สาระน่ารู้ ชั่งตวงวัด

“สำนักงานมาตราชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ” ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 คือ....หน่วยงานใด?

 “สำนักงานมาตราชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ” ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542

คือ....หน่วยงานใด?

 
              เมื่อไม่กี่วันมานี้ได้จัดฝึกอบรมให้กับพนักงานเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัด และภาคเอกชนที่ร่วมชีวิตกับชั่งตวงวัด    ได้กล่าวถึงเกี่ยวกับ “แบบมาตราชั้นหนึ่ง” ในมาตรา 12 ของพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542  ดังในรูปที่ 1 ข้างล่าง
 
“แบบมาตราชั้นหนึ่ง ได้แก่ แบบมาตราที่สำนักงานมาตราชั่งตวงวัดระหว่างประเทศกำหนดให้ใช้หรือรับรองความเที่ยงแล้ว”  
 
ได้ถามว่า  “สำนักงานมาตราชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ”  คือหน่วยงานใด     ได้รับคำตอบแล้วทำให้หัวใจมันกระชุ่มกระชวยทันใด เช่น   ก็เป็นสำนักงานกลางชั่งตวงวัดงัย  สำนักชั่งตวงวัดงัย?     ชื่นใจ......น่ะขอรับพระคุณท่าน !!!!
 
 
รูปที่ 1   มาตรา 12 ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542
 
 
เรื่องนี้เลยต้องขยาย   นั่งไม่ติด...  ทำใจร่มๆ....   ทำหัวไม่ร้อน......   สักพักก็ต้องขยับมือไม้กันนิดหนึ่ง...   
            เรื่องนี้ต้องถามว่าพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542   เป็นพระราชบัญญิติฯ  ที่ได้ทำการแก้ไขปรับปรุงมาจากพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466  (ในรัชสมัยพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6)  เราตามมาดูกันดังในรูปที่ 2  พบว่าในมาตรา 9 และมาตรา 12 จากพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466  ได้พบคำว่า “สำนักงานมาตราชั่งตวงวัดของนานาประเทศ”  ในบทนิยามจำนวนหน่วยเช่นกัน  
 
 
 
 
 
รูปที่ 2   มาตรา 9 และมาตรา 12 ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 (คำว่า “แบบประถม”  มาจากคำ “Prototype”  ส่วนคำว่า “แบบมาตรา” มาจากคำ “Standard”)
 
ถามว่า   “สำนักงานมาตราชั่งตวงวัดของนานาประเทศ” ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 ( ณ วันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2466) กับ “สำนักงานมาตราชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ” ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 (ณ วันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2542)  เป็นคำเดียวกันหรือเปล่า ?
 
คงบอกได้ว่าเขียนไม่เหมือนกันแต่เจตนารมย์คือชื่อหน่วยงานเดียวกัน  ซึ่งก็คือ  “BIPM”   ชื่อเต็มๆ  “The International Bureau of Weights and Measures”  และชื่อในภาษาฝรั่งเศษว่า Bureau international des poids et mesures (BIPM)  มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมือง Sèvres  ประเทศฝรั่งเศษ (France)  โดยมีรูปสัญญลักษณ์ของหน่วยงานดังในรูปที่ 3
 
 
รูปที่ 3   สัญญลักษณ์ของหน่วยงาน BIPM
 
อ้าว  แล้วชั่งตวงวัดไทยมันเท่ห์อย่างไรถึงดันไปแอบอ้างชื่อหน่วยงาน “BIPM” หรือเปล่า ?
 
ก็พออธิบายว่าชั่งตวงวัดไทยเราก็คงเท่ห์นิดหน่อย  เลยกล้าเอาชื่อนี้มาใช้   โดยอธิบายได้ว่า  BIPM  เป็นสำนักงานและทำหน้าที่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการบริหารที่มีชื่อว่า “the International Committee for Weights and Measures (French: Comité international des poids et mesures, CIPM)”  มีหน้าที่ในการส่งเสริมหน่วยวัดสากลให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน  โดยจัดการประชุมปีละ 1 ครั้ง ณ สำนักงานมาตราชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (BIPM)   CIPM  ประกอบด้วยตัวแทนจากประเทศสมาชิกฯ ที่เรียกว่า “Member States” ของอนุสัญญาระบบเมตริก (Metric Convention) จำนวน 18 คน ซึ่งถูกเลือกจากที่ประชุมใหญ่ของประเทศสมาชิกฯ ทั้งหมดของอนุสัญญาระบบเมตริก ที่เรียกว่า “the General Conference on Weights and Measures (French: Conférence générale des poids et mesures, CGPM)”  ที่จะประชุมกันทุกๆ 4 ปี    
 
