงงานหล่อโลหะต่างๆ
 
 
รูปที่ 11 คุณสมบัติทองแดง
 
 
รูปที่ 12 ทองแดงเจือโลหะ/สารอื่นๆ เช่น Zn, Al, Ni, Si, Pb เป็นต้น
 
 
 
 
รูปที่ 13 ทองแดงเจือโลหะ/สารอื่นๆ ที่พบบ่อย
 
 
 
ลหะทองแดงและทองแดงเจือ (Coppers and Copper Alloys) เมื่อดูเอกสารจากหลายแหล่งตัวเองเริ่มสับสนว่าจะเรียกชื่ออย่างไรดีระหว่าง “อัลลอยด์” กับ “โลหะเจือ” เพราะในส่วนตัวชอบทั้ง 2 ชื่อ ตัวอย่างเช่น “Copper-Zinc-Lead Alloys” ถ้าแปลก็อยากแปลว่า “ทองแดงผสมอัลลอยสังกะสีและตะกั่ว” หรือ “ทองแดงเจือสังกะสีและตะกั่ว” แต่พิจารณาดูแล้วคำหลังน่าจะเท่ห์กว่า “เจือ” ไอ้น้องเจือ..สบายดีหรือเปล่า?
นอกจากนี้โลหะทองแดงและทองแดงเจือ (Coppers and Copper Alloys)  เองก็แบ่งตามประเภทการจัดสร้างถ้าเป็น “การขึ้นรูป” หรือ “Wrought”  ก็สร้างขึ้นรูปจากการ “ตีขึ้นรูป (Forging)”, “รีดอัดขึ้นรูป (Extrusion)”, ม้วนขึ้นรูป (Rolling)” อีกประเภทคือ “การหล่อ” หรือ “Cast” ดังนั้นหากเจอศัพท์คำใดก็ให้นำมาผสมกันให้ครบก็แล้วกันเพื่อสื่อความหมายให้ได้ ส่วนจะถูกจะผิดก็รอข้อมูลใหม่จากผู้รู้จริงๆ ท่านเมตตามาสอนก็แล้วกัน
เนื่องจากศาสตร์ทางด้านโลหะวิทยาได้ก้าวหน้าทำให้การผสมเล่นแร่แปรธาตุหรือคิดค้นโลหะใหม่ๆให้เหมาะสมกับลักษณะงานที่ต้องการเพื่อไปแก้โจทย์ปัญหาชีวิตของแต่ละบริษัทฯ หน่วยงาน หรือ ฯลฯ ทำให้การสื่อสารหรือการสั่งให้ผลิตโลหะเจือในแต่ละชนิดแต่ละประเภทถูกต้องตามที่ต้องการก็กำเนิดมาตรฐานการเรียกชื่อโลหะเจือหรือ Alloys แต่ละประเภทเช่นในสหรัฐอเมริการมีมาตรฐาน UNS แน่ละในแต่ละประเทศอื่นเค้าก็มีมาตรฐานในการเรียกขานชื่อและก็อาจมีรหัสเรียกขานโลหะแต่ละชนิดแตกต่างกันไป แต่ในที่นี้เราใช้ UNS ไปพลางก่อนแล้วค่อนหามาตรฐานเทียบเบอร์รหัสกันต่อไป การเรียกขานโลหะทองแดงและทองแดงเจือ (Coppers and Copper Alloys)  มีรหัสครอบคลุมตั้งแต่ UNS C1XXXX -C9XXXX (ดูตารางที่ 1)  สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลักๆ
 
รูปที่ 14 การแบ่งประเภทโลหะทองแดงและทองแดงเจือหรือทองแดงอัลลอยตาม Copper Development Association; CDA
 
 
ตารางที่ 1 โลหะทองแดงและทองแดงเจือ (Coppers and Copper Alloys) ประเภททองแดงเจือขึ้นรูป (Wrought Alloys) และทองแดงเจือหล่อ (Cast Alloys)
 
 
1.    ทองแดงผสมอัลลอยขึ้นรูป หรือ ทองแดงเจือขึ้นรูป (Wrought Copper Alloys) มีรหัส UNS C10000 ถึง C79999   โดยจัดกลุ่มได้ 5 กลุ่มหลักดังแสดงในตารางที่ 2 ทองแดงเจือขึ้นรูป หรือสามารถผลิตด้วยกรรมวิธีที่หลากหลาย เช่น การอบอ่อน (Annealed), การขึ้นรูปเย็น (Cold Worked), การชุบแข็งด้วยการอบคืนไฟ (Hardened by Heat Treatments), การคลายความเค้น (Stress Relieved)
 
 
 
 
ตารางที่ 2 การจัดกลุ่มประเภทของโลหะทองแดงและทองแดงเจือ (ทองแดงอัลลอย) (Coppers and Copper Alloys)
 
 
 
รูปที่ 15  เปรียบเทียบขีดความสามารถทนทานต่อการกัดกร่อนของระหว่างโลหะชนิดต่างๆ
 
 
2.    ทองแดงหล่อผสมอัลลอย หรือ ทองแดงเจือหล่อ (Cast Copper Alloys) มีรหัส UNS C80000 ถึง C99999 ปรกติจะมีส่วนผสมของธาตุต่างๆ มากกว่า ดูรูปที่ 14
ทองแดงเจือหล่อ (Cast Copper Alloys Designation)  
·        ทองเหลืองหล่อประกอบด้วยโลหะผสมทองแดง-สังกะสี-ดีบุก (สีแดง, สีกึ่งแดง และสีเหลือง)
·        สัมฤทธิ์หล่อประกอบด้วยแมงกานีสผสมสัมฤทธิ์ (ทองเหลือง สีเหลืองที่มีความแข็งแรงสูง)
·        โลหะผสมทองแดงแมงกานีสตะกั่ว (ทองเหลืองผสมตะกั่วที่มีความแข็งแรงสูง) และ
·        โลหะผสมทองแดงสังกะสี-ซิลิกอน
มี 4 กลุ่มหลักในประเภทสัมฤทธิ์หล่อ คือ
·        ทองแดง-ดีบุก-ตะกั่ว,
·        ทองแดง-ดีบุก-นิกเกิ้ล,
·        ทองแดง-ดีบุก และ
·        โลหะผสมทองแดง-อลูมิเนียม
 
