สาระน่ารู้ ชั่งตวงวัด

รถยนต์โมบายพร้อมติดตั้งระบบแบบมาตราทั้ง 3 ระบบ (ตรวจสอบมาตวัดน้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซ LPG, NGV)

 

 

 รถยนต์โมบายพร้อมติดตั้งระบบแบบมาตราทั้ง 3 ระบบ

(ตรวจสอบมาตวัดน้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซ LPG, NGV)
 
 
 
เมื่อมีโอกาส......เข้ามา
ได้คิดมานานแล้วว่าจะทำอย่างไรให้สามารถทำงานตรวจสอบให้คำรับรองมาตรวัดปริมาตรของเหลวในสถานีบริการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็ว และน่าเชื่อถือภายใต้จำนวนพนักงานเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัดที่มีจำนวนน้อยลงทุกวัน    หนึ่งในนั้นคือต้องทำให้จิ๋วแต่แจ๋ว โดยการรับข้าราชการชั่งตวงวัดต้องทำด้วยความโปร่งใส่ และรับคนที่มีคุณภาพสุงสุดเท่าที่เลือกได้    เพราะการออกแบบเครื่องมือแบบมาตราให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงต้องได้รับการใช้งานและการบำรุงรักษาด้วยพนักงานเจ้าหน้าที่มีคุณภาพสูงในระดับหนึ่ง “ไม่ต้องเก่งมาก” แต่ขอให้ “เป็นคนดี”   ก็พอ..ที่เหลือเราอบรมได้     เนื่องจากไปดูงานนอกเขตเทศบาล   ได้เห็นว่าประเทศที่เจริญแล้วได้เริ่มปรับตัวให้อยู่ในรูป Mobile มากขึ้น (พ.ศ. 2539)  ดังรูปที่ 1 และเมื่อเวลาผ่านไปเราก็ได้กลับไปดูงานนอกเขตเทศบาลเราก็พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงดังรูปที่ 2 การพัฒนาการระบบแบบมาตราในการปฏิบัติงานให้รองรับปริมาณมาก ในขณะมีปัญหาขาดแคลนแรงงานหรือค่าแรงสูงมาก การออกแบบระบบแบบมาตราก็ปรับปรุงเพื่อแก้ไขปัญหาชีวิตในการทำงาน ซึ่งจะเห็นในรูปแบบการระบายน้ำมันปิโตรเลียมคืนกลับก็ขับรถยนต์ซึ่งทำการติดตั้งระบบแบบมาตราไปเทียบหัวลงน้ำมันจากนั้นลากสาย Rubber Hose ปล่อยน้ำมันทิ้งลงไป
 
 
รูปที่ 1 รถยนต์โมบายระบบแบบมาตรามาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิง
 
          ราชอาณาจักรไทยไม่ได้เป็นประเทศที่ร่ำรวย (โดยเฉลี่ย) ดังนั้นการใช้พลังงานสำหรับยานพาหนะก็ต้องดิ้นกระเสือกระสนกันไป คนมีรายได้สูงและฐานะดีขี่ BMW หรือ Benz หรือ Bentley เขาก็เติมน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลไป เผลอๆ ปัจจุบันคนมีฐานะใช้รถยนต์ไฟฟ้า Tesla กันไปหมดแล้ว ส่วนคนที่มีรายได้น้อยก็หันไปหาพลังงานทางเลือกทั้งก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) และก๊าซธรรมชาติซึ่งจะเรียก NGV หรือ CNG ก็สุดแล้วแต่ จำได้สมัยเรียนหนังสือนั้นมีอาจารย์ที่เคารพก็ทำวิจัยปรับจูนเครื่องยนต์สันดาปภายในให้สามารถใช้ CNG ทดลองวิ่งอยู่   ดังนั้นนับวัน "ขอบเขตพลังงาน" ก็ล้ำเส้นเข้าใน "เขตพรมแดนอาหาร" มากขึ้นตั้งแต่ ผลผลิตจากน้ำอ้อยไปยังน้ำมันปาล์ม...เอามาปรับเปลี่ยนเป็นพลังงาน   จนวันนี้.. ก็เป็นพลังงานไฟฟ้า ซึ่งเริ่มไปเก็บเกี่ยวจากธรรมชาติทั้งจากแสงแดด และกระแสลม...อันนี้ก็คิดเตรียมตัวน่ะ   เคยขอให้ผู้มีอำนาจรับข้าราชการที่จบทางด้านวิศวกรรมไฟฟ้ากำลังเข้ามาเพื่อจะได้เบิกทางขอบเขตงานชั่งตวงวัดทางด้านมาตรวัดไฟฟ้า แต่....... เศร้าใจ (ว่ะ) วังเวง
 
 
       
รูปที่ 2 รถยนต์โมบายระบบแบบมาตรามาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิง – ปรับปรุง
 
 
      
รูปที่ 3 รถยนต์โมบายระบบแบบมาตรามาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงขนาดใหญ่ ณ Truck Loading
 
          นอกจากนี้ในบางประเทศที่มีการใช้พลังงานทางเลือกสำหรับยานพาหนะ เช่นใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เขาก็ได้ปรับตัวออกแบบระบบแบบมาตรา LPG ให้อยู่ในรูป Mobile เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน   หลังจากนั้นก็พัฒนาต่อยอดเพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหาชีวิตในการทำงานของชีวิตแต่ละประเทศกันไป ดังในรูปที่ 4 เป็นชุดเคลื่อนที่ของบริษัทฯหนึ่ง เวลาจะใช้ระบบแบบมาตรา LPG ก็ยกลงมาจากรถยนต์เมื่อใช้เสร็จก็ยกขึ้นรถยนต์ขนชุดอุปกรณ์ดังในรูปที่ 5     แต่ถ้าหากยังประสงค์ต้องการตรวจมาตรวัดก๊าซ LPG ด้วยวิธีการชั่งน้ำหนักก็ต้องมีเครื่องชั่งกันระเบิด (Explosion Proof), ตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา, เครื่องหาความถ่วงจำเพาะ (ดูรูปที่ 6)  และถังก๊าซ LPG เปล่าๆ นั้นหาไปให้ท่านอย่าให้ขาด
 
    
รูปที่ 4 รถยนต์โมบายระบบแบบมาตรามาตรวัดก๊าซปิโตรเลียมเหลว
 
รูปที่ 5 ชุดระบบแบบมาตรามาตรวัดก๊าซปิโตรเลียมเหลวเคลื่อนที่
 
สำหรับบางประเทศมีความสนใจไปใช้พลังงานทางเลือกอื่นเพื่อทดแทนน้ำมันเชื้อเพลิงฟอสซิลและ LPG เช่นหันไปใช้ก๊าซธรรมชาติโดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้านของเราที่อยู่รอบอ่าวไทยรวมทั้งประเทศไทย   ในประเทศเรามีผู้ขายก๊าซธรรมชาติ (NGV หรือ CNG) สำหรับยานพาหนะมีผู้เล่นเพียงผู้เดียวคือ บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) ส่วนจะแตกย่อยเป็นบริษัทลูกชื่ออะไรนั้นวันนี้ผมยังไม่ได้ตามครับแต่ก็ตามที่บอกนั้นแหละครับ   แล้วระบบแบบมาตราสำหรับตรวจสอบมาตรวัดก๊าซธรรมชาติในสถานีบริการเขาใช้อะไรกัน พบว่าเดิมทีก็ใช้วิธีการชั่งน้ำหนักแหละครับ สนนราคาค่าความดันก๊าซธรรมชาติก็อย่ที่ 290- 300 บาร์เอง   นึกถึงขวดความดันที่บรรจุก๊าซธรรมชาติแล้วจะรู้ว่ามันจะหนักขนาดไหน แต่ถ้าไม่เคยรู้ก็ลองไปยกเล่นดูครับ   ส่วนอุปกรณ์สำหรับเครื่องชั่งก็ต้องเป็นเครื่องชั่งที่กันระเบิด (Explosion Proof) และตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา และอุปกรณ์เสริม ฯลฯ ก็จะอยู่ในรูปที่ 7     นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาแบบมาตราให้เป็นกระเป๋าหิ้วได้ดังในรูปที่ 8 โดยใช้มาตรวัดแบบมาตรา   เท่าที่อ่านบทความและค้นหาข้อมูลมาตรวัดแบบมาตราสำหรับก๊าซธรรมชาติมียี่ห้อผู้ผลิตนับได้ไม่เกิน 3 นิ้ว ทั้งนี้เพราะมันต้องทดความดันสูงจริง ๆ ครับโดยประมาณ 290 บาร์ แถมแพงอีกต่างหาก
 
รูปที่ 6 ASTM D1657-89 Standard Test Method for Density or Relative Density of Light Hydrocarbons by Pressure Thermohydrometer, ASTM
 
 
 
รูปที่ 7 ชุดระบบแบบมาตราชั่งน้ำหนักเพื่อตรวจสอบมาตรวัดก๊าซธรรมชาติในสถานีบริการ (มาเลเซีย)
 
 
   
รูปที่ 8 ชุดระบบมาตรวัดแบบมาตราเพื่อตรวจสอบมาตรวัดก๊าซธรรมชาติในสถานีบริการ
 
          ปลายปี 2557 ผู้อำนวยการกองสมัยนั้นโทรถามว่ามีเงินประมาณ 10 ล้านต้องการทำโครงการอะไรหรือเปล่า  แต่ต้องทำเรื่องชี้แจงกรม และสำนักงบประมาณ    ในวันนั้นตอบว่าต้องการใช้เพราะได้เตรียมและศึกษาเพื่อทำโครงการฯ ที่จะกล่าวต่อไปนี้ในระดับหนึ่งแล้วแต่ยังไม่เสร็จสมบูรณ์เนื่องจากไม่ได้อยู่ในวงการก่อสร้างมาหลายปีมีข้อมูลบางประการไม่ครบถ้วนแต่หลักคิดแกนกลางตกผลึกแล้ว อีกทั้งพิจารณาและมองเห็นว่าหากดำเนินการเรื่องนี้แล้วประโยชน์จะก่อเกิดกับประชาชนไทยแน่นอน ส่วนเรื่องปลีกย่อยทางเทคนิคเป็นเรื่องไม่ยากค่อยว่ากันในอนาคตไม่กลัวหรือกังวลก็เดินหน้านำขบวนหนองกี่   ชนแหลกครับ   ผลหรือครับ เริ่มต้น...ตอนกลาง...และบั้นปลาย.......    555 ไม่บอกครับ   แต่ยังคงยืนยันว่ามันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนเหมือนเดิมไม่เปลี่ยน
          จึงขอนำเนื้อหาบางส่วนที่ได้ทำเรื่องชี้แจงของบประมาณฯ ถึงเหตุผลความจำเป็นและความต้องการมาลงซ้ำอีกครั้งในที่นี้
1.         เพื่อใช้ในการตรวจสอบให้คำรับรอง (Verification) และตรวจสอบระหว่างการใช้งาน (Inspection) เครื่องวัดตามสถานีบริการเชื้อเพลิงแก่รถยนต์ ภายใต้การกำกับดูแลงานด้านชั่งตวงวัด ตามพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542    ครอบคลุมกลุ่มเครื่องวัดชนิด
1.1.        มาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง ขายน้ำมันได้แก่ น้ำมันเบนซิล น้ำมันดีเซล เป็นต้น   สถานะในการตรวจสอบเป็นของเหลวที่อุณหภูมิห้อง และความดันบรรยากาศ
1.2.        มาตรวัดปริมาตรก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ขาย LPG เติมรถยนต์บุคคล รถแท็กซี่ สถานะในการตรวจสอบเป็นของเหลวที่อุณหภูมิ (ประมาณ 22-32 °C) และความดันภายในระบบท่อ (ประมาณ 3-8 Barg)
1.3.        มาตรวัดมวลโดยตรงสำหรับก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ในสถานีบริการ ขาย NGV เติมรถยนต์บุคคล รถแท็กซี่ สถานะในการตรวจสอบเป็นก๊าซที่อุณหภูมิ (ประมาณ 22-32 °C) และความดันภายในระบบท่อ (ประมาณ 300 Barg)
2.    เนื่องจากสถานะความเป็นของเหลว หรือก๊าซ ที่อุณหภูมิและความดันแตกต่างกันของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่มีขายเพื่อเติมรถยนต์อยู่นั้น ทำให้สำนักชั่งตวงวัดต้องมีแบบมาตรา (Standard) ที่มีความหลากหลาย และจำนวนหลายชิ้นงาน แตกต่างกัน 3 ประเภท ทั้งที่ติดตั้งกับรถยนต์โมบายถาวร และต้องขนเคลื่อนย้ายแบบมาตราขึ้น-ลงรถยนต์ปฏิบัติงาน
3.    การปฏิบัติงานจึงต้องจำเพาะเจาะจงว่าต้องนำแบบมาตราใดแบบมาตราหนึ่งในการเดินทางออกไปปฏิบัติราชการเพื่อใช้ในการตรวจสอบให้คำรับรอง (Verification) และตรวจสอบระหว่างการใช้งาน (Inspection) มาตรวัดตามสถานีบริการเชื้อเพลิงแก่รถยนต์ ซึ่งเป็นข้อจำกัดอย่างยิ่งในสถานการณ์กำลังเจ้าหน้าที่ลดน้อยลง   แต่เครื่องชั่งตวงวัดที่ใช้ในการตีมูลค่าสินค้าและบริการในการซื้อขายของประเทศสูงมากขึ้นตามกิจกรรมทางการค้าที่สูงมากขึ้น
4.         สำนักชั่งตวงวัดตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว จึงออกแบบให้ใช้รถยนต์ 1 คัน ให้มีขนาดเพียงพอต่อการรวบรวมแบบมาตราทั้ง 3 ประเภทเข้าด้วยกันและติดตั้งถาวรบนรถยนต์ ที่สำคัญต้องเป็นอุปกรณ์ป้องกันระเบิด (Explosion Proof) ตามมาตรฐานด้านวิศวกรรมและความปลอดภัยมาตรฐานสากล เช่น American Petroleum Institute; API , มาตรฐาน IEEE เป็นต้น เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถและทดแทนกำลังเจ้าหน้าที่มีอยู่น้อยให้ยังคงปฏิบัติงานและสามารถกำกับดูแลงานด้านชั่งตวงวัด แบ่งเป็น 3 ระบบ
4.1.        ระบบแบบมาตราชนิดถังตวงแบบมาตรา (Prover Tanks) ติดตั้งบริเวณตอนท้ายสุดของรถยนต์โมบาย เพื่อตรวจสอบให้คำรับรองและการตรวจสอบมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานีบริการประกอบด้วยถังตวงแบบมาตรา พิกัดกำลัง 5 ลิตร, 10 ลิตร, 20 ลิตร, 50 ลิตร, และ 150 ลิตร จำนวนละ 1 ถังตวงแบบมาตรา
 
 
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 9 ชุดแบบมาตราเพื่อตรวจสอบมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานีบริการ
 
4.2.        ระบบแบบมาตรามาตรวัดก๊าซ LPG (LPG Master Meter) ติดตั้งด้านคนขับรถยนต์โมบายบริเวณตอนกลางซึ่งถูกแบบออกเป็น 2 ฝั่ง
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 10 ชุดแบบมาตราเพื่อตรวจสอบระบบมาตรามาตรวัดก๊าซ LPG ตามสถานีบริการ
 
4.3.        ระบบแบบมาตรามาตรวัดก๊าซ NGV (NGV Master Meter) ติดตั้งด้านตรงข้ามกับฝั่งคนขับรถยนต์โมบายบริเวณตอนกลางซึ่งถูกแบบออกเป็น 2 ฝั่ง
 
 
 
 
 
 
รูปที่ 11 ชุดแบบมาตราเพื่อตรวจสอบระบบมาตรวัดก๊าซ NGV ตามสถานีบริการ
 
5.         แบบรถยนต์โมบาย เป็นการรวมเอา แบบมาตราทั้ง 3 มาอยู่บนรถยนต์เดียวกัน เมื่อเข้าสถานีบริการเชื้อเพลิงใช้แบบมาตรา 4.1 (ดังรูปที่ 9) เข้าปั๊มก๊าซ LPG ใช้แบบมาตรา 4.2 (ดังรูปที่ 10) เข้าปั๊มก๊าซ NGV ใช้แบบมาตรา 4.3 (ดังรูปที่ 11)   วิ่งรถยนต์โมบายเข้าถนนเส้นใดสามารถมีแบบมาตราครบตรวจได้ทุกปั๊มทุกชนิด
 
รูปที่ 12 รถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบเพื่อตรวจสอบฯ ระบบมาตรวัดฯ ตามสถานีบริการ
 
รถยนต์โมบายที่รองรับการตรวจสอบและตรวจสอบให้คำรับรองมาตรวัดที่ใช้ทั้งในสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีบริการพลังงานทางเลือกซึ่งมีจำนวนประมาณการทั่วประเทศรวมกันแล้วประมาณ20,000 สถานีบริการ (พ.ศ. 2557) คิดเป็นจำนวนหัวจ่ายประมาณ 300,000 หัวจ่าย โดยติดตั้งแบบมาตราพร้อมระบบการทำงานร่วมที่แตกต่างกันรวมอยู่ภายในที่เดียวกันและให้มีมาตรฐานความถูกต้องปลอดภัยรองรับการปฏิบัติงานและตอบสนองต่อสถานะการณ์ในปัจจุบันซึ่งบางสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงหนึ่งอาจให้บริการทั้ง 2 หรือ 3 รูปแบบคือให้บริการทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง   ก๊าซปิโตรเลียมเหลว และ/หรือก๊าซธรรมชาติ (CNG หรือ NGV) ให้ครอบคลุมทั่วประเทศไทยซึ่งข้อมูลที่เป็นปริมาณและตีเป็นมูลค่าการซื้อขายสินค้าที่เขาเรียกว่า "น้ำมันเชื้อเพลิง" ดังในตารางที่ 1. เมื่อเทียบกับงบประมาณแผ่นดินประจำปีของชั่งตวงวัดแล้วน่า…… 
 
 
 
 
ถึงเวลาที่เรามานั่งรวบรวมเครื่องมือที่มีอยู่ตั้งแต่ในข้อ 4.1 ถึง 4.3  เอาเฉพาะเรื่อง Hardware ล้วน ๆ ก่อนน่ะครับไม่ต้องคิดเรื่องการตัดสินทางเทคนิคและกฎหมายที่ต้องปฏิบัติ ตลอดจนความน่าเชื่อถือเป็นมืออาชีพเพื่อสร้างและมอบความไว้วางใจสู่สังคมประชาชนไทยน่ะครับ หรือการบริหารจัดการในด้านต่างๆ ทั้งครุภัณฑ์ การซ่อมแซม การเคลื่อนย้าย   นับดูก็หลายชิ้นอันหากรวมเป็น 1 ชิ้นไม่ดีกว่า ?    
          รถยนต์โมบายพร้อมติดตั้งระบบแบบมาตราทั้ง 3 ระบบ (ตรวจสอบมาตวัดน้ำมันเชื้อเพลิง, ก๊าซ LPG, NGV) ต่อไปเรียกสั้นๆว่า “รถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบ”
 
 
 
เมื่อผ่านความเห็นชอบ......และได้งบประมาณ....
          ก่อนจะได้เซ็นสัญญาจ้างกันนั้น     เจอมาเยอะครับทั้งปัญหาทางบริหารผลประโยชน์ ก็ต้องประสานผลประโยชน์   ทั้งในปัญหาทางเทคนิค ก็ต้องประสาน   ทั้งปัญหาประสานงาน เราก็ต้องประสานงาน   แต่ที่แน่ๆ 3 เสือที่ร่วมกันทำงานภาพรวมแล้วผมพอใจมากครับ ใกล้เคียงกับจิตนภาพที่มีในหัวผมครับ
 
 
ก. มาตรวัดปริมาตรของเหลวผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม หรือมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานีบริการ
          มาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานีบริการ ซึ่งขายน้ำมันเชื้อเพลิง ได้แก่ น้ำมันเบนซิล น้ำมันดีเซล เป็นต้น   สถานะของไหลในระบบท่อในการตรวจสอบให้คำรับรอง และตรวจสอบระหว่างการใช้งานมีสถานะ “ของเหลว” ที่อุณหภูมิห้อง และความดันบรรยากาศ   ส่วนหลายคนอาจสับสนในบางวันบางเวลาว่าสิ่งใดเรียก “น้ำมันเชื้อเพลิง”   ก็ขอให้ดูนิยามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543. (ขอร้องไม่ต้องไปหาวิญญูชนที่ไหนมาตีความหมายน่ะครับ. มีกฎหมายบัญญัติไว้แล้ว.)
 