 
รูปที่ 4   โครงสร้างและบทบาท CGPM, CIPM และ BIPM
 
และที่เอาชื่อ  หน่วยงาน “BIPM”  มาใช้โดยใช้ชื่อว่า “สำนักงานมาตราชั่งตวงวัดของนานาประเทศ” ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466  หรือ “สำนักงานมาตราชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ”  ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542  ก็เพราะว่าประเทศสยามเราได้เข้าร่วมเซ็นต์สนธิสัญญาที่มีชื่อว่า “อนุสัญญาระบบเมตริก (Metric Convention)” ในรัชสมัยของสมเด็จพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชการที่ 6 )  น่ะขอรับพระคุณท่าน !!!!...
 
           เมื่อปี พ.ศ. 2454  โดยกระทรวงเกษตราธิการในสมัยสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอกรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์เป็นเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการได้แจ้งความจำนงไปยังรัฐบาลฝรั่งเศสเพื่อขอเข้าเป็นภาคีสมาชิกอนุสัญญาเมตริก (The International Metric Convention) หรือรู้จักในนาม  “Treaty of the Metre”  และในปีถัดมา พ.ศ. 2455  ประเทศสยามจึงได้เป็นสมาชิก “Member States” ของอนุสัญญาระบบเมตริก (Metric Convention)  และขอเข้าร่วมเป็นสมาชิกสำนักงานมาตราชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (BIPM) ที่ประเทศฝรั่งเศส
 
 
รูปที่ 5   อนุสัญญาเมตริก (The International Metric Convention) หรือรู้จักในนาม  “Treaty of the Metre"
 
          ความเป็นมาของอนุสัญญาเมตริก (The International Metric Convention) หรือรู้จักในนาม  “Treaty of the Metre”  เกิดจากรัฐบาล 17  ประเทศ (1. Argentina  2. Austria-Hungary 3. Belgium  4. Brazil  5. Denmark  6. France  7. Germany  8. Italy  9. Peru  10. Portugal  11. Russia  12. Spain  13. Sweden and Norway  14. Switzerland  15. Turkey  16.United States of America  17. Venezuela)  ได้ก่อตั้ง The Metre Convention และได้ลงนามร่วมกันในสนธิสัญญาเมตริกขึ้นในวันที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2418  (ค.ศ. 1875)  เพื่อกำหนดนิยามและจัดตั้งแบบมาตรา “ international standard for length and mass”  เบื้องต้นคือ “มวลกับความยาว” ก่อน     ด้วยเหตุนี้กระมังที่โลกและไทยเราถือเอาวันที่ 20 พฤษภาคม  เป็นวันมาตรวิทยาโลก (World Metrology Day)
 
