สาระน่ารู้ ชั่งตวงวัด

ตรวจสอบต้นแบบเครื่องชั่งตวงวัด.............. วันวานที่หวานอยู่ ?????

          ตรวจสอบต้นแบบเครื่องชั่งตวงวัด.............. วันวานที่หวานอยู่ ?????

 

   

ผมเคยเขียนหนังสือเล่มหนึ่งที่ชื่อว่า “การตรวจสอบต้นแบบเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติ (Pattern Approval of Nonautomatic Weighing Instruments)” เมื่อวันวาน............ ประมาณ พ.ศ. 2542   ซึ่งอยู่บนพื้นฐาน OIML R76 – 1992 ตัวหนังสือจริงๆ คงไม่มีเหลืออยู่   แต่สามารถหาอ่านเป็น E-book ได้จาก“www. cbwmthai.org”   ก่อนจะไปต่อหลายคนอาจถามว่าเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติคืออะไร   เครื่องชั่งไม่อัตโนมัติ คือ เครื่องชั่งที่ต้องใช้ผู้ชั่งทำการชั่งในระหว่างการชั่ง เช่น  การยก-วางสิ่งของหรือตุ้มน้ำหนักบนเครื่องชั่ง และการอ่านผลการชั่งหลักๆ   แต่ผมขอเพิ่มอีกอย่างด้วยว่า   เครื่องชั่งไม่อัตโนมัติในที่นี้ต้องทำงานอยู่บนหลักการแรงโน้มถ่วงของโลกด้วยน่ะครับ    หากทำงานด้วยหลักการอื่นๆ เช่น แรงหนีศูนย์กลาง จะไม่อยู่ภายใต้กรอบเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติที่เรากล่าวถึงในงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฏหมาย 

การตรวจสอบต้นแบบเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติประกอบด้วยขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบ 31 ขั้นตอน รวมกับวิธีการทดสอบมาตรฐานที่แทรกอยู่ในขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติ 31 ขั้นตอนเป็นระยะๆ อีก 6 วิธีการทดสอบมาตรฐาน   ดังต่อไปนี้ 

ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 1 :ช่วงการตั้งศูนย์ครั้งแรก (Initial Zero - Setting Range); A.4.2.1.1
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 2/1 : ช่วงการตั้งศูนย์ไม่อัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติ (Non-Automatic and Semi-automatic Zero - Setting Range); A.4.2.1.2
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 2/2 : ช่วงการตั้งศูนย์อัตโนมัติ (Automatic Zero - Setting Range); A.4.2.1.3
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 2/3 : ช่วงการรักษาศูนย์ (Zero – tracking Range); A.4.5.1 และ 4.5.7
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 2/4 : ส่วนแสดงศูนย์ (Zero – indicating Device); A.4.2.2
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 2/5 : ความถูกต้องของการตั้งศูนย์ (Accuracy of Zero Setting); A.4.2.3
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 2/6 : ความเร็วของการรักษาศูนย์ (Speed of Zero Tracking); 4.5.5 และ 4.5.7
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 3/1 : การทดสอบดิสคริมิเนชั่น (Discrimination test, 3.8); A.4.8
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 3/2 : การทดสอบหาความรู้สึก (Sensitivity, 6.1); A.4.9
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 4 : การทดสอบการเยื้องศูนย์ (Eccentricity test, 3.6.2) ; A.4.7
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 5 : การทดสอบหาผลผิดแฝงเริ่มต้น (Determination of Initial Intrinsic Error); A.4.4 และ A.4.5
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 6 : การทดสอบเสถียรภาพของช่วงการชั่ง (Span stability test); B.4
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 7 : การเปลี่ยนแปลงการแสดงค่าเมื่อเทียบกับเวลาที่เปลี่ยนไป (เฉพาะสำหรับเครื่องชั่งชั้นความเที่ยง II, III, หรือ IIII) (Variation of indication with time (for instruments of class II, III, IIII only ); A.4.11
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 8 : การทดสอบความสามารถในการทำซ้ำได้ (Repeatability test, 3.6.1); A.4.10
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 9/1 : การทดสอบการชั่งการทดน้ำหนัก (Tare Weighing test, 3.5.3.3); A.4.6.1
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 9/2 : ส่วนทดน้ำหนักไม่อัตโนมัติ(Non- automatic Tare Setting Device)และส่วนทดน้ำหนักกึ่งอัตโนมัติ(Semi-automatic Tare Setting Device); A.4.6.2.1
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 9/3 : ส่วนทดน้ำหนักอัตโนมัติ (Automatic Tare Setting Device) ; A.4.6.2.2
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 9/4 : ส่วนกำหนดน้ำหนักทดล่วงหน้า (Preset Tare Setting Device); A.4.6.2.3
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 10 : การทดสอบเสถียรภาพของช่วงการชั่ง (Span stability test); B.4
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 11 : การทดสอบเวลาที่ใช้ในการอุ่นเครื่อง (Warm-up time test, 5.3.5); A.5.2
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 12 : การทดสอบความมั่นคงของสมดุล (Test for the stability of equilibrium); A.4.12 (4.4.2)
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 13 : การเอียง (Tilting, A.5.1)
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 14 :การเปลี่ยนแปลงศักย์ไฟฟ้า (Voltage variations, A.5.4); 3.9.3
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 15 และ 16 : การทดสอบเสถียรภาพของช่วงการชั่ง (Span stability test); B.4
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 17, 18, 19, 20 และ 21 : การทดสอบการชั่งเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง หรือการทดสอบทางอุณหภูมิ (Temperature tests, A.5.3)
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 22 : การทดสอบเสถียรภาพของช่วงการชั่ง (Span stability test); B.4
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 23 : การทนต่อสภาพความร้อนที่สถานะคงที่ (Damp heat, steady state); B.2.2
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 24 : การทดสอบเสถียรภาพของช่วงการชั่ง (Span stability test); B.4
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 25 : การลดกำลังไฟฟ้าเป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆ (Short time power reductions, B.3.1)
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 26 : การเกิดการระเบิดภายในระบบสายส่ง (Electrical Bursts, B.3.2)
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 27 : การปล่อยประจุไฟฟ้าสถิต (Electrostatic discharge, B.3.3)
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 28 : การทดสอบเสถียรภาพของช่วงการชั่ง (Span stability test); B.4 
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 29 :ภูมิต้านทานต่อการแผ่ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Immunity to radiated electromagnetic fields, B.3.4)
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 30 :การทดสอบเสถียรภาพของช่วงการชั่ง (Span stability test); B.4
ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบลำดับที่ 31 : การทดสอบความคงทน (ทดสอบเฉพาะเครื่องชั่งชั้นความเที่ยง II, III และ IIII ที่มีค่าพิกัดกำลังสูงสุด £ 100 กก.)(Endurance test, A.6); 3.9.4.3  