องค์ประกอบทางเคมีของโลหะทองแดงและทองแดงเจือ (Copper and Copper Alloys Composition) มีส่วนผสมดังต่อไปนี้   (ตารางที่ 3 และตารางที่ 4)
1.         ทองแดงบริสุทธิ์ (Coppers) เป็นโลหะที่มีธาตุทองแดงผสมอยู่อย่างน้อย 99.3% หรือมากกว่า 
2.         ทองแดงเจือที่มีปริมาณทองแดงสูง (High-Copper Alloys)  ปรกติทองแดงเจือขึ้นรูป (Wrought-Copper Alloys) จะมีปริมาณธาตุทองแดงผสมอยู่ระหว่าง 99.3 - 96%   ในขณะที่ทองแดงเจือหล่อ (Cast-Copper Alloys) มีปริมาณทองแดงผสมอยู่เกิน 94% และผสมธาตุเงินเข้าไป ใช้รหัส C1xx ตามส่วนผสมทางเคมี
3.  ทองแดงเจือสังกะสี หรือ ทองเหลือง (Copper-zinc Alloys or Brasses)  ทองเหลืองเป็นอัลลอยหรือทองแดงเจือที่มี Zinc เป็นส่วนผสมหลัก  ทั้งนี้ไม่ว่าจะมี Iron, Aluminum, Nickel หรือ Silicon ผสมหรือไม่ก็ตาม   บ้านเราใช้โลหะชนิดนี้ทำมาตรวัดปริมาตรน้ำกันมาก ค่อยๆดูกันต่อไป
3.1.          ทองเหลืองขึ้นรูป (Wrought Alloys) สามารถแบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้
3.1.1.       ทองแดงเจือสังกะสี หรือ ทองเหลือง (Copper-Zinc Alloys or Brasses) ใช้รหัส C2xx ตามส่วนผสมทางเคมี
3.1.2.       ทองแดงเจือสังกะสีและตะกั่ว (Copper-Zinc-Lead Alloys) หรือ Leaded Brasses ใช้รหัส C3xx
3.1.3.       ทองแดงเจือสังกะสีและดีบุก (Copper-Zinc-Tin Alloys)  หรือ Tin Brasses ใช้รหัส C4xx
3.2.          ทองเหลืองหล่อ (Cast Alloys) สามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้
3.2.1.       Copper-Tin-Zinc Alloys (Red, Semi-Red, Yellow Brasses)
3.2.2.       Manganese Bronze Alloys (High Strength Yellow Brasses)
3.2.3.       Leaded "Manganese Bronze" Alloys (Leaded High Strength Yellow Brasse); Copper-Zinc-Silicon Alloy (Silicon Brasses and Bronzes)
3.2.3.   Cast Copper-Bismuth and Copper-Bismuth-Selenium Alloys
 

ส่วนที่เหลือจะถูกนำไปพัฒนาเพื่อหล่อทองเหลืองผสมอัลลอย เกรดพิเศษต่างๆ
 

 

4. ทองสัมฤทธิ์ (Bronzes)  ในอดีตทองสัมฤทธิ์ หมายถึงทองแดงผสมอัลลอยที่เป็นธาตุดีบุก (Tin) เป็นหลัก โดยไม่มีการผสมธาตุ Zinc หรือ Nickel   ปัจจุบัน นิยามดังกล่าวถูกเปลี่ยนไป  ในมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรวัดน้ำปี 2534-2538 ก็มีการยอมให้ใช้โลหะเจือประเภทนี้เช่นกัน เราแบ่งประเภททองสัมฤทธิ์ประเภทนี้ออกเป็น
4.1.          ทองสัมฤทธิ์ขึ้นรูป (Wrought Alloys) สามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้
4.1.1.       Copper-Tin-Phosphorous Alloys (Phosphor Bronzes) ใช้รหัส C5xx
4.1.2.       Copper-Tin-Lead-Phosphorus Alloys (Leaded Phosphor Bronzes)
4.1.3.       Copper-Aluminum Alloys (Aluminum Bronzes)
4.1.4.       Copper-Silicon Alloys (Silicon Bronzes)
4.2.          องสัมฤทธิ์หล่อ (Cast Alloys) สามารถแบ่งได้เป็น 4 กลุ่มดังนี้ 
 4.2.1.       Copper-Tin-Alloys (Tin Bronzes)
4.2.2.       Copper-Tin-Lead Alloys (Leaded and High Leaded Tin Bronzes)
4.2.3.       Copper-Tin-Nickel Alloys (Nickel-Tin Bronzes) 
4.2.4.       Copper-Aluminum Alloys (Aluminum Bronzes)
5.         ทองแดงผสมนิกเกิ้ล (Copper-Nickels)  เป็นกลุ่มทองแดงอัลลอยที่มีส่วนผสมของ Nickel เป็นหลัก
6.         ทองแดงผสมนิกเกิ้ล-สังกะสี (Copper-Nickels-Zinc)   รู้จักในนาม "Nickel Silvers" ที่มีส่วนผสมของ Zinc เป็นหลัก และรองลงมาคือ Nickel
7.         ทองแดงผสมตะกั่ว (Leaded Coppers) เป็นกลุ่มอัลลอยหล่อที่มีส่วนผสมของทองแดงและตะกั่ว 20% ขึ้นไป และอาจมีธาตุเงินผสมเล็กน้อย แต่จะไม่ผสม ดีบุก (Tin) หรือ สังกะสี (Zinc)
8.         อัลลอยพิเศษ หรือโลหะเจือพิเศษ (Special Alloys) กลุ่มอัลลอยที่อยู่นอกเหนือจากที่กล่าวมาทั้งหมด
 
  
 
 
 
 
ตารางที่ 3  แบ่ง 4 กลุ่มหลักของทองแดงเจือขึ้นรูป (Wrought Copper Alloys Designation)
 
 
 
 
  
 
 
  
 
          มื่อปูพื้นคอนกรีต (ไม่ได้เสริมเหล็ก) เป็นที่เรียบร้อยแล้วเราก็ดินหน้าหลักสูตรเร่งรัดทำความเข้าใจว่ากลุ่มประเทศ 4MS ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปด้วยนั้นได้กำหนดแนวปฏิบัติเพื่อจะได้ทำเป็นกฎระเบียบต่อไป  โดยเฉพาะวัสดุพวก Metallic Material  ที่เป็นโลหะและถูกนำมาใช้กับระบบน้ำดื่ม   โดยแบ่งกลุ่มออเป็น 4 กลุ่มหลักดังแสดงในรูปที่ 16
รูปที่ 16 4MS product groups for metallic materials
 
