สาระน่ารู้ ชั่งตวงวัด

มาตรวัดปริมาตรน้ำชั้นความเที่ยง (Class) B เดิม เทียบกับชั้นความเที่ยงตามประกาศกระทรวงฯฉบับใหม่

 

 

 มาตรวัดปริมาตรน้ำชั้นความเที่ยง (Class) B ตามกฏกระทรวงฯ เดิม

 

เทียบกับชั้นความเที่ยงตามประกาศกระทรวงฯ ฉบับใหม่
 
 
            กฎกระทรวง กำหนดเครื่องวัดที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ชนิด ลักษณะ รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด และเครื่องรับรองของเครื่องชั่งตวงวัด และหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนเครื่องหมายเฉพาะตัว พ.ศ.2546 (ต่อไปนี้เรียกว่า “กฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับเทคนิค พ.ศ. 2546”) เป็นฉบับที่กำหนดรายละเอียดเครื่องชั่งตวงวัดภายใต้พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ได้กำหนดชั้นความเที่ยงของมาตรวัดปริมาตรน้ำออกเป็น 3 ชั้นความเที่ยงได้แก่
 
รูปที่ 1 ตารางแบ่งชั้นความเที่ยงมาตรวัดปริมาตรน้ำตามกฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับเทคนิค พ.ศ. 2546
 
            เมื่อได้ปรับปรุงพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2557 ได้กำหนดให้การกำหนดชนิด ลักษณะ รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของเครื่องชั่งตวงวัดสามารถออกเป็นประกาศกระทรวงฯ ภายใต้คำแนะนำคณะกรรมการชั่งตวงวัดเสนอต่อรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์ ด้วยเหตุนี้และประกอบกับกฎกระทรวง กำหนดเครื่องวัดที่อยู่ในบังคับแห่งพระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ชนิด ลักษณะ รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด และเครื่องรับรองของเครื่องชั่งตวงวัด และหลักเกณฑ์และวิธีการจดทะเบียนเครื่องหมายเฉพาะตัว พ.ศ.2546 ได้ใช้มาเป็นเวลานานเกือบ 20 ปี และประกอบกับเทคโนโลยีของโลกเปลี่ยนแปลงไป และประกอบกับ OIML ได้ออก OIML Recommendation ใหม่มาหลายรุ่นแล้ว  และประกอบกับ (กับอีกหลายประกอบ..กับ) จึงได้มีประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิด และลักษณะของมาตรวัดปริมาตรน้ำ รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต และอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด พ.ศ. 2561 (ต่อไปนี้เรียกว่า “ประกาศกระทรวงพาณิชย์มาตรวัดปริมาตรน้ำ พ.ศ. 2561”)   ไปดูได้ใน www.cbwmthai.org ในหน้ากฎหมายน่ะ ได้แบ่งชั้นความเที่ยงออกเป็น 2 ชั้นความเที่ยงโดยชั้นอัตราการไหลเป็นตัวแบ่งพร้อมเงื่อนไขต่างๆ ซึ่งเราจะได้คุยกันต่อไป
 
 
            พอปี่แป่เชิดก็เจอคำถามหลายคำถาม แต่คำถามที่โดนเข้าดั๊งปลายจมูกและมึนๆๆ ไปพักหนึ่งเพราะตามความคิดคนที่อยู่ในวงการมาตรวัดปริมาตรน้ำเป็นเวลานานก็เป็นต่อในด้านความคิดและประสบการณ์ เราเลยต้องมาตั้งหลักก่อนแล้วค่อยๆแกะความคิดเค้าและค่อยๆประติดประต่อความคิดเรา จนถึงจุดหนึ่งก็ตอบเค้าไป แต่อย่างว่าอย่าให้เสียของ เพราะหลายคนอาจมีความคิดนี้ และหลายคนก็ไม่มีความคิดนี้ ก็ถือว่าเป็นการแบ่งปั่นความรู้ระหว่างคนทำงานในด้านชั่งตวงวัดก็แล้วกัน ยกคำถามที่ว่า
 
ปุจฉา.......
            “......ทำให้เกิดความสับสนในการเลือกใช้มาตรวัด เช่น ถ้ามาตรวัดปริมาตรน้ำเดิมเป็น  Class B เมื่อผลิตเป็น Version ใหม่เป็นค่า R จะเป็นค่า R เท่าไร
            ยกตัวอย่างเช่น มาตรวัดปริมาตรน้ำ Class B  ขนาด 15 mm มี Q1 = 30 l/h, Q3 = 1,500 l/h ดังนั้น R ควรเป็น 50 แต่มีการตีความว่า Q3 กลายมาเป็น 2,500 l/h โดย Q1 = 30 l/h และ R = 80 ทั้งนี้เพราะชั่งตวงวัดใช้ทดสอบที่ 0.5Q3 = 0.5(2,500) = 1,250 l/h และที่ Q1 = 30 l/h    เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วทำให้ผู้ผลิตต้องแสดงระบุรายละเอียดลักษณะมาตรวัดปริมาตรน้ำตามประกาศกระทรวงฯ ฉบับใหม่เป็น Q3 = 2.5 m3/h และ Q3/Q1 = R = 80   ถูกต้องหรือไม่ ? 
            ยกตัวอย่างในกรณีมาตรวัดปริมาตรน้ำที่มีส่วนแสดงค่าเป็นไฟฟ้า ถ้านำเข้าจากต่างประเทศได้ระบุรายละเอียดลักษณะมาตรวัดปริมาตรน้ำ Q3 = 40 m3/h Q1 = 0.1 m3/h และ Q3/Q1 = R = 400  ถ้านำเข้ามาขายในประเทศไทยจากหลักคิดดังข้างต้น ผู้นำเข้าฯจะต้องระบุรายละเอียดลักษณะมาตรวัดปริมาตรน้ำเสียใหม่เป็น Q3 = 80 m3/h Q1 = 0.1 m3/h และ Q3/Q1 = R = 800  เลยได้หรือไม่เพราะชั่งตวงวัดทดสอบแค่  0.5Q3 = 0.5(80) = 40 m3/h”
 