 
 
เมื่อไม่นานมานี้มีพลวัตรทางสังคมและการแก้ไขระดับราคาของพืชเศรษฐกิจจึงได้นำน้ำมันปาล์มมาใช้เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงทางเลือกเกิดเป็น “จุดแบ่งปันน้ำมันปาล์ม” ดังนั้นตราบใดที่กระทรวงพลังงานฯ ไม่ประกาศน้ำมันปาล์มเป็นน้ำมันเชื้อเพลิง มาตรวัดน้ำมันปาล์มที่ใช้ตีมูลค่าสินค้าในการซื้อขายน้ำมันปาล์มก็ไม่อยู่ภายใต้กฎกระทรวงพาณิชย์ฯ พ.ศ. 2546 ฉบับเทคนิคฉบับเดิม แต่เมื่อมีการยกเลิกกฎกระทรวงฯ ฉบับเทคนิคดังกล่าวปรับเปลี่ยนเป็นประกาศกระทรวงฯ  พ.ศ. 2562 ฉบับเทคนิคฉบับใหม่ ถึงไม่ใช่น้ำมันเชื้อเพลิงก็ตามแต่เป็นน้ำมันที่ได้จากพืช ตอนนี้มาตรวัดน้ำมันปาล์มที่ใช้ตีมูลค่าสินค้าในการซื้อขายน้ำมันปาล์มที่จุดแบ่งปันดังกล่าวต้องได้รับการตรวจสอบให้คำรับรองก่อนใช้ซื้อขายสินค้าหรือน้ำมันปาล์มตามพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542
กลุ่มเป้าหมายในการออกแบบระบบแบบมาตราสำหรับตรวจสอบให้คำรับรองและตรวจสอบระหว่างการใช้งานสำหรับมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานีบริการเท่าที่สำรวจสอบถามข้อมูลแล้วจะมีค่าอัตราการไหลสูงสุดต่ออัตราการไหลต่ำสุดอยู่ในอัตราส่วน 10 : 1  เป็นส่วนใหญ่ หรือตาม OIML Recommendation R117
 
 
น้ำมันเชื้อเพลิง (ของเหลว)
กลุ่ม 1
กลุ่ม 2
กลุ่ม 3
Max. flowrate (l/min)
100
80
50
Min. Flowrate (l/min)
10
8
5
ตารางที่ 2 ช่วงอัตราการไหลของมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานีบริการ
 
จากการสำรวจเบื้องต้นตู้จ่ายน้ำมันฯส่วนใหญ่ประกอบด้วยมาตรวัดฯ มีอัตราการไหลอยู่ในช่วง 8 - 80 l/min แต่สภาวะการทำงานจริงน่าจะอยู่ที่ 15-20 l/min (~16 kg/min; Base on 0.8 kg/l) เสียเป็นส่วนใหญ่
นอกจากนั้นเพื่อให้รอบครอบและวางแผนให้ขอบเชตงานให้ครอบคลุมถึงตู้จ่ายน้ำมันเรือประมงที่อยู่ตามแพปลาที่อาจใช้มาตรวัดปริมาตรของเหลวขนาด 1 – 1 ½ นิ้ว โดยประมาณ รวมทั้งตู้จ่ายที่ออกแบบเพื่อใช้จ่ายน้ำมันรถยนต์บรรทุกโดยตรงซึ่งจะมีขนาดท่อ Hose อยู่ที่ ¾ นิ้ว และมีอัตราการไหลสูงสุดอยู่ที่ 100 - 120 ลิตร/นาที
 
ภายใต้เงื่อนไข
1.       ระบบมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานีบริการที่ชั้นความเที่ยง 0.5   ซึ่งมีอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด 0.5% ของปริมาตรทดสอบ
2.       เลือกแบบมาตราชนิด “ถังตวงแบบมาตรา” หน่วยวัดเป็น “ลิตร” และจัดให้ระบบตรวจสอบฯ ดังในรูปที่ 13
รูปที่ 13 ระบบตรวจสอบให้คำรับรองมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานีบริการด้วยถังตวงแบบมาตรา
 
3.       อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของถังตวงแบบมาตรา (Prover Tanks หรือบางครั้งอาจเจอว่า Proving Tank หรือ Tank Prover)
3.1.        MPEProver Tank £1/3 * MPEmeter
3.2.        MPEProver Tank = 1/2000 Prover Tank Capacity
4.       การออกแบบขนาดคอถังตวงแบบมาตรา (ตารางที่ 3 และตารางที่ 4)
เมื่อ       
Dh = ความแตกต่างของระดับของเหลวภายในคอถังตวงแบบมาตรา (mm.)
MPE.= อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด (Maximum Permissible Error); DV (mm.3)
 
5.       รองรับปริมาตรของเหลวเมื่อทดสอบระบบมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงที่อัตราการไหลทดสอบครอบคลุมตั้งแต่ Qmin,  0.1Qmax,  0.16Qmax,  0.25Qmax,  0.4Qmax,  0.63Qmax,  Qmax
6.       รูปแบบการปิดเปิดหรือลั่นไกวาล์วหัวจ่ายของตู้จ่ายในแต่ละอัตราการไหลทดสอบ (ดูรูปที่ 14)
 
 
รูปที่ 14 การควบคุมอัตราการไหลทดสอบให้คงที่ในขณะทดสอบที่อัตราการไหลที่ค่าคงที่แต่ละค่า
 
 
          ผลของการคำนวณอย่างนั้นคำนวณอย่างนี้สอบถามคนจัดสร้างมืออาชีพตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ที่มีอยู่ในท้องตลาดและเงื่อนไขปลีกย่อยเทคนิคอีกนิดหน่อยจึงสรุปได้ว่าเราควรมีถังตวงแบบมาตราลักษณะรูปร่างดังในรูปที่ 15 โดยมีจำนวนและพิกัดกำลัง (capacity) ได้ว่า
 
ตารางที่ 3 พิกัดกำลังถังตวงแบบมาตราและขนาดคอถัง
พิกัดกำลังถังตวง
แบบมาตรา
(ลิตร)
จำนวน
ระยะโดยประมาณ
ขนาดคอ
(นิ้ว)
ขนาดท่อระบายของเหลว (Drain)
(นิ้ว)
ขนาดท่อระบายอากาศ (Vent)
(นิ้ว)
5
10
20
50
150
1
1
1
1
1
1 ½ -2
2- 2 ½
2 ½ - 3
3 ½ - 4
8
¾ - 1
¾ -1
1 -1 ½
1 ½
1 ½
½ - 1
½ - 1
1
1 ½
1 ½
 
 
ตารางที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างพิกัดกำลังถังตวงแบบมาตราและส่วนแสดงค่า
พิกัดกำลังถังตวง
แบบมาตรา
(ลิตร)
ขั้นหมายมาตรา
อ่านละเอียดน้อยสุด
(มล.)
ขั้นหมายมาตราหลัก
(มล.)
แสดงปริมาตรมากกว่าหรือน้อยกว่า
พิกัดความจุถังตวงแบบมาตราอย่างน้อย
(มล.)
5
10
20
50
150
5
10
20
50
100
10
50
100
100
500
±75
±100
±150
±250
±500
 
 
 
ระบบแบบมาตราสำหรับตรวจสอบให้คำรับรองและตรวจสอบระหว่างการใช้งานสำหรับมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานีบริการเป็นแบบมาตราที่ไม่ต้องใช้เทคโนโลยีสูง ประกอบกับมีตัวอย่างชุดถังตวงแบบมาตราที่ได้รับความช่วยเหลือจาก PTB จากโครงการ “Upgrading Legal Metrology in Thailand” มาเป็นตัวอย่างเราก็สามารถจัดสร้างได้รูปร่างหน้าตาแต่ละถังดังในรูปที่ 16 และรูปที่ 17   เราไม่เก่งหลอกเพียงแต่เลือกที่จะลอกเลียนแบบให้เหมาะกับประเทศของเราก็เท่านั้น   ถือว่าจบเรื่องถังตวงแบบมาตราสำหรับใช้ตรวจสอบให้คำรับรอง (Verification) และตรวจสอบระหว่างการใช้งาน (Inspection) ตามบทบาทหน้าที่ชั่งตวงวัดภายใต้รับผิดชอบงานด้านชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมาย (Legal Metrology) ของราชอาณาจักรไทยไปเรื่องหนึ่ง แต่หากนึกอะไรได้ค่อยๆ พิมพ์เพิ่มทีหลังแล้วกัน
สำหรับผู้ที่มีความสนใจหรือต้องการเรียนรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับถังตวงแบบมาตราสามารถศึกษาใน www.cbwmthai.org หัวข้อ “EBooks” เรื่อง “การคำนวณผลการสอบเทียบทางด้านปริมาตร (ฉบับปรับปรุง) 2558”
 
 
รูปที่ 15 ถังตวงแบบมาตราเพื่อตรวจสอบมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานีบริการ ท่อทางเข้าจุ่มลงถึงก้นถังเสมือนอยู่ในรูปแบบ Bottom Load
 
 
 
รูปที่ 16 เริ่มเป็นรูปเป็นร่างถังตวงแบบมาตราฯ
 
 
 
   
รูปที่ 17 ชุดถังตวงแบบมาตราตรวจสอบมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานีบริการของชั่งตวงวัด
 
 
          เมื่อมองดูรูปที่ 17 ทำให้นึกถึงเรื่องหนึ่งทำให้คิด นั้นคือได้ยินมาแว่วๆ ว่ามีตู้จ่ายรุ่นหนึ่งของยี่ห้อหนึ่งได้รับการออกแบบและผลิตที่ประเทศจีนซึ่งรองรับ Back Pressure ได้ต่ำมากทำให้ผลการวัดผิดคือจะมีค่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดสูงกว่าที่กฎหมายชั่งตวงวัดกำหนดเมื่อทำการจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยปลายหัวจ่ายอยู่ในตำแหน่งที่สูงประมาณตำแหน่งติดตั้งอุปกรณ์ Breakaway ของตู้จ่ายฯ ดังนั้นถือเป็นตู้จ่ายที่ไม่ดีไม่มีมาตรฐานเดียวกับตู้จ่ายทางยุโรป (ถือเป็นความเห็นส่วนตัวของผมก็แล้วกัน) ไม่รู้ยังมีขายอยู่หรือเปล่าตู้จ่ายรุ่นนี้   เพราะอะไรหรือครับเพราะชุดถังตวงแบบมาตราจาก PTB ก็อยู่ในตำแหน่งสูงในระดับประมาณใกล้เคียงกับชุดถังตวงแบบมาตราที่เราติดตั้งบนรถยนต์เช่นกันแต่ประเทศเยอรมันเขาคงไม่มีตู้จ่ายคุณภาพต่ำรุ่นที่ว่ามาขายในเมืองไทย   ฝาก ปตท. ก่อนยอมรับตู้จ่าย Model ใดมาใช้ในสถานีบริการฯ ลองจ่ายน้ำมันให้หัวจ่ายอยู่ในตำแหน่งสูงดูครับ Back Pressure พอเหมาะหากให้ผลการวัดปริมาตรผิดก็อย่าสั่งเข้ามาใช้เลย เพราะ Back Pressure มีผลต่อความเที่ยงและความน่าเชื่อถือของระบบมาตรวัดของเหลวปิโตรเลียมครับ ประกอบกับในต่างจังหวัดประชาชนที่อยู่ลึกเข้าไปในพื้นที่ห่างไกลจากตัวเมืองก็จะรวมตัวกันขนถัง 200 ลิตรหลายๆถังวางท้ายรถยนต์กระบะ 1 ตัน ขับออกมาเติมน้ำมันเพื่อเอาไปใช้ในพื้นที่ห่างไกลเป็นระยะ ๆ ถ้าดูให้ดีแล้วระดับความสูงของถัง 200 ลิตรที่วางอยู่บนรถยนต์กระบะ 1 ตันก็สูงอยู่น่าและน่าจะอยู่ในระดับเดียวกับชุดถังตวงแบบมาตราบนรถยนต์โมบายฯ    และนี้เงื่อนไขการออกแบบเพื่อการทดสอบการใช้งานให้ครอบคลุมกิจกรรมทางสังคมที่เครื่องชั่งตวงวัดในท้องตลาดต้องรองรับกิจกรรมทางสังคมนั้นๆได้
          ก่อนเริ่มทำงานต้องให้ความใส่ใจเรื่องความปลอดภัยเสมอ สิ่งที่ต้องทำ ย้ำว่าต้องทำ   นั้นคือให้ลากสายกราวด์ที่อยู่ในขดม้วนติดตั้งถาวรไว้บนรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบ (ดูรูปที่ 18) มาคีมเข้ากับระบบกราวด์ของตู้จ่ายน้ำมันทุกครั้งก่อนเริ่มทำงานใดๆ เสมอ ทั้งนี้ให้รวมทั้งการทำงานที่ต้องเกี่ยวข้องทั้งตู้จ่าย LPG และตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV)  ด้วยเสมอเพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตย์ซึ่งเป็นปัจจัยหรือสาเหตุที่ก่อให้เกิดการระเบิดหรือจุดติดไฟน้ำมันเชื้อเพลิง, LPG และก๊าซธรรมชาติ (อยากรู้เรื่องการจุดติดไฟของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมให้ไปอ่านบทความใน “สาระน่ารู้ชั่งตวงวัด” ใน www.cbwmthai.org หัวข้อ “ขอบเขตของการจุดติดไฟ (EXPLOSIVE LIMITS)” และ “พื้นที่อันตราย (HAZARDOUS AREA CLASSIFICATION)”)
 
 
 
รูปที่ 18 สายกราวด์ที่มีประจำแต่ละชุดแบบมาตรา เพื่อป้องกันไฟฟ้าสถิตย์
 
          ในการทำงานตรวจสอบให้คำรับรอง (Verification) หรือตรวจสอบระหว่างการใช้งาน (Inspection) มาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานีบริการ   ให้เราจับคู่ระหว่างอัตราการไหลของระบบมาตรวัดฯกับพิกัดกำลังของถังตวงแบบมาตรากันไปเลยครับ   ดังตัวอย่างในตารางที่ 5
 
ตารางที่ 5 ตัวอย่างการเลือกอัตราการไหลทดสอบให้เหมาะสมกับพิกัดกำลังถังตวงแบบมาตรา
พิกัดกำลังถังตวงแบบมาตรา
(ลิตร)
อัตราการไหลทดสอบ
(ลิตร/นาที)
Qmax  = 80 l/min
Qmin  = 8 l/min
5
10
20
50
150
Emin
Qmin - 0.16 Qmax
0.25 Qmax - 0.4 Qmax
0.63 Qmax – 0.8 Qmax
Qmax
2- 5
8
20
48
80
 
    
          ประเด็นที่ว่า :  อ้าวเราปรับอัตราการไหลอย่างไร เท่าที่ทราบเมืองนอกเขาทำ “ลิ่มไม้” สอดเข้าไปในระหว่างไกปืนหัวจ่ายเพื่อทำการปรับอัตราการไหลที่หัวจ่าย นอกจากนี้ที่หัวจ่ายก็มี Three Position Clip ของไกปืนน่าจะพอใช้สิ่งนั้นไปก็ได้ (ดูรูปที่ 19)   ถ้าไกปืน Step แรกมันให้อัตราการไหลค่าใดก็ปรับขนาดถังตวงแบบมาตราให้มีพิกัดกำลังเพียงพอต่อการรองรับอัตราการไหล 1 นาที  ให้ยืดหยุ่นกันไป   หรือแรกเริ่มงานก็เลือกถังตวงแบบมาตรา 50 ลิตรแล้วบีบไกหัวจ่ายฯ ให้เปิดเต็มที่ไปเลยจากนั้นจับเวลาเพื่อหาอัตราการไหลสูงสุดของระบบมาตรวัดปริมาตรน้ำมันฯ   ก่อนวางแผนปรับอัตราการไหลที่ลดลงที่ละ Step อย่างไร ดังนั้นในการทำงานทุกคนชั่งตวงวัดต้องมีไหวพริบปฏิภาณในการประยุกต์เทคนิคเพื่อให้สามารถทำงานให้ลุลวงไป เราเชื่อเช่นนั้น...
 
