สาระน่ารู้ ชั่งตวงวัด

ตรวจสอบเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติ แต่มีตุ้มน้ำหนักแบบมาตรามีค่าน้ำหนักไม่ถึงพิกัดกำลังเครื่องฯ

 
 
 
 
            หลายครั้งหลายคราวที่ได้ยินชาวชั่งตวงวัดเมื่อมีปัญหาในการเตรียมระบบสอบตรวจให้คำรับรองหรือระบบสอบเทียบแบบมาตราแล้วมีปัญหาไม่สามารถจัดหาแบบมาตราได้จนมีขีดความสามารถตรวจสอบเครื่องชั่งตวงวัดให้ครอบคลุมผลการชั่งตวงวัดได้ตั้งแต่ค่าต่ำสุดจนถึงค่าสูงสุด  พูดง่ายๆ ก็คือไม่สามารถจัดตั้งขีดความสามารถระบบสอบเทียบหรือระบบตรวจสอบให้คำรับรองเครื่องชั่งตวงวัดนั้นๆ ได้ครบสมบูรณ์  ก็มักจะยกตัวอย่างให้ “เครื่องชั่งไม่อัตโนมัติชนิดเครื่องชั่งแท่นชั่งรถยนต์บรรทุก” เป็นพระเอกและเป็นตัวอย่างเพื่อใช้เป็นหลักยึดถือเป็นสาระเพื่อเป็น Safe Harbor ให้หัวใจอบอุ่นขึ้นมา    ยกตัวอย่างเช่นเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกที่สามารถแสดงผลการวัดค่าความชื้นได้จนถึง 35% แรกเริ่มก็จัดทำตัวอย่างแบบมาตรา หรือ Certified Reference Material (CRM) ตามวิธีการเตรียมตัวอย่างตามมาตรฐาน ISO 712, International Standard, Cereals and cereal products -- Determination of moisture content -- Routine reference method, 1998 ได้เพียงช่วง 15% -19%  แล้วให้คำรับรองเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกจนถึง 35%  เคยถามว่าทำไมทำอย่างนั้นได้รับคำตอบกลับมาว่า อ้าวที “เครื่องชั่งไม่อัตโนมัติชนิดเครื่องชั่งแท่นชั่งรถยนต์บรรทุก” ก็ตรวจไม่ถึง 50 ตัน ตรวจได้แค่ 20 ตันตามที่ชั่งตวงวัดมีรถยนต์บรรทุก 10 ล้อพร้อมตุ้มน้ำหนักแบบมาตราอีก 10 ตัน รวมแล้วประมาณ 21 ตัน   ตูล่ะเบื่อยึดเอาการตรวจรับรอง “เครื่องชั่งไม่อัตโนมัติชนิดเครื่องชั่งแท่นชั่งรถยนต์บรรทุก” เป็นตัวประกัน   ก็เลยให้เพิ่มขีดความสามารถให้ทำการเตรียม CRM ให้ถึง 35% ปรากฏว่าพบเรื่องราวที่น่าตื่นเต้นหัวใจบีบอัดแทบหัวใจวาย ต้องนอนลงไปชักกระเด๋วๆๆ บนพื้น 92 ที (เพราะเรามี พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466 กะเอาให้ครบอายุชั่งตวงวัด แต่กลัวลุกไม่ขึ้นภายหลังชักไป) แล้วค่อยลุกขึ้นมาคิดต่อว่าโดยปกติแล้ววิญญูชนที่จัดเก็บข้าวเปลือกเพื่อนำมาสีข้าวให้เป็นข้าวสารนั้นตั้งแต่โบราณกาลไม่เคยมีข้าวเปลือกอื่นใดมีค่าความชื้นถึง 30% ขอย้ำคำว่า “วิญญูชน” (คำนี้มันเจ็บภายในทรวงมากสำหรับกระผม) ชั่งตวงวัดเดินทางออกต่างจังหวัดในแถบทุ่งกุลาร้องไห้และลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาเพื่อไปเก็บตัวอย่างข้าวเปลือกก็วัดค่าความชื้นข้าวเปลือกไม่เคยถึง 35% ยกเว้นข้าวเปลือกจมน้ำ!!!!    อ้าวคราวนี้ก็สงสัยว่าบริษัทผลิตเครื่องวัดความชื้นข้าวใช้อะไรเป็นแบบมาตราเพื่อให้สามารถวัดได้ถึง 35%   ก็ให้ชั่งตวงวัด้ราเนี้ยแหละครับไปสอบถามคนในบริษัทฯ ผู้ผลิตอย่างไม่เป็นทางการ คำตอบที่ได้เขาบอกว่าใช้โมเดลทางคณิตศาสตร์ (Mathematical Model) (ตัวแปรที่สำคัญ เช่น ค่าน้ำหนักข้าวเปลือก, ค่าความหนาแน่นข้าวเปลือกระหว่างแผ่นโลหะ, ค่าอุณหภูมิข้าวเปลือก, ค่า Dielectric ของข้าวเปลือก และค่า Capacitance มาตรฐานที่อยู่ภายในตัวเครื่อง เป็นต้น) บริษัทฯ ยอมรับว่าไม่สามารถทำแบบมาตรา CRM ให้ได้ความชื้นข้าวเปลือกได้ถึง 35% เช่นกัน  บรรลัยเสถียรสิครับ   แต่การที่เครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกต้องแสดงให้ได้ถึง 35% ก็เพราะตลาดต้องการงั๊ย แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่าตลาดต้องการเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกให้สามารถวัดค่าความชื้นได้ถึง 35%  ก็เพราะหลวงออกตารางจำนำข้าวเปลือก (แต่ในบางยุคก็เป็นประกันราคาข้าว) ที่มีค่าความชื้นข้าวเปลือกจนถึง 35% มันล่ะครับมันทุกเม็ด   แต่อย่าไปไล่เรื่องราวเลยครับว่าใครเอาข้อมูลมาจากไหนหรือใครเป็นผู้กำหนดตารางจำนำข้าวเปลือก ต้นตอมาจากไหน กลัวครับ กลัวเจอแต่เทียนพรรษา   แต่ให้คิดง่ายๆว่า ค่าความชื้นข้าวเปลือกนั้นเป็นค่าสัดส่วนน้ำหนักของน้ำในข้าวเปลือกเทียบกับน้ำหนักเนื้อข้าวเปลือก   โดยน้ำหนักเนื้อข้าวเปลือกคิดจากน้ำหนักข้าวเปลือกที่เหลือเมื่ออบไล่ความชื้นออกจากข้าวเปลือกตามวิธีการขั้นตอนใน ISO ส่วนน้ำหนักของน้ำในข้าวเปลือกได้จากน้ำหนักข้าวเปลือกลบด้วยน้ำหนักเนื้อข้าวเปลือก ดังนั้นหากค่าความชื้นข้าวเปลือก 35% นั้นหมายว่า 1 เมล็ดข้าวเปลือก 35% ของข้าวเปลือกเป็นน้ำ (H2O) ครับและ 65% ของข้าวเปลือกเป็นเนื้อข้าวเปลือก   เอ๋....ข้าวต้ม... โจ๊ก..... หรือเปล่าน๊า.....?  
 