          ในช่วงประมาณ พ.ศ. 2546 - 2547  ได้โอนการเป็นสมาชิกสำนักงานมาตราชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ (BIPM) จากการตั้งงบประมาณค่าสมาชิกโดย กองชั่งตวงวัด กระทรวงพาณิชย์ไปยังสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ (มว.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี่  เพราะงานทาง BIPM  เป็นงานทางด้าน Science Metrology     มานั่งนึกดูตอนที่เข้ารับราชการใหม่ๆจะได้รับหนังสือหรือเอกสารของ BIPM จากสถานฑูตไทยในกรุงปารีส  ประเทศฝรั่งเศษส่งมายังกองชั่งตวงวัดอยู่เรื่อยๆ   เลยลองเอามานั่งอ่านดูได้ไม่กี่หน้าก็นั่ง  ปลง.....อนิจจา วต สังขารา...... เอกสารและหนังสือดังกล่าวต้องอยู่ได้ที่เดียวเท่านั้น  คือตู้เก็บเอกสาร แน่ๆ 100%    ในขณะที่กองชั่งตวงวัดจะเป็นหน้างานทางด้าน Legal Metrology ประกอบกับกองชั่งตวงวัดได้รับการสนับสนุนโครงการ “Upgrading Legal Metrology in Thailand” (Project no. 91.2173.2/PTB no. 8332)  จากสหพันธรัฐเยอรมันนี โดย PTB  ในปี พ.ศ. 2534 (1991)  ใน Action Plan ได้ให้คำแนะนำให้เตรียมตัวสมัครเข้าเป็นสมาชิก OIML   เมื่อมี Action Plan และชั่งตวงวัดเราเป็นเด็กดี   ในปี พ.ศ. 2538  ประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศว่าด้วยกฏหมายชั่งตวงวัด (International Organization of Legal Metrology,  OIML)  โดย กองชั่งตวงวัด กรมทะเบียนการค้า (กรมพัฒนาธุรกิจการค้า ในปัจจุบัน) กระทรวงพาณิชย์  เป็นตัวแทนในนามของประเทศไทยเป็น  “สมาชิกสมทบ (Corresponding Members)” ในวันที่ 16  มกราคม พ.ศ. 2538 จนถึง วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  ได้ขยับฐานะความเป็นสมาชิกขึ้นเป็น “สมาชิกสามัญ (Member State)  จนถึงปัจจุบัน......    สนนราคาความเป็นสมาชิกสามัญต่อปีอยู่ที่ 56,000.EUROS    เหตุที่นับเอาวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559  เริ่มจาก Instrument of Accession (ภาคยานุวัติสาร) ตามที่รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ ลงนาม  (ดังในรูปที่ 6) ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558   แต่ตามข้อ XXXIV วรรคสองของอนุสัญญาฯ (Convention Establishing an International Organisation of Legal Metrology) ระบุให้อนุสัญญาฯมีผลบังคับกับรัฐที่ได้ภาคยานุวัติ 30 วันหลังจากการมอบภาคยานุวัติสาร  ซึ่งสถานเอกอัตรราชฑูต ณ กรุงปารีสได้แจ้งว่าได้ส่งมอบภาคยานุวัติสารต่อรัฐบาลฝรั่งเศสเรียบร้อยเมื่อวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559 ตามหนังสือที่ 15001/17 ลงวันที่ 6 มกราคม ค.ศ. 2016   ดังนั้นแสดงว่าภาคยานุวัติมีผลถัดจากวันที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2559 นับไป 30 วัน  คือวันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559      ส่วนวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2559  เป็นวันที่มีการแจ้งยืนยันว่าได้รับเงินค่าสมาชิกจากประเทศไทย   
 
       
 
รูปที่ 6   Instrument of Accession ลงวันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558; OIML
 
            จากประวัติที่ยาวนาน  ชั่งตวงวัดเราจึงคุ้นเคยกับภาษาอังกฤษคำว่า “Weights and Measures”  หรือ  “W&M” มาอย่างยาวนานเนื่องจากเราติดมาจาก  “The International Bureau of Weights and Measures” และชื่อในภาษาฝรั่งเศษว่า Bureau international des poids et mesures (BIPM)  และดังนั้นหากวันนี้ใครดันมาขอให้เรามาใช้คำว่า “มาตรวิทยา” หรือ “Metrology” แทนคำว่า “ชั่งตวงวัด” หรือ  “Weights and Measures”  หรือ  “W&M”   ขอให้พี่ๆดังกล่าวคิดถึงอัตลักษณ์และเคารพอัตลักษณ์ของน้องๆหน่อยน่ะ  ชั่งตวงวัดถ้านับเป็นคนก็สูงอายุเกือบ 100 ปี  (ในปี 2566) แล้วน่ะพี่ๆเพ้ยๆ 
 
สรุป
สำนักงานมาตราชั่งตวงวัดของนานาประเทศ” ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 
= “สำนักงานมาตราชั่งตวงวัดระหว่างประเทศ”  ในพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542
= BIPM; The International Bureau of Weights and Measures” และชื่อในภาษาฝรั่งเศษว่า Bureau international des poids et mesures
 
 
นิทานเรื่องนี้ก็จบลงเท่านี้....สาธุ …น่ะขอรับพระคุณท่าน !!!!...
 

 

 

 

 

 
ชั่งตวงวัด; GOM MOC
นนทบุรี
6 ธันวาคม 2561

 

 



จำนวนผู้เข้าชม : 4730