          หากพิจารณาในแต่ละขั้นตอนท่านต้องใช้บุคคลากรจำนวน, คุณภาพระดับใดและสาขาวิชาชีพเชี่ยวชาญกี่สาขา แต่ละสาขานั้นๆมีความประสงค์รับราชการหรือไม่ด้วยเงินเดือนที่น้อยและ Zero Corruption    ท่านต้องลงทุนสร้างห้องปฏิบัติการฯหรือมองหาห้องปฏิบัติการฯที่ได้มาตรฐานน่าเชื่อถือภายในประเทศกี่ห้องปฏิบัติการฯที่สามารถทดสอบตามหัวข้อ (ที่กำหนดไว้ในอดีต)  เช่น การทดสอบภูมิต้านทานต่อการแผ่ของสนามแม่เหล็กไฟฟ้า (Immunity to radiated electromagnetic fields, B.3.4) หรือการทดสอบการชั่งเมื่ออุณหภูมิเปลี่ยนแปลง หรือการทดสอบทางอุณหภูมิ (Temperature tests, A.5.3) เป็นต้น   เพราะลำพังชั่งตวงวัดมีงบประมาณประจำปีเพียง 80 - 120 ล้านบาทต่อปีที่ต้องใช้จ่ายทั่วทั้งประเทศ   หรือเราจะ Outsource ? (เล่นของสูง ศัพท์สูง.. เสียแล้วเรา ?)   แล้วประเทศไทยเรามีผู้ผลิตเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติกี่รายที่ต้องส่งออกเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติไปขายในต่างประเทศแล้วรัฐต้องสนับสนุนด้วยการจัดทำโครงสร้างพื้นฐานตรวจสอบต้นแบบเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติให้กับภาคเอกชนผู้ผลิต   แน่นอนต้องมีผู้นำเข้าเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติกี่รุ่นที่เราต้องไม่ยอมให้นำเข้าเครื่องชั่งฯที่ไม่ได้คุณภาพเข้ามาในประเทศเราเช่นกัน  แต่ในเบื้องต้นหากพิจารณาในเทอมของจำนวนและคุณภาพบุคคลกรรวมทั้งสาขาวิชาชีพที่หลากหลายซึ่งจำเป็นในทำงานตรวจสอบต้นแบบฯของภาครัฐและจำนวนวงเงินงบประมาณแบบเดิมๆ เพื่อลงทุนในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานห้องปฏิบัติการฯให้มีขีดความสามารถทำงานได้และได้รับความเชื่อถือในเวทีโลก  คิดแล้วหนักใจจจจจจจจจจจ....เสียหรือเกิน 