          ส่วนอีกกรณีเมื่อตรวจสอบมาตรวัดปริมาตรน้ำประปาต้องดำเนินการตรวจสมรรถนะมาตรวัดปริมาตรน้ำที่อัตราการไหลที่กำหนด หนึ่งในอัตราการไหลที่กำหนดคือที่อัตราการไหลสูงสุด Q3   แต่พบว่าหน่วยงานนั้นไม่สามารถสร้างอัตราการไหลทดสอบได้ถึง Q3 ก็ยกตัวอย่างเอา “เครื่องชั่งไม่อัตโนมัติชนิดเครื่องชั่งแท่นชั่งรถยนต์บรรทุก” เป็นพระเอกและเป็นตัวอย่างอ้างอิงอีกแล้วพิจารณาว่า ไม่จำเป็นต้องทดสอบที่อัตราการไหลสูงุสุด Q3 เช่นกัน    เลยนั่งไม่ติดอีกแล้วเลยต้องยกบทความนี้มาลงซ้ำๆๆ เพราะเนื้อหานี้ก็มีอยู่ใน E book “คู่มือการตรวจสอบให้คำรับรองชั้นแรก, คำรับรองชั้นหลัง และการสำรวจตรวจสอบเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติ” และ “นานาสาระชั่งตวงวัด เล่ม 2” ใน www.cbwmthai.org  แต่ขอลงซ้ำอีกเถอะเพราะต้องให้บทความนี้ปรากฏในหลายๆ ที่