ผลการศึกษาของกลุ่มประเทศ 4MS  ในส่วนวัสดุพวก Metallic Material ได้เห็นชอบให้ใช้วัสดุพวก Metallic Material  แบ่งออกเป็น
1.       วัสดุพวก Metallic Material ชนิดทองแดงเจือดังในรูปที่ 17 
2.       วัสดุพวก Metallic Material ชนิดทองแดงดังในรูปที่ 18 
3.       วัสดุพวก Metallic Material ชนิด Steel-Iron ดังในรูปที่ 19 
 
 
 
 
 
รูปที่ 17   Copper alloys approved for drinking water use in 4MS as of 2019
 
   
 
 
 
 
รูปที่ 18   Copper approved for drinking water use in 4MS as of 2019
 
 
  
 
รูปที่ 19   Steel/Iron approved for drinking water use in 4MS as of 2019
 
 
  
รูปที่ 20   ตัวอย่าง Copper alloys approved for drinking water use in 4MS as of 2016
 
 
            จากรูปที่ 17 ทำให้เราต้องกลับมาทบทวนโลหะทองเหลืองที่เรียกกันทั่วไปว่า Dezincification resistant alloys หรือ DZN Brass หรือ CW602N หรือ CuZn36Pb2As ก็ยังไม่ผ่านการทดสอบและยอมรับให้ใช้งานกับระบบน้ำดื่มจากกลุ่มประเทศ 4MS เลยเชียวน่ะครับ   ระวังกันด้วยน่ะครับ   โลกเปลี่ยน ข้อมูลเปลี่ยน เราก็ต้องปรับปรุงเปลี่ยนแปลงให้เหมาะสมไม่เช่นนั้นของที่ไม่ดีจะถูกโละทิ้งจากซีกโลกตะวันตกมายังระบบเศรษฐกิจ สังคม และความเป็นอยู่ของประชาชนชาวไทยน่ะครับ อย่าให้เหมือนกับกรณีขยะอิเล็คทรอนิคของประเทศเจริญแล้วส่งมาทิ้งแถบกลุ่มประเทศอาเซียนเรา  ซึ่งคาดว่าน่าจะรวมถึงราชอาณาจักรไทยด้วยกระมัง  ในอีกแง่มุมหนึ่งเมื่อคำนึงถึงขั้นตอนการผลิตดูเหมือนผู้ผลิตมาตรวัดน้ำจะเลือกทองแดงเจือ (ดูรูปที่ 12) ไปในโทนของการหล่อหรือขึ้นรูปจากนั้นก็กลึง เจียร ใส่ ปาดหรือที่เรียกว่า Mechinability   จึงน่าจะเป็นสาเหตุให้ผู้ผลิตเลือกทองแดงเจือ Zn, Pb Te และ S  ผลตามมาก็ต้องเจอกับผู้ร้าย "Pb" หรือ "ตะกั่ว" เพราะเมื่อใช้งานไปนานทองแดงเจือที่สัมผัสกับน้ำก็จะสึกกร่อน Zn หลุดออกไป Pb ก็หลุดเจือปนหรือปนเปื้อนไปกับน้ำสิครับ   ส่วนรูปที่ 19 ก็พอจะเห็นว่าเหล็กชุบสังกะสี (Galvanised steel), เหล็กคาร์บอน (Carbon stell), เหล็กหล่อ (Cast iron) ตลอดจนเหล็กปลอดสนิม (Stainless steel) หากได้มาตรฐานการผลิตตามที่กำหนดก็ใช้งานกับระบบน้ำดื่มได้เช่นกัน
 
            ในส่วนของประเทศญี่ปุ่นเองก็มีมาตรฐาน JIS S 3200-7:2004, Water appliances – leaching performance test method เพื่อดูแลระบบน้ำดื่มของประเทศด้วยเช่นกันโดยในภาพรวมแล้วจะกำหนดแยกพิจารณาออกเป็น 2 กลุ่มหลัก กลุ่มแรกคือกลุ่มด้านปลายสุดจุดที่ผู้บริโภคสัมผัสใกล้ชิด เช่น ก๊อกน้ำ ข้อต่อข้องอของระบบท่อน้ำดื่มมาตรฐานจะกำหนดให้การปนเปื้อนของโลหะตะกั่วไม่เกิน 0.007 g/l กลุ่มที่สองคือระบบท่อขนส่งลำเลียงน้ำดื่มมาตรฐานจะกำหนดให้การปนเปื้อนของโลหะตะกั่วไม่เกิน 0.010 g/l 
            เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ ทวีปอเมริกาเหนือซึ่งมีสหรัฐอเมริกากับแคนนาดา ดูสหภาพยุโรปโดยมีกลุ่ม    &np;  นอกจากนี้เราไม่ต้องไปพูดถึง R&D ให้ลำบากลำบนเลยครับเพียงแค่รักษาของเดิมให้กฎหมายมีผลบังคับใช้ก็ยากเต็มทน..... เพราะอะไรหรือครับ.....ต้องไปถามลุงดู ...ลุงก็เข้าใจดี   แต่ฝันไปว่าในอนาคต มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาตรวัดปริมาตรน้ำของราชอาณาจักรไทยจะกำหนดให้ใช้เฉพาะวัสดุที่กลุ่มประเทศ 4MS ศึกษาแล้วมีการปนเปื้อนของสารโลหะน้อยเหมาะกับคุณภาพชีวิตของไทย ลูกหลานคนไทยทั้งหลาย   ผมก็อยากเชื่อใจให้สนิทใจ เต็มใจ ว่า “น้ำประปาดื่มได้”.....ครับ   และเป็นมิติใหม่ของการบูรณาการกฎหมายของประเทศไทยให้ไร้รอยต่อจนมองไม่เห็นรอยตะเข็บ smooth like silk……… (หลับตาข้างหนึ่งตอนมอง..)
            จากในรูปที่ 17 - รูปที่ 18 เราจะเห็นได้ว่าการเรียกขานชื่อโลหะเจือ (alloys) หรือ Alloy designation แต่ละชนิดหลากหลาย เช่น ระบบ ISO, ระบบ European Standard (EN) ของ EU, ระบบ UNS ของ USA, ระบบ BS ของUK, ระบบ DIN ของ Germany เป็นต้น (ดูตารางที่ 6 และตารางที่ 7) ซึ่งสร้างความสับสนและปัญหาในการเลือกซื้อหรือสั่งให้ผลิต ถึงแม้ระบบ ISO กับ EN อาจมีองค์ประกอบโลหะคล้ายกันแต่ขอบเขตข้อจำกัดไม่เท่ากันก็มักมีปัญหาเช่นกัน Copper Development Association (CDA) จึงได้กำหนดระบบตัวเลขเรียกขานโลหะทองแดงและโลหะทองแดงเจืออีกระบบหนึ่งเรียกว่า CEN โดยมีรายละเอียดประกอบด้วย 6 ตัวอักษร
1.       ตัวแรกสุดกำหนดให้เป็น “C” แทน Copper
2.       ตัวที่สอง มีให้เลือกเพื่อบ่งบอกชนิดผลิตภัณฑ์ (Products)
 