เนื่องจากรอบการพัฒนาและนววัตกรรมการผลิตเครื่องชั่งตวงวัด (ในที่นี้เราตีกรอบเอาเฉพาะเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติน่ะ) จากเดิมๆ ดังในรูปที่ 1 ซึ่งใช้ระยะเวลาในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องชั่งตวงวัดของผู้ผลิตต้องใช้เวลานาน จนเหลือการใช้เวลาน้อยลงเพราะการแข่งขันในตลาดสูงมาก ชิ้นส่วนอุปกรณ์จัดเป็น Module ทำให้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้และเลือกประกอบเสมือน LEGO อีกทั้งเชื่อมถึงกันด้วยระบบเชื่อมตัวสัญญาณและ Internet เป็นต้น  สิ่งเหล่านี้นำไปสู่การประยุกต์งานที่หลากหลายเป็นวงกว้าง
 
 

 

 

รูปที่ 1 ขั้นตอนการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องชั่งตวงวัดของผู้ผลิตเมื่อวันวาน...

 

   ดังนั้นการดำเนินการตรวจสอบต้นแบบเครื่องชั่งตวงวัดด้วยวิธีการเก่าๆ อย่างเมื่อวันวานไม่สามารถตอบโจทย์และแก้ไขปัญหาชีวิตผู้ประกอบการผู้ผลิตเครื่องชั่งตวงวัดได้อีกต่อไป ต้องคิดนวัตกรรมการบริหารการจัดการให้สอดรับกับชีวิตจริงเพิ่มมากขึ้นจึงต้องปรับปรุงและพัฒนาการตรวจสอบต้นแบบและการตรวจสอบให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดให้ดำเนินการอย่างรวดเร็ว มีค่าใช้จ่ายน้อยลงและมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยคาดหวังว่าผลประโยนช์ขั้นสุดท้ายจะตกลงที่ประชาชนที่ได้ใช้เครื่องชั่งตวงวัดที่ดีและมีราคาถูกลง เพื่อสนองตอบหลักการค้าที่มีการแข่งขันเสรีและเป็นธรรม (มันจะจริงหรือไม่จริงตาม Adam Smith หนูก็ไม่อาจรู้)    การตรวจสอบต้นแบบเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติด้วยวิธีการอย่างเช่นเมื่อวันวานจากต้นจนจบสิ้นกระบวนความ 31 ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบต้องเสียค่าใช้จ่าย  ใช้แรงงานและเวลาที่มากมายเป็นการผลิตที่ไม่มีประสิทธิภาพจึงไม่ใช้คำตอบของการขยับเขยื้อนเศรษฐกิจของประเทศที่เจริญแล้วเมื่อต้องสร้างผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกสูงตลาดเพื่อหารายได้เข้าประเทศ (ดูรูปที่ 2) เพื่อสนองความต้องการและแก้ไขปัญหาในการดำเนินธุรกิจในแต่ละภาคส่วนที่มีความต้องการเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติไม่เหมือนกัน   พูดง่ายๆว่าตลาดเสรีนิยมเค้าไม่ปลื้มกับการค้าที่ไม่มีประสิทธิภาพและไม่สามารถสร้างความมั่งคั่งกินดีอยู่ดีของประเทศที่เจริญแล้วว่างั้นเถอะ 
 

 

รูปที่ 2 แนวปฏิบติการกำกับดูแลงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฏหมาย (Legal Metrology) เมื่อวันวาน

 