              ด้วยเหตุนี้จึงขอสรุปว่า   ชั่งตวงวัดหากต้องการเจริญก้าวหน้าและทำประโยชน์ให้ประชาชนคนไทยได้ เราต้องมีนวัตกรรมชั่งตวงวัด ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นนวัตกรรมชนิดพลิกโลกพลิกประเทศหรอกครับแค่นวัตกรรมเล็กๆน้อยๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้ชั่งตวงวัดทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล และมีประสิทธิภาพ    เช่น มีรถยนต์บรรทุก 10 ล้อบรรทุกแบบมาตรา 10 ตันรวมน้ำหนักทดสอบได้ประมาณ 21 ตันจึงมีน้ำหนักทดสอบไม่พอนำไปตรวจเครื่องชั่งรถยนต์บรรทุก 50 ตัน ก็ขยับออกแบบตั้งงบประมาณฯ จัดให้มีรถยนต์บรรทุกแบบมาตราไปเป็นรถพ่วงหรือ ส่งเสริมให้ผู้ผลิตเครื่องชั่งบรรทุกรถยนต์ให้สามารถตรวจสอบให้คำรับรองเครื่องชั่งที่ตนเองผลิตตามมาตรา 41 พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2542 ไป หรือหากงบประมาณฯไม่พอก็เอาเทคนิคการทำงานเข้าช่วยซึ่งจะเป็นเนื้อหาในบทความนี้      หากเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกเราสร้างแบบมาตราที่เรียกว่า CRM ไม่ถึง 35% ซึ่งแม้แต่ผู้ผลิตเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกเองก็ทำไม่ได้ เราก็ต้องลดให้เครื่องวัดความชื้นลดลงตามขีดความสามารถจริงๆที่ทำได้ เช่นเครื่องวัดความชื้นข้าวเปลือกควรวัดค่าได้ไม่เกิน 30% เพราะผู้ผลิตสามารถเตรียมแบบมาตราความชื้นได้ถึงเพียง 30% (แต่....ระวังตัวให้ดีน่ะท่าน.....)   หากระบบตรวจสอบให้คำรับรองมาตรวัดปริมาตรน้ำขนาด 2 นิ้ว ระบบฯไม่สามารถสร้างอัตราการไหลได้ถึง Q3 ก็ให้ไปออกแบบระบบแล้วลงทุนเพิ่มเติม หากไม่ลงทุนเพิ่มเติมก็ต้องยอมรับสภาพถึงขีดความสามารถขององค์กรตนเอง หรือเพิ่มขีดความสามารถด้วยการคิดค้นนวัตกรรมให้สามารถทำงานได้  เราต้องอยู่กับพื้นฐานความเป็นจริง    สุดท้าย ผู้ผลิตเครื่องชั่งตวงวัดใดที่รับผิดชอบสังคม ผู้ผลิตนั้นต้องมีขีดความสามารถตรวจสอบความถูกต้องเครื่องชั่งตวงวัดที่ตนเองผลิตหรือซ่อมนั้นได้ตลอดช่วงการวัดผลการชั่งตวงวัดของเครื่องชั่งตวงวัดนั้นได้    ง่ายๆ ......ธรรม (ธรรมชาติ) เถอะโยม.....

              ต่อคำถามว่า ตรวจสอบเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติแต่มีตุ้มน้ำหนักแบบมาตรามีค่าน้ำหนักไม่ถึงพิกัดกำลังเครื่องฯ เราสามารถตรวจสอบได้มั๊ย   ตอบว่าได้ครับและเราเรียกเทคนิคการทำงานดังกล่าวว่า “การทดสอบการชั่งที่ใช้น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (Weighing test using substitution of standard weights)”   ซึ่งเนื้อหาดังต่อไปนี้อ้างอิงตาม OIML R76 ฉบับเก่าคือ OIML R 76, Non-Automatic weighing instruments, Edition 1992(E) ซึ่งในปัจจุบันได้มีฉบับใหม่ คือ OIML R 76, Non-Automatic weighing instruments, Edition 2006 ให้ไปเทียบเคียงดูเพื่อความแน่ใจอีกทีน่ะครับ ถือว่าขยันหน่อยน่ะ   ออ แนะนำให้ไป Download E-Book “การตรวจสอบต้นแบบเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติ”  ใน www.cbwmthai.org อ่านประกอบร่วมด้วยกับบทความนี้ยิ่งดี