วิสัชนา.....
            เริ่มแกะรหัสลับดาวินชีกันเลยครับ   ในสไตล์ลอกเลียนแบบศาลธรรมนูญ
            ประเด็นที่ 1 : ชั่งตวงวัดมีอำนาจภายใต้กฎหมายวินิจฉัยในประเด็นนี้ได้หรือไม่.... แฮะๆๆ     การเรียกชื่ออัตราการไหลตามกฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับเทคนิค พ.ศ. 2546 เทียบกับประกาศกระทรวงพาณิชย์มาตรวัดปริมาตรน้ำ พ.ศ. 2561 เราทำเป็นตารางกันน่ะ เพื่อความชัดเจนและป้องกันสับสนโดยเฉพาะอักษรตัวย่อทั้งในเนื้อหาและสื่อการสอนโดยเฉพาะรูปภาพประกอบ
 
อัตราการไหล
กฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับเทคนิค
พ.ศ. 2546
ประกาศกระทรวงพาณิชย์มาตรวัดปริมาตรน้ำ
พ.ศ. 2561
เอกสารประกอบรูป
อัตราการไหลต่ำสุด
Qmin
Q1
qmin
อัตราการไหลเปลี่ยนช่วง
Qt
Q2
qt
อัตราการไหลระบุ
Qn
-
qp
อัตราการไหลสูงสุด
Qmax
Q3
qs
อัตราการไหลทนทานสูงสุด
-
Q4
-
ตารางที่ 1 สัญลักษณ์กำกับอัตราการไหลของมาตรวัดปริมาตรน้ำ
 
โดยมีนิยาม
            “อัตราการไหลต่ำสุด” (Q1) หมายความว่า อัตราการไหลต่ำสุดที่มาตรวัดสามารถทำงานได้ โดยความคลาดเคลื่อนของมาตรวัดไม่เกินไปกว่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่กำหนด
            “อัตราการไหลเปลี่ยนช่วง” (Q2) หมายความว่า ค่าอัตราการไหลที่แบ่งช่วงการไหลข้างต่ำและช่วงการไหลข้างสูง และเป็นจุดที่เปลี่ยนค่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่กำหนดตามช่วงการไหลนั้นๆ
            “อัตราการไหลสูงสุด” (Q3) หมายความว่า อัตราการไหลสูงสุดที่มาตรวัดสามารถทำงานได้โดยไม่เกิดความเสียหายกับตัวมาตรวัด และความคลาดเคลื่อนของการวัดปริมาตรของมาตรวัดไม่เกินไปกว่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่กำหนด 
            “อัตราการไหลทนทานสูงสุด” (Q4) หมายความว่า อัตราการไหลสูงสุดที่มาตรวัดสามารถทำงานได้โดยไม่เกิดความเสียหายกับตัวมาตรวัด และความคลาดเคลื่อนของมาตรวัดไม่เกินไปกว่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่กำหนดภายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งมีค่าสูงกว่าอัตราการไหลสูงสุด 
            “อัตราการไหลระบุ” หมายความว่า อัตราการไหลที่มาตรวัดทำงานอย่างปกติทั้งต่อเนื่องและไม่ต่อเนื่องได้ โดยความคลาดเคลื่อนของมาตรวัดไม่เกินไปกว่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่กำหนด และอัตราการไหลระบุมีค่าเป็น ๐.๕ เท่าของอัตราการไหลสูงสุด 
 
รูปที่ 2 อัตราการไหลของมาตรวัดปริมาตรน้ำ
 
            ประเด็นที่ 2 : เหตุที่ต้องระบุและนิยาม “อัตราการไหลระบุ” ทั้งๆที่ไม่ได้ใช้นิยามคำนี้ใดๆในประกาศกระทรวงพาณิชย์มาตรวัดปริมาตรน้ำ พ.ศ. 2561 ก็ด้วยเหตุผลทางเทคนิคนั้นคือการกำหนดค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบให้คำรับรองมาตรวัดปริมาตรน้ำซึ่งกำหนดไว้ในกฎกระทรวงฯ ได้กำหนดค่าธรรมเนียมบนพื้นฐานของ “อัตราการไหลระบุ”   ซึ่งหากต้องแก้ไขกฎกระทรวงฯดังกล่าวอาจใช้เวลานานมากน้อยก็ด้วยความเมตตาของคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าพิจารณาใช้เวลานานมากน้อยเพียงใดก่อนส่งให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาจากนั้นส่งกลับมายังรัฐมนตรีกระทรวงพาณิชย์เพื่อออกเป็นกฎกระทรวงต่อไป    ชั่งตวงวัดเราเลยต้องใช้เทคนิคนี้ไปพลางๆก่อนน่ะครับทั้งนี้เพื่อให้งานได้เลื่อนไหล Smooth as Silk ครับ ไม่เช่นนั้นเมื่ออกประกาศกระทรวงพาณิชย์มาตรวัดปริมาตรน้ำ พ.ศ. 2561 ไปแล้วแต่เมื่อทำการตรวจสอบให้คำรับรองมาตรวัดปริมาตรน้ำ มันไม่มีช่องทางเก็บเงินค่าธรรมเนียมเพราะเกิดการติดขัดกันระหว่างกฎกระทรวงพาณิชย์ กับประกาศกระทรวงพาณิชย์ ถ้าหากเด็กพาณิชย์ยกพวกตีกันพวกที่เป็นกฎกระทรวงใหญ่กว่าเด็กพาณิชย์พวกประกาศกระทรวง ดังนั้นเด็กประกาศกระทรวงถือว่าด้อยสิทธิ์กว่าโดยตีกระเจิงละลายสิครับพับผ้า     ผลตามมาที่ไม่ต้องการก็คือชั่งตวงวัดดันไปเผลอกำหนดอัตราการไหลทดสอบด้วยคำนิยามเดิม “อัตราการไหลระบุ” ในระเบียบสำนักงานกลางชั่งตวงวัดฯ ล่าสุดอีก ตามที่อ้างถึงในปุจฉานั้นแหละครับ ยิ่งทำให้พวกท่านที่เกี่ยวข้องกับงานชั่งตวงวัดทางด้านมาตรวัดปริมาตรน้ำมึนกันต่อ   ส่วนเหตุผลกลใดก็ไม่อยากพูดถึงครับ แต่อย่างไรก็ตามก็ต้องทำการปรับปรุงแก้ไขกันต่อไป   ในขณะเดียวกันหากเหลือบสายตาไปมองมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก) เกี่ยวกับมาตรวัดปริมาตรน้ำซึ่งกำลังร่างมาตรฐานฯกันอยู่ก็น่าจะมีการกำหนดค่าอัตราการไหลทดสอบอยู่หลายจุด ยังโชคดีที่ยังมีมาตรการอีกเวทีหนึ่งคอยประกบประคับประคองกันอยู่เช่นกัน มันดีต่อใจที่ช่วยกันทำดี
 