 
 
3.       ตัวที่สาม ตัวที่สี่ และตัวที่ห้าเป็นอนุกรมของตัวเลขตั้งแต่ 001-999 
4.       ตัวที่หก เป็นตัวอักษรเพื่อจัดกลุ่มโลหะทองแดงและโลหะทองแดงเจือ (Copper and copper alloy grouping)โดยมีความหมายรวมข้อ 3 และ ข้อ 4 คือ
 
 
 
5.       อักษรที่ต่อเสริมจาก 6 ตัวหลักจะบ่งบอก ข้อมูลเพิ่มเติมว่า
 
 
a.       Material Condition (Temper) Designations
 
 
b.       Castings
 
พอดูเป็นตัวอย่างดังนี้
 
 
 
 
 
 
ตารางที่ 5 ระบบเรียกขานชนิดโลหะทองแดงกับโลหะทองแดงเจือของ Copper Development Association (CDA)
 
 
 
ตารางที่ 6 การเทียบระบบเรียกขานชนิดโลหะทองแดงขึ้นรูปกับโลหะทองแดงเจือขึ้นรูป (Wrought copper and copper alloys) ระหว่าง ISO, BS, EN (CEN) และ UNS
 
 
 
 
ตารางที่ 7 การเทียบระบบเรียกขานชนิดโลหะทองแดงหล่อกับโลหะทองแดงเจือหล่อ (Cast copper and copper alloys) ระหว่าง ISO, BS, EN (CEN) และ UNS
 
            สำหรับพวกวัสดุโพลีเมอร์พลาสติกนั้นกลุ่มประเทศ 4MS ก็ได้จัดทำแนวทางเป็น Thermoplastic elastomers ตามเอกสาร RECOMMENDATION Transitional recommendation on the provisional hygienic assessment of products made from thermoplastic elastomers in contact with drinking water (TPE transitional recommendation) , As at: 11 March 2019 Rev02
จากมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรวัดน้ำต่อด้วยเกลียวชนิดใบพัด มอก. 1021-2534 และมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมาตรวัดน้ำต่อด้วยเกลียวชนิดลูกสูบ มอก. 1271-2538 ได้กำหนดให้ใช้วัสดุทองบอรนซ์ ทองเหลืองแท่งตีขึ้นรูป เหล็กกล้าไร้สนิมและวัสดุสังเคราะห์ซึ่งเข้าใจว่าเป็นพวกโพลีเมอร์พลาสติก  ดังนั้นเราอาจจำเป็นต้องเลี้ยวมาดูวัสดุสังเคราะห์พวกพลาสติกดู แต่ในใจก็ยอมรับว่ามันหวั่นๆใจเช่นกันเนื่องจากความหลากหลายและกว้างมากของการสังเคราะห์ของวัสดุสังเคราะห์นั้นเอง ก็พยายามหาเอกสารของกลุ่ม 4MS ซึ่งงานนี้ได้มอบหมายให้ประเทศ Netherlands รับผิดชอบในด้านพวก Organic และประเทศ United Kingdom รับผิดชอบวัสดุอื่นๆที่นอกเหนือจากที่ได้แบ่งงานไปตามที่กล่าวไว้ในตอนต้น เรามาปูพื้นถนนดินแดงกันครับ
 
พลาสติก เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติบางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว แต่บางชนิดแข็งตัวถาวร พลาสติกมีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม เป็นต้นพลาสติกพวกนี้จะถูกใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ เป็นต้น   พลาสติกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1.              เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) หรือเรซิน เป็นพลาสติกที่ใช้กันแพร่หลายที่สุดในโลก พลาสติกกลุ่มนี้เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัวและเมื่อเย็นลงจะแข็งตัว ดังนั้นจึงสามารถเปลี่ยนรูปทรงได้ โครงสร้างโมเลกุลของพลาสติกกลุ่มนี้มีลักษณะเป็นโซ่ตรงยาวและมีการเชื่อมต่อระหว่างโซ่พอลิเมอร์ด้วยกันน้อยมาก (ดูรูปที่ 21) ดังนั้นจึงสามารถทำให้หลอมเหลวหรือเมื่อผ่านการอัดแรงมากก็จะไม่ทำลายโครงสร้างเดิมแต่จะเปลี่ยนรูปร่างไปตามที่ต้องการได้ นอกจากนี้ยังมีสมบัติพิเศษที่สำคัญอย่างหนึ่งคือเมื่อทำให้ชิ้นงานพลาสติกเดิมหลอมตัวลงแล้วสามารถนำเนื้อพลาสติกดังกล่าวกลับมาขึ้นรูปเป็นชิ้นงานใช้ใหม่ได้นั้นหมายถึงขีดความสามารถที่เป็นวัสดุที่สามารถนำมารีไซเคิลได้ ถือเป็นวัสดุที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมส่วนจะมากน้อยเพียงใดก็ตามดูกันต่อไป (เนื่องจากโดยทั่วไปแล้วมุมมองของคนทำงานด้าน Legal Metrology ค่อยข้างมีนิสัยเป็นมิตรกับการค่อยๆดูใจกันนานๆ แล้วถึงจะไว้ใจกัน...555 แอบอ้างน่ะอย่าคิดมาก) พลาสติกกลุ่มนี้ตัวอย่างเช่น พอลิเอทิลีน (Polyethylene: PE),  พอลิโพรพิลีน (Polypropylene: PP), พอลิสไตรีน (Polystyrene: PS) (PE, PP, PS, SAN, ABS, PVC, Nylon, PET, PC)  เป็นต้น
 
รูปที่ 21   โครงสร้างโมเลกุลเทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) เป็นโซ่ตรงยาว
 