 
 
 
รูปที่ 19 ชุด Automatic Shut-Off Vacuum Valve ของตู้จ่ายมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานีบริการ
 
          ปกติแล้วระบบมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานีบริการนั้นมีระบบส่งจ่ายน้ำมัน 2 ระบบหลักคือแบบปั๊มรวมซึ่งจุ่มลงในถังสำรองน้ำมันใต้ดิน (รูปที่ 20 ทางขวามือ และรูปที่ 21)  กับปั๊มอิสระติดตั้งประจำแต่ละตู้จ่าย (รูปที่ 20 ทางซ้ายมือ)
          ในการตรวจสอบฯ มาตราวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงนั้นเราต้องดำเนินการทดสอบด้วยอัตราการไหลคงที่ในแต่ละรอบโดยให้มีหลักการและรูปแบบการไหลตามรูปที่ 14   แต่ในทางปฏิบัติพบว่าไม่สามารถทำให้อัตราการไหลไหลให้คงที่ได้ถ้าหากระหว่างการตรวจสอบฯ สถานีบริการยังคงให้บริการขายน้ำมันฯอยู่ เนื่องจากหากระบบปั๊มสูบจ่ายน้ำมันเข้าตู้จ่ายเป็นแบบตามรูปที่ 21  อัตราการไหลจากปั๊มจะถูกแบ่งส่งจ่ายไปยังทั้งตู้จ่ายที่กำลังตรวจสอบฯ โดยชั่งตวงวัดและตู้จ่ายที่กำลังขายน้ำมันเชื้อเพลิง    ในประเทศที่เจริญแล้วหรือปั๊มที่มีมาตรฐานจะมีการติดตั้ง Invertor เพื่อปรับรอบมอเตอร์ Submersible Turbine Pump ให้สามารถปรับเปลี่ยนอัตราการไหลส่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้จ่ายด้วยอัตราการไหลคงที่ไม่ว่าจะจ่ายพร้อมกันกี่ตู้จ่ายก็ตาม    แต่ถ้าหากเลือก Submersible Turbine Pump แบบรอบคงที่ก็แม่ช้อยเก็บฉาก..กลับบ้านเถอะลูก...อยู่ดี  ในเมืองไทยคิดว่ายังไม่เจอมาตรฐานการติดตั้งดังกล่าวเท่าที่ทราบ...แต่หากสถานีบริการใดมีการติดตั้ง Invertor เพื่อปรับรอบมอเตอร์ Submersible Turbine Pump เพื่อให้สามารถส่งจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงด้วยอัตราการไหลคงที่ก็ขอขอบคุณครับ ดีต่อใจครับ       ดังนั้นชั่งตวงวัดบางคนอาจบ่นว่ากดกลปืนแล้วอัตราการไหลมันไม่คงที่ขึ้นๆลงๆ เลยอย่าทำมันเลยเอาเป็นว่าไปตั้งค่าที่หน้าจอให้มันจ่าย 10 ลิตร จากนั้นจ่อปืนลงถังตวงแบบมาตรา 10 ลิตร ถ้าจ่ายถูกต้องก็แสดงว่ามาตรวัดฯ มันมีความเที่ยงตรงถูกต้องตามกฎหมายชั่งตวงวัด    ปัดโถ่....นั้นมันเป็นการทดสอบ Presetting Device ของตู้จ่ายไม่ใช่ทดสอบ Accuracy Test เพื่อ Performance Curve ของระบบมาตรวัดปริมาตรเชื้อเพลิงว่าอยู่ในชั้นความเที่ยง 0.5 หรือไม่       ปวดหัว..ล่าง Chip Loss… (แกล้งบ่นตามประสาคนหนุ่มน่ะ 555)
 
รูปที่ 20 ระบบปั๊มส่งจ่ายน้ำมันของตู้จ่ายมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานีบริการ
 
 
             
 
รูปที่ 21 ระบบปั๊ม Submersible Turbine Pump ส่งจ่ายน้ำมันจากถังสำรองน้ำมันใต้ดินเพื่อส่งแจกจ่ายไปยังตู้จ่ายฯ มากกว่า 1 ตู้
 
          พิจารณารูปที่ 22   เราจะเห็นการว่าได้ตั้งใจออกแบบระบบถังตวงแบบมาตราทั้งชุดให้จัดเรียงและการจัดสร้างถังตวงแบบมาตราเรียงจากซ้ายไปขาวมือ เริ่ม 5 – 10 – 20 – 50 – 150 ลิตร อีกทั้งยังกำชับให้เสือตัวที่ 1 ออกแบบและพยายามสร้างและปรับระดับให้ทุกถังตวงแบบมาตราให้ขีดแสดงพิกัดกำลังตรงกันในระดับเดียวกัน ก็เพื่ออยากปรับให้เป็น “จอจินตภาพแสดง Performance Curve” ของระบบมาตรวัดปริมาตรเชื้อเพลิงว่าอยู่ในชั้นความเที่ยง 0.5  เพราะอะไรหรือครับ   เพราะหากชั่งตวงวัดคนนั้นทำงานและคลุกคลีกับชุดถังตวงแบบมาตรานี้ผ่านไประยะเวลาหนึ่งจนมีทักษะและเชี่ยวชาญขึ้นและหากมันใจว่าเลือกอัตราการไหลของระบบมาตรวัดฯ เหมาะสมกับขนาดพิกัดกำลังถังตวงแบบมาตราและ ฯลฯ แล้ว   สามารถตัดสินใจได้เลยว่าระบบมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงนี้ผ่านหรือไม่ผ่านการตรวจสอบฯ หรือใกล้ต้องทำการซ่อม และ ฯลฯ  “Skill” มันต้องแลกมาด้วย “เหงื่อ” เสมอ
 
 
รูปที่ 22 จอจินตภาพแสดง Performance Curve ของระบบมาตรวัดปริมาตรเชื้อเพลิง
 
          และที่ทราบปัญหาอุปสรรคหนึ่งว่าในวันเก่าๆ ไปตรวจปั๊มน้ำมันแต่ละครั้งเจ้าของปั๊มมีน้ำใจเลี้ยงน้ำดื่ม 1 ขวดจนในปัจจุบันยืนคอแห้งไปเถอะถ้าทนไม่ไหวก็เข้าไปซื้อในร้านเอาเอง   555 ไม่ใช่ครับหยอกเล่น   ปัญหาอุปสรรคที่เจอเมื่อเข้าไปตรวจสอบระหว่างการใช้งานนั้นคือ การนำน้ำมันเชื้อเพลิงในถังตวงแบบมาตราเมื่อทำงานแล้วเสร็จคืนกลับลงถังสำรองน้ำมันใต้ดินนั้นไม่มีลูกจ้างมาช่วยยกไปเทให้ หรือเทให้แต่ช้ามากสงสัยเมื่อคืนหนักไปหน่อย   เป็นเราคิดในใจหากไม่อยากยกกลับไปทิ้งคืนกลับลงถังน้ำมันสำรองใต้ดินละก็ตูยกเองก็ได้ได้แต่ไปเทลงถังน้ำมันรถยนต์ตูก็แล้วกัน ให้รู้รอดไป 555... (แค่คิดก็ผิดแล้ว...)  เราก็ออกแบบให้มีถังสำรองจำนวน 1ถังใต้ถังตวงแบบมาตราให้มีความจุสักรอบ 2 รอบทำงานเพื่อเป็นแก้มลิงในการทำงาน (ดูรูปที่ 22)   และทำเป็นแผน 2 หากทางสถานีบริการไม่ให้ความร่วมมือ (ซึ่งไม่ปฏิบัติตาม พรบ. มาตราชั่งตวงวัด พ.ศ.ซ 2542 มาตรา... ไปเปิดอ่านเถอะว่ามีจริงๆ เพราะตอนหิ้วกระเป๋าตาม ผอ. เมื่อ พ.ศ 2538-2539 กำนันท่าข้าว...ถล่มชั่งตวงวัดเสียเละเลยเมื่อถึงมาตรานี้ ในชั้นอนุกรรมาธิการ) ก็ให้ขับรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบไปใกล้ท่อทิ้งกลับน้ำมันลงถังสำรองใต้ดิน แล้วจัดการต่อ Rubber Hose ที่จัดไว้ให้ขดเป็นวงล้อข้างๆ 1 เส้นแล้วยาวเหลือพอทิ้งกลับไปด้วยการไหลแบบแรงโน้มถ่วงโลก (ใช้ธรรมชาติ...เสียให้เข็ด เดียวใช้ไฟฟ้า หรือไฮดรอริกมันก็เปลืองสตางค์และอาจไม่ปลอดภัย) ก็เท่านั้น ไม่ต้องทะเลาะหรือพูดให้เสียน้ำใจกัน   ได้ปฏิบัติหน้าที่ลุล่วงแล้ว.. เราก็จากไป... เพียงทิ้งรอยเท้าไว้....   แต่ถ้าผิด พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542   ก็ดำเนินการตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ด้วยใจที่เป็นธรรม แล้วเดินทางออกจากปั๊ม ด้วยเสียง &%$$#&*#๑#*@2 ตามมา 55555
รูปที่ 23 มาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง และส่วนปรับปริมาตร
 
 
 
 
 
รูปที่ 24 ต้องซีลตัวแปลงรอบการหมุนของมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงไปเป็นสัญญาณพัลส์
 
          สำหรับการร้อยลวดผูกซีลระบบมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง   อย่าเพียงสนใจแต่ตัวมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงเท่านั้น (รูปที่ 23)  ในส่วนที่แปลสัญญาณกลไกการหมุนให้เป็นสัญญาณพัลส์ไฟฟ้าเพื่อนำไปประมวลผลแสดงผลการวัดก็ต้องร้อยลวดผูกซีลด้วย (รูปที่ 24) เนื่องจากสิ่งที่ชั่งตวงวัดกำกับดูแลคือระบบมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงซึ่งประกอบด้วยอะไรไปอ่านประกาศกระทรวงฯ เอง และมีอายุคำรับรองระบบมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง 2 ปี เพราะเป็นเครื่องชั่งตวงวัดติดตรึงกับที่และมีผลกระทบต่อเศรษฐกิจสังคมและความมั่นคงของประเทศสูงมาก    ใครบอกว่า 2 ปีมันนานไปเอาลดเหลือ 6 เดือนดีกว่า แต่บางคนบอกว่า 2 ปีมันเร็วไปน่าจะยืดเวลาออกไปอีก 6 เดือนเป็น 2 ปี 6 เดือน   เถียงกันไปเถอะไอ้น้องแต่ที่แน่ ๆ ขอให้กลับไปดูข้อมูลให้แน่ใจก่อนก็ค่อยๆว่านะว่ามันมีกี่หัวจ่ายที่ยื่นตรวจสอบให้คำรับรอง “ชั้นหลัง” ก่อน 2 ปี   การทำงานต้องอยู่บนข้อเท็จจริง
          เพื่อให้ชั่งตวงวัดเดินทางกลับออกจากปั๊มด้วยความปลอดภัยจึงขอให้คำแนะนำว่าในการทำงานตรวจสอบระบบมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงขอให้เริ่มกับระบบฯ ที่เป็นน้ำมันเบาพวกน้ำมันเบนซิลซึ่งไวไฟระเบิดได้ง่ายที่สุด และให้เลือกเอาระบบฯ ที่เป็นน้ำมันดีเซล หรือน้ำมันปาล์มเป็นตัวปิดท้ายรายการซึ่งมีจุดติดไฟสูงกว่ามาก เพื่อความปลอดภัยไม่ใช่ออกจากปั๊มแล้ววิ่งรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบไปมีการจุดคบเพลิงสีแดงวาบๆท้ายรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบไปด้วย   แต่เราได้เลือกรถเครื่องยนต์ดีเซลแล้วน่ะไม่มีประกายไฟจากรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบแน่นอน แต่จากปลายก้นบุหรี่ใครไม่ทราบได้.. เล่นกับ “วัตถุไวไฟ” ก็ขอให้ขับรถอย่าเป็น “วัตถุไปไว” เสียละ ในเป็นรถบรรทุกเล็ก
          สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงในสถานีบริการมีให้อ่านทั้งใน OIML R117 และเอกสารที่ชั่งตวงวัดได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆจัดฝึกอบรมมากมาย อีกทั้งได้จัดทำคู่มือ “SOP-VER-101: ขั้นตอนการปฏิบัติงานตรวจสอบให้คำรับรองมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานีบริการ”   สามารถไปหาอ่านใน www.cbwmthai.org ในส่วนของ E-Book
          งานจัดสร้างถังตวงแบบมาตรามีรายละเอียดปลีกย่อยเยอะไม่ขอกล่าวในที่นี้แต่เราไว้ใจเสือตัวที่ 1 ที่เราคิดและถ่ายทอดความต้องการของเราให้เขาไปดำเนินการได้   และเสือตัวที่ 1 ต้องมีกิจกรรมร่วมกับเสืออีกตัว 2 ซึ่งจะกล่าวต่อไป
 
 
 
ข. มาตรวัดปริมาตรก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ตามสถานีบริการ
ระบบมาตรวัดฯ ที่ใช้กับพลังงานทางเลือกในที่นี้คือ มาตรวัดปริมาตรก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ขาย LPG เติมรถยนต์บุคคลและรถแท็กซี่ เป็นต้น   สถานะก๊าซ LPG ในระบบมาตรวัดฯ มีสถานะเป็นของเหลวที่อุณหภูมิประมาณ 22 - 32°C และความดันภายในระบบมาตรวัดฯ ขณะทำงานประมาณ 3 - 8 Barg    ตามพระราชบัญญัติการค้าน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติควบคุมน้ำมันเชื้อเพลิง พ.ศ. 2542 ซึ่งบัญญัติและนิยามน้ำมันเชื้อเพลิงที่เหมือนกัน ได้กำหนดให้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นน้ำมันเชื้อเพลิงดังนั้นมาตรวัดปริมาตรก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) จึงต้องได้รับการตรวจสอบให้คำรับรองตามพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 และถูกจัดอยู่ในชั้นความเที่ยง 1.0 นั้นหมายความว่าระบบมาตรวัดฯ ยอมให้มีผลผิดด้วยอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดได้ไม่เกิน ±1.0% ของปริมาตรทดสอบ
กลุ่มเป้าหมายในการออกแบบระบบแบบมาตราสำหรับตรวจสอบให้คำรับรองและตรวจสอบระหว่างการใช้งานสำหรับมาตรวัดปริมาตรก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามสถานีบริการ ดังตารางที่ 6
 
 
LPG
l/min
kg/min
Max. flowrate
60
31.8
Min. Flowrate 
10
5.3
หมายเหตุ :บนเงื่อนไข Operating Pressure 8- 10 Barg, Density @30°C = 0.53 g/l
ตารางที่ 6 ช่วงอัตราการไหลของมาตรวัดปริมาตรก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามสถานีบริการ
 
          จากการสำรวจในเบื้องต้นตู้จ่าย LPG ส่วนใหญ่ทำงานภายในช่วงอัตราการไหลระหว่าง 10 - 60 l/min ที่สภาวะการทำงานปกติ : ความดันใช้งานของ LPG ประมาณ 7-10 barg ด้วยอัตราการไหลประมาณ 12 - 25 l/min หรือ 6 - 12 kg/min (~10 kg/min)
          เมื่อนิ้วจิ้ม keyboard มาถึงตรงนี้ และทุกครั้งที่เราพูดถึงมาตรวัดปริมาตรก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ผมต้องสะดุดใจและอึดอัดใจ อารมณ์กระเพื่อมทุกครั้งไป ด้วยเหตุที่ว่าก๊าซปิโตรเลียมเหลวมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับของเหลวผลิตภัณฑ์ทางปิโตรเลียมโดยทั่วไปในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงปริมาตรตามความดันและอุณหภูมิของ LPG  การสั่งตู้จ่ายปริมาตรหรือระบบมาตรวัดปริมาตรก๊าซ LPG นั้นเป็นการนำเข้าตู้จ่ายจากต่างประเทศและในต่างประเทศจะมีอุปกรณ์ที่ครบถ้วนสมบูรณ์โดยเฉพาะเครื่องชดเชยอุณหภูมิอัตโนมัติ (Temperature Compensator) ซึ่งจะทำหน้าที่ชดเชยและปรับค่าและแสดงผลปริมาตรการส่งจ่ายก๊าซ LPG ให้สอดคล้องกับอุณหภูมิของ LPG เพราะในต่างประเทศอุณหภูมิตลอดทั้งปีจะเปลี่ยนแปลงและแตกต่างกันสูงดังนั้นจึงมีช่วงความแตกต่างอุณหภูมิสูงมากเมื่อเทียบกับค่าอุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี   หน่วยงานรัฐของประเทศที่เจริญแล้วจึงกำหนดอุณหภูมิพื้นฐานที่ 15 °C สำหรับการซื้อขาย LPG นั้นคือไม่ว่าวันใดฤดูใดอุณหภูมิก๊าซ LPG ณ ขณะนั้นที่วัดได้จริงเท่าไหร่ก็ตามก็ต้องปรับไปเป็นค่าปริมาตร LPG  ที่อุณหภูมิพื้นฐานที่ 15 °C ทุกกิจกรรมการค้าซื้อขายทุกครั้ง     แต่เมื่อพ่อค้าในเมืองไทยไม่ทราบอย่างไรเวลาสั่งตู้จ่ายก๊าซ LPG มาใช้ในเมืองไทยก็จะตัดเครื่องชดเชยอุณหภูมิอัตโนมัติ (Temperature Compensator) ออกไป หรือถ้าหากมีติดเครื่องมาก็ไปทำให้มันไม่ทำงานเสียเฉยเลยโดยอ้างว่ากฎหมายในประเทศไทยไม่กำหนดให้อุณหภูมิพื้นฐานการซื้อขายก๊าซ LPG   ซึ่งหากใครคำนวณปริมาตรก๊าซ LPG เป็นจะทราบได้เลยว่าอุณหภูมิต่างกัน 3 - 5 °C มันให้ผลต่างของปริมาตรก๊าซ LPG ที่มีการซื้อขายตามสถานีบริการบางปั๊มสามารถซื้อรถยนต์นั่งส่วนบุคคลได้ภายใน 1 เดือนเลยล่ะ ส่วนจะเป็น Toyota หรือ Mercedes-Benz ก็ว่ากันไป   ด้วยเหตุนี้จึงขอแจ้งให้ทราบว่าตู้จ่าย LPG ที่ใช้ซื้อขายต่อไปนี้ต้องมีเครื่องชดเชยอุณหภูมิอัตโนมัติ (Temperature Compensator) เพื่อปรับปริมาตรการซื้อขาย LPG ที่อุณหภูมิพื้นฐาน 15 °C ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์ฯ พ.ศ. 2562 (รูปที่ 25)
          แต่ในวันนี้ถ้าหากไม่อยากวุ่นวายต้องมี Temperature Compensator ก็เปลี่ยนตู้จ่ายโดยใช้มาตรวัดมวลคออริออริส (Coriolis Mass Flowmeter) ไปเลยคือขาย LPG ในหน่วยกิโลกรัม เช่นเดียวกับก๊าซธรรมชาติไปเลย   เนื่องจากเทคโนโลยีได้พัฒนาและสามารถรองรับงานด้านนี้อยู่พร้อมแล้วเพียงรอบริบทในสังคมยอมปรับเปลี่ยน หรือหากต้องการให้รัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ออกกฎกระทรวงฯ อาศัยอำนาจตามมาตรา 10 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ให้การซื้อขายก๊าซ LPG ให้อยู่ในรูปแบบการชั่งน้ำหนัก ?      นอกจากนี้เท่าที่ทราบ พบว่าการซื้อขาย LPG ทางรถยนต์บรรทุกต้นทางจาก Byproduct ของโรงกลั่นนั้นได้มีการซื้อขายในราคาขายส่ง (Wholesale) กันในรูปแบบการชั่งน้ำหนักกิโลกรัมอยู่แล้ว   ดังนั้นหากจะมีการซื้อขาย LPG ตั้งแต่ต้นทางจนถึงปลายทางถึงผู้บริโภคซึ่งเป้นการขายปลีก (Retail) เป็นหน่วยน้ำหนักก็ไม่แปลก อีกทั้งไม่ต้องยุ่งยากในการติดตั้ง Temperature Compensator และอุปกรณ์ประมวลผลให้วุ่นวาย  การคำนวณต้นทุนและการค้าก็ไม่ต้องคำนวณกลับไปกลับมาว่าวันนี้จะใช้ค่าปริมาตรของก๊าซ LPG เท่ากับ 0.53 x น้ำหนักกิโลกรัม   วันพรุ่งนี้ ปริมาตรของก๊าซ LPG เท่ากับ 0.57 x น้ำหนักกิโลกรัม และวันต่อๆไป.....   อีกครั้งเทคโนโลยีมาตรวัดมวลโดยตรง (Coriolis Mass Flowmeter) มาแล้ว....รอลมจาก......ภาคตะวันตกเฉียงใต้....
 