             การพัฒนาขีดความสามารถ ความรู้ของตนเองอย่าไปคาดหวังให้หน่วยงาน เช่น หน่วยงานการเจ้าหน้าที่หรือ Human Resources ขององค์กรมาพัฒนาตัวท่านหรือจัดฝึกอบรมให้ท่านเลยครับ ยากส์.......   ท่าน........ต้องขวนขวายเอาเอง ต้องกระหายใคร่รู้เอาเอง.....ครับ

 

 

การทดสอบการชั่งที่ใช้น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (Weighing test using substitution of standard weights)

 การตรวจสอบให้คำรับรองชั้นแรก

             จากข้อกำหนดใน OIML R76-1, 8.3 การตรวจสอบให้คำรับรองชั้นแรก (Initial verification) นั้นได้กำหนดแนวทางการตรวจสอบให้คำรับรองชั้นแรกไว้ซึ่งจะมีเนื้อหาสาระแนวทางการทดสอบตาม OIML R76-1, 8.3.1 ความสอดคล้องของคุณสมบัติของเครื่อง (Conformity), 8.3.2 การตรวจสอบด้วยสายตาเบื้องต้น (Visual Inspection), 8.3.3 การทดสอบ (Tests) และ 8.3.4 การประทับตรา (Marking and Securing)   โดยสาระสำคัญที่จะเน้นอยู่ใน 8.3.3 รายละเอียดดังนี้ 

8.3.3  การทดสอบ (Tests) 
-    ข้อกำหนด 3.5.1, 3.5.3.3 และ 3.5.3.4 สำหรับผลผิดของการแสดงค่า (Error of Indications) (ตามข้อกำหนด A.4.4 ถึงข้อกำหนด A.4.6 แต่ให้ทดสอบด้วยการวางน้ำหนัก 5 ครั้ง ถือว่าพอเพียง) 
-    ข้อกำหนด 4.5.2 และ 4.6.3 สำหรับความถูกต้องแม่นยำของส่วนตั้งศูนย์ และส่วนทดน้ำหนัก (Accuracy of Zero-Setting and Tare Devices) (ตามข้อกำหนด A.4.2.3 และข้อกำหนด A.4.6.2) 
-    ข้อกำหนด 3.6.1 สำหรับความสามารถในการทำซ้ำได้ (Repeatability) (ตามข้อกำหนด A.4.10 แต่ชั่งไม่เกิน 3 ครั้ง สำหรับเครื่องชั่งชั้นความเที่ยง III และ IIII หรือ 6 ครั้ง สำหรับเครื่องชั่งชั้น I และ II) 
-    ข้อกำหนด 3.6.2 สำหรับการเยื้องศูนย์ (Eccentric Loading) (ตามข้อกำหนด   A.4.7) 
-    ข้อกำหนด 3.8 สำหรับดิสคริมิเนชั่น (Discrimination) (ตามข้อกำหนด A.4.8) ไม่นำข้อกำหนดไปใช้งานกับเครื่องชั่งที่มีส่วนแสดงค่าแบบดิจิทัล 
-    ข้อกำหนด 4.18 ทดสอบการวางเอียง (Tilt) กรณีเครื่องชั่งแบบพกพา (Mobile instrument) (ตามข้อกำหนด A.5.1.3)  และ 
-    ข้อกำหนด 6.1 ตรวจสอบหรือทดสอบความรู้สึก (Sensitivity)  สำหรับเครื่องชั่งแสดงค่าเองไม่ได้ (Non-Self-Indicating Instruments) (ตามข้อกำหนด A.4.9)

  เพื่อให้เป็นไปตามแนวทางข้อแนะนำดังกล่าวจึงได้กำหนดและสรุปขั้นตอนโดยภาพรวมของการตรวจสอบให้คำรับรองชั้นแรกหรือชั้นหลัง ไว้ดังนี้  