 
1.1.    พอลิเอทิลีน (Polyethylene: PE)   เป็นพลาสติกที่ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อยแต่อากาศผ่านเข้าออกได้  มีลักษณะขุ่นและทนความร้อนได้พอควร  ถือเป็นพลาสติกที่นำมาใช้มากที่สุดในอุตสาหกรรม เช่น  ท่อน้ำ, ถัง, ถุง, ขวด, แท่นรองรับสินค้า เป็นต้น
เทอร์โมพลาสติก PE มีคุณสมบัติสำคัญคือ เป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดี, มีความเหนียวและทนทานต่อแรงดึงปานกลาง พวกที่มีความหนาแน่นต่ำจะใสมากแต่จะขุ่นเมื่อความหนาแน่นสูง ปกติจะไม่ละลายในตัวทำละลายใดๆ แต่ถ้าอุณหภูมิสูงกว่า 70 °C จะเริ่มละลายในตัวทำละลาย เทอร์โมพลาสติก PE ได้ถูกจำแนกเป็นหลายชนิดตัวหลักๆ ที่ใช้กันมากคือ LDPE, LLDPE, MDPE และ HDPE   การใช้งานเทอร์โมพลาสติก PE มีอย่างกว้างขวางโดยมีตัวอย่างของผลิตภัณฑ์ เช่น ขวด, แผงบรรจุยาและสายน้ำเกลือ, ชิ้นส่วนรถยนต์, เชือก, แห, อวน, ถุงพลาสติก, ท่อและรางน้ำ, เครื่องใช้ในครัวเรือน, ของเด็กเล่น, ฉนวนหุ้มสายไฟและสายเคเบิล, ดอกไม้พลาสติก, เคลือบหลังพรม, ผ้าใบพลาสติก, แผ่นฟิล์มสำหรับการบรรจุหีบห่อ, แผ่นฟิล์มที่ใช้ในการเกษตร เป็นต้น
HDPE (High density polyethylene)  พลาสติกชนิด HDPE มีโครงสร้างทางเคมีที่เป็นกิ่งสาขาน้อย จึงมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลค่อนข้างสูง มีความแข็งแรง มีสีขาวขุ่น โปร่งแสง ทนทานต่อสารเคมีและตัวทำละลายหลายชนิดจึงเหมาะสำหรับนำมาทำบรรจุภัณฑ์ต่างๆ เช่น ขวดน้ำดื่ม, ของเด็กเล่น, เครื่องใช้ในบ้าน, เชื่อก, แห, อวน, ฉนวนไฟฟ้า, ถุงหูหิ้ว, ถุงขยะ, ท่อน้ำมัน, ชิ้นส่วนรถยนต์, ชิ้นส่วนไฟฟ้า เป็นต้น
1.2.    พอลิโพรพิลีน (Polypropylene: PP) เป็นพลาสติกที่ไอน้ำซึมผ่านได้เล็กน้อย แข็งกว่าพอลิเอทิลีน (PE) เทอร์โมพลาสติก PP เป็นพลาสติกประเภทเทอร์โมพลาสติกที่เบาที่สุดและมีความแข็ง ความเปราะและแตกง่ายน้อยกว่า HDPE, ทนต่อแรงกระแทก, ทนทานต่อการขีดข่วน, ไม่เสียรูปทรงง่าย, ไอน้ำและออกซิเจนซึมผ่านได้น้อย ทั้งนี้ลักษณะของเทอร์โมพลาสติก PP จะขาวขุ่นหากไม่ผสมสี ไม่ทึบแสงและไม่ใส แต่มีความทึบแสงกว่าเทอร์โมพลาสติก PE แต่ไม่ใสเท่าเทอร์โมพลาสติก PS
เทอร์โมพลาสติก PP มีจุดหลอมตัวที่ 165 °C, ทนต่อความร้อนสูง สามารถทนอุณหภูมิในการฆ่าเชื้อ(สามารถผ่านกระบวนการสเตอริไลซ์ได้ในอุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส) ดังนันจึงนิยมนำมาใช้งานในทางการแพทย์หรือห้องปฏิบัติการเพราะทนต่อความร้อนสูง สามารถนำไปอบฆ่าเชื้อในหม้อนึ่งอบความดันได้  นอกจากนี้เพราะเป็นพลาสติกที่ทนต่อสารไขมันและความร้อนสูงดังนั้นจึงถูกนำไปใช้ทำแผ่นพลาสติถุงพลาสติกบรรจุอาหารที่ทนร้อน, หลอดดูดพลาสติก เป็นต้น รวมไปถึงสามารถนำไปผลิตเป็นภาชนะบรรจุอาหารและยังสามารถนำเข้าเครื่องล้างจานอัตโนมัติได้และภาชนะบรรจุอาหารสำหรับไมโครเวฟได้ และเทอร์โมพลาสติก PP ยังถูกนำไปผลิตเป็นฉนวนไฟฟ้าเพราะด้วยมีคุณสมบัติเป็นฉนวนไฟฟ้าที่ดีและทนต่อสารเคมี  
เทอร์โมพลาสติก PP ยังถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวาง เช่น เครื่องมือ, กระเป๋า, ปกแฟ้มเอกสาร, ตลับเครื่องสำอาง, ถุงร้อนฟิล์มใส, กระสอบข้าว, ถุงบรรจุปุ๋ย, พลาสติกหุ้มซองบุหรี่, เชือก, แหอวน ฯลฯ
1.3.    พอลิสไตรีน (Polystyrene: PS)  มีลักษณะโปร่งใส เปราะ ทนต่อกรดและด่าง ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอควร ใช้ทำชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้สำนักงาน เป็นต้น  
พลาสติกที่ผลิตขึ้นมาจากสไตรีนโนโมเมอร์มีน้ำหนักเบาที่สุดในพลาสติกชนิดแข็ง มีความคงรูปดีแต่เปราะ สามารถทำเป็นสีต่างๆได้และยืดหยุ่นได้จำกัด เทอร์โมพลาสติก PS นำมาผลิตเป็นแก้ว, กล่องโฟมใช้แล้วทิ้ง, จาน-ถาดพลาสติกใส่อาหาร, วัสดุช่วยพยุงในลอยน้ำ, ฉนวนกันความร้อน, ไม้บรรทัด, ไม้แขวนเสื้อ เป็นต้น  แต่อย่างไรก็ดีเทอร์โมพลาสติก PS เป็นสารที่ถูกสงสัยว่าก่อให้เกิดมะเร็ง
หากเป็น GPPS จะเป็นพวก General Purpose Polystyrene เป็นพวกใช้งานทั่วไป ซึ่งปกติแล้วเทอร์โมพลาสติก PS จะไม่สามารถรับน้ำหนักได้เพราะเปราะ หากเป็น HIPS หรือ High Impact Polystyrene เป็นเทอร์โมพลาสติก PS ที่ได้จากการเติมสารเติมแต่งบางอย่างหรือการผสมกับพวกยางจึงเหมาะสำหรับใช้งานที่ต้องรับแรงกระแทกแต่จะเสียความใสและอุณหภูมิใช้งานจะต่ำลง เหมาะสำหรับงงานตู้เก็บความเย็น, ตัวเรือนโทรทัศน์และวิทยุ, เฟอร์นิเจอร์, ของเด็กเล่น เป็นต้น
1.4.    SAN/AS Styrene-acrylonitrile    เป็นพลาสติกโปร่งใส ใช้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า, ชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น
เป็นโพลิเมอร์ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อให้มีคุณสมบัติในการทนต่อความร้อนแต่เหนียวกว่าโพลิสไตรีน (PS) และยังคงคุณสมบัติของโพลิสไตรีนที่ดีไว้ได้ เช่น ความแข็งและโปร่งใส การใช้งานคล้ายคลึงกับกับโพลิสไตรีนแต่จะใช้ในกรณีที่ต้องการคุณสมบัติอื่นที่ดีกว่า เช่น จุดหลอมตัวที่สูงกว่า   เทอร์โมพลาสติก SAN มักถูกนำมาผลิตเป็นชิ้นส่วนเครื่องใช้ไฟฟ้า เครื่องมือและเครื่องใช้ในครัวที่มีคุณภาพสูง
1.5.    ABS (Acrylonitrile-butadiene-styrene)  เป็นพลาสติกที่มีคุณสมบัติคล้ายโพลิสไตรีน หรือ PS แต่ทนสารเคมีดีกว่า เหนียวกว่า โปร่งแสง ใช้ผลิตถ้วย ถาด อุปกรณ์ไฟฟ้า ชิ้นส่วนรถยนต์, เครื่องกรองเลือด, อุปกรณ์กีฬา, ท่อส่งก๊าซ, พลาสติกชนิดนี้ถูกใช้เป็นวัสดุสำหรับเคส (Case) หรือตัวห่อหุ้มสินค้าภายนอก, เครื่องโทรศัพท์, คีย์บอร์ดคอมพิวเตอร์, ตัวเรือนเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะและคอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค, โทรศัพท์มือถือ, โทรทัศน์, ไดร์เป่าผมหรือแม้แต่ของเด็กเล่นอย่างตัวต่อเลโก้ (LEGO) และเหมาะสำหรับผลิตสิ่งของที่ต้องใช้งานกลางแจ้งและงานตกแต่ง เช่น หมวกกันน็อค, แผงหน้าคอนโซลรถยนต์และอุปกรณ์ประดับยนต์ด้านนในตัวรถ
เนื่องจากโครงสร้างของเทอร์โมพลาสติก ABS เกิดจากการทำปฏิกิริยาของโมโนเมอร์ 3 ชนิด ได้แก่ Styrene (สไตรีน), Acrylonitrile (อะคริโลไนไตรล์) และ Polybutadiene (โพลีบิวทาไดอีน)  โดยโมโนเมอร์แต่ละตัวมีคุณสมบัติที่โดดเด่นแตกต่างกัน ได้แก่ Styrene ทำให้พื้นผิวเป็นมันเงาตัดแต่งวัสดุได้ง่าย, Acrylonitrile มีคุณสมบัติทนต่อความร้อนและสารเคมี และ Polybutadiene มีคุณสมบัติทนต่อแรงกระแทก   ซึ่งผู้ผลิตเทอร์โมพลาสติก ABS มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับเปลี่ยนสัดส่วนของโมโนเมอร์ทั้ง 3 ชนิดเพื่อให้ได้คุณสมบัติตามที่ต้องการ
1.6.    POM (Polyoxymethylene)   เป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรงและทนความร้อน, มีน้ำหนักเบาและเหนียว ไม่อมความชื้นและทนกระแสไฟฟ้าได้ จึงเหมาะกับนำไปใช้ผลิตอุปกรณ์ไฟฟ้า นอกจากนั้นเทอร์โมพลาสติก POM มีความแข็งแรงทนทานเหมาะกับการใช้งานแทนเหล็กเพื่อลดน้ำหนักของชิ้นงานจึงมักนำเทอร์โมพลาสติก POM กัดเป็นเฟืองของเครื่องจักรกลไกที่ไม่ต้องรับภาระแรงสูงมากนักได้
 