            ประเด็นที่ 3 : ทางเทคนิคเราจัดกลุ่มมาตรวัดปริมาตรน้ำ 3 กลุ่มหลัก คือ แบบกลไก, แบบ Electromagnetic และแบบ Ultrasonic ดังในรูปที่ 3 แต่อย่างไรก็ตามก็ขอให้ทำใจลอยกว้างๆใจลอยๆไว้เพราะโลกมันเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีมันเปลี่ยนแปลง ปัญหาชีวิตแต่ละองค์กรที่มีมันแตกต่างกัน การแก้ไขปัญหาชีวิตแต่ละองค์กรก็ต่างกันไป
 
รูปที่ 3 การแบ่งกลุ่มมาตรวัดปริมาตรน้ำตามหลักการทำงาน
 
            มาตรวัดปริมาตรน้ำในประเทศไทยก็มีครบทั้ง 3 แบบแหละครับแต่ที่มีมาตรฐานอุตสาหกรรม (มอก) นั้นมีเพียงแบบเดียวคือแบบกลไกที่มีส่วนแสดงค่าแบบกลไกและแบบอิเล็กทรอนิกส์   และมาตรวัดปริมาตรน้ำที่มีจำนวนใช้งานมากที่สุดในภาคครัวเรือนก็เป็นมาตรวัดปริมาตรน้ำแบบกลไกนี่แหละ    ด้วยเหตุนี้เราจึงคุยเฉพาะมาตรวัดปริมาตรน้ำแบบกลไกเพื่อตีกรอบขอบเขตให้ชัดเจนไว้ก่อน
            มาตรวัดปริมาตรน้ำแบบกลไกมีด้วยกัน 3 ชนิด หลายคนอาจมีความรู้มากมายอาจเถียงในใจว่ามันมีมากกว่านี้ ใช่ครับ แต่เพื่อตีกรอบการพูดคุยไม่ให้กระจายเราแบ่งในเบื้องต้นเพื่อความสะดวกในการพูดคุย คือ
1.         Volumetric Water Meter เช่น Rotary Piston (ดูรูปที่ 4)
รูปที่ 4 ตัวอย่างมาตรวัดปริมาตรน้ำชนิด Rotary Piston
 
2.     Inferential Water Meter เป็นมาตรวัดน้ำแบบกลไกที่มีใช้จำนวนมากที่สุดในประเทศไทยเพราะใช้ในภาคครัวเรือนสิครับ ถ้านึกไม่ออกเมื่อท่านกลับบ้านลองไปอยู่หน้าบ้านก้มลงดูมาตรวัดปริมาตรน้ำหน้าบ้านอยู่อาศัยของท่านก็จะเจอครับ   ถ้าพูดถึงหลักการทำงานมาตรวัดปริมาตรน้ำชนิดนี้ก็คือมาตรวัดชนิด Turbine นั้นเอง   ซึ่งจะถูกแบ่งย่อยตามลักษณะของส่วนวัด หรือ Impeller คือ
 
รูปที่ 5 รูปร่างลักษณะของ Impellers ในมาตรวัดปริมาตรน้ำชนิด Inferential Water Meter
 
2.1.    แบบ Radial Vane Impeller   ซึ่งแบ่งย่อยออกเป็น
2.1.1. Single Jet น้ำไหลเข้ามาตรวัดปริมาตรวัดน้ำช่องทางเดียวแล้วผ่านการวัดด้วยส่วนวัดจากนั้นไหลออกจากมาตรวัดปริมาตรน้ำในช่องทางเดียว
 
 
รูปที่ 6 ภาพตัดของมาตรวัดปริมาตรน้ำชนิด Inferential Water Meter แบบ Single Jet
 
2.1.2. Multi Jet  น้ำไหลเข้ามาตรวัดปริมาตรวัดน้ำหลายช่องทางแล้วผ่านการวัดด้วยส่วนวัดจากนั้นไหลออกจากมาตรวัดปริมาตรน้ำในหลายช่องทางเช่นกัน
 
รูปที่ 7 ภาพตัดของมาตรวัดปริมาตรน้ำชนิด Inferential Water Meter แบบ Multi Jet
 
ทั้งนี้ในภาพรวมแล้วมาตรวัดปริมาตรชนิด Inferential Water Meter จะมีสมรรถนะของการทำงานที่มีผลผิดเทียบกับอัตราการไหลดังรูปที่ 8
 
รูปที่ 8 กราฟสมรรถะของมาตรวัดปริมาตรน้ำชนิด Inferential Water Meter
 
2.2.      แบบ Helical Vane Impeller   ที่นิยมเป็นแบบ Woltmann Water Meter มีทั้งแบบตัว Impeller ติดตั้งอยู่ในแนวนอนและในแนวตั้ง
รูปที่ 9 ภาพตัดของมาตรวัดปริมาตรน้ำชนิด Inferential Water Meter แบบ Woltmann Water Meter
 
3.         Combination Water Meter   เป็นมาตรวัดปริมาตรน้ำที่มี 2 มาตรวัดทำงานร่วมกัน มาตรวัดตัวหนึ่งทำงานวัดปริมาตรน้ำเมื่ออัตราการไหลต่ำโดยมาตรวัดอีกตัวจะไม่ทำงาน จนกระทั่งอัตราไหลปริมาตรน้ำเพิ่มสูงขึ้นจากนั้นมาตรวัดอีกตัวซึ่งไม่ทำงานก่อนหน้านี้จะมารับช่วงทำการวัดอย่างต่อเนื่องต่อจากมาตรวัดตัวแรกที่หยุดทำงาน
รูปที่ 10 ภาพตัดของมาตรวัดปริมาตรน้ำชนิด Combination Water Meter
 