1.     จัดวางเครื่องชั่งในตำแหน่งที่มั่นคง สำหรับเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติที่ทำงานด้วยแหล่งพลังงานไฟฟ้าต้องเปิดเครื่องให้พร้อมรอรับการตรวจสอบให้คำรับรองอย่างน้อย ½ ชั่วโมง 
2.     ตรวจสอบเอกสาร หรือข้อบันทึกหมายเหตุ เอกสาร OIML R76-1 ว่ามีการทดสอบการชั่งเพิ่มเติม (Supplementary Tests) เพิ่มเติมหรือไม่ ในขณะเดียวกันก็ต้องพิจารณาความต้องการของหน่วยงานสำนักงานกลางชั่งตวงวัดว่ามีอยู่ในระดับใดหรือมีความพร้อมมากน้อยเพียงใด 
3.     ตรวจสอบสภาพโดยทั่วไปด้วยสายตาและบันทึกว่าเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติมีคุณสมบัติทางชั่งตวงวัด (Metrological Characteristics) ตามกฎกระทรวงฉบับเทคนิค พ.ศ. 2546 (ปัจจุบันเป็นประกาศกระทรวงฯ )
4.     ดำเนินการทดสอบความสามารถในการทำซ้ำได้ (Repeatability Test) การทดสอบนี้ถือว่าเป็นการทดสอบวางน้ำหนักทดสอบก่อนการทดสอบจริง (Pre-Load Test) หรือเพื่อเป็นการอุ่นเครื่องกลไกที่เป็นส่วนประกอบของเครื่องชั่ง  สำหรับในกรณีเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติแบบกลไก ในระหว่างดำเนินการทดสอบความสามารถในการทำซ้ำได้ให้ทำการตรวจสอบความเที่ยง (Accuracy) ของส่วนตั้งศูนย์ (Zero Setting Device) ของเครื่องชั่งไปด้วย ตามขั้นตอนที่ 6 

 

แนวปฏิบัติที่ต้องพิจารณา   (ก่อนหาข้อยุติ) 
            เท่าที่ทราบในบางประเทศที่ต้องการดำเนินการตรวจสอบให้คำรับรองเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ แต่ยังคงอยู่บนพื้นฐานทางเทคนิคซึ่งส่วนตัวก็ยอมรับได้เช่นกัน   สำหรับเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติที่มีพิกัดกำลังสูงๆ เช่น 20,000 กก. ขึ้นไปกำหนดไว้ว่า หากทำการทดสอบเครื่องชั่งในขั้นตอนการทดสอบความสามารถทำซ้ำได้ (Repeatability Test) และปรากฏว่าเครื่องชั่งมีผลผิดของความสามารถทำซ้ำได้สูงเกินกว่าที่กำหนดหรือพูดง่ายๆ ว่าไม่ผ่านการทดสอบแล้ว ถือว่ายุติการทดสอบอื่นๆ ที่จะตามมาเนื่องจากเป็นคุณสมบัติที่สำคัญและจำเป็นสำหรับเครื่องชั่ง ดังนั้นเครื่องชั่งต้องผ่านขั้นตอนการทดสอบขั้นตอนนี้เสียก่อ
5.     ดำเนินการทดสอบการเยื้องศูนย์ (Eccentricity Test)  
6.     ดำเนินการทดสอบหาความเที่ยงของตำแหน่งศูนย์ (Checking Zero) ในกรณีของเครื่องชั่งอิเลคทรอนิคส์ 
7.     กำหนดน้ำหนักทดสอบสำหรับการทดสอบการชั่ง (Weighing Test) ทั้งนี้ให้แน่ใจว่าสามารถครอบคลุมน้ำหนักทดสอบที่ค่าครึ่งหนึ่งของพิกัดกำลังสูงสุด (Max) ด้วย 
8.     การรวมเอาการทดสอบการชั่งเข้ากับการทดสอบดิสคริมิเนชั่น(Discrimination Test) เข้าด้วยกัน โดยดำเนินการทดสอบการชั่งหลังจากที่ได้กำหนดน้ำหนักทดสอบ ทั้งนี้ให้เลือกค่าน้ำหนักทดสอบค่าหนึ่งในค่าทั้งหมดที่กำหนดน้ำหนักทดสอบเพื่อทำการทดสอบดิสคริมิเนชั่น ต่อจากนั้นก็ดำเนินการทดสอบการชั่งด้วยค่าน้ำหนักที่กำหนดไว้ในค่าถัดไป 
9.     ดำเนินการทดสอบหาความความเที่ยงของการตั้งค่าน้ำหนักทด (Accuracy of Tare Setting) ในกรณีที่เป็นเครื่องชั่งอิเลคทรอนิคส์ 
10.   ดำเนินการทดสอบการชั่งการทดน้ำหนัก (Tare Weighing Test) 
11.   ดำเนินการทดสอบอื่นๆ ตามความเหมาะสม หรือตามที่จำเป็นในเครื่องชั่งที่มีคุณสมบัติต่างจากเครื่องชั่งโดยทั่วไป เช่น การทดสอบความมั่นคงของสมดุล (Test of the Stability of Equilibrium) ของเครื่องชั่งพิมพ์ราคาได้ (Price-Labeling Instrument)
 