 
 
รูปที่ 25 ตู้จ่าย LPG ที่ติดตั้งเครื่องชดเชยอุณหภูมิอัตโนมัติ (Temperature Compensator)
 
 
ภายใต้เงื่อนไขหลัก
1.       ระบบมาตรวัดปริมาตรก๊าซปิโตรเลียมเหลวตามสถานีบริการที่ชั้นความเที่ยง 1.0 ซึ่งมีอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด 1.0% ของปริมาตรทดสอบ
2.       เลือกแบบมาตราชนิด “มาตรวัดมวลโดยตรง” หน่วยวัดได้ทั้ง “kg” และ “ลิตร”
3.       วิธีการตรวจสอบให้คำรับรองและตรวจสอบระหว่างการใช้งานโดยต่ออนุกรมกับมาตรวัดปริมาตรก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยให้มาตรวัดแบบมาตราอยู่ในตำแหน่ง Downstream ของระบบท่อ และใช้งานได้กับ LPG
4.       อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของมาตรวัดแบบมาตราชนิดมาตรวัดมวลโดยตรง
4.1.        MPECoriolis Mass FLowmeter £1/3 * MPEmeter
5.       รองรับการวัดปริมาตรของเหลวเมื่อทดสอบระบบมาตรวัดปริมาตรก๊าซ LPG ที่อัตราการไหลทดสอบครอบคลุมตั้งแต่ Qmin, 0.1Qmax, 0.16Qmax, 0.25Qmax, 0.4Qmax, 0.63Qmax, Qmax
6.       รูปแบบการปิดเปิดหรือลั่นไกวาล์วหัวจ่ายของตู้จ่ายในแต่ละอัตราการไหลทดสอบ (ดูรูปที่ 14)
7.   ระบบมาตรวัดแบบมาตราต้องออกแบบให้ใช้งานกับสิ่งแวดล้อมที่อันตรายก่อให้เกิดอันตรายจากการจุดติดไฟและระเบิดได้ โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทางไฟฟ้าและระบบอิเล็กทรอนิกส์ต้องเป็น Explosion proof จัดอยู่ใน Class I, Div. 2 ตาม IEEE
8.       ใช้กับแหล่งจ่ายพลังงานเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
9.       ต้องพึ่งพาในการบำรุงรักษา ตลอดจนการสอบเทียบมาตรวัดแบบมาตราได้ภายในราชอาณาจักรไทย ไม่ต้องส่งไปต่างประเทศนั้นประเทศโน้น....ไม่เอา....
 
เราต้องนั่งคิดและตรึงตรองหลายมิติถึงความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและประสบการณ์ของเสือตัวที่ 2 โดยมองภาพรวมร่วมกับมาตรวัดก๊าซธรรมชาติตามสถานีบริการควบคู่กันไป ในการเลือกยี่ห้อมาตรวัดมวลและรุ่นนั้นต้องมองหลายๆ ด้านไปด้วยกันแน่ล่ะในทางเทคนิคด้วยเช่นกัน แต่จะลงรายละเอียดไม่รู้ว่าจะลงลึกได้เท่าไหร่ ก็ค่อยนิ้วจิ้ม keyboard น่ะ จากนั้นต้องมองหาห้องปฏิบัติในประเทศที่มีขีดความสามารถในการตรวจสอบเทียบแบบมาตรา Coriolis Mass Flowmeter ในระดับที่ไว้ใจได้ ซึ่งโชคดีที่กาละเทศมันลงตัวพอดีเพราะมีคนทำทางไว้แล้วขอบคุณประเทศไทย เราก็เลือกเสือตัวที่สองเพราะเคยเป็น AD ของยี่ห้อ Micromotion (ตอนนี้น่าจะโดน Emerson ทำการ Take Over ไปแล้วหรือเปล่า?) มาก่อนแถมยังคลุกคลี่กับมาตรวัดก๊าซธรรมชาติยังเกี่ยวกับแท็กซี่ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติและยังติดต่องานกับชั่งตวงวัด พอจะขอความเมตตาจากท่านได้ในการบุกเบิกงานด้านนี้ เพราะในใจยังหวั่นๆ อยู่เนื่องจากการออกแบบระบบมาตรวัดมวลคอริออริสนั้นมีจุดอ่อนที่สำคัญที่สุดคือการติดตั้งเพราะหลักการทำงานอยู่ที่การสั่นของ Flow Tube ด้วย Natural Frequency ดังนั้นต้องคำนึงถึง Low Pass Filter ให้มาก ๆ หากต้องย้ายระบบมาตรวัดมวลคอริออริสไปอยู่บนรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบรวมถึงขั้นตอนการทำงาน (Operation) การออกแบบระบบเตรียม Line ของระบบมาตรวัดฯ ประจำรถยนต์ฯ จาก Empty Line เป็น Fill Line ให้มีก๊าซเหลวอยู่เต็มระบบให้พร้อมสำหรับการสอบเทียบ (หากไม่ต้องการถอดตัวมาตรวัดออกไป) และสำหรับตรวจสอบให้คำรับรอง, ขั้นตอนขณะทำการวัด, ขั้นตอนการระบายของเหลวออกจากระบบท่อ, ออกแบบระบบการเตรียม Line ของระบบมาตราวัดฯ ประจำรถยนต์ฯจาก Fill Line เป็น Empty Line หลังจากเสร็จสิ้นการสอบเทียบและตรวจสอบให้คำรับรองให้พร้อมเดินทางด้วยความปลอดภัย และไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมข้อนี้ก็สำคัญ เนื่องจากก๊าซ LPG หากรั่วไหลออกไปสู่บรรยกาศสามารถขยายตัวจากสถานะของเหลวที่ 8 - 10 Barg  กลายเป็นสถานะก๊าซด้วยปริมาตรที่เพิ่มสูงขึ้นประมาณ 274 เท่าตัวทีเดียว  ดังนั้นการแพร่ขยายตัว LPG ออกไปทำให้โอกาสที่ไปพบประกายไฟ โอกาสการระเบิดก็ยิ่งมากซึ่งยังรวมถึงอันตรายหากเราสัมผัสโดยตรงอีกด้วย (อยากรู้เรื่องคุณสมบัติ LPG ก็ไปอ่านบทความใน “สาระน่ารู้ชั่งตวงวัด” ใน www.cbwmthai.org หัวข้อ “ก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LIQUEFIED PETROLEUM GAS; LPG)”) ประกอบกับตู้จ่ายหรือระบบท่อ LPG ในสถานีบริการพบว่าส่วนใหญ่ไม่ได้ออกแบบให้มี Return Lines ดังนั้นเมื่อระบบแบบมาตรามาตรวัดมวลฯ ทำงานเสร็จของเหลวก๊าซ LPG ที่ค้างอยู่ในระบบฯ จึงเป็นเรื่องที่น่าห่วงและกังวลใจซึ่งโจทย์นี้อยู่ในใจตลอดเวลาในการออกแบบ
เราตัดสินใจเลือกมาตรวัดแบบมาตราชนิดมาตรวัดมวลโดยตรง (Coriolis Mass Flowmeter) ยี่ห้อ Micromotion รุ่น Elite CMF050 (รูปที่ 26) เพราะรุ่น Elite ได้รับรองให้ใช้งานกับงานด้านชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมาย (Legal Metrology) หรือที่เรียกนิกแนมว่า “W&M”
 
รูปที่ 26 Micro Motion ELITE CMF050M
 
 
 
รูปที่ 27 ตัวอย่าง Performance Curve ของ Coriolis Mass Flowmeters
 
 
บางคนอ่านมาถึงตรงนี้ก็อาจสงสัยว่าทำไมจึงเลือก Coriolis Mass Flowmeter เป็นแบบมาตรา   ก็ขอชี้แจงว่าเทคโนโลยีมาตรวัดมวลโดยตรง หรือ Coriolis Mass Flowmeter สอดรับกับการทำงานแบบเดิมของชั่งตวงวัดนั้นคือชั่งน้ำหนัก ตามรูปที่ 10 (ผมไม่ยากเห็นเรานั่งทำงานแบบนี้อีกต่อไป....) ดังนั้นด้วยเทคโนโลยีของ Coriolis Mass Flowmeter ก็คือ “เครื่องชั่ง” ดีๆนี้เอง ที่สำคัญในการทำงานแทบจะไม่ต้องใช้เครื่องมือเครื่องหาความถ่วงจำเพาะดังในรูปที่ 6   ความคุ้นเคยกับการทำงานของคนชั่งตวงวัดในหน่วย kg น่าจะไม่มีปัญหา แต่อาจมีปัญหาและตกใจในประการอื่นๆ เช่นการควบคุมระบบทำงานของมาตรวัดแบบมาตราฯ, การดึงสัญญาณมาประมวลผล หรือไม่อยากรับผิดชอบใดๆมากเกินไปเสียมากกว่า 555   เคยทดลองนำ Coriolis Mass Flowmeter ไปต่อท่อเป็นแบบอนุกรมกับตู้จ่าย LPG โดย Coriolis Mass Flowmeter  อยู่ด้าน Down Stream ต่อจากนั้นต่อท่อให้ LPG ไหลเข้าถังบรรจุก๊าซขนาด 15 กก ซึ่งอยู่บนเครื่องชั่งน้ำหนักแบบ Explosion proof ถักค่อมาจากมาตรวัดแบบมาตราฯ ผลการทดสอบพบว่าได้ผลการชั่งน้ำหนักมีค่าตรงกันระหว่างค่าที่อ่านได้จากเครื่องชั่งกับค่าที่วัดได้ด้วยมาตรวัดแบบมาตรา Coriolis Mass Flowmeter ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่น่าแปลกใจถึงความแม่นย่ำของ Coriolis Mass Flowmeter เพราะเป็นการวัดของเหลวที่อุณหภูมิและความดันรวมทั้งอัตราการไหลไม่สูงมากนักประกอบกับด้วยตัวมันเองแล้วมีเทคโนโลยีสูงพอประมาณจึงไม่น่ากังวล นอกจากนี้จากหลักการทำงานของ Coriolis Mass Flowmeter มีชิ้นส่วนเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่ภายในตัวมาตรวัดฯน้อยมากดังนั้นการเกิดการสึกหรอของชิ้นส่วนองค์ประกอบมาตรวัดฯ น้อยมากตามมา รวมถึงการตกค้าง LPG ภายในตัวมาตรวัดฯ น้อยเพราะว่าส่วนวัดของมาตรวัดแบบมาตราเป็นเพียงท่อเปล่าๆ 2 ท่อ (สำหรับรุ่นที่เลือกใช้งาน) ดังนั้นสามารถ Blow ด้วยก๊าซไนโตรเจนทิ้งได้ หรือใช้ปั๊มลมธรรมดาอัดลมผ่านมาตรวัดแบบมาตราฯ ไล่ก๊าซ LPG ออกไปก็พอไหว แต่ระบบปั๊มลมก็ควรมี Filter, Air Trap ที่ดีพอสมควร   ทำให้การกัดกร่อนภายในส่วนวัดของมาตรวัดน้อยทั้งนี้เพราะตัวเนื้อก๊าซ LPG เองเมื่อเจอกับความชื้นมันจะกลายเป็นไอหรือของเหลวที่มีค่าความเป็นกรดดีๆๆนี้เอง  หากไม่อัดลมเป่าทิ้งหลังใช้งานและหากตัวมาตรวัดแบบมาตราฯเองมีชิ้นส่วนประกอบกันเป็นส่วนวัดมากมายและมีมุมอับที่อาจสะสมก๊าซ LPG ทั้งในรูปของเหลวหรือก๊าซ ก็พอนึกออกแล้วใช่หรือไม่ว่ากระบวนการกัดกร่อนมันจะดำเนินการตามกฎธรรมชาติ ? การบำรุงรักษาต้องให้ความสนใจดูแลซึ่งถ้าออกในรูปแบบนั้นสำหรับในภาคราชการแล้วเราประเมินทรัพยากรบุคคลในภาครัฐแล้วจึงขอข้ามเรื่องนั้นดีกว่า นั้นคือไม่เลือกมาตรวัดชนิด Positive Displacement Flowmeter
          สำหรับการดูแลรักษาแบบมาตราให้สามารถสอบย้อนกลับไปยังแบบมาตราแห่งชาติได้หรือการสอบเทียบแบบมาตราให้น่าเชื่อถือ โชคดีที่เรามีห้องปฏิบัติการภายในราชอาณาจักรไทยที่ได้รับ ISO 17025 ในการสอบเทียบ Coriolis Mass Flowmeter เป็นการพึ่งพาตัวเองได้โดยคนไทยดังนั้นหากเราส่งแบบมาตรา Coriolis Mass Flowmeter ไปสอบเทียบห้องปฏิบัติการฯ ดังกล่าวซึ่งเป็นของคนไทย ไทยสนับการดำเนินการโดยคนไทยมันดีต่อใจ.....ครับ   มีอีกประเด็นที่น่าสนใจอีกประเด็นหนึ่งนั้นคือของเหลวตัวกลางในการสอบเทียบ Coriolis Mass Flowmeter เราพบว่าสถาบัน NMI ของประเทศเนเธอร์แลนด์ (ซึ่งเป็นหน่วยงานหัวเรี่ยวหัวแรงในคณะทำงานร่าง OIML R117) ได้ทำการตรวจสอบต้นแบบมาตรวัด Coriolis Mass Flowmeter Model CMF050 ยอมรับว่าสามารถทำการสอบเทียบด้วย “น้ำ” เป็นตัวกลางสอบเทียบได้ อีกทั้งตัวบริษัทผู้ผลิตเองก็ใช้ “น้ำ” เป็นตัวกลางในการสอบเทียบและตรวจสอบคุณภาพมาตรวัด Coriolis Mass Flowmeter ที่ตนเองผลิตด้วยเหตุนี้การส่ง Coriolis Mass Flowmeter ไปสอบเทียบห้องปฏิบัติการที่สอบเทียบด้วย “น้ำ” ไม่จำเป็นต้องใช้ตัวกลางเช่นเดียวกับที่ต้องไปใช้ทำการวัดปริมาณ จึงเป็นหัวข้อสนับสนุนให้มั่นใจกันไปยิ่งขึ้น   แต่ถ้าหากเป็นมาตรวัดก๊าซ LPG ชนิด Positive Displacement Flowmeter ต้องสอบเทียบด้วยของเหลวตัวกลางที่เป็น LPG เท่านั้นสำหรับเป็นมาตรวัดแบบมาตรา เรื่องหัวข้อการสอบเทียบจึงทำให้ตัด มาตรวัดชนิด Positive Displacement Flowmeter ออกจากใจเพราะเท่าที่ทราบไม่มีห้องปฏิบัติการฯ ที่สามารถสอบเทียบมาตรวัดฯ ชนิด PD ด้วย LPG ในประเทศไทย   เสียใจด้วยน่ะเราต้องเดินทางเป็นเส้นขนาน.... ไม่สามารถบรรจบพบรักกันได้อีกต่อไป..จุ๊บๆๆ..   การตัดสินใจต่างๆอยู่บนพื้นฐานของ Boundary Condition ที่ได้กำหนดไว้ในเบื้องต้น
ในส่วนของราคาค่าตัว Coriolis Mass Flowmeter อาจมีราคาแพงแต่ถือว่าคุ้มเนื่องจากเราบังคับใช้กฎหมายพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542   ทำให้นึกถึงรุ่นพี่เคยบอกไว้เล่นๆว่า มีเครื่องชั่งตวงวัดไว้ภายในครอบครองดีไม่ดีอาจมีความผิดเทียบเท่ากับมี “ปืน” ไว้ในความครอบครองเลยเชียวนะ   ใช่ครับ ..ปืน..   ....นึกแล้วท่าจะจริง ลองอ่านบทบัญญัติโทษดูสิครับ....
          นอกจากนี้เราต้องการแบบมาตราที่มีการประมวลและแสดงผลหรือส่งผลการแสดงค่าแบบอิเล็กทรอนิก เนื่องจากสามารถรวบรวม ประมวลผล แสดงค่า และจัดการข้อมูล ตลอดจนจัดเก็บข้อมูลได้รวดเร็ว และมีความคล่องตัวกับการทำงาน ด้วยเหตุนี้จึงได้เขียนโปรแกรม Microsoft Excel สำหรับการคำนวณผลการตรวจสอบให้คำรับรองโดยให้โจทย์ผู้รับจ้างให้ทำการส่งข้อมูลที่ได้รับจาก Coriolis Mass Flowmeter เข้าสู่ โปรแกรม Microsoft Excel ผ่านโปรแกรม PLC (Programmable Logic Controller) ก็เขียนโดยคนไทยเนี้ยแหละครับไม่ยากคนไทยเก่งเรื่องนี้เยอะโดยเฉพาะบุคคลกรที่ผลิตเครื่องชั่งตวงวัด   แต่อย่างไรก็ตามได้ออกแบบให้มีการวัดอุณหภูมิและความดันในรูปแบบปกติทำงานด้วยมือหรือคนวัดประกบซ้อนเข้าไปในระบบท่อกันไปเพื่อเป็นแผนสำรองแผน 2 หาก Transducer และ Transmitter ของอุณหภูมิและความดันเกิดเสียระหว่างปฏิบัติราชการ
          จากนั้นเมื่อเลือกแบบมาตรา Coriolis Mass Flowmeter ได้ ก็มานั่งออกแบบ.... จากที่เคยบอกไว้ว่าการออกแบบระบบมาตรวัดมวลโดยตรงหรือ Coriolis Mass Flowmeter นั้นมีจุดอ่อนที่สำคัญที่สุดคือการติดตั้ง    ทั้งชั่งตวงวัดทั้งบริษัทฯ ผู้รับจ้างก็ช่วยกันคิดครับและค้นหาอ่านเอกสารต่างประเทศกันไปและนี้คือแรงบันดาลใจดังในรูปที่ 28
 
 
 
รูปที่ 28 ตัวอย่างการติดตั้ง Coriolis Mass Flowmeters ของ CMS/ITRI, Chinese Taipei
 
 
 
รูปที่ 29-1 การออกแบบการติดตั้ง Coriolis Mass Flowmeters (LPG) ของชั่งตวงวัด (เกือบ Final)
 
 
 
 
รูปที่ 29-2 การออกแบบการติดตั้ง Coriolis Mass Flowmeters (LPG) ของชั่งตวงวัด (เกือบ Final)
 
 
          จากนั้นก็ร่าง Piping & Instrument Diagram (PI Diagram) จากนั้นทำ General Arrangement (GA) ลดขั้นตอนไม่ลงรายละเอียดน่ะครับ    เรามาดูหลักคิดหลักๆกันเท่าที่ย้อนความจำและกลับไปนั่งอ่านเอกสารเก่าๆ ได้ว่า
1.         ระบบมาตรวัดปริมาตรของเหลว (ดูรูปที่ 29-1 และรูปที่ 29-2) ต้องออกแบบให้ของไหลภายในระบบดังกล่าวต้องมีสถานะของเหลวเพียงสถานะเดียวเท่านั้น (Single Phase) ดังในรูปที่ 30   เพราะงานทางวิศวกรรมด้านงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมาย (Legal Metrology) นั้นระบบการวัดยังคงอยู่ในกรอบการไหลแบบ Single Phase Fluid เท่านั้น   การวัดการไหลของไหลแบบ 2-Phase Fluid กับ 3-Phase Fluid ก็ต้องรอเทคโนโลยีมันมาก่อนน่ะครับ    แต่อย่างไรก็ตามเพียงแค่การไหล Single Phase Fluid มันก็มัน Potato อยู่แล้วไม่ใช่หรือ?  ส่วนเนื้อหาไปหาอ่านใน www.cbwmthai.org หัวข้อ “สาระน่ารู้ชั่งตวงวัด” เรื่อง “เราวัดปริมาตรของไหล (ของเหลว) สถานะเดียว (Single Phase flow) เท่านั้น” ซึ่งในส่วนของ Pump, Strainer, Gas Eliminator, Control Valve รวมทั้ง Back Pressure Valve เราฝากความหวังไว้ที่ตู้จ่ายก๊าซ LPG แต่อย่างไรก็ตามตอนออกแบบก็ต้องมีแผนสำรองเป็น Safety Factor ไว้ 2 ตัวเพื่อคอยตรวจสอบและติดตามการทำงานของตู้จ่ายก๊าซ LPG นั้นคือเราเพิ่ม Back Pressure Valve แบบสปริงค่าคงที่เพิ่มอีกหนึ่งตัวไว้หลังตัว Coriolis Mass Flowmeters และหากการทำงานดังกล่าวยังไม่เพียงพอเราขอให้ผู้รับจ้างดึงค่า “Drive Gain” ของตัว Coriolis Mass Flowmeters ส่งไปยังโปรแกรม Microsoft Excel ที่กล่าวไว้ก่อนหน้านี้หากมีค่าสูงกว่าค่าปกติเราจะสามารถสั่งให้เจ้าของตู้ทำการแก้ไขระบบฯ ให้สมบูรณ์ให้มีการไหลภายในระบบฯ เป็นเพียงสถานะของเหลวเท่านั้น นั้นคือใช้ค่า “Drive Gain” ของ Coriolis Mass Flowmeters เพื่อตรวจสอบการทำงานของตู้จ่ายว่าได้รับการออกแบบและยังคงทำงานในสภาวะที่มีของเหลวเพียงสถานะเดียวขณะทำการวัดซื้อขายไม่ใช่ในระหว่างการซื้อขายก็ขายลมไปพร้อมกับก๊าซเหลว LPG   สำหรับเรื่อง Drive Gain ของ Coriolis Mass Flowmeters คืออะไรนั้นให้ไปอ่านใน www.cbwmthai.org หัวข้อ “สาระน่ารู้ชั่งตวงวัด” เรื่อง “มาตรวัดมวลคอริออริสกับการไหลของเหลวภายในท่อที่มีส่วนผสมของฟองอากาศ”
 