            ประเด็นที่ 4 : ตามที่กล่าวไว้ดังข้างต้นว่าเราขีดกรอบขอบเขตพิจารณามาตรวัดปริมาตรน้ำที่ใช้จำนวนมากที่สุดในครัวเรือน    ดังนั้นเมื่อเรารู้จักชนิดของมาตรวัดปริมาตรน้ำที่เราเกี่ยวข้อง เราจึงสมมุติว่าท่านเข้าใจหลักการทำงานของมาตรวัดปริมาตรน้ำชนิด Inferential Water Meter  (ขอขี้โกงหน่อย เพราะจะให้พูดหลักการทำงานของมาตรวัดชนิด Turbine อีก... โถ มันเหนื่อยขอรับท่าน... อีกอย่างพวกท่านเก่งกว่าพวกผมอยู่แล้ว...) ซึ่งมีกราฟสมรรถะของมาตรวัดปริมาตรน้ำชนิด Inferential Water Meter (ดูรูปที่ 8) แต่ต้องระวังสับสนเรื่องสัญลักษณ์ของอัตราการไหลหน่อยครับหากสับสนให้กลับไปดูในตารางที่ 1 เพราะหารูปสวยๆเพื่อใช้อธิบายได้ไม่คล่องตัวเท่าที่ควรเพราะทำคนเดียวทุกอย่างไม่ทันการ
 
รูปที่ 11 กราฟแสดงอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของมาตรวัดปริมาตรน้ำ
 
รูปที่ 12 อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของมาตรวัดปริมาตรน้ำประกาศกระทรวงพาณิชย์มาตรวัดปริมาตรน้ำ พ.ศ. 2561
 
รูปที่ 13 กราฟแสดงอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของมาตรวัดปริมาตรน้ำ OIML R49-2000
 
รูปที่ 14 ตัวอย่างกราฟสมรรถะของมาตรวัดปริมาตรน้ำชนิด Combination Water Meter
 
            ประเด็นที่ 5 : กฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับเทคนิค พ.ศ. 2546 กำหนดชั้นความเที่ยงของมาตรวัดปริมาตรน้ำออกเป็น 3 ชั้นความเที่ยงได้แก่ ชั้นความเที่ยง A, ชั้นความเที่ยง B และชั้นความเที่ยง C เมื่อพิจารณาจากรูปที่ 1 และเข้าใจหลักการทำงานมาตรวัดปริมาตรน้ำจะเข้าใจว่ามาตรวัดปริมาตรน้ำชั้นความเที่ยง C เป็นชั้นความเที่ยงที่ดีที่สุดเหมาะกับการใช้มาตรวัดปริมาตรน้ำภายในประเทศไทยเพราะอัตราการไหลของการส่งจ่ายน้ำประปาเรามีค่าความดันต่ำและอัตราการไหลต่ำ แต่ในการผลิตจะแพงที่สุดเมื่อเทียบกับชั้นความเที่ยง B และ A ตามลำดับ พูดภาษาตรงๆก็คือชั้นความเที่ยง A มันไม่ได้ใจอ่ะ ทั้งถูกและไม่แม่นย่ำอ่ะ   เคยเจอผู้ผลิตมาตรวัดปริมาตรน้ำว่าทำไมถึงไม่ผลิตมาตรวัดปริมาตรน้ำชั้นความเที่ยง C ขาย   ได้รับคำตอบว่า “แล้วแต่ความต้องการตลาด” อืมๆๆๆๆน่าคิด น่าคิด คำสอนของท่านเป้าน่าคิด   ส่วนคุณจะคิดต่อหรือไม่ผมไม่ทราบ
            สรุปให้ว่าชั้นความเที่ยง C ให้ผลการวัดถูกต้องที่อัตราการไหลต่ำได้ดี แต่คาดว่าไม่มีใช้ในทั้งกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัดทั่วราชอาณาจักรไทย   เมื่อเราประเทศไทยเป็นประเทศเล็กๆ มี Economic Scale เล็กๆ ก็ถึงเวลาที่โลกที่เจริญแล้ว ประเทศใหญ่ๆ และมีบทบาทต้องการคุณภาพชีวิตดีขึ้น ผลิตภัณฑ์ที่ดีขึ้นด้วยราคาที่ถูกลงเมื่อตลาดมีการแข่งขันสมบูรณ์ ตลาดการค้าเสรีนิยมของ Mr. Adam Smith ก็เริ่มทำงาน สังเกตได้จากได้มีการยกเลิกชั้นความเที่ยงของมาตรวัดปริมาตรน้ำออกเป็น 3 ชั้นความเที่ยงได้แก่ ชั้นความเที่ยง A, ชั้นความเที่ยง B และชั้นความเที่ยง C (มีชั้นความเที่ยง D ด้วยน่ะ)  มาเป็นเพียง 2 ชั้นความเที่ยงคือ ชั้นความเที่ยง 1 และชั้นความเที่ยง 2 ซึ่งปรากฏใน OIML R49-2000 ถึงแม้จะยอมให้มีอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดยังคงเท่าเดิมแต่ในทางเทคนิคแล้วมันคือเหลือชั้นความเที่ยงเดียวเท่านั้นโดยประมาณ นั้นคือ “ชั้นความเที่ยง C” เดิมนั้นแหละครับท่าน    คราวนี้ก็เป็นคำตอบที่ว่า “แล้วแต่ความต้องการตลาด” วันนี้ตลาดบังคับท่านแล้วแต่ท่านไม่เข้าใจ   ท่านยังต้องการแปลงชั้นความเที่ยง B แบบเดิมให้เป็นและสอดคล้องกับชั้นความเที่ยง 1 และชั้นความเที่ยง 2 ซึ่งปรากฏใน OIML R49-2000 แล้วเราค่อยๆพูดคุยกัน
จากตัวอย่างกราฟ MPE ในรูปที่ 15   โดยไม่ต้องพูดถึงชั้นความเที่ยงน่ะ เอาเฉพาะเกณฑ์อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด (MPE)  ล้วนๆ เราจะเห็นได้ว่ามาตรวัดปริมาตรน้ำ a (ไม่ใช่ชั้นความเที่ยง A น่ะ) และ b  (ไม่ใช่ชั้นความเที่ยง B น่ะ) มีสมรรถนะผ่านเกณฑ์อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ในขณะที่มาตรวัดปริมาตรน้ำ c (ไม่ใช่ชั้นความเที่ยง C น่ะ) ไม่ผ่านเกณฑ์ช่วง Lower Zone (Q1 - Q2) และมาตรวัดปริมาตรน้ำ d (ไม่ใช่ชั้นความเที่ยง D น่ะ) ไม่ผ่านเกณฑ์ช่วง Upper Zone (Q2 – Q3) ที่อัตราการไหลมากกว่า Qt (Q2) เล็กน้อยและที่อัตราการไหลใกล้ Qmax  (Q3)   ดังนั้นการที่จะบอกว่ามาตรวัดปริมาตรน้ำชนิดใด รุ่นใด มีอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดผ่านเกณฑ์ที่กำหนด จะรู้ได้เมื่อเราทดสอบมาตรวัดปริมาตรน้ำดังกล่าวที่อัตราการไหลต่างๆ แล้วหาผลผิดมาเขียนเป็นกราฟสมรรถนะดังรูปที่ 15 เราจึงบอกได้ว่ามาตรวัดปริมาตรน้ำนั้นอยู่ชั้นความเที่ยงใดและมีผลผิดตามเกณฑ์อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด (MPE) ที่กำหนดไว้ในประกาศกระทรวงพาณิชย์มาตรวัดปริมาตรน้ำ พ.ศ. 2561 หรือไม่นั้นเอง    เท่านี้เริ่มพอตอบคำถามได้หรือยังว่าเราทดสอบแค่ที่ Qn เท่านั้นก็พอ แล้วถามตัวเองสิครับว่ามันพอจริงๆ หรือเปล่า หากโกหกกับตัวเอง...บาปน่ะน้า...ผมไม่แช่งหรอก
 