 
รูปที่ 22   เทอร์โมพลาสติก POM ของ DURACON
 
 
1.7.    พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinylchloride: PVC)  ไอน้ำและอากาศซึมผ่านได้พอควร และป้องกันไขมันได้ดีมีลักษณะใส
เทอร์โมพลาสติก PVC เป็นพลาสติกที่มีการใช้งานกว้างขวาง มีความยืดหยุ่นสูง มีคุณสมบัติที่สำคัญคือ เมื่อติดไฟจะดับได้ด้วยตัวเอง ป้องกันไขมันได้จึงนำไปทำเป็นขวดบรรจุน้ำมันและไขมันสำหรับปรุงอาหาร ขวดน้ำมันพืช ขวดบรรจุเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เช่น ไวน์ เบียร์เป็นต้น  แผ่นพลาสติกห่อเนยแข็ง, ทำแผ่นแลมิเนตชันในของถุงพลาสติก 
เนื่องจากเทอร์โมพลาสติก PVC เป็นพลาสติกที่แข็งแต่เปราะและสลายตัวได้ง่ายเมื่อได้รับความร้อนหรือเมื่ออยู่ภายใต้แสงแดดเป็นเวลานานจึงมีการเติมสารเติมแต่ง (Additives) ลงไป เช่น สารเพิ่มความคงตัว (stabilizer) สารเพิ่มความยืดหยุ่น (plasticizer) ลงไปเพื่อให้มีคุณสมบัติตามที่ผู้ผลิตต้องการ ทำให้เทอร์โมพลาสติก PVC กลายเป็นพลาสติกที่มีความแข็งแรง ทนร้อน ทนไฟ ได้ดีกว่าและคงทนกว่า
เทอร์โมพลาสติก PVC เป็นพลาสติกใช้ทำของใช้ในบ้าน, ท่อน้ำ ข้อต่อท่อน้ำ, ฉนวนหุ้มสายไฟและสายเคเบิล, แผ่นพลาสติก, ฟิล์ม, หนังเทียม, รองเท้า, บัตรเครดิต, ทำจานแผ่นเสียง, อุปกรณ์รถยนต์, ขวดพลาสติก, ของเด็กเล่น
1.8.    พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต (Polyethylene terephthalate: PET)   เป็นพลาสติกที่มีความเหนียวมากโปร่งใส ราคาแพง ใช้ทำแผ่นฟิล์มบาง ๆ บรรจุอาหาร และขวดน้ำดื่ม เป็นต้น
1.9.    พอลิคาร์บอเนต (Polycarbonate: PC)    เป็นพลาสติกที่มีลักษณะโปร่งใส แข็ง ทนแรงยึดและแรงกระแทกได้ดี ทนความร้อนสูง ทนกรดแต่ไม่ทนด่าง เป็นรอยหรือคราบอาหารจับยาก ดังนั้นจึงถูกนำไปใช้ทำถ้วย จาน ชาม ขวดนมเด็ก และขวดบรรจุอาหารเด็ก
1.10.     ไนลอน (Nylon)    พอลิเอไมด์ (polyamide) หรือ ชื่อที่ถูกใช้โดยทั่วไปทางด้านการค้า คือไนลอน (nylon) คือ พลาสติกที่ได้จากกระบวนการพอลิเมอร์ไรเซชัน (polymerization) ของเอไมด์ (amide, CHONH) และกรดอินทรีย์มีการเพิ่มสารแต่งเติม (filler & additives) ประเภทกราไฟต์และโมลิบเดนั่มไดซัลไฟต์ (graphite & molibdenum disulphite) ทำให้เพิ่มสมบัติให้ดียิ่งขึ้น   เป็นพลาสติกที่มีความเหนียวมาก คงทนต่อการเพิ่มอุณหภูมิ ทำแผ่นแลมิเนตสำหรับทำถุงพลาสติกบรรจุอาหารแบบสุญญากาศ 
 