 
รูปที่ 30 องค์ประกอบที่สำคัญหลักๆของระบบการวัดปริมาตรของเหลว
 
 
รูปที่ 31 ประกอบ Coriolis Mass Flowmeters ของชั่งตวงวัดเบื้องต้น
 
2.    การจัดให้มาตรวัดแบบมาตราต่อเชื่อมท่อกับตู้จ่ายแบบอนุกรมโดยให้มาตรวัดแบบมาตราอยู่ทางด้าน Downstream จากนั้นต่อสายเข้าไปยังถังบรรจุ LPG ในรถยนต์/แท็กซี่ที่มาเติมก๊าซ LPG  แน่ละต้องเตรียม Fill Line ด้วยของเหลวให้เต็มระบบก่อน   ดังนั้นเมื่อเติม LPG เต็มถังในรถยนต์/แท็กซี่ที่มาเติม การตรวจสอบการทำงานตู้จ่ายว่าจ่ายได้ถูกต้องเที่ยงตรงก็เสร็จสิ้น เมื่อถอดท่อส่งจ่ายเข้ารถยนต์/แท็กซี่  ผู้ซื้อจ่ายเงินก็แล้วก็ขับรถออกไปได้เลย ทำให้เราได้ตรวจสอบระหว่างการใช้งานของตู้จ่ายตามสภาวะการทำงานจริงโดยไม่ต้องหาถังก๊าซ LPG ถังเปล่าๆ มารองรับให้วุ่นวายทำงาน   แต่ถ้าหากต้องตรวจสอบให้คำรับรองซึ่งมีอายุคำรับรองระบบมาตรวัดปริมาตรก๊าซ LPG ซึ่งกำหนดไว้ให้ทำทุกๆ 2 ปี ก็รบกวนหาถังเปล่ามาหน่อยเพื่อสามารถรักษาอัตราการไหลให้คงที่สักช่วงเวลา 1 นาที (สำหรับส่วนแสดงค่าแบบกลไก) หรือพอให้สามารถเก็บสัญญาณพัลส์ของมาตรวัดปริมาตรก๊าซ LPG ได้สัก 200 - 500 พัลส์ (ดูจากค่า K-factor หากมีส่วนแสดงค่าเป็นอิเล็กทรอนิค) จะเอา 10,000 พัลส์ก็เกรงใจเพราะระบบมาตรวัดก๊าซปิโตรเลียมอยู่ในชั้นความเที่ยง 1.0   แต่ประเมินในเบื้องต้นว่าถ้ามาตรวัดฯภายในตู้จ่าย LPG ผลิตสัญญาณพัลส์ได้ 500 พัลส์และเครื่องผลิตสัญญาณพัลส์ทำงานผิดพลาดได้ 1 พัลส์นั้นหมายความว่าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เท่ากับ 0.2% เมื่อเทียบกับอัตราเผื่อเหลื่อเผื่อขาดของมาตรวัดฯตู้จ่าย ±1.0% แล้วน่าจะพอรับได้ซึ่งเทียบเคียงกับการสอบเทียบมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง API ให้ทดสอบมาตรวัดฯ ไม่น้อยกว่า 10,000 พัลส์ซึ่งยอมให้เครื่องแปลงสัญญาณพัลส์ผิดได้ 1 พัลส์ซ฿งคิดเป็นเปอร์เซ็นต์มี่ค่าเท่ากับ 0.01% เทียบกับอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด 0.5% ภายใต้เงื่อนไขรอบข้างคือเป็นมาตรวัดฯ ใช้ซื้อขายแบบ “Wholesale”   อย่างไรก็ตามหากไม่เห็นคล้อยตามก็สามารถปรับปรุงแก้ไขภายใต้หลักการเหตุผลที่อธิบายได้
3.         จากข้อ 2 ส่งผลตามมาคือท่อ Rubber Hose มันสั้น ก๊าซ LPG ที่เป็นของเหลวมีไม่มากสามารถ Empty Line ด้วยการต่อกับ Pressure Vessel ที่เรามีอยู่ (เราเอาถังก๊าซ LPG สำหรับติดตั้งกับรถยนต์/แท็กซี่มา Modified เอาต้องเอาใส้ในออกให้เหลือแต่วาล์วปิดเปิด รวมทั้ง Check Valve ภายในถังก็ต้องเอาออกเพราะความดันก๊าซ LPG ที่ค้างอยู่ภายในท่อ Rubber Hose ไม่สูงมากนัก) จากนั้นเมื่อจอดรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบในที่ปลอดภัยโล่งๆ ก็ค่อยๆปล่อยทิ้งหรือไปหาถังน้ำมาแล้วต่อท่อปล่อยลงถังน้ำในภายหลัง เนื่องจากก๊าซ LPG มีน้ำหนักมากกว่าอากาศดังนั้นมันจะลอยเรียดพื้นซึ่งจะอันตรายและขยายตัวจากของเหลวเป็นก๊าซเป็นสัดส่วนที่สูงมาก ดังนั้นหากองค์ประกอบการจุดติดไฟเหมาะสมแล้ว.....ไฟ.ไฟ.ไฟ..ไหม้
 
 
 
รูปที่ 32 เริ่มติดตั้ง Coriolis Mass Flowmeters (LPG) บนรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบของชั่งตวงวัด
 
 
4.         ส่วนท่อม้วนจัดเก็บ Rubber Hose ดังในรูปที่ 29-1 ได้ขอให้ตัดออกไปไม่แน่ใจว่าเป็นเรื่องใดแต่มั่นใจว่าเป็นเรื่อง Safety และการบำรุงรักษาเป็นหลัก เพราะมันต้องมี Swivel Joints ซึ่งหากผู้ใช้ไม่ใส่ใจใช้งานอย่างเดียวเวลาผ่านไปเกิดรั่วขึ้นมามันอันตราย   อันนี้ไม่ค่อยไว้ใจในเรื่องการทำงานชั่งตวงวัดเราประกอบกับในการทำงานต้องดึงสายท่อ Rubber Hose เข้าออกบ่อย ดังนั้นเพื่อความทนมือทนเท้าก็ควรจัดสร้างให้อยู่ในรูปแบบของใกล้เคียงกับท่อ Rubber Hose ที่ติดตั้งประจำอยู่กับตู้จ่ายไปเลย
5.    การออกแบบทั้งหมดมีความประสงค์ให้เป็นการดึงสัญญาณมาจากแบบมาตราและอุปกรณ์ทั้งหมดจากนั้นเขียนโปรแกรม PLC ในการรวบรวมและสุ่มข้อมูลมากทั้งแล้ว Drum ข้อมูลในรูปแบบ Digital ทั้งอัตราการไหลมวล ค่าอุณหภูมิและความดัน รวมทั้งค่าความหนาแน่น ค่า Drive Gain ค่า ฯลฯ เข้าเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook  ดังนั้นอุปกรณ์และแบบมาตราจึงต้องเป็นพวก Transducers และ Transmitters ระโยงรยางค์ บางคนเห็นแล้วตกใจ “เฮอ มันเอาห้องปฏิบัติการฯขึ้นบนรถยนต์”   โถๆๆ เขาเอาเพียงชุดแบบมาตราขึ้นรถยนต์เท่านั้นใจเย็นๆ ขวัญเอ๋ยขวัญมาอยู่กับตัว   บางคนเห็นแล้ว “เออ สวยว่ะ ดูแล้วทันสมัยน่าเชื่อถือ” บางคนก็ว่า “ไม่กล้านำออกไปวิ่ง ใช้งานกลัวมันหัก” บังเอิญไม่ได้ยินกับหูถ้าได้ยินกับหูก็จะชี้แจงว่า “วิ่งให้หักไปเลยครับ รถยนต์บรรทุกวิ่งไม่เกิน 80 กม/ชม ถ้ามันหักผู้รับจ้างต้องรับประกันผลงานครับ”   กูละหน่าย.... ทั้งท่อและ Fitting ใช้ความหนาท่อสูงกว่าปกติ Sch ..   อย่าพูดเลยครับเหนื่อย
แต่ไม่ว่ากัน... งานบุกเบิก....ธรรมดา.... นอกจากนี้คนบางคนพอเห็นวาล์วเยอะๆ ปุ่มเยอะๆ ทั้งยังต้องจัดลำดับการทำงานอย่างเข้าใจระบบ, ยิ่งเจอการเชื่อมต่อข้อมูลระหว่าง Controller กับเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook ต้องเข้าใจการ Upload และ Download ข้อมูลลงเครื่องคอมพิวเตอร์ Notebook เมื่อจบแต่ละรอบสอบเทียบเพราะไม่ต้องการให้จดบันทึก กดปุ่มอย่างเดียวมันจึงกลายเป็นเรื่องยาก ถึงจะสอนอบรมก็ไม่รับเข้าบรรจุใน Memory นี้ถ้าสอบพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าใครสามารถควบคุมการใช้งานและทำงานได้จะได้รับการพิจารณาเงินเดือนเพิ่มเป็น 2 ขั้น ผมว่าสงสัยมันน่าจะน่าดู...และแอบต้องยิ้มมุมปากอีกครั้งแล้วสิ.... ตู.....   แต่มีเรื่องหนึ่งที่ต้องยอมรับเช่นกันว่าการใช้ Program ที่ใช้พูดคุยระหว่างเครื่องมืออุปกรณ์มันแพงโครงการนี้ประเมินราคาผิดพลาดไม่ครอบคลุมหลายรายการหรือเพราะไม่รู้เราเรียกร้องความต้องการสูงไปหรือเปล่าก็ไม่รู้..... ดังนั้นเรื่องนี้หากต้องปรับปรุงในคราวหน้าต้องระวังแก้ไขอย่าให้มีปัญหานั้นคือต้องคิดราคาค่า Program ที่ใช้พูดคุยและส่งข้อมูลระหว่างเครื่องมืออุปกรณ์ให้ครอบคลุมงบประมาณ หรือใช้ระบบใหม่เทคโนโลยีใหม่ก็ว่าไป
          จำได้ว่าเมื่อใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ตกลง DOS ซ฿งเป็นระบบปฏิบัติฯ 3 แผ่น (Floppy Disk) ผ่านไปต้องลง Window OS ประมาณ 30 กว่าแผ่น Floppy Disk จากนั้นก็ลงเป็นแผ่น CD 1 แผ่น   เดี๋ยวนี้ลงจาก Cloud ที่เป็น Hard Disk อยู่ที่สหรัฐ   งานบุกเบิกทุกงานก็เช่นกันครับ ต้องมั่นใส่ใจดูแลปรับปรุงแก้ไขให้มันช่วยแก้ไขปัญหาชีวิตที่มีธรรมของเรา ส่วนชีวิตที่ไม่เป็นธรรมเป็นเรื่องของคุณก็ว่ากันไปอย่ามาเอามารวมกัน
 
 
 
รูปที่ 33 ชุดแบบมาตรามาตรวัดปริมาตรก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ตามสถานีบริการ
 
          ปัญหาในทางปฏิบัติที่ได้เจอซึ่งคงไม่มากแต่ก็น่าสนใจ นั้นคือหัวจ่าย LPG มันเป็นทองเหลืองและต้องมี O-Ring ตรงปลายเพื่อซีล LPG ระหว่างหัวจ่ายกับเต้ารับขณะเติม LPG เข้ารถยนต์/แท็กซี่ ผู้ปฏิบัติงานประจำรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบก็ต้องมีฝีมือที่จะต้องหา O-Ring และจารบีเตรียมไว้ช่วยเหลือตัวเองเหมือนเช่นเดียวกับเด็กปั๊ม พอก๊าซ LPG รั่วระหว่างหัวจ่ายกับเต้ารับก็สามารถแก้ไขปัญหาชีวิตได้ ไม่ใช่ขับรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบกลับสำนักงานฯ แล้วทำเรื่องแจ้งซ่อม.... 55555     ดูเหมือนมีรถยนต์โมบายฯ ต้องหาคนที่ทำงานเป็นและพร้อมที่จะมือเปื้อนสกปรกได้... โจทย์ยาก...
          ออ เกือบลืม พอสดุดคำว่าทองเหลือง เลยนึกไว้ว่า   เครื่องมืออุปกรณ์เช่นประแจปากตาย หรืออะไรที่ต้องสัมผัสหรือกระแทกกับโลหะในทางวงการปิโตรเลียมในบริเวณที่อันตรายต้องใช้วัสดุเป็น “ทองเหลืองเจือ” เท่านั้นเพื่อป้องกันและลดการเกิดประกายไฟหากเกิดกระทบและกระแทกระหว่างโลหะ เราขอให้ผู้รับจ้างจัดไว้ให้ 1 ชุดเพื่อไว้ช่วยเหลือตัวเองได้บ้าง   ใครอย่าเอาไปขายเป็นเศษเหล็กแล้วซื้อประแจเหล็กจากจีนมาใช้ล่ะ   มันไม่ดี....
          อุปกรณ์ที่ควรมีประจำอีกตัวบังเอิญไม่ได้จัดให้มีนั้นคือ Gas Detector แบบพกพาเพื่อตรวจสอบก๊าซ LPG หรือ CNG มันรั่วตามข้อต่อ ถึงแม้ได้สั่งให้ให้ปูพื้นด้วยเหล็กแผ่นหนามากกว่า 10 มม.เพื่อรองและยึดรองรับระบบท่อฯก็ตาม
          ปัญหาจำนวนและประสิทธิภาพของ PLC Controller ก็เป็นเรื่องที่ไม่ได้คาดคิด เพราะบังเอิญเราต้องการ Sampling และดึงข้อมมูลมาเก็บไว้หลายตัวเป็นเวลานาน เช่นอย่างน้อยมากกว่า 1 นาทีต่อรอบการทำงาน เรื่องนี้ต้องระวัง
          นอกจากนี้การกำหนดให้ระบบมาตรวัดแบบมาตราต้องออกแบบให้ใช้งานกับสิ่งแวดล้อมที่อันตรายก่อให้เกิดอันตรายจากการจุดติดไฟและระเบิดได้ โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทางไฟฟ้าและระบบอิเล็กทรอนิกส์ต้องเป็น Explosion proof จัดอยู่ใน Class I, Div. 2 ตาม IEEE  ทำให้ต้องจัด Explosion Proof Box ใหญ่เกินใจ แต่ก็เป็นหลักตาม Engineering เราก็ว่าไม่ได้ดังนั้นในคราวหน้าอาจต้องปรับหลักคิดเรื่องระบบ Explosion proof จากระบบ Active ให้เป็นระบบ Passive แทนเพื่อลดขนาด Explosion Proof Box แต่ก็มีค่าใช้จ่ายงบประมาณฯเข้ามาอีก   การออกแบบตามเงินงบประมาณที่ได้รับมันก็อย่างนี้แหละครับ ไม่ได้ตามที่ใจต้องการหรอกครับ    เอาที่พอได้และทำงานได้แต่ต้องตั้งใจทำหน่อยไม่สะดวกสบายไปทุกเรื่องแต่มันดีกว่าเดิมในหลายมิติ และวางก้าวย่างต่อไปได้ต่างหาก..ที่สำคัญ
          ดูรูปที่ 34 เนื่องจากระบบมาตรวัดปริมาตรก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ตามสถานีบริการเป็นระบบที่มีความดันสูงประมาณ 7-12 barg ดังนั้นมันจึงมองไม่เห็นส่วนปรับปริมาตรเช่นเดียวกับระบบมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิงตามสถานีบริการ แต่มันหลบอยู่หลังหน้าแปลนดังในรูปซึ่งต้องทำการร้อยลวดผูกซีลแต่ทั้งนี้และทั้งนั้นควรมองให้รอบๆระบบมาตรวัดฯ ก่อนนะเพราะแต่ละรุ่นอาจมีเทคนิคการผลิตแตกต่างกันส่งผลให้รูปแบบการร้อยลวดผูกซีลก็แตกต่างกันไป ประเด็นต่อมาส่วนที่สองจะมีอุปกรณ์อีกชิ้นหนึ่งที่ทำหน้าที่แปลงการหมุนเพลามาตรวัดฯ จากรอบการทำงานของตัวมาตรวัดฯ ไปเป็นสัญญาณพัลส์   โดยอุปกรณ์ชิ้นดังกล่าวผู้ผลิตจะติดตั้งอยู่ตำแหน่งเหนือบนและเชื่อมต่อกับมาตวัดวัดฯ ที่มีเพลายื่นออกมาจากมาตรวัดฯ เพื่อไปขับวงล้อให้หมุนตัดตัวจับสัญญาณเพื่อแปลงเป็นสัญญาณพัลส์ต่อไปอันนี้ก็ต้องซีล   ส่วนที่ 3 คือบน Mainboard Controller ซึ่งจะมี Dip Switch หรือสวิตช์ ON-OFF หรือเป็นการ Set Jumper หรือ ฯลฯ เพื่อให้สามารถปรับแก้ไขป้อนค่า K-Factor (pulses/min) ของมาตรวัดได้หรือไม่ได้ ให้ทำการร้อยลวดผูกซีลทันที่ทีทำการตรวจสอบให้คำรับรองมาตรวัดฯ
          ปัญหาข้อถกเถียงอีกข้อหนึ่งซึ่งอยากจะสื่อสารองค์กรและอยากทำมานานแต่ไม่มีจังหวะพอนึกได้ก็ขอสื่อสารองค์กรในเรื่องต่อไปนี้ หัวข้อ “ให้ชั่งตวงวัดส่วนกลางฯกำหนดจุดร้อยซีล ตำแหน่งร้อยซีล ของเครื่องชั่งตวงวัดที่ออกมาหรือโยนใส่เข้ามาในระบบเศรษฐกิจและสังคมของราชอาณาจักรไทย เพื่อชั่งตวงวัดส่วนภูมิภาคฯ ปฏิบัติได้ถูกต้องเหมือนกันหมด”   คำตอบที่จะแสดงความเห็นและน่าจะทำได้คือ   ขอให้ดำเนินการเลียนแบบแนวความคิด 2 ตัวอย่างนี้คือ “You Tube” และ “Wikipedia” อย่างไรหรือครับชี้แจงว่า เครื่องชั่งตวงวัดที่มีคนโยนเข้าเศรษฐกิจและสังคมไทยตลอดเวลาตั้งแต่มีพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 จนถึงพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 มีกันมากมายกระจายไปทั่วทั้งประเทศเครื่องชั่งตวงวัดบางเครื่องมีอายุการใช้งานตั้ง 1 ปี อาจไปจนถึง 50 ปี    ความต่อเนื่องในการทำงาน, การลอบนำเข้าเครื่องชั่งตวงวัดมาใช้งานแล้วมาแจ้งเป็นผู้ครอบครองในภายหลัง, และ ฯลฯ ไม่สามารถให้ใครหรือหน่วยงานใดหน่วยงานหนึ่งสะสมความรู้ได้ครบถ้วนครับ   ทางเดียวที่จะสะสมองค์ความรู้ว่าเครื่องชั่งตวงวัด ยี่ห้อใด รุ่นใด ชนิดใด ทำงานอย่างไร   ต้องได้รับความร่วมมือจากชั่งตวงวัดทุกภาคส่วน โดยชั่งตวงวัดส่วนกลาง ต้องจัดทำ Platform และรูปแบบมาตรฐานของฐานข้อมูลเดียวกัน ให้รองรับให้พนักงานเจ้าหน้าที่ชั่งตวงวัดทุกคนเข้ามาบันทึกพร้อมแนบรูปจุดที่ทำการร้อยลวดผูกซีล   และพนักงานเจ้าหน้าที่ท่านที่เห็นต่างออกไปก็เข้ามาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงแก้ไข โดยมีชั่งตวงวัดส่วนกลางคอยตรวจสอบพิสูจน์และหาข้อยุติสิ้นสุด   ซึ่งเป็นหลักการทำงานเช่นเดียวกับ “Wikipedia” ที่จัดสรรเวทีให้เล่นแต่ Content เนื้อหาให้สาธารณชนเข้ามาผลิตดังนั้นเจ้าของ “You Tube” และ “Wikipedia” จึงไม่ต้องผลิตเนื้อหาลดค่าใช้จ่ายมหาศาลมันก็เท่านั้นแต่ “Platform”  ที่ว่านั้นคือเราต้องทำเครือข่ายประมวลผลและบูรณการฐานข้อมูลรอบด้านด้วยระบบที่เรียกว่า “ERP = Enterprise Resource Planning”   ตอนรับข้าราชการใหม่นั้นคิดกันบ้างเปล่า ?????
 