รูปที่ 15 ตัวอย่างกราฟสมรรถะของมาตรวัดปริมาตรน้ำชนิด Inferential Water Meter
 
            ประเด็นที่ 6 : เริ่มขยับมาอีกขั้น   หากพูดชั้นความเที่ยงนั้นเสมือเราพูดถึงช่วงของอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด (MPE) ที่เป็นช่วง Lower Zone และช่วง Upper Zone ซึ่งจะมีค่าต่างกัน    เพื่อให้เข้าใจมากขึ้นและมองภาพรวมให้ชัดก่อนขยับไปยังประกาศกระทรวงพาณิชย์มาตรวัดปริมาตรน้ำ พ.ศ. 2561   เราย้อนกลับมาทำความเข้าใขกฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับเทคนิค พ.ศ. 2546 กันให้เข้าใจก่อน จึงต้องยังคงกล่าวถึงมาตรวัดปริมาตรน้ำชั้นความเที่ยง A, B, C และ D (ชั้นความเที่ยง D ไม่มีในกฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับเทคนิค พ.ศ. 2546 เลยขอเพิ่มมาในรูปที่ 16)
 
รูปที่ 16 ตารางแบ่งชั้นความเที่ยงมาตรวัดปริมาตรน้ำตามกฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับเทคนิค พ.ศ. 2546 + Class D
 
ขอให้สังเกตมาตรวัดชั้นความเที่ยง B เทียบกับชั้นความเที่ยง C ให้ดี ตัวอย่างดังรูปที่ 17 มาตรวัดปริมาตรน้ำขนาด 15 mm Qn 1,000 l/h และ Qmax 2,000 l/h เปรียบเทียบชั้นความเที่ยง A, B, C และ D (ในกฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับเทคนิค พ.ศ. 2546 เราไม่เอาชั้นความเที่ยง D เข้ามาเพราะมันดีเกินไปกระมังและกลัวว่าราคามาตรวัดปริมาตรน้ำจะแพงเกินความพอดี) ดังนั้นหากเราสังเกตุให้ดีจะเห็นว่าชั้นความเที่ยงมาตรวัดปริมาตรน้ำจะเปลี่ยนตาม Qt และสัดส่วนระห่าง Qt/ Qmin นั้นเอง ส่วนอัตราการไหล Q และ Qmax ก็คงที่ไม่แปรเปลี่ยน   ดังนั้นจากตัวอย่างในกราฟบ่งบอกเป็นนัยๆ ว่าจะข้ามชั้นความเที่ยงจาก B ไป C ต้องแน่ใจว่าตัวเองเจ๋งน่ะท่าน
Class A   15 mm,           Qmin      = 0.04Qn           = 0.04(1,000)     = 40 l/h
                                    Qt         = 0.1Qn             = 0.1(1,000)       = 100 l/h
                                    Qn        = 1,000 l/h
                                    Qmax     = 2Qn               = 2(1,000)         = 2,000 l/h
ส่วน Class B, Class C และ Class D ลองเล่นดูน่ะ
รูปที่ 17 ตัวอย่างกราฟสมรรถะของมาตรวัดปริมาตรน้ำชนิด Inferential Water Meter ขนาด 15 mm Qn 1,000 l/h และ Qmax 2,000 l/h ชั้นความเที่ยง A, B, C และ D
 