รูปที่ 23  วัสดุสังเคราะห์ที่พบว่ามีการใช้งานกับมาตรวัดปริมาตรน้ำ
 
            ในกรณีที่ผู้ผลิตมาตรวัดปริมาตรน้ำใช้วัสดุสังเคราะห์เทอร์โมพลาสติกพวก ABS, Nylon6, PP และ PE ดูในรูปที่ 23 จะเห็นได้ว่าเป็นวัสดุที่มีคุณภาพไม่สูงมากนักโดยเฉพาะ ABS  จึงไม่แน่ใจว่าจะไม่ก่อให้เกิดการปนเปื้อนของสารเคมีเข้าสู่ระบบน้ำดื่มมากน้อยเพียงใด และในกรณีที่วัสดุสังเคราะห์แบบ Composited Thermoplastic เช่น Noryl Resin (หรือ Noryl Thermoplastic) ที่มีส่วนผสมของ Polyphenylene  Oxides (PPO) หรือ Polyphenylene Ether (PPE) resines กับพอลิสไตรีน (Polystyrene: PS) ยิ่งสร้างความกังวลมากเพราะพอลิสไตรีนถูกสงสัยว่าเป็นสารก่อมะเร็ง ซึ่งก็ต้องตรวจสอบกันอีกทีเพื่อความมั่นใจ 
 
 
 
รูปที่ 24  ตัวเรือนมาตรวัดปริมาตรน้ำทำจาก Thermoplastic หรือ  Composites Thermoplastic (Itron)
 
 
รูปที่ 25   การรีไซเคิลของพลาสติกกลุ่มเทอร์โมพลาสติก
 
 
2.              เทอร์โมเซตติ้งพลาสติก (Thermosetting plastic)  เป็นพลาสติกที่มีสมบัติพิเศษ คือทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและทนปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนได้ยาก คงรูปหลังการผ่านความร้อนหรือแรงดันเพียงครั้งเดียว เมื่อเย็นลงจะแข็งมาก ทนความร้อนและความดัน ไม่อ่อนตัวและเปลี่ยนรูปทรงได้ยากแต่ถ้าอุณหภูมิสูงพลาสติกกลุ่มนี้จะแตกและไหม้เป็นขี้เถ้าสีดำ พลาสติกกลุ่มนี้มีโมเลกุลเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับประสานกันแน่นส่งผลให้เกิดแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลแข็งแรงมาก (ดูรูปที่ 26) จึงไม่สามารถนำมาหลอมเหลวได้ กล่าวคือ เกิดการเชื่อมต่อข้ามไปมาระหว่างสายโซ่ของโมเลกุลของพอลิเมอร์ (cross linking among polymer chains) เหตุนี้หลังจากพลาสติกเย็นจนแข็งตัวแล้วจะไม่สามารถทำให้อ่อนได้อีกโดยใช้ความร้อนหากแต่จะสลายตัวทันทีที่อุณหภูมิสูงถึงระดับ การทำพลาสติกกลุ่มนี้ให้เป็นรูปร่างลักษณะต่าง ๆ ต้องใช้ความร้อนสูง และโดยมากต้องการแรงอัดพร้อมกันไปด้วย เทอร์โมเซตติงพลาสติก ได้แก่ : เมลามีน, phenol-formaldehyde, epoxy, polyester, urethane และ polyurethane เป็นต้น
 
 
รูปที่ 26   โครงสร้างโมเลกุลเทอร์โมเซตติ้งพลาสติกจะเชื่อมโยงกันเป็นร่างแหจับกันแน่น
 