    

รูปที่ 34  จุดที่ต้องพิจารณาในการร้อยลวดผูกซีลมาตรวัดปริมาตรก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)

 
มีอีกเรื่องที่กวนใจอยู่นานอีกเช่นกันนั้นคือ คุณสมบัติก๊าซ LPG ด้วยจากรูปแบบส่วนผสมหรือองค์ประกอบของ LPG ตามมาตรฐานทางพวกตะวันตกนั้นมีอยู่ด้วยกัน  4 รูปแบบ ดังในรูปที่ 35 และรูปที่ 36 
ประเทศไทยเรากลับใช้วิธีการเหมาเข่งครับ เป็นอย่างไรหรือครับตามไปดู “ประกาศกระทรวงพลังงาน เรื่อง หลักเกณฑ์ และวิธีการในการเก็บรักษา การกำหนดบุคลากรที่รับผิดชอบ และการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติวัตถุอันตราย พ.ศ. 2535 สำหรับสถานที่ใช้ก๊าซปิโตรเลียมเหลว ที่กรมธุรกิจพลังงานรับผิดชอบ พ.ศ. 2554” ได้นิยามก๊าซปิโตรเลียมเหลวไว้ว่า
“ก๊าซปิโตรเลียมเหลว” หมายความว่า ก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ประกอบด้วยโพรเพน โพรพิลีน นอร์แมลบิวเทน ไอโซบิวเทน หรือบิวทิลีน อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่างผสมกันเป็นส่วนใหญ่ซึ่งบรรจุลงในถังก๊าซหุงต้มหรือถังเก็บและจ่ายก๊าซ
 
รูปที่ 35 Liquefied Petroleum Gas Specifications and Test Methods, Gas Processors Association, GPA Standard 2140-97
 
 
รูปที่ 36   GPA 2140-97 LPG Specification (ย่อ)
 
เรามาดูข้อมูลจากกรมธุรกิจพลังงานได้มีประกาศกรมฯ ที่มีชื่อว่า “ประกาศกรมธุรกิจพลังงาน เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2547” โดยก๊าซปิโตรเลียมเหลวที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงภายในประเทศไทยต้องมีลักษณะและคุณภาพตามรายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน ดังตารางด้านล่าง  ทั้งนี้ วิธีทดสอบอาจใช้วิธีอื่นที่เทียบเท่าก็ได้   แต่ในกรณีที่มีข้อโต้แย้งให้ใช้วิธีที่กำหนดในรายละเอียดนี้
 
 
รายละเอียดแนบท้ายประกาศกรมธุรกิจพลังงาน
เรื่อง กำหนดลักษณะและคุณภาพของก๊าซปิโตรเลียมเหลว พ.ศ. 2547
รายการ
ข้อกำหนด
อัตราสูงต่ำ
วิธีทดสอบ
1.
ความดันไอ ณ อุณหภูมิ 37.8 oซ. กิโลปาสคาล
(Vapour Pressure @ 37.8 o C, kPa)
ไม่สูงกว่า
1,380
ASTM D 1267
2.
การกลั่น             o.
(Distillation,     o C
ไม่สูงกว่า
2.2
ASTM D 1837
 
อุณหภูมิของจุดเดือด เมื่อก๊าซปิโตรเลียมเหลวระเหยไปในอัตราส่วนร้อยละ 95 โดยปริมาตร (95% Evaporated )
 
 
 
3.
ปริมาณเพนเทนและสารอื่นที่มีน้ำหนักโมเลกุลมากกว่าเพนเทนต่อก๊าซปิโตรเลียมเหลวโดยปริมาตรร้อยละโดยปริมาตร
(Pentane and Composition Content, % vol.)
ไม่สูงกว่า
2.0
ASTM D 2163
4.
การกัดกร่อน
(Corrosion)
ไม่สูงกว่า
หมายเลข 1
ASTM D 1838
5.
ปริมาณกำมะถัน   ส่วนในล้านส่วนโดยน้ำหนัก
(Sulphur Content,    ppm by wt.)
ไม่สูงกว่า
140
ASTM D 2784
6.
 
ปริมาณกากหลังการระเหยของก๊าซปิโตรเลียมเหลว 100 มล. มิลลิลิตร
(Residue ,      ml)
ไม่สูงกว่า
0.05
 
ASTM D 2158
 
7.
ปริมาณน้ำ
(Water  Content)
 
ไม่มี
 
ตรวจพินิจด้วยสายตา
8.
สารที่ให้กลิ่นซึ่งไวต่อความรู้สึก
(Odorant)
 
มี
ตรวจด้วย
วิธีดมกลิ่น
 
 
ด้วยเหตุนี้ LPG ในประเทศไทยจึงเป็น LPG ที่ครอบคลุมทั้ง 4 รูปแบบ คือ Commercial Propane, Commercial Butane, Commercial B-P Mixture และ Propane HD-5  ตามที่ GPA Standard 2140-97 Liquefied Petroleum Gas Specifications and Test Methods กำหนดนั้นคือยำใหญ่ครับโดยมีองค์ประกอบหลักเป็นส่วนผสมตามที่นิยามครับ “LPG ประกอบด้วยโพรเพน โพรพิลีน นอร์แมลบิวเทน ไอโซบิวเทน หรือบิวทิลีน อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือ หลายอย่าง ผสมกันเป็นส่วนใหญ่”   ด้วยเหตุนี้ LPG (ในประเทศไทย) จึงเป็นส่วนผสมของสารไฮโดรคาร์บอนที่มีความหลากหลายและปริมาณสัดส่วนอาจแตกต่างกันผลตามมาคือค่าความถ่วงจำเพาะกว้างเหลือเกินทำให้การเปลี่ยนแปลงปริมาตรเนื่องจากอุณหภูมิของก๊าซ LPG มันโลดเล่นได้อย่างกว้างขวางดังนั้นหากตู้จ่าย LPG ไม่มีเครื่องชดเชยอุณหภูมิอัตโนมัติเพื่อทำการปรับการแสดงค่าปริมาตร LPG ที่วัดได้ไปยังปริมาตราที่อุณหภูมิพื้นฐานเดียวกันที่ 15 °C ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายแล้วต้องนั่งกุมขมับครับในวันนี้ (แต่ถ้าแกล้งไม่รู้   ก็ร้องเพลงเบิร์ดธงชัย “สบายๆๆ” ได้ครับ)    แต่โดยภายรวมแล้วส่วนประกอบหลักของก๊าซ LPG จะมีด้วยกัน 4 ตัวหลักๆ ที่เราควรทำความรู้จัก คือ
1.         โปรเปน (Propane; C3H8) ในหน้าร้อนของประเทศไทยจะมีความดันอยู่ที่ประมาณ 175 - 200 Psi (ที่อุณหภูมิ 15 °C จะมีความดัน 6.5 bar)
2.         โปรปิลิน (Propylene; C3H6)
3.         บิวเตน (Butane; C4H10 ) จากข้อมูลเบื้องต้นโดยประมาณ เราพบว่าบิวเตนในหน้าร้อนของประเทศไทยจะมีความดันอยู่ที่ประมาณ 80 - 100 Psi (ที่อุณหภูมิ 15 °C จะมีความดัน 1.0 bar)
4.         บิวทิลีน (Butylene; C4H8) ซึ่งรวมถึงนอร์มัลบิวทิลีน (n-butylene;nC4H8) และไอโซบิวเตน (iC4H8)
          สำหรับขั้นตอนการตรวจสอบมาตรวัดปริมาตรก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ตามสถานีบริการมีให้อ่านทั้งใน OIML R117 และเอกสารที่ชั่งตวงวัดได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ จัดฝึกอบรมมากมาย อีกทั้งได้จัดทำคู่มือ “SOP-VER-102: ขั้นตอนการปฏิบัติงานตรวจสอบให้คำรับรองมาตรวัดก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในสถานีบริการ” สามารถไปหาอ่านใน www.cbwmthai.org ในส่วนของ E-Book
          ขอบคุณเสือตัวที่ 2 ที่ทำงานให้เสร็จไป 1 ชิ้น เหลืออีกหนึ่งชิ้นที่เสือตัวที่ 2 ให้ความกรุณาจัดสร้างให้ซึ่งจะคุยในหัวข้อถัดไป
 
 
ค. แบบมาตรามาตรวัดมวลโดยตรงสำหรับก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ในสถานีบริการ
มาตรวัดมวลโดยตรงสำหรับก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ในสถานีบริการ ขาย NGV เติมรถยนต์บุคคล แท็กซี่ สถานะในการตรวจสอบเป็นก๊าซที่อุณหภูมิ (ประมาณ 22-32 °C) และความดันภายในระบบท่อ (ประมาณ 250 - 300 Barg)
กลุ่มเป้าหมายในการออกแบบระบบแบบมาตราสำหรับตรวจสอบให้คำรับรองและตรวจสอบระหว่างการใช้งานสำหรับมาตรวัดมวลโดยตรงก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ตามสถานีบริการ 
 
 
 
 
กลุ่ม 1
กลุ่ม 2
กลุ่ม 3
Max. flowrate (kg/hr)
1800
2000
6000
Min. Flowrate (kg/hr)
68
68
68
ตารางที่ 7 ช่วงอัตราการไหลของมาตรวัดมวลโดยตรงก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ตามสถานีบริการ
 
          จากการสำรวจเบื้อต้นพบว่าตู้จ่าย CNG ส่วนใหญ่จะมีอัตราการไหลอยู่ที่ประมาณ 10 – 80 kg/min สภาวะการทำงานปกติ : ความดันใช้งานของ CNG ประมาณ 240 barg ด้วยอัตราการไหลมวลประมาณ 6 - 11 kg/min (~10 kg/min)  ข้อมูลอัตราการไหลนี้บนพื้นฐานจ่าย CNG ให้กับรถยนต์ส่วนบุคคล/แท็กซี่
 
ภายใต้เงื่อนไขหลัก
1.       ระบบมาตรวัดมาตรวัดมวลโดยตรงสำหรับก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ตามสถานีบริการจัดอยู่ในชั้นความเที่ยง 1.5 ซึ่งมีอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด 1.5% ของปริมาณทดสอบ  
2.       เลือกแบบมาตราชนิด “มาตรวัดมวลโดยตรง” หน่วยวัดได้ทั้ง “kg” งานนี้แทบไม่มีตัวเลือกแถบยังมีรุ่นเดียวเท่านั้นและเป็นรุ่นเดียวกับที่ติดตั้งภายในตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) 
3.   วิธีการตรวจสอบให้คำรับรองและตรวจสอบระหว่างการใช้งานจัดในรูปแบบเชื่อมต่อแบบอนุกรมระหว่างมาตรวัดมวลโดยตรงสำหรับก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) กับมาตรวัดแบบมาตรา  โดยให้มาตรวัดแบบมาตราอยู่ในตำแหน่ง Downstream ของระบบท่อ และใช้งานได้กับ CNG/NGV   ซึ่งอยู่ในสถานะ “ก๊าซ”
4.       อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของมาตรวัดแบบมาตราชนิดมาตรวัดมวลโดยตรง ซึ่งแทบเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้หลักการ  MPECoriolis Mass FLowmeter £1/3 * MPEmeter   ดังนั้นเราจึงแก้ไขปัญหาให้ทำการสอบเทียบแบบมาตราให้มีจำนวนจุดทดสอบที่มากกว่าปกติ เพราะจะได้ Interpolation ในรายงานผลสอบเทียบมาตรวัดแบบมาตราชนิดมาตรวัดมวลโดยตรงในช่วงแคบๆ นอกจากนี้มาตรวัดดังกล่าวมีการระบุว่าเป็น “Batch Accuracy” ดังนั้นการหา Performance Curve ของมาตรวัดแบบมาตราฯ แทบไม่มีผลอย่างไร ?
5.       รูปแบบการปิดเปิดหรือลั่นไกวาล์วหัวจ่ายของตู้จ่าย NGV/CNG นั้นเราควบคุมหรือกำหนดไม่ได้ ถือว่าเปิดวาล์วเต็มที่ตำแหน่งเดียว เพราะการกำหนดและควบคุมอัตราการไหลในสถานีบริการผ่านการปิดเปิดวาล์วเป็นเรื่องน่ากังวล
6.   ระบบมาตรวัดแบบมาตราต้องออกแบบให้ใช้งานกับสิ่งแวดล้อมที่อันตรายก่อให้เกิดอันตรายจากการจุดติดไฟและระเบิดได้ โดยอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทางไฟฟ้าและระบบอิเล็กทรอนิกส์ต้องเป็น Explosion proof จัดอยู่ใน Class I, Div. 2 ตาม IEEE
7.       ใช้กับแหล่งจ่ายพลังงานเป็นไฟฟ้ากระแสตรง (DC)
8.       ต้องพึ่งพาในการบำรุงรักษา ตลอดจนการสอบเทียบมาตรวัดแบบมาตราได้ภายในราชอาณาจักรไทย ไม่ต้องส่งไปต่างประเทศนั้นประเทศโน้น....ไม่เอา....
 
ในที่เราได้เลือกมาตรวัดแบบมาตราชนิดมาตรวัดมวลโดยตรง (Coriolis Mass Flowmeter) ยี่ห้อ Micromotion รุ่น CNG050 ซึ่งมีเพียงรุ่นเดียวที่สามารถใช้งานกับก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) เมื่อพิจารณาอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของมาตรวัดแบบมาตราชนิดมาตรวัดมวลโดยตรงในช่วง MPE ≤ 0.1% , (0.5/5 = 0.1) ทางผู้ผลิตแจ้งว่าเนื่องจากการกำหนด Error ของ CNG050 ทาง Emerson กำหนดเป็น “Batch Accuracy” (ดูรูปที่ 37) ซึ่งต่างจากการกำหนด Accuracy ของมาตรวัดมวลคอริออริสรุ่นอื่นๆ เช่น Model CMF ซึ่งเราเลือกใช้ให้เป็นมาตรวัดแบบมาตรามาตรวัดปริมาตรก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
 
รูปที่ 37 Coriolis Mass Flowmeter  ยี่ห้อ Micromotion รุ่น CNG050
 
 
 
 
รูปที่ 38   ข้อมูล Accuracy and repeatability ของ มาตรวัดมวลคอริออริส Model CNG050S โดยผู้ผลิตฯ
 
ทาง Emerson อธิบายการพิจารณา Batch Accuracy ดังรูปที่ 39 เพราะมาตวัดมวลคอริออริส CNG050s ถูกออกแบบในรูปแบบการใช้งานด้วยวัตถุประสงค์การใช้งานเป็นการจ่ายเป็นปริมาณจำนวนหนึ่งต่อครั้งที่ภาษาปะกิต เรียกว่า “Batch” และปริมาณการจ่ายต่อครั้งคือการหาพื้นที่ใต้รูปกราฟในรูปที่ 39 นั้นเอง   จากเส้นกราฟจะเห็นได้ว่าตอนเริ่มแรกอัตราการไหลจะสูงขึ้นทันที่เมื่อเจอความดันต้านจากภายในถัง CNG ความดันจะค่อยๆ ลดลงเมื่อเต็มถึงจึงปิดวาล์วหยุดจ่าย CNG   ดูจากข้อมูลพบว่าถังความดันของเค้าที่ใช้ในการทดสอบใหญ่พอสมควรประมาณ 67 kg
 
 
รูปที่ 39 การกำหนดความเที่ยงของมาตรวัดมวลคอริออริสในรูปของ “Batch Accuracy” มีค่าเท่ากับ +0.3% (< 0.5% MPE)
 
แต่เมื่อพิจารณาความคลาดเคลื่อนหรือที่ผู้ผลิตเรียก “Batch Error” ณ อัตราการไหลที่แตกต่างกันเพื่อพิจารณาค่า Repeatability ของมาตรวัดมวลคอริออริสเทียบกับอัตราการไหลสูงสุดของการจ่ายเป็นปริมาณจำนวนหนึ่งต่อครั้ง (Peak Flowrate of Batch) จะได้ดังในรูปที่ 40 
 
 
 
รูปที่ 40 การพิจารณา Repeatability ของมาตรวัดมวลคอริออริสเทียบกับอัตราการไหลสูงสุดของการจ่ายเป็นปริมาณจำนวนหนึ่งต่อครั้ง (Batch) มีค่าน้อยกว่า ±0.25% of Rate
 
          เรื่อง “Batch Accuracy” และ “Batch Error” เป็นเรื่องที่ต้องระวังครับเพราะหลายท่านนำความเข้าใจเรื่องมาตรวัด Coriolis Mass Flowmeter ที่ใช้กับการวัดของเหลวทั่วไปมาพิจารณาและแถมบังคับให้หาผลผิดหรือ “Meter Accuracy” และ “Meter Error” ของแต่ละอัตราการไหลมวลทดสอบในกรณีใช้งานกับ “ก๊าซธรรมชาติ” ให้เป็นเช่นเดียวกับ Coriolis Mass Flowmeter ที่ใช้กับการวัดของเหลวทั่วไปให้เป็นดังในรูปที่ 41   ส่วนรายละเอียดอื่นๆที่ครอบคลุมมาตรวัดมวลคอริออริสก็ไปหาอ่านบทความใน “สาระน่ารู้ชั่งตวงวัด” ใน www.cbwmthai.org หัวข้อ “เส้นทาง...ปัญหาและอุปสรรค มาตรวัดแบบมาตราชนิดมาตรวัดมวลคอริออริสเมื่อสอบเทียบด้วยวิธีการชั่งน้ำหนัก” น่าจะเป็นประโยนช์
          แต่หากนำแบบมาตรา Coriolis Mass Flowmeter ดังกล่าวไปสอบเทียบที่ห้องปฏิบัติการด้วย “น้ำ” ที่เป็นตัวกลางสอบเทียบเราก็ยังยึดถือแนวทางตามรูปที่ 41 เช่นเดิมน่ะ   มันย้อนแย้งกลับไปกลับมาก็ลองนั่งนิ่งๆค่อยๆคิด มันเป็นเรื่องความดันสูงมากๆๆ
 
 
 
 
 
รูปที่ 41  สมรรถนะมาตรวัดมวลคอริออริสตามข้อกำหนด AGA Report No. 11
 
กรณี CNG050 (CNG) นั้นจาก Product Data Sheet, PS-00408, Rev. F, January 2016, Model CNG050 Compressed Natural Gas Flowmeters   ได้กำหนดใน Performance specifications, Typical CNG batch/dispensing conditions ว่า “For determining the performance capabilities of our meters, the typical batch/dispensing conditions are defined as those where the flow rate is greater than 4 lbs/min (109 kg/hr or 1.816 kg/min).”
ด้วยเหตุนี้เวลาไปตรวจสอบภาคสนามก็อย่าลืมเลขอัตราการไหลตัวนี้
          ระบบมาตรวัดแบบมาตรามาตรวัดมวลโดยตรงสำหรับก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ตามสถานีบริการเดิมที่ใช้อยู่ถูกจัดให้อยู่ในรูปแบบ Portable ให้สามารถพกพาได้เวลาใช้ก็วางราบกับพื้น ขณะทำงานรถยนต์/รถแท็กซี่ก็วิ่งไปมาสถานีบริการในบางครั้ง   เรื่องการสั่นสะเทือนจึงเป็นเรื่องที่เรากังวล ประกอบกับเมื่อดูและการสอบเทียบมาตรวัดแบบมาตราฯ ที่ถูกจัดอยู่ในกระเป๋าของชั่งตวงวัดเองและของบริษัทฯ พบว่าการยึดมาตรวัดแบบมาตราและระบบท่อบางครั้งก็ดูไม่แข็งแรง บางครั้งก็แทบจะไม่ทำการยึดมาตรวัดแบบมาตราเลยเพียงวางไว้บนโฟมแข็งๆ เท่านั้น จึงกังวลและเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง ก็ต้องระมัดระวังและอาจต้องซุกซนบางไม่เชื่อก็ลองขันน๊อตแผ่นกระดาษปิดหน้าออกก็จะเจอ.... 
 