 

การทดสอบการชั่ง (Weighing Test) 
            การทดสอบการชั่งในขั้นตอนที่ 7 ดังในข้างต้นนั้น ถือเป็นขั้นตอนที่ถูกใช้เพื่อหาสมรรถนะการชั่งของเครื่องชั่งที่ตำแหน่งภาระน้ำหนักที่แตกต่างกันในขณะที่เครื่องชั่งกำลังอยู่ภายใต้สภาวะการทดสอบด้วยปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการทำงานของเครื่องชั่ง ซึ่งก็เหมือนเครื่องชั่งตวงวัดทุกชนิดที่เราต้องหาสมรรถนะของเครื่องชั่งตวงวัด ดังนั้นต้องระลึกไว้ว่าการทดสอบการชั่งด้วยการวางหรือลดน้ำหนักทดสอบบนเครื่องชั่ง ต้องวางน้ำหนักทดสอบในลักษณะที่มีการเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 
หากเครื่องชั่งมีส่วนตั้งศูนย์อัตโนมัติหรือส่วนรักษาศูนย์ ส่วนดังกล่าวอาจยังคงทำงานอยู่ได้ระหว่างทำการทดสอบการชั่ง ยกเว้น การทดสอบในเรื่องอุณหภูมิ ผลผิดที่ตำแหน่งศูนย์ของเครื่องชั่งสามารถหาได้จาก OIML R76-1, ข้อกำหนด A.4.2.3.2 นอกจากนี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้น จึงควรทำความเข้าใจในเนื้อหาเพิ่มเติมก่อนใน OIML R76-1, ข้อกำหนด A.4.4.1 
            เราจึงแบ่งวิธีการทดสอบการชั่งออกเป็น 2 รูปแบบด้วยกันคือ  
1.       การทดสอบการชั่งที่ไม่ใช้น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (Weighing Test Without Using Substitution of Standard Weights) กับ  
2.       การทดสอบการชั่งที่ใช้น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (Weighing Test Using Substitution of Standard Weights) ร่วมกับตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา 
ดังนั้นอุปกรณ์เครื่องมือที่สำคัญจึงเป็นตุ้มน้ำหนักทดสอบ    หากเรามีตุ้มน้ำหนักทดสอบที่มีพิกัดกำลังครอบคลุมตั้งแต่พิกัดกำลังต่ำสุดจนถึงพิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องชั่ง เราก็สามารถทำการทดสอบแบบที่ 1 ได้ไม่มีปัญหาใดๆแต่ถ้าหากไม่มีตุ้มน้ำหนักครอบคลุมตั้งแต่พิกัดกำลังต่ำสุดจนถึงพิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องชั่งล่ะ เราก็ต้องมีเทคนิคทำงานกันบ้างละ ซึ่งเทคนิคนี้ผมไม่ได้คิดเองหรอก รับรู้และเรียบเรียงมาบอกกล่าวกับท่านนี้แหละ 
จึงมีหลักคิดการพิจารณาพิกัดกำลังตุ้มน้ำหนักโดยภาพรวมในการทดสอบการชั่งในส่วนของจำนวนตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (Standard Weights) กับน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (Substitution of Standard Weights)พิจารณาดังนี้คือ