            ประเด็นที่ 7 : ประกาศกระทรวงพาณิชย์มาตรวัดปริมาตรน้ำ พ.ศ. 2561 แบ่งออกเพียง 2 ชั้นความเที่ยงเอง ซึ่งใช้อัตราการไหลสูงสุดเป็นเงื่อนไข แต่เงื่อนไขที่อยู่เบื้องหลัง 4 หลักการหลักกลับชัดเจนว่าเป็นอย่างไร   สรุปไว้ในรูปที่ 18
                        หลักการที่ 1 :  ยึดหรือตรึงขีดความสามารถสูงสุดของมาตรวัดปริมาตรน้ำที่ต้องการ นั้นคืออัตราการไหลสูงสุด Q3 (ถ้าเริ่มมึนกับสัญลักษณ์อัตราการไหลก็ขอให้กลับไปดูในตารางที่ 1) และหน่วยวัดต้องเป็น m3/h เท่านั้นจึงใช้หลักการในข้อนี้
                        อนุกรมของค่าใน (1) ได้มาจากสูตร ISO3-1973, R5 (I = 1, 2, 3, 4, 5)  และ b=5; R(i,b) = 10i/b
                        หลักการที่ 2 :  ยึดตรึง หรือขึงพรืด (อย่าคิดมากน่า...) ขีดความสามารถมาตรวัดปริมาตรน้ำซึ่งเป็นมาตรวัดชนิด Turbine หรืออาจเรียกว่า Turn Down Ration ในรูปของ R = Q3/Q1   ดังนั้นมาตรวัดปริมาตรน้ำใดมีค่า Turn Down Ration สูงแสดงว่ามีความยืดหยุ่นที่นำไปใช้งานได้สูงเพราะให้ผลการวัดได้แม่นยำภายใต้อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดครอบคลุมช่วงอัตราการไหลที่กว้างกว่า   แต่หากมีค่า Turn Down Ration ต่ำแสดงว่าสามารถใช้งานได้ในช่วงอัตราการไหลที่แคบกว่า ส่วนราคาก็ไปถามเถ้าแก่เอาเอง....   เลือกใช้งานให้เหมาะสมกับความต้องการและราคากันไปครับผม
                        อนุกรมของค่าใน (2) ได้มาจากสูตร ISO3-1973, R10 (I = 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8, 9, 10)  และ b=10; R(i,b) = 10i/b
                        หลักการที่ 3 :  ย้อนกลับไปอ่านประเด็นที่ 6 เราสังเกตุให้ดีจะเห็นว่าชั้นความเที่ยงมาตรวัดปริมาตรน้ำจะเปลี่ยนตาม Qt และสัดส่วนระห่าง Qt/ Qmin นั้นเอง ส่วนอัตราการไหล Q และ Qmax ก็คงที่ไม่แปรเปลี่ยน (ตามกฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับเทคนิค พ.ศ. 2546)   ซึ่งถ้าเทียบสัญลักษณ์อัตราการไหลตามตารางที่ 1 สัดส่วนระห่าง Qt/ Qmin  = สัดส่วนระห่าง Q2/ Q1 นั้นเอง   ในการแบ่งชั้นความเที่ยง A, B, C และ D แบบเดิมนั้นจะมีอัตราส่วนระหว่าง Q2/ Q1 เท่ากับ 2.5, 4, 1.5 และ1.533  ตามลำดับ นั่นแน้ๆๆ OIML R49-2000 เล่นอะไรกันอยู่หนู่ไม่รู้ แต่ที่แน่ๆ OIML R49-2000 กำหนดอัตราส่วนระหว่าง Q2/ Q1 เท่ากับ 1.6 เหลือเพียงค่าเดียวเท่านั้น   เสมือนต้องการบอกว่า “ตลาดต้องการและถามหาแล้วล่ะคุณ” Mr. Adam Smith (The Wealth of Nations) ทำงานแล้วครับ ซึ่งค่าอัตราส่วนระหว่าง Q2/ Q1 เท่ากับ 1.6 นั้นแน่นอนว่าไม่ใช่มาตรวัดปริมาตรน้ำ Class B ตามกฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับเทคนิค พ.ศ. 2546 แน่นอน   หากต้องการฝืนแปลงค่าความสัมพันธ์ในพารามิเตอร์จาก Class B ในระบบเดิมเข้าหาค่าพารามิเตอร์ในระบบใหม่มันไม่ง่ายน่ะหากเจอกำหนดการทดสอบที่อัตราการไหล Q1, 0.8Q2, 1.2Q2, Q3 และ Q4 เพื่อหาผลผิดของมาตรวัดปริมาตรน้ำ เดี๋ยวเดียวก็เจอแล้วว่าของจริงหรือของปลอม
                        หลักการที่ 4 :  ใช้หลัก Engineering นอกจาก Do the Right Thing (ประสิทธิผล). Do the Thing Right (ประสิทธิภาพ) แล้วสุดท้ายคือ Safety Factor (ปลอดภัย) เป็นหลักการกำหนดว่ามาตรวัดปริมาตรน้ำต้องปลอดภัยระดับหนึ่งหากถูกนำไปงานที่มีอัตราการไหลเกินอัตราการไหลสูงสุดที่ออกแบบไว้ภายในช่วงระยะเวลาหนึ่งนั้นคือความสัมพันธ์ของอัตราส่วนอัตราการไหลระหว่าง Q4/ Q3 เท่ากับ 1.25  หรือ Safety Factor  25%
 
รูปที่ 18 ข้อ 17 ในประกาศกระทรวงพาณิชย์มาตรวัดปริมาตรน้ำ พ.ศ. 2561
 
            ประเด็นที่ 8 : แกะรอยตามโจทย์ “ยกตัวอย่างเช่น มาตรวัดปริมาตรน้ำ Class B  ขนาด 15 mm มี Q1 = 30 l/h, Q3 = 1,500 l/h ดังนั้น R ควรเป็น 50 แต่มีการตีความว่า Q3 กลายมาเป็น 2,500 l/h โดย Q1 = 30 l/h และ R = 80 ทั้งนี้เพราะชั่งตวงวัดใช้ทดสอบที่ 0.5Q3 = 0.5(2,500) = 1,250 l/h และที่ Q1 = 30 l/h    เมื่อเป็นอย่างนั้นแล้วทำให้ผู้ผลิตต้องแสดงระบุรายละเอียดลักษณะมาตรวัดปริมาตรน้ำตามประกาศกระทรวงฯ ฉบับใหม่เป็น Q3 = 2.5 m3/h และ Q3/Q1 = R = 80   ถูกต้องหรือไม่ ? ”
            ไปค้นดูมาตรวัดปริมาตรน้ำน่าจะเป็น Class B  ขนาด 15 mm, ชนิด Single Jet มีคุณลักษณะทั่วไปคือ Qmin 30 l/h, Qt = 120 l/h, Qn = 1,500 และ Qmax 3,000 l/h (ดูรูปที่ 19) บังเอิญเราไม่เชี่ยวชาญจึงต้องหาข้อมูลยึดไว้ก่อนเดียวหลักยึดหายไปเรือมันก็ไหลไปเรื่อยๆ ไม่ไปไหน   (อ้าว...มันเรื่องอะไร เกี่ยวกันหรือเปล่าเนี้ย)   เมื่อสืบสวนดูเจอเข้าอย่างจังคนถามคงเข้าใจว่า  Qn= Q ประเด็นหนึ่งล่ะ ส่งผลให้คิดว่า R = Q3/Q1 = 1,500/30 = 50  ผิดตามไปด้วย ซึ่งอันที่จริง Q= 2Q = 3,000 = 2 (1,500) นั้นคือ Qn = 1,500 l/h   การตีความให้ Q3 = 2,500 l/h  จึงคลาดเคลื่อนตามไป งานชั่งตวงวัดเป็นงาน Legal Metrology งานทางวิทยาศาสตร์ไม่ใช่งานทางด้านกฎหมายที่เรียนกันแม้อยู่มหาลัยเดียวกัน เรียนรุ่นเดียวกัน เรียนห้องเดียวกัน อาจารย์คนเดียวกัน กฎหมายฉบับปี พ.ศ. ฉบับเดียวกัน นิติกรยังต้องตีความ งง.....Chip หาย     ดังนั้น R = Q3/Q1 = 3,000/30 = 100  ซึ่งไม่ใช่ทั้ง R = Q3/Q1 = 1,500/30 = 50  หรือ R = Q3/Q1 = 2,500/30 = 83.33 แล้วปรับปัดค่าเป็น  R = 80 ไม่สามารถปัดค่าได้และก็ใช้ไม่ได้ ด้วยเหตุนี้......ต่อจากนั้น.....เลยไม่ต้องตอบครับ เพราะปัญหาเริ่มที่เข้าใจคลาดเคลื่อนที่ว่า Qn= Q3  ซึ่งต้องปรับทัศนคติ แต่ไม่ต้องไปอยู่ค่ายทหารน่ะครับ (เอา...หลบ...ทหารมา)
 