2.1.    เมลามีน ฟอร์มาลดีไฮด์ (Melamine formaldehyde)   มีสมบัติทางเคมีทนแรงดันได้ 7,000-135,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ทนแรงอัดได้ 25,000-50,000 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว ทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิโดยสามารถทนความร้อนได้สูงถึง 140 องศาเซลเซียส และทนต่อปฏิกิริยาเคมีได้ดี เกิดคราบและรอยเปื้อนยาก ด้วยข้อดีดังกล่าวเมลามีนจึงถูกนำไปใช้ทำภาชนะบรรจุอาหารหลายชนิดได้รับความนิยมใช้กันมาก มีทั้งที่เป็นสีเรียบและลวดลายสวยงาม เช่น ผลิตภัณฑ์ศรีไทยซุปเปอร์แวร์ เป็นต้น   ข้อเสียคือ น้ำส้มสายชูจะซึมเข้าเนื้อพลาสติกได้ง่าย ทำให้เกิดรอยด่างดูไม่สวยงามแต่ไม่มีพิษภัยเพราะไม่มีปฏิกิริยากับพลาสติก
2.2.    ฟีนอลฟอร์มาดีไฮต์ (Phenol-formaldehyde)  พลาสติกชนิดนี้มีความต้านทานต่อตัวทำละลายสารละลายเกลือและน้ำมันได้ดีแต่พลาสติกชนิดนี้อาจพองบวมได้เนื่องจากน้ำหรือแอลกอฮอล์ พลาสติกชนิดนี้จึงถูกนำไปใช้ทำฝาจุกขวดและฝาหม้อ
2.3. อีพ็อกซี (Epoxy) ถูกนำไปใช้เคลือบผิวของอุปกรณ์ภายในบ้านเรือนและท่อเก็บก๊าซ ใช้ในการเชื่อมส่วนประกอบโลหะ แก้ว และเซรามิก ใช้ในการหล่ออุปกรณ์ที่ทำจากโลหะและเคลือบผิวอุปกรณ์ ใช้ใส่ในส่วนประกอบของอุปกรณ์ไฟฟ้า เส้นใยของท่อ และท่อความดัน ใช้เคลือบผิวของพื้นและผนัง ใช้เป็นวัสดุของแผ่นกำบังนิวตรอน ซีเมนต์ และปูนขาว ใช้เคลือบผิวถนน เพื่อกันลื่น ใช้ทำโฟมแข็ง ใช้เป็นสารในการทำสีของแก้ว
2.4.    พอลิเอสเตอร์ (Polyester)  กลุ่มของพอลิเมอร์ที่มีหมู่เอสเทอร์ (-O•CO-) ในหน่วยซ้ำ   เป็นพอลิเมอร์ที่นำมาใช้งานได้หลากหลาย เช่น ใช้ทำพลาสติกสำหรับเคลือบผิว ขวดน้ำ เส้นใย ฟิล์มและยาง เป็นต้น ตัวอย่างพอลิเมอร์ในกลุ่มนี้ เช่น พอลิเอทิลีนเทเรฟทาเลต พอลิบิวทิลีนเทเรฟทาเลต และพอลิเมอร์ผลึกเหลวบางชนิด
2.5.    ยูรีเทน (Urethane)   ชื่อเรียกทั่วไปของเอทิลคาร์บาเมต มีสูตรทางเคมีคือ NH2COOC2H5
2.6.    พอลิยูรีเทน (Polyurethane)   พอลิเมอร์ประกอบด้วยหมู่ยูรีเทน (–NH•CO•O-) เตรียมจากปฏิกิริยาระหว่างไดไอโซยาเนต (di-isocyanates) กับ ไดออล (diols) หรือไทรออล (triols) ที่เหมาะสม ใช้เป็นกาว และน้ำมันชักเงา พลาสติกและยาง ชื่อย่อคือ PU
                   เอาเป็นว่าความรู้เรื่องพลาสติกถือเป็นความรู้เครื่องเคียงก็แล้วกัน ที่จะบ่งบอกให้เห็นว่าการเลือกใช้พลาสติกหรือวัสดุสังเคาระห์ในกลุ่มเทอร์โมเซตติ้งพลาสติก (Thermosetting plastic)   สำหรับงานมาตรวัดปริมาตรน้ำนั้นมีน้อยครับ
                   สุดท้ายการพิจารณาเลือกใช้วัสดุกับระบบน้ำดื่มของเราจำเป็นต้องเฝ้าดูการทำงานของกลุ่มประเทศ 4MS ว่ามีผลงานเอกสารการศึกษาวิจัย ผลการทดสอบวัสดุโลหะ วัสดุคอนกรีต หรือวัสดุสังเคราะห์ใดที่มีอยู่ในวงการอุตสาหกรรมจะถูกยินยอมหรืออนุญาตให้นำมาใช้และยอมให้สัมผัสกับน้ำดื่มโดยตรงแล้วยังมีการปนเปื้อนในระดับที่ยอมรับได้และน้ำดื่มยังได้คุณภาพตามที่ WHO ระบุไว้ต่อไป   เนื้อหาที่เขียนมาทั้งหมดนี้เพื่อขยายความ ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิด และลักษณะของมาตรวัดปริมาตรน้ำ รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต และอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด พ.ศ. 2561 ข้อ13 (3) ประมาณแค่ 1 บรรทัดกับนิดหน่อยเองน่ะครับ หวังว่าพอได้สาระในระดับประมาณกำลังดีน่ะครบขอรับท่าน       จบเรื่องเพียงแค่นี้ (อ่านกันบ้างน่ะ)......สาธุ
 
 
 
 
 
 
 
เอกสารอ้างอิง
1.           ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิด และลักษณะของมาตรวัดปริมาตรน้ำ รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต และอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด พ.ศ. 2561
2.           https://www.maxsteelthai.com/ทองแดงผสมอัลลอย-copper-alloy/
3.           Drinking water lead regulations: impact on the brass valve chain, A. A. Estelle, Material Science and Technology, 2016, Vol 32, No 17, P1763-1770
4.           NSF/ANSI 61-2016 Drinking Water System Components-Health Effects 
5.           NSF 372-2016 Drinking Water System Components - Lead Content 
6.           มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรวัดน้ำต่อด้วยเกลียวชนิดใบพัด มอก. 1021-2534
7.           มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มาตรวัดน้ำต่อด้วยเกลียวชนิดลูกสูบ มอก. 1271-2538
8.           มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม น้ำบริโภค มอก. 257-2549 
9.           Publication No 120, Copper and Copper Alloys Compositions, Applications and Properties, 2004, Copper Development Association (CDA)
10.        Procedure for the acceptance of metallic materials for products in contact with drinking water, Part A, Procedure for the acceptance, 4MS Joint Management Committee, 2nd Revision, March 7, 2016.
11.        Procedure for the acceptance of metallic materials for products in contact with drinking water, Part B, 4MS Common Composition List, 4MS Joint Management Committee, 11th Revision, March 5, 2019.
12.        ASM Specialty Handbook, Copper and Copper Alloys, J. R. Davis, Davis & Associates, 2001, ASM International
13.        AS 1565-1996 Copper and copper alloys-Ingots and castings, Australian Standard
14.        AS 2345-2006 Dezincification resistance of copper alloys, Australian Standard
15.        Brass for European Portable Eater Applications, A7038 XX/16, Copper Development Association (CDA)
16.        RECOMMENDATION Transitional recommendation on the provisional hygienic assessment of products made from thermoplastic elastomers in contact with drinking water (TPE transitional recommendation), Rev02, As at: 11 March 2019
17.   www.telepart.net  คุณสมบัติของพลาสติก Plastic ชนิดต่างๆ  ขอบคุณและขออนุญาตนำข้อมูลมาปรับใช้
 
 
 
 
 
 

 

ชั่งตวงวัด; GOM MOC
นนทบุรี
29 เมษายน 2563
 

 



จำนวนผู้เข้าชม : 5153