  ทางกลุ่มประเทศยุโรป (EU) จึงเปลี่ยนระบบการกำกับงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฏหมาย (Legal Metrology) จากเดิมซึ่งมีระบบตรวจสอบต้นแบบ (Pattern Approval) ในแต่ละรุ่น (Model) แทรกอยู่ในระบบ ตัวอย่างเช่นเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติต้องทำการตรวจสอบต้นแบบเครื่องชั่งตวงวัดด้วย 31 ขั้นตอนการตรวจสอบต้นแบบ เปลี่ยนระบบการกำกับฯไปเป็นให้ผู้ผลิตเครื่องชั่งตวงวัดเลือก Module การตรวจสอบเครื่องชั่งตวงวัด 14 Conformity Assessment Procedures แทนตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 หรือ พ.ศ. 2558  (ดูรูปที่ 3) ขอย้ำนะว่า กลุ่มประเทศ EU เค้าละทิ้ง "ระบบตรวจสอบต้นแบบ (Pattern Approval)"  แต่เพื่อก่อให้เกิดความสะดวกรวดเร็วโดยคิดนวัตกรรมการบริหารงานใหม่ด้วยการใช้ระบบ Conformity Assessment เข้ามาจัดการเพื่อให้เป็นที่ยอมรับกันทั้ง EU อีกทั้งเป็นการใช้ประโยนช์จากโครงสร้างพื้นฐานงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฏหมาย (Legal Metrology Infrastructures) ของประเทศสมาชิกกลุ่มประเทศยุโรปซึ่งเป็นความได้เปรียบเชิงเทคนิคเมื่อเทียบกับภูมิภาคอาเซียนของเราซึ่งไปไม่ถึงไหนยัง งง..กับเมื่อไหร่จะเลือกตั้งและระบบราชการต้อง Zero Corruption   ตัวอย่างเช่น ผู้ผลิตสามารถเลือกระบบตรวจสอบเครื่องชั่งตวงวัดเอง เช่นเลือก Module B + Module F หรือ Module B + Module D หรือ Module B + Module H1 โดยในประเทศเยอรมัน PTB ทำตัวเป็น Notified Body (ISO17065) ดูแล Module B, D และ H1  ส่วน Verification Officers (พนักงานเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัด) ทำหน้าที่รับผิดชอบ Module F เป็นต้น
 

 

 

  รูปที่ 3 แนวปฏิบติการกำกับดูแลงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฏหมาย (Legal Metrology) วันข้างหน้า

 

 
 

 

  รูปที่ 4 จาก Introduction of German, Legal Metrology Management System, Dr.Peter Ulbig, Head of Division Q, Scientific-technical cross-sectionals tasks

 

  
แต่ดูเหมือนว่าจะมีหน่วยงานภาคเอกชนคนกลาง (Third Party) จะมีความสนใจในระบบ Conformity Assessment ในส่วน Module F เช่นกัน (ผลประโยชน์มันเยอะ....)   ซึ่งผลตามมาทำให้เมื่อผู้ผลิตเครื่องชั่งตวงวัดต้องจัดทำระบบ Conformity Assessment แล้วจึงไม่ต้องมีการตรวจสอบให้คำรับรองชั้นแรก (Initial Verification) อีกต่อไปตามที่ตลาดการค้าเสรีทางยุโรปพบว่ากิจกรรมการตรวจสอบให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดมีราคาแพงและใช้เวลามากในการดำเนินการ  (เพราะฉนั้นพี่ไทยทั้งเข้าใจตรงกันน่ะครับมันช้า....ทั่วทั้งโลกแหละครับงานชั่งตวงวัดเนี้ย)  แต่...ใช่ว่าเมื่อไม่มีการตรวจสอบให้คำรับรองชั้นแรกแล้วไม่ต้องทำอะไรเพราะในระบบใหม่ดังกล่าวยังคงมีการตรวจสอบให้คำรับรองชั้นหลังอยู่   เพราะเครื่องใช้งานไปมันต้องซ่อมแซม หรือปรับแต่ง หรือตรวจสอบความเที่ยงเครื่องชั่งตวงวัดเป็นระยะ เหมือนกับซื้อรถยนต์มาเมื่อใช้งานไปมันก็ต้องบำรุงรักษากันบ้างละน่ะ และยังคงมีเนื้องานที่เรียกว่า  Market Surveillance   ซึ่งเป็นงานตรวจสอบว่ามีการนำเครื่องชั่งตวงวัดรุ่น (Model) ใหม่ๆเข้าสู่ตลาดหรือไม่ และเครื่องชั่งตวงวัดดังกล่าวเป็นไปตามกฎหมายหรือไม่ ลักษณะงานนี้จึงมุ่งเน้นไปที่ผู้ผลิตเครื่องชั่งตวงวัดโดยเฉพาะเพราะถือว่าท่านเป็นผู้นำเครื่องชั่งตวงวัดเข้าระบบเศรษฐกิจ สังคมและความมั่นคงของประเทศ  ซึ่งเราอย่าไปสับสนกับคำว่า Surveillance of Weighing and Measuring Instruments in Service (User)” เพราะเป็นงานตรวจสอบมุ่งไปที่ผู้ใช้เครื่องชั่งตวงวัดว่าดำเนินการติดตั้ง ซ่อมบำรุง ทำการชั่งตวงวัด นำค่าผลการชั่งตวงวัดไปใช้งาน ฯลฯ เป็นไปตามคู่มือการใช้งานของผู้ผลิตหรือไม่อย่างไร หรือศัพท์ที่เราคุ้นเคยคืองานตรวจสอบชั่งตวงวัด (Inspection)