รูปที่ 19 คุณสมบัติโดยทั่วไปมาตรวัดปริมาตรน้ำชนิด Single Jet
 
            อย่างนั้นก็ไม่ได้อย่างนี้ก็ไม่ได้   เราเลยมาทดลองทำกันเล่นๆดูในการเปลี่ยนระบบการระบุชนิดคุณลักษณะมาตรวัดปริมาตรน้ำจากระบบเดิมตามกฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับเทคนิค พ.ศ. 2546 เป็นระบบใหม่ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์มาตรวัดปริมาตรน้ำ พ.ศ. 2561
1.         กำหนดอัตราการไหลสูงสุด Q3   ตามรูปที่ 18   มาตรวัดปริมาตรน้ำ Class B  ขนาด 15 mm, ชนิด Single Jet มีคุณลักษณะทั่วไปคือ Qmin = Q1 = 30 l/h, Qt = Q2 = 120 l/h, Qn = 1,500 และ Qmax = Q3 = 3,000 l/h (ดูรูปที่ 19) กำหนดให้ Q3 มีค่าอนุกรม 1, 1.6, 2.5, 4.0, 6.3 m3/h แต่มาตรวัดปริมาตรวัดน้ำตัวนี้มี Q3 = 3.0 m3/h เราต้องเลือก Q3 = 2.5 m3/h
2.         Turn Down Ration ในรูปของ R = Q3/Q1 :ซึ่งเดิมทีนั้น R = 3000/30 = 100 แต่เมื่อถูกบังคับให้ เลือก Q3 = 2.5 m3/h ดังนั้นมี 2 ทางเลือกคือจะปรับค่า R หรือจะปรับค่า Q1 
2.1.    เลือกปรับ R , R = 2,500/30 = 83.33   ซึ่งไม่มีในอนุกรมใน (2) ตามในรูปที่ 18   มีแต่อนุกรม 63, 80, 100 ถ้าเลือก R = 80 ดังนั้น Q1 = Q3/R = 2500/80 = 31.25 l/h สรุปว่า R = 80, Q1 = 31.25 l/h
2.2.    เลือกปรับ Q1 นั้นคือ 100 = 2500/Q1 จะได้ว่า Q1 = 25 l/h สรุปว่า R = 100, Q1 = 25 l/h   ซึ่ง Q1 ที่ได้จากการคำนวณค่าใหม่นี้มีค่าต่ำกว่า 30 l/h (Q1 เดิม) ทำให้อาจสุ่มเสี่ยงเมื่อทดสอบที่ช่วงอัตราการไหล 25 - 30 l/h จะมีค่าผลผิดเกิน 5%
3.         จากเหตุผลในข้อ 2.2 เราจึงสรุปในเบื้องต้นได้ว่าหากเลือก  Q3 = 2.5 m3/h, R = 80, Q1 = 31.25 l/h , Q2 = 120 l/h ดังนั้น Q2/ Q1 = 120/31.25 = 3.84 ซึ่งมีค่ามากกว่า 1.6 ไปต่อไม่ได้แล้วครับทางตัน   แต่ถ้าเลือกเดินต่อ Q2/ Q1 = 1.6 ซึ่งกำหนดไว้ในข้อ (3) ในรูปที่ 18 ก็ต้องปรับค่า Q2 ใหม่มีค่าเท่ากับ Q2 = 1.6 Q1  = 1.6(31.25) = 50 l/h หากเลือกเช่นนี้เราจะสรุปได้ว่า Q3 = 2.5 m3/h, R = 80, Q1 = 31.25 l/h , Q2 = 50 l/h ผลที่จะตามมาเมื่อทำการทดสอบมาตรวัดปริมาตรน้ำในช่วงอัตราการไหลตั้งแต่ 50 l/h ถึง 120 l/h อาจสุ่มเสี่ยงที่ทำให้มาตรวัดปริมาตรน้ำให้ผลผิดเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด 2% ได้   ไปต่อก็ไม่มั่นใจ
4.         จากข้อ (4) ในรูปที่ 18 กำหนดให้ Q4/Q3 = 1.25  ดังนั้น Q4 = 1.25 Q3 = 1.25 (2.5) = 3.125 m3/h ซึ่งเป็นอัตรากรไหลสูงกว่า Qmax = Q3 = 3,000 l/h เดิม เวลาทดสอบมาตรวัดปริมาตรน้ำมันจะพังเสียก่อนหรือเปล่านี้ก็สุ่มเสี่ยงอีก
5.         สรุปได้ในภาพรวมคือ Q3 = 2.5 m3/h, R = 80, Q1 = 31.25 l/h , Q2 = 50 l/h, Q4 = 3.125 m3/h โดยมีข้อกังวลและสุ่มเสี่ยงเมื่อทดสอบมาตรวัดปริมาตรน้ำในช่วงอัตรากรไหลตั้งแต่ 50 l/h ถึง 120 l/h ให้ผลผิดเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด 2% และทดสอบที่ Q4 แล้วเครื่องจะพัง และ/หรือมาตรวัดปริมาตรน้ำยังคงให้ผลผิดเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด 2% หรือไม่ นั้นคือไม่มั่นใจ ?
แล้วอย่างไรต่อ เรามีตัวอย่างของความพยายามแปลงการแบ่งชั้นความเที่ยงแบบเดิมตามกฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับเทคนิค พ.ศ. 2546 ไปเป็นชั้นความเที่ยงแบบใหม่ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์มาตรวัดปริมาตรน้ำ พ.ศ. 2561 โดยทำการปรับ Q3 ใหม่แล้วใช้การไล่ลำดับของค่า R = Q3/Q1  (ดูรูปที่ 19 และรูปที่ 20) ตัวอย่างการแปลงมาตรวัดปริมาตรน้ำ  Class B โดบปรับ Q3 จาก 3.0 m3/h เป็น 1.6 m3/h  รวมทั้งกำหนดให้ R = Q3/Q1 = 80  ดังนั้น Q1 = Q3/80 = 1,600/80 = 20 l/h จากนั้นเราหาค่า Q2  จาก Q2/Q1 = 1.6  ดังนั้น Q2 = 1.6Q1= 1.6 (20) = 32 l/h  สุดท้ายเราหาค่า Q4 จาก Q4/Q3 = 1.25  ทำให้เราได้ Q4 = 1.25Q3= 1.25 (1.6 m3/h) = 2.0 m3/h 
แต่ถ้าสังเกตุดูให้ดีก็เจอปัญหาเดิมคือความสุ่มเสี่ยงเมื่อทดสอบมาตรวัดปริมาตรน้ำในช่วงอัตรากรไหลตั้งแต่ Q2(ใหม่)  ถึง Q2(เดิม) (หรือที่เรียกค่าเดิมว่า Qt ) ให้ผลผิดเกินอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด 2% เช่นเดิมสำหรับมาตรวัดปริมาตรน้ำชั้นความเที่ยง A, B และ D  นั้นคือช่วงอัตราการไหลทดสอบ Class A: 128-150 l/h, Class B: 32-120 l/h, Class D: 12.8-17.25 l/h  อันเนื่องจากอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดในช่วง Lower zone (ดูรูปที่ 15) ถูกบีบแคบลง ซึ่งจะเห็นได้ว่ามาตรวัดปริมาตรน้ำ d จะเห็นผลชัดเจนทันที แต่หากเจ้าของเครื่องหรือผู้ผลิตมาตรวัดปริมาตรน้ำมั่นใจว่าทดสอบผ่านเกณฑ์อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด ก็บ่ย่าน... ลุยโลดส์... ในส่วนมาตรวัดปริมาตรน้ำชั้นความเที่ยง C พบว่าไม่มีปัญหาใดๆ   เอ่ะ....OIML คิดอะไรอยู่   หวังว่าท่านพอเริ่มคิดกันบ้างแล้วน่ะครับ  ระหว่างนี้ก็นั่งดูรูปที่ 2 กับรูปที่ 20 ไปพลางๆก่อนน่ะขอรับ
 