         
  รูปที่ 42-0  ปัญหาการจับยึดมาตรวัดแบบมาตราก๊าซธรรมชาติภายในกระเป๋า
           
          จากรูปแบบการดำเนินงานเดิมตอนเริ่มต้นนั้น ปตท. เป็นผู้อำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานราชการชั่งตวงวัดด้วยการจัดหารถยนต์ที่บรรทุกถังเปล่าๆสำหรับบรรจุก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) หลังการตรวจสอบให้คำรับรองมาสนับสนุนการทำงานราชการชั่งตวงวัดดังในรูปที่ 42 แต่ต่อมาในภายหลังได้ข่าวว่าได้มีการ Outsource  (อีกแล้วน่ะครับคำนี้...มันนิยมกันทั่วโลก   สุดท้ายต้องให้คนในประเทศโลกที่ 4 ทำงานแทนโลกที่ 3 แล้วกระมัง) ให้บริษัทอื่นรับจ้างเหมากันเป็นรายจังหวัดหรือรายภาคก็ไม่รู้ทำหน้าที่แทนเพื่อลดค่าใช้จ่าย ผลตามมาหรือครับ เมื่อตรวจตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) แต่ละครั้งสายตาต้องมองหารถยนต์บ้านหรือรถแท็กซี่ที่เข้าปั๊มมาเติมก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) เป็นที่รองรับก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) หลังการตรวจสอบให้คำรับรองฯ แลกกับการเติมก๊าซธรรมชาติได้ฟรีๆ เพราะรถยนต์บรรทุกถังเปล่าๆสำหรับบรรจุก๊าซธรรมชาติจากความตอนเดิมที่แล้วมันหายไปแล้วสิครับ (ดูรูปที่ 43)  โอเค Win-Win ครับ...
 
 
   
รูปที่ 42  แบบมาตราบนพื้นต่ออนุกรมกับตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ปลายทางเป็นถังเปล่าฯ บนรถยนต์บรรทุก
 
 
 
 
รูปที่ 43  แบบมาตราบนพื้นต่ออนุกรมกับตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ปลายทางเป็นแท็กซี่
 
 
          ดังนั้นจึงจับระบบมาตรวัดมาตรวัดมวลโดยตรงสำหรับก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ที่วางกับพื้นมาอยู่บนรถยนต์แล้วมองหารถแท็กซี่เหมือนเดิมก็ไม่แปลก
          แน่ละอาจมีอุปสรรคบ้างเช่นหัวรับก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ของแท็กซี่หรือรถยนต์บ้านจะบานหรือยับเยิน บิ่น ยัดไม่เข้าก็ต้องตะไปกันไป (ดูรูปที่ 44) แต่หากเจ้าหน้าที่เราไม่ทำตัวเหมือนช่างแต่เป็น White Collar ก็ลำบากตามเคย
 
 
  
รูปที่ 44 ความสึกหรอของหัวรับก๊าซธรรมชาติของรถยนต์เกิดขึ้นได้
 
          ในส่วนการ Empty Line ของท่อ Rubber Hose บนรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบ ก่อนม้วนสายเก็บเครื่องมืออุปกรณ์พร้อมเดินทางต่อไปนั้น เราต้องค่อยๆ ระบายความดัน ย้ำน่ะว่า “ค่อยๆ” ระบายความดันออกไปทางท่อซึ่งได้เดินไว้ให้ปลายทางออกต่อไปปล่อยบนหลังคารถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบ แต่ผู้รับจ้างต้องออกแบบและติดตั้งอุปกรณ์ให้ดีไม่ใช่เวลาผ่านไปฝุ่นหรือนกไปขี้ใส่ท่อจนท่ออุดตัน ...555    ซึ่งพิจารณาแล้วว่าเป็นก๊าซธรรมชาติปริมาณน้อยมาก ประกอบกับความหนาแน่นของก๊าซธรรมชาติเบากว่าอากาศ  ดังนั้นหากปล่อยออกไปทางหลังคารถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบแล้วก๊าซธรรมชาติมันจะลอยๆๆ ขึ้นไปสูงๆๆๆ แต่ต้องไม่ลอยไม่กักเก็บในโคมไฟฟ้าแสงสว่างภายในปั๊ม NGV น่ะครับ  มันเสียวถึงแม้นว่าโคมไฟฟ้าแสงสว่างจะเป็น Explosion Proof ก็ตามเถอะ    ดังนั้นก่อนปล่อยต้องดูตาม้าตาเรือ   ตาแมวและตาปลา...เสียก่อนน่ะครับ
          ซึ่งเดิมทีการตรวจสอบตู้จ่ายก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ด้วยวิธีการชั่งน้ำหนักนั้นหลังจากชั่งน้ำหนักแล้วเสร็จ ก็ต้องเข็นถังบรรจุก๊าซธรรมชาติไปปล่อยทิ้ง (ยกถังเปล่าๆ คนเดียวไม่ไหวครับหนักต้องใช้ Hand Lift) เนื่องจากสถานีบริการก๊าซธรรมชาติไม่มีระบบนำก๊าซธรรมชาติกลับคืนไปเก็บสำรองที่เดิมได้เนื่องจากต้องใช้เทคนิคลดอุณหภูมิและปั๊มแรงดันสูงถึงจะอัดก๊าซธรรมชาติกลับไปได้   ดังนั้นตอนปล่อยก๊าซธรรมชาติทิ้งมันต้องค่อยๆปล่อยไม่เช่นนั้นจะเป็น Rocket ขึ้นมาตามการ์ตูนละมันน่าหวาดเสียวกว่าเยอะครับเพราะปริมาณก๊าซธรรมชาติมันเยอะ ดังในรูปที่ 45
 
 
 
      
รูปที่ 45 ตรวจสอบมาตรวัดก๊าซธรรมชาติด้วยวิธีการชั่งน้ำหนัก และปล่อย CNG ออกจากถัง (ขวามือ)
 
เมื่อมองเห็นว่าการทำงานมีปัญหาอย่างไร เราก็พยายามออกแบบและให้ข้อคิดเห็นกับเสือตัวที่ 2 ซึ่งเข้าใจไวอยู่แล้วเพระเขาเชี่ยวชาญพอตัวอยู่แล้วในงานนี้ ผลงานในเบื้องต้นดังในรูปที่ 46-1 และรูปที่ 46-2
 
 
รูปที่ 46-1 การออกแบบการติดตั้ง Coriolis Mass Flowmeters (CNG/NGV) ของชั่งตวงวัด (เกือบ Final)
 
 
รูปที่ 46-2 การออกแบบการติดตั้ง Coriolis Mass Flowmeters (CNG/NGV) ของชั่งตวงวัด (เกือบ Final)
 
 
 
รูปที่ 47 เริ่มติดตั้ง Coriolis Mass Flowmeters (CNG/NGV) บนรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบ ยังขาดระบบท่อสำหรับ Empty Line ในสาย Rubber Hose
 
          สำหรับการซีลมาตรวัดมวลโดยตรงสำหรับก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ในสถานีบริการ (รูปที่ 49) นั้นก็เป็นเรื่องตลกร้ายอีกเช่นกัน เนื่องจากระบบโปรแกรมที่อยู่ในตัว Transmitter (หัวฟ้าๆ) นั้นหากเป็นผู้เชี่ยวชาญก็ตอบได้ว่าซีลไปก็เท่านั้น เนื่องจาก Coriolis Mass Flowmeters CNG050 ไม่ได้อยู่ในรุ่น Elite ดังนั้นมันจึงยังเป็นเรื่องที่ไม่สบายใจอยู่   หากมีอะไรก็หาดูใน Audit Trail ก็แล้วกัน ไม่แน่ใจว่ามีหรือเปล่า
 
 
 
รูปที่ 48 แบบมาตรามาตรวัดมวลโดยตรงสำหรับก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ในสถานีบริการ
 
ส่วนการติดตั้งตัว Coriolis Mass Flowmeters สำหรับการวัด “ก๊าซ” ทางผู้ผลิตแนะนำการติดตั้งให้ตัวมาตราวัดอยู่ในแนวขนานกับพื้นโดยให้หัว Transmitter อยู่ล่างตามรูปที่ 49   ซึ่งหากสังเกตุจะเห็นการวางตัวมาตรวัด อยู่ตรงข้ามกกันกับเมื่อใช้วัด “ของเหลว”
 
 
รูปที่ 49 แบบมาตรามาตรวัดมวลโดยตรงสำหรับก๊าซธรรมชาติ (CNG/NGV) ในสถานีบริการ
 
          เมื่อเสือตัวที่ 2 ส่งมอบงานออกมาจำนวน 2 ชิ้นคือชุดแบบมาตรา LPG และชุดแบบมาตรา CNG/NGV  และรวมชุดแบบมาตราน้ำมันเชื่อเพลิงจากเสือตัวที่ 1 เข้าด้วยกันส่งมอบต่อไปยังเสือตัวที่ 3 ซึ่งต้องทำการวางและกระจายน้ำหนักและจัดให้เข้าที่เข้าทางรวมทุกสิ่งอย่างที่กระจัดกระจาย แทนที่ต้องใช้รถยนต์หลายคัน แบบมาตราและอุปกรณ์หลายชิ้น ไม่ต้องหลงต้องลืมจัดระเบียบเครื่องมือเป็นสัดส่วน    เพื่อส่งมอบงานให้อยู่ใน 1 ชิ้นงานต่อไป
 
 
ง. รถยนต์บรรทุกดีเซล 4 ล้อขับเคลื่อน 2 ล้อหลัง ขนาดบรรทุกไม่น้อยกว่า 4 ตัน 
          งานนี้ก็เล็งไว้ที่รถยนต์บรรทุกเล็ก 4 ตันครับ   เนื่องจากชั่งตวงวัดมีสำนักงานชั่งตวงวัดสาขาเขตฯ และศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาคฯ กระจายทั่วทั้งประเทศไทยอยู่ประมาณ 27 สำนักงานฯ จึงประสงค์ให้เป็นรถยนต์ยี่ห้อตลาดรวมทั้งมีศูนย์บริการซ่อมที่ให้บริการมากที่สุดภายในประเทศเนื่องจากเราต้องเดินทางกันบ่อย (จริงๆ ก็ไม่รู้หรอก)   อีกทั้งเลือกเป็นเครื่องยนต์ดีเซล เพื่อลดปัญหาการเกิดสเก็ดไฟเมื่อติดเครื่องยนต์หรือเมื่อเครื่องยนต์เก่าลงเพราะเรายุ่งอยู่กับสารไวไฟ เราจึงต้องใช้วัตถุไปไวที่เป็นเครื่องยนต์ดีเซลเท่านั้น
          การแบ่งเป็น Compartment เป็นส่วนๆภายในรถยนต์เพื่อเป็นการแบ่งตามหน้าที่การใช้งานและเปิด Compartment ที่ต้องทำงานจริงๆ เพื่อความชัดเจนและรักษาทรัพย์สมบัติของหลวง   แต่ต้องไม่ใช่แบ่งจนปิดทึบมากจนเกินไป ต้องยึดหลักการให้อากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดโอกาสการสะสมผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมซึ่งอาจก่อให้เกิดการระเบิดได้    ต้องไม่มีมุมอับเป็นที่สะสมของน้ำมัน หรือก๊าซ LPG ซึ่งเป็นก๊าซที่หนักกว่าอากาศ
          ในประเด็น “ระดับรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบ” เอียงขณะทำการตรวจสอบให้คำรับรอง ไม่ว่าจะเป็นมาตรวัดปริมาตรน้ำมันเชื้อเพลิง มาตรวัด LPG หรือมาตรวัด NGV/CNG  นั้นจนต้องทำขาหยั่งเพื่อปรับระดับรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบให้ได้ระดับตามทฤษฎีนั้น สำหรับการปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการที่เราต้องควบคุมปัจจัยทุกปัจจัยให้ดีที่สุดก็ยอมรับได้ แต่สำหรับการปฏิบัติงานภาคสนามเราคิดว่าไม่จำเป็นต้องติดตั้งขาหยั่งปรับระดับ เนื่องจากผลกระทบความเอียงของรถยนต์โมบาย ฯ ต่ออัตราส่วนคอถังตวงแบบมาตรานั้น ไม่ได้มีผลกระทบต่อการอ่านค่าผลการวัดปริมาตรผิดเกินไปกว่าค่าที่ยอมรับได้ในภาคสนาม   นั้นรวมไปถึงความลาดเอียงของมาตรวัดแบบมาตราฯซึ่งให้ผลการวัดซึ่งก็อยู่ในเกณฑ์รับได้ถ้าไม่เชื่อเอารถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบไปทดสอบดูสิครับ... ประเด็นต่อมาในทางปฏิบัติเวลาจอดรถยนต์โมบายฯ เพื่อตรวจตู้จ่ายหนึ่งแล้วย้ายไปตรวจอีกตู้จ่ายอีกตู้หนึ่งภายในสถานีบริการเดียว เราก็ต้องเอาขาหยั่งปรับระดับลง เสร็จงานแล้วเอาขาหยั่งขึ้น มันยุ่งยากเกินไปมั๊ย     เรื่องต่อมาเมื่อเราออกแบบให้ยุ่งยากการบำรุงรักษายิ่งยาก อีกทั้งจะต้องเอาพลังงานจากไหนไปขับระบบไฮดรอริกส์ หรือระบบไฟฟ้าล้วนแล้วต้องคำนึงถึงความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายและค่าบำรุงรักษาสูง สำหรับราชการนั้นราชการมีเงินเพียงพอแค่เราไม่อดอยากและพอสมฐานะที่ไม่มากพอให้ร่ำรวยหรอกครับงบประมาณมันน้อยเพราะฉะนั้นต้องใช้ให้มีประสิทธิภาพที่สุด   สุดท้ายเราเชื่อในหลักคิดที่ว่า  “การออกแบบที่เรียบง่ายที่สุดเป็นการออกแบบดีที่สุด”  
          งานนี้เป็นเสือตัวที่ 3 ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในเรื่องการต่อประกอบรถยนต์ให้เหมาะสมกับความต้องการของลูกค้าทั้งในภาคข้าราชการพลเรือนและทหาร และมีความคล่องตัวในการประสานงานในระบบราชการซึ่งจะช่วยลดควาเหนื่อยลำบากของเราไปได้บ้างไม่มากก็น้อย แต่สุดท้ายมันยังไงก็ไม่รู้เสือตัวที่ 3 สงสัยเป็นตัวที่ใหญ่ๆๆๆ   แต่อย่าลืมในป่ามันก็มีเสือตัวใหญ่ๆหลายตัวเช่นกัน... 5555
          พิจารณารูปที่ 50 การจัดวางระบบแบบมาตรารวมถึงเครื่องมืออุปกรณ์เพื่อช่วยอำนวยความสะดวกและการแสดงผลการวัดเพื่อความโปร่งใส ประชาชนสามารถดูและตรวจสอบได้ เราจึงจัดและรวบรวมอุปกรณ์ทั้งหมดเข้าใส่บนรถยนต์เป็นชุดเคลื่อนที่เร็ว พร้อมรบตลอดเวลา   ไม่ต้องมั่วแต่หาแบบมาตรา เครื่องมืออุปกรณ์เอาชิ้นนั้นหลงลืมชิ้นนี้ การดูแลทรัพย์สินของหลวงก็จอดคู่กับรถเครน 10 ล้อไปเลยเห็นได้ชัดเจน   ไม่มีใครถอดอุปกรณ์ชิ้นใดชิ้นหนึ่งไปให้ผู้ประกอบการใช้โดยไม่มีใครเห็น 555...
ย้ำอีกครั้งว่าเป็นการรวบรวม “แบบมาตรา” ขึ้นรถยนต์โมบายฯ ดังในรูปที่ 50 ไม่ใช่เอา “ห้องปฏิบัติการฯ (Laboratories)” ขึ้นรถยนต์เพราะไม่มีคนขึ้นไปทำงานบนรถยนต์โมบายฯ   วางแต่แบบมาตราและเครื่องมืออุปกรณ์...   หวังว่าเราเข้าใจตรงกัน... น่ะ เพราะผมชี้แจงตรงกับวันที่ชี้แจงของบประมาณฯ แผ่นดินในการจัดทำโครงการรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบ   ถ้าไม่ชัดเจนกลับไปอ่านตอนต้นของบทความอีกครั้งหนึ่ง
          เมื่อต้องทำงานเป็นตัวเชื่อมประสานเสือ 3 ตัวก็อย่างว่าแหละครับทั้งเหนื่อยกายเหนื่อยใจแต่เสือก็มีความน่ารักความเมตตาในหลายมิติและมุมมอง เราเข้าใจเสมอว่าในการทำงานให้สำเร็จต้องได้รับความร่วมมือทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคใต้ ...และทุกๆภาคแหละครับ    ดังนั้นเสือทั้ง 3 เสือผมไม่กลัวหรอกครับเพราะขนาดเสือ 11 ตัวตอนหนุ่มๆผมก็ฟาดเรียบมาแล้วพร้อมมะขามเปียก   นับประสาอะไรกับเสือ 3 ตัว.......   แต่หากสู้ไม่ได้ก็ใช้กลยุทธ์สุดท้ายของซุ่นวูครับ.... “หนี”
 
 

 

น้ำมันเชื้อเพลิง

 

      

 LPG

 

น้ำมันเช้ือเพลิง + LPG + CNG

    

CNG

 
 
 
รูปที่ 50 รวมแบบมาตรา 3 ระบบแบบเดิมๆ มาไว้บนรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบ มันไม่ดีหรือครับ ??
 