 

 

 

 

 

รูปที่ 5 ภาพรวม 14 Conformity Assessment Procedures

 

 
 
ระบบ Conformity Assessment จึงเป็นศัพท์ที่ต้องมาทำความเข้าใจเนื่องจากเราที่ทำงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมายอาจไม่คุ้นกับคำนี้    เลยไปค้นมาเอาแบบภาษาปะกิตก่อนตามนี้

 

 

“Conformity assessment”, also known as “compliance assessment”, is any activity to determine, directly or indirectly, that a process, product or service meets relevant technical standards and fulfills relevant requirements. Conformity assessment activities may include: Testing, Surveillance, Inspection, Auditing, Certification and Accreditation

 

 

ส่วนแบบภาษาไทยก็น่าจะเป็นไปตามนี้

 

 
ระบบการรับรอง (Conformity assessment)  หมายถึง ระบบที่มีระเบียบปฏิบัติสำหรับกระบวนการและการจัดการสำหรับการดำเนินการตรวจประเมินทั้งทางตรงหรือทางอ้อม ว่ากระบวนการ ผลิตภัณฑ์ หรืองานบริการนั้นๆ มีคุณสมบัติครบและเป็นไปตามมาตรฐานทางเทคนิคที่วางไว้ รวมทั้งมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่กำหนด และนำไปสู่การพิจารณาตัดสินผลการตรวจประเมินเพื่อให้การรับรองที่เป็นลายลักษณ์อักษร และมีการดูแลรักษาระบบอย่างต่อเนื่องในภายหลัง    การตรวจสอบรับรอง ซึ่งครอบคลุมกิจกรรม คือ การทดสอบ (Testing and inspection), การตรวจ (Verification and assurance of conformity), การรับรองระบบงาน (Accreditation), Surveillance หรือวิธีการอื่นๆ ที่ใช้ในการปรับใช้มาตรฐาน กฎระเบียบหรือการตรวจสอบรับรองที่เป็นมาตรฐานสากล
 
ดังนั้นเราต้องคิดใหม่เพราะ........มันไม่ใช่วันวาน....ที่หวานอยู่.......อีกต่อไป   ลมตรวจสอบต้นแบบเครื่องชั่งตวงวัด (Pattern Approval) มันพัดผ่านไปแล้ว....   เป็นวันวานไปแล้ว......   การคิดนวัตกรรมการบริหารงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฏหมาย (Legal Metrology) ในวันข้างหน้าเพื่อตอบสนองต่อตลาดเสรีนิยมที่มุมเน้นประสิทธิภาพและประสิทธิผลของกิจกรรมทางการค้ามันรุนแรง   บอกได้อย่างเดียวต้องรื้อหลักคิดพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542   กันอย่างหน้ามือเป็นหลังมือล่างกันเลย.....ละเจ้านาย (นักร้อง....ลูกชายของเจ เจตติน)   ผู้บริหารงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฏหมายต้องไม่ใช่มื้อสมัครเล่นการวางตำแหน่งงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฏหมายให้อยู่ภายใต้หน่วยงานที่ทำหน้าที่หลักด้าน Marketing ของประเทศสงสัยเป็นตลกร้ายเสียทีเดียว    เพราะงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฏหมาย (Legal Metrology) เป็นงานโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่สร้างและรักษากฏกติการของตลาดการค้าเสรี เป็นคนดูแลเวทีการค้าให้ดำเนินไปอย่างเป็นธรรม   ส่วนเรื่องการค้าเสรีนั้นก็ให้ตลาดเสรีเซ็นเตอร์เป็นผู้ดูแลก็แล้วกันครับ......    ด้วยเหตุนี้   ใครไม่เก่งจริง   ก็แย่งกินตำแหน่งรั้งท้ายของกลุ่มประเทศอาเซียนไปแล้วกัน   มั่วแต่ OUTSOURCE…..   มั่วแต่ Zero Corruption ถามจริงเถอะ Corruption มันคืออะไร ??? สร้างภาพลวงตาที่ไม่มีอยู่จริงในระบบราชการไทย...

 

   ท่านสามารถไปอ่านเพิ่มเติมใน “Modernization of legal metrology in Germany”, Wilfried Schulz, PTB, OIML Bulletin Volume XLVI, November 4- October 2005”

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 
ชั่งตวงวัด; GOM MOC
นนทบุรี
6 กันยายน 2561
 

 

 

 

 



จำนวนผู้เข้าชม : 4503