รูปที่ 20 ตัวอย่างการแปลงการแบ่งชั้นความเที่ยงระบบเดิมตามกฎกระทรวงพาณิชย์ฉบับเทคนิค พ.ศ. 2546 เป็นระบบใหม่ตามประกาศกระทรวงพาณิชย์มาตรวัดปริมาตรน้ำ พ.ศ. 2561
 
รูปที่ 21 ตัวอย่างข้อมูลทางเทคนิคจาก Catalog ของมาตรวัดปริมาตรน้ำ
 
 
            ประเด็นที่ 9 :   สวัสดีมีชัย  สำหรับราชอาณาจักรไทย  ผ่านพ้นภัยโรคไวรัส COVID-19   ดูแลใส่ใจสุขภาพตัวเองและครอบครัว  และเพื่อนร่วมโลกน่ะครับ......สาธุ
 
 
 
 
 
 
 
เอกสารอ้างอิง

1.       ประกาศกระทรวงพาณิชย์ เรื่อง กำหนดชนิด และลักษณะของมาตรวัดปริมาตรน้ำ รายละเอียดของวัสดุที่ใช้ผลิต และอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด พ.ศ.  2561, กระทรวงพาณิชย์

2.       ระเบียบสำนักงานกลางชั่งตวงวัด ว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข การตรวจสอบและให้คำรับรองมาตรวัดปริมาตรน้ำของผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้ตรวจสอบและให้คำรับรองมาตรวัดปริมาตรน้ำที่ตนผลิตหรือซ่อม พ.ศ. 2562, สำนักงานกลางชั่งตวงวัด กระทรวงพาณิชย์

3.       OIML R 49-1 Edition 2013 (E) Water meters for cold potable water and hot water., Part 1: Metrological and technical requirements

4.       OIML R 49-2 Edition 2013 (E) Water meters for cold potable water and hot water., Part 2: Test methods

5.       OIML R 49-2 Edition 2013 (E) Water meters for cold potable water and hot water., Part 3: Test report format

6.       INTRODUCTION TO INTEGRATED WATER METER MANAGEMENT EDITION 1, JE VAN ZYL, Water Research Commission, the Republic of South Africa, October 2011

7.       APEC/APLMF Training Courses in Legal Metrology, OIML R 49-1 Water meters intended for the metering of cold potable water and hot water meters, September 23 –26, 2008 Hanoi, Vietnam

8.       Development of a New National Standard Water Flow Facility at NEL, Project Nos: FEDE02 and 04, Report No: 2004/200, October 2004, NEL UK

9.       Flowmeters in Water Supply, Manual of Water Supply practices, AWWA MANUAL M33, 2nd Edition, 2006,  American Water Works Association

10.   Water Meters—Selection, Installation, Testing, and Maintenance, AWWA MANUAL M6, Fifth Edition, 2012, American Water Works Association

11.   OIML Bulletin, Volume LVIII, Number 4, October 2017, OIML

 

 

 

 

ชั่งตวงวัด; GOM MOC
นนทบุรี
16 เมษายน 2563
 

 



จำนวนผู้เข้าชม : 5866