 
 
 

ปัญหาที่ต้องแก้ไขและปรับปรุง

 

          เมื่อทำแล้วเสร็จ จะถือว่ามันสมบูรณ์หรือไม่ก็ขอตอบว่าไม่หรอกครับ   ยังมีเรื่องที่เห็นแล้วที่ต้องแก้ไขหลายประเด็นซึ่งได้ทำการแอบแก้ไขในรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบคันที่ 3 ไปเกือบหมด สรุปเป็นเรื่องหลักๆ คือ
1.           ภาระน้ำหนักที่เป็นทั้ง Dead Load และ Live Load ที่ตกลงบนรถยนต์บรรทุกขนาดเล็ก 4 ล้อที่เราเลือกนั้นพบว่ารองรับไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ ทั้งนี้ในตอนเริ่มต้นไม่สามารถกำหนด Dead Load ที่ชัดเจนได้เนื่องจากคิดกันสดๆ มีแต่ค่าประมาณการในเบื้องต้นเพราะไม่เคยทำกันมาก่อน   ดังนั้นครั้งต่อไปเราทราบ Dead Load แล้ว และลด Dead Load ได้เมื่อออกแบบให้ประสิทธิภาพขึ้น รวมทั้งวางแผน Load Distribution ให้ดีกว่าเดิม   จึงต้องปรับรถยนต์บรรทุกเล็ก 4 ล้อ 4 ตัน เป็นรถยนต์บรรทุก 6 ล้อ 6 ตันโดยมีโครงสร้างรถพื้นฐานเดิมกับที่ใช้อยู่
2.           เนื่องจากระบบมาตรวัดแบบมาตราต้องออกแบบให้ใช้งานกับสิ่งแวดล้อมที่อันตราย ก่อให้เกิดอันตรายจากการจุดติดไฟและระเบิดได้ ดังนั้นอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องทางไฟฟ้าและระบบอิเล็กทรอนิกส์จึงต้องมีคุณสมบัติ Explosion proof จัดอยู่ใน Class I, Div. 2 ตาม IEEE เราเกร็งเรื่องนี้ไปหน่อย แถบงบประมาณจำกัดการออกแบบป้องกันระเบิดจึงอยู่ในรูปแบบ Active ครั้งต่อไปเลยปรับการป้องกันการระเบิดให้เป็นแนว Passive แทน ส่งผลให้ขนาดสายไฟฟ้าลดลงไม่ต้องใช้แบบ Steel Armor Cable เพื่อให้ Explosion Poof Box ลดขนาดลง ส่งผลให้ลดน้ำหนักลดลง และมองดูและมองหาเทคโนโลยีใหม่ ๆๆและเลือกที่เหมาะสมกับเรา
3.           ปรับปรุง User Interface ให้มันดูเป็นมิตรมากขึ้นกับผู้ใช้ และใช้ไฟฟ้า DC ให้น้อยลง ซึ่งเดิมเราใช้ Battery 50-70 Amp จำนวน 2 ตัวมาต่ออนุกรม 2 ชุดจากนั้นนำ 2 ชุดมาต่อขนานรวมจำนวนทั้งหมด 4 ลูกจะได้ไฟฟ้า DC 24V แต่มีปัญหาเครื่องชาร์จ Battery ประจำรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบเพราะ Alternator ประจำรถยนต์โมบายฯ ผลิตจ่ายไฟฟ้า DC ที่ 24 V แต่มีกำลังรองรับ Load ไม่เพียงพอถ้าจะให้ไปชาร์จ Battery ที่เพิ่มขึ้นมาอีก 4 ลูก  ดังนั้นหากสามารถปรับเปลี่ยน Alternator ให้ชาร์ตได้ทั้งแบตเตอรี่รถยนต์และแบตเตอรี่ของมาตรวัดจะดีทำให้ไม่ต้องคอยชาร์จไฟให้กับ Battery จะได้เดินทางไปชาร์จไป  ในส่วนจำนวนแอมป์ไฟฟ้าที่ออกแบบเดิมไว้นั้นสามารถใช้งานวันละ 6 ชั่วโมงจำนวน 4 – 5 วัน ได้ต่อการชาร์จ Battery ให้เต็ม 1 ครั้ง แต่ห้ามนำไปใช้ขับอุปกรณ์ไฟฟ้าอย่างอื่น หรือในอนาคตอาจติด Solar Cell Panel บนหลังคารถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบเพื่อชาร์จ Battery
4.           หากงบประมาณได้เพิ่มขึ้นมาต้องจัดให้มี PLC Controller  1 ตัวควบคุมการทำงาน Coriolis Mass Flowmeter 1 ตัว หรือแบบ 1 ต่อ 1 เพื่อให้รองรับการทำงานที่รวดเร็วและเก็บข้อมูลให้เพียงพอต่อ Sampling rate ข้อมูล รวมทั้งโปรแกรมที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ...
5.           เรื่องปลีกย่อย เช่นลดความสูงของหลังรถยนต์ พร้อมติดตั้งหมวกลู่ลม หรือสปอยเลอร์หลังคาเพื่อเหตุผลการทรงตัวและ Aerodynamic และลดค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ตลอดจนเรื่องปลียกย่อย ฯลฯ    ที่สำคัญอย่ามาติดสติ๊กเกอร์รถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบจนส่งสัญญาณให้ชาวบ้านคิดว่ามาฉายหนังกลางแปลงขายยา.......น่ะพี่.....   ชั่งตวงวัดปฏิบัติหน้าที่เสมือนหนึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองน่ะท่าน      มันจะประชาสัมพันธ์มากไปถึงไหนขนาดรถตู้ราชการเข้ารัฐสภา ตำรวจรัฐสภาจะไม่ยอมให้เข้าไปนึกว่ารถตู้บริษัทฯ   ไม่ใช่รถตู้ราชการมาทีแล้ว........... ตูล่ะหน่าย....งบฯมันเยอะจริง ๆๆ...
 
ที่จิ้ม Keyboard มาทั้งหมดนี้ ขอให้ถือว่าได้ใช้ช่องทางและโอกาสนี้เป็นการสื่อสารภายในองค์กร และพันธมิตรชั่งตวงวัดที่มาอ่าน   อีกทั้ง...ฝาก...เป็นองค์ความรู้เพื่อให้ชั่งตวงวัดหรือผู้ที่สนใจเป็นก้อนหินก้อนแรกเหยียบแล้วทะยานไปยังดาว...อังคาร..   เป็นบ้านหลังที่ 2 ของชาวโลก
ส่วนประโยคใดทำให้ขุ่นมัวใจก็ขอโทษ.......มา ณ ที่นี่
 
 
 
 
งานก้าวต่อไป....
เราจินตนาการกันเล่นๆดู   หากเราได้รถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบครบทุกสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขตฯ รวมทั้งศูนย์ชั่งตวงวัดประจำภาค รวมทั้งส่วนกลาง โดยเฉพาะส่วนกลางและสำนักงานสาขาชั่งตวงวัดเขตฯ ที่มีจำนวนสถานีบริการมากที่สุดอาจมีรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบมากกว่า 1 คันก็ได้ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม แต่ถ้าไม่ได้ก็ไม่เป็นอะไร
เราจะทำโครงการยุทธศาสตร์ “ลงแขก”   ลงแขกกันเป็นระยะ หรือเป็นฤดูกาล หรือเป็นเทศกาล หรือรายจังหวัด หรือรายภาค หรือราย Clusters หรือ ฯลฯ    แล้ว “ลงแขก” อย่างไร เรื่องนี้เคยได้พูดคุยกับชั่งตวงวัดบางคนว่าคนเราน้อยเหลือเกินจะดูแลเครื่องชั่งตวงวัดให้ทั่วถึงทั้งประเทศยาก จะผลักภาระให้หน่วยงานไหน ใครก็ไม่ยอมรับเพราะทางเขาก็ต้องการ “Out Source” เหมือนกับเรา ทางเขาก็อยากจะลดงานที่ต้องใช้กล้ามเนื้อเช่นกัน มันรู้เท่าทันกันหมดแหละครับยิ่งในปัจจุบันมี Internet อีกด้วยแล้วกันไปใหญ่  ลองไปอ่านหนังสือ “The World is Flat” ของ Thomas Friedman สิครับ  ซึ่งเรื่องนี้ก็ครอบคลุมไปถึงการให้ผู้ผลิตและผู้ซ่อมเครื่องชั่งตวงวัดให้สามารถตรวจรับรองเอง   ชั่งตวงวัดไม่คิดหรือว่าทางภาคเอกชนก็ต้องการ “Out Source” และต้องการบริการราคาถูกจากภาครัฐเช่นกันไม่ต้องซื้อรถเครน 10 ล้อ ไม่ต้องเสียค่าน้ำมัน ไม่ต้องเสียค่าบำรุงรักษา ไม่ต้องการหาคนขับรถยนต์คนงาน ไม่ต้องสร้างรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบแบบชั่งตวงวัด ไม่ต้องเสียค่าประกันสังคม เก็บค่าธรรมเนียมการตรวจสอบให้คำรับรองก็มีเพดานตามที่กฎหมายกำหนด  ระยะเวลาอายุคำรับรองก็ไม่จูงใจ และฯลฯ   ภาคเอกชนตั้งบริษัทฯมาเพื่อทำมาหากินหากำไรครับ ไม่ใช่ทำการกุศล !!! และรัฐเราถ้าไปเล่นตามเกมภาคเอกชนอย่างน้อยสุดคือไม่ขอกำไรแต่ไม่ขอขาดทุนก็ยิ่งยากครับ เพราะ Input ของระบบราชการไม่ได้มีประสิทธิผล ประสิทธิภาพตั้งแต่เริ่มต้นเสียแล้ว
ดังนั้นการลงแขกจำเป็นต้องทำงานภายใต้ยุทธศาสตร์ “คนน้อย (Man-hour น้อย)” แต่ต้องดูแลเครื่องชั่งตวงวัดทั่วทั้งประเทศที่สะสมเพิ่มขึ้นทุก ๆปี โดยเฉพาะในกรณีนี้ประเมินว่าสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงและสถานีบริการพลังงานทางเลือกซึ่งมีจำนวนประมาณการทั่วประเทศรวมกันแล้วประมาณ20,000 สถานีบริการ (พ.ศ. 2557) คิดเป็นจำนวนหัวจ่ายประมาณ 300,000 หัวจ่าย   จึงต้องปรับให้ใช้ “เครื่องมือแบบมาตราประสิทธิภาพสูง” การนำ “เทคโนโลยีทั้งการสื่อสารและคอมพิวเตอร์” มาใช้ชดเชย ขั้นตอนเอกสารหลักฐานต้องปรับเปลี่ยนเป็น Digitalization ให้หมดทั้งนี้เพื่อสามารถนำกลับมาทำซ้ำได้อย่างไม่จำกัดเช่นจัดเก็บเป็นประวัติเครื่องชั่งตวงวัด การพิมพ์รายงานผลการตรวจสอบให้คำรับรอง การ Download เอกสารใบรายงานผลตรวจสอบให้คำรับรองโดยเจ้าของเครื่องชั่งตวงวัดก็ต้องมีสิทธิเข้าถึงส่วนจะกำหนดกรอบเวลาการ Download เช่นภายในระยะเวลาอายุคำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดชนิดนั้น ๆ ก็ว่ากันไป   การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกันอย่างรวดเร็วเพื่อให้เข้าถึงเป้าหมายเครื่องชั่งตวงวัดที่ต้องการตรวจสอบให้คำรับรองและตรวจสอบระหว่างการใช้งานสามารถเดินทางได้อย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนเส้นทางการเดินทาง ฯลฯ ภายใต้ราชอาณาจักไทย ต้องมีฐานข้อมูลชั่งตวงวัดหนึ่งเดียว
ยกตัวอย่าง “ลงแขก” เช่น ในช่วงฤดูหนาวภาคเหนือหรือกลุ่มจังหวัดอีสานตอนบนมีอากาศหนาวเย็นสบายประชาชนนิยมเดินทางท่องเที่ยวมาก การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงมีตั้งแต่น้ำมันเบนซิล ดีเซล ฯลฯ รวมทั้งพลังงานเชื้อเพลิงทางเลือกก๊าซ LPG และ ก๊าซธรรมชาติ สุดแท้แต่รสนิยมและกำลังทรัพย์นั้นมากน้อยแตกต่างกันไป ชั่งตวงวัดก็ทำแผนยุทธการ “ลงแขก” ระดมชั่งตวงวัดสำนักงานสาขาเขตฯ ที่อยู่ในเส้นทางการเดินรถยนต์เส้นทางหลักร่วมกันตรวจสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงทั้ง 2 ฝั่งถนนเส้นทางหลักดังกล่าวไล่จากกรุงเทพฯ ส่งไปจนถึงที่พักของนักท่องเที่ยวไทยไปเลยสิครับ   หากเรามีรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบการระดมพลลงแขกสามารถทำได้รวดเร็วครบถ้วน วิ่งไปตลอดทั้งถนนทั้งสายตรวจได้ทุกปั๊มจะน้ำมันก็ได้ จะ LPG ก็ได้ จะ NGV ก็ได้ ไม่ใช่เดี๋ยวก่อนน่ะครับเดี๋ยวอีกคันจะมาตรวจ NGV ให้น่ะครับผมเอาแบบมาตรามาใช้ตรวจได้เฉพาะน้ำมัน ??????     การรวมพลชั่งตวงวัดในแต่ละคราวก็จัดให้มีการประชุมก่อนและหลังปฏิบัติงานเพื่อสรุปปัญหาการทำงานก่อนและหลังเพื่อเป็นองค์ความรู้และได้สอนงานกัน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กัน และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีต่อกันในการประสานงานทำงานร่วมกันในอนาคต และในขณะตรวจบริการชั่งตวงวัดเราก็ลงรูปใน Facebooks ไปด้วย แถมให้ถ่ายรูป Selfie ไปด้วยลง Facebooks ไปเพราะเดี๋ยวนี้ผู้สื่อข่าวเขาหาข่าวจาก  Facebooks ไปลงหนังสือพิมพ์ เช่นสมมุติว่าเราดำเนินการจับกุมแม่ค้าตลาดสดเราก็ไปลง Facebooks เดี๋ยวผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์มันไปเอาข่าวจาก Facebooks เราไปลงหนังสือพิมพ์เองแหละ  5555 หยอกเล่นครับ ก็ใช้ช่องทางประชาสัมพันธ์ที่ไม่ต้องจ่ายงบประมาณไปแล้วกันโดยหลักการ
นอกจากนี้ตัวอย่างเช่นเกิดเหตุการณ์อุทกภัย   หลังเกิดเหตุเราก็ทำ CSR เลยสิครับเกณฑ์รถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบทั่วประเทศไปดำเนินการตรวจสอบมาตรวัดน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้ง LPG CNG รวมทั้งเครื่องชั่งตวงวัดอื่น ๆเข้าไปด้วย   ทำงานอย่างนี้ประชาชนไม่รักชั่งตวงวัดให้รู้ไป....   เราเองก็อยากได้แนวร่วมประชาชนช่วยแจ้งข่าวและร้องเรียนฯเพราะไม่สามารถเข้าไปทุกซอกทุกมุมของสังคมนั้นเอง..... ซึ่งมันเป็นปัญหาพื้น ๆของระบบราชการ   แต่กระทรวงสาธารณะสุขแก้ไขปัญหานี้ได้ด้วย “อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)”   จริงๆแล้วตอนเข้ารับราชการใหม่ ชั่งตวงวัดก็มี “อาสาสมัตรชั่งตวงวัด (อสชว)” แต่คงไม่ได้รดน้ำพรวนดินผ่านไปนานปีคงตายไปหมดแล้ว ตุ้มน้ำหนักละลายเป็นถ่านไปแล้วกระมัง
          ก้าวย่าง สร้างคนให้คุ้นเคยเทคโนโลยี และอย่าต่อต้านเทคโนโลยี ที่สำคัญรู้คุณและโทษเทคโนโลยี เพื่อการทำงานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมาย (Legal Metrology) การฝึกให้คนทำงานไม่กลัวเทคโนโลยี หรือลดการต่อต้านเทคโนโลยีก็ต้องค่อยๆ ป้อนเข้าไป ไม่เช่นนั้นเมื่อเราไม่ปรับตัวเองแล้วสิ่งเร้าภายนอกบังคับให้ชั่งตวงวัดต้อง “CHANGE” ชั่งตวงวัดก็จะ “SHOCK” ตายชักสมอเร่..... 555
 
 
 
เมื่อถึงปลายทาง...งานบุกเบิก...
การทำงานร่วมกันหลายฝ่ายของชั่งตวงวัดตามหน้าที่แห่งตน วันนี้สิริรวมตั้งแต่ พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน พ.ศ. 2564 เรามีรถยนต์โมบายแบบมาตรา 3 ระบบทั้งหมด 3 คัน   ยังอีกหลายสิบคันที่ต้องเดินไปให้ถึง งานชั่งตวงวัดตามข้อกำหนดของกฎหมาย (Legal Metrology) ของราชอาณาจักรไทยพอเดินได้ และแข็งแรงเพิ่มขึ้นเพื่อสามารถรักษาและดูแลเครื่องชั่งตวงวัดภายในราชอาณาจักรไทยได้ทั่วถึงครบถ้วนรวดเร็วและน่าเชื่อถือ ผลประโยชน์ตกกับประชาชน  
 
 
 
 
 
 
หน่วยงานราชการอย่างชั่งตวงวัดไม่มีงบประมาณที่เป็น RD (Research and Design) ถึงจะมีได้เราก็ของบประมาณฯไม่เป็น แต่เราก็จะทำและเมื่อเป็นงานบุกเบิกเราได้แต่เดินหน้าอย่างเดียว ล้มเหลวไม่ได้ เมื่อสำเร็จก็เพียงเสมอตัว แต่หากไม่สำเร็จก็เปลืองตัว….   งบประมาณที่ลงไปเพื่อพัฒนางานชั่งตวงวัดหากเป็นประโยชน์ต่อประชาชนก็ถือว่าสำเร็จ อย่าไปหาความคุ้มค่าในค่าธรรมเนียมที่จัดเก็บกลับคืนรัฐมาได้ มันเป็นหน้าที่หน่วยจัดเก็บรายได้ของภาครัฐ ไม่ใช่ชั่งตวงวัด   เพราะเชื่อด้วยความบริสุทธิ์ใจตามรอยพ่อว่า “Our Loss Our Gain” ..... สาธุ
 
 
 
 
 
 
 
ชั่งตวงวัด; GOM MOC
นนทบุรี
2 กุมภาพันธ์ 2564

 



จำนวนผู้เข้าชม : 5608