             1. จำนวนตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (Standard Weights)     

 
พิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องชั่ง (Max)
จำนวนตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (kg)
(แนะนำ)
Max £ 1,000 kg
1,000 kg
+ addition tare§ + 0.1e ถึง 10e
 
1,000 kg < Max £ 5,000 kg
1,000 kg หรือ 50% Max เลือกค่ามากกว่า
+ addition tare + 0.1e ถึง 10e
 
5,000 kg< Max
³20% Max
+ addition tare + 0.1e ถึง 10e
 
หมายเหตุ   § ในกรณีเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติที่มีส่วนทดน้ำหนัก
 

2. ปริมาณน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (Substitution of Standard Weights) หากใช้น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราเมื่อทดสอบเครื่องชั่งที่มีพิกัดกำลังสูงสุดเกินกว่า 1 ตัน ยอมให้ใช้น้ำหนักอื่นๆที่มีค่าคงที่เพื่อแทนน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราได้แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผลผิดของการทำซ้ำได้ (Repeatability Error) ดังในตารางข้างล่างเป็นการกำหนดความสัมพันธ์ผลผิดของการซ้ำได้กับพิกัดกำลังรวมต่ำสุดของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราที่ควรมี โดยน้ำหนักที่เหลือเป็นน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราได้ 
ทั้งนี้การหาผลผิดของการทำซ้ำได้ (Repeatability Error) หาได้โดยวางน้ำหนักทดสอบด้วยน้ำหนักประมาณ 50% ของพิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องชั่งบนส่วนรับน้ำหนัก 3 ครั้งติดต่อกัน
Repeatability Error
Standard Weights
(when Max > 1,000 kg)
> 0.3e
1,000 kg หรือ 50% Max.
£ 0.3e
35% Max.
£ 0.2e
20% Max.
 
  

 

ก. การทดสอบการชั่งที่ไม่ใช้น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (Weighing Test Without Using Substitution of Standard Weights)

 

   ขั้นตอนการทดสอบ

  1.              กำหนดช่วงน้ำหนักทดสอบอย่างน้อย 5 ช่วงการทดสอบ, L นั้นคือน้ำหนักทดสอบที่มีค่าแตกต่างกันเพื่อทดสอบอย่างน้อย 5 ค่า โดยขอบเขตในการเลือกค่าน้ำหนักทดสอบให้ครอบคลุมถึงน้ำหนักทดสอบต่อไปนี้ 

  •         น้ำหนักทดสอบต้องครอบคลุมตั้งแต่พิกัดกำลังต่ำสุดจนถึงพิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องชั่ง โดยการเพิ่มขึ้นหรือการลดลงของค่าน้ำหนักทดสอบควรมีระยะแตกต่างกันอย่างใกล้เคียงกันให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
  •           ค่าที่ใกล้เคียงหรือค่าน้ำหนักทดสอบตรงตำแหน่งที่อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของเครื่องชั่งมีการเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่เป็นเครื่องชั่งที่เปลี่ยนค่าช่องขั้นหมายมาตราได้ (Multi - Interval Instrument) ที่มีหลายช่วงการชั่งย่อย (Partial Weighing Ranges) ให้เลือกค่าน้ำหนักทดสอบที่ตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดด้วย 
  •          ต้องไม่เลือกค่าน้ำหนักทดสอบที่เป็นจุดที่ค่าขั้นหมายมาตรา (Scale Interval) เปลี่ยน   ให้เลือกตำแหน่งที่น้อยกว่าจุดดังกล่าว 5e แทน  
  •           ค่าน้ำหนักทดสอบตรงตำแหน่งวิธีการเข้าสู่สมดุลของเครื่องชั่งเปลี่ยนไป 
  •      ต้องไม่เลือกจุดน้ำหนักที่เท่ากับพิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องชั่งหากเมื่อทำการชั่งน้ำหนักมากกว่าค่าพิกัดกำลังของเครื่องชั่งแล้วส่วนแสดงค่าไม่แสดงผลการชั่งใดๆ ในกรณีเช่นนี้ให้ใช้ตำแหน่งน้ำหนักทดสอบให้มีค่าน้อยกว่าพิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องชั่ง 5e แทน 

2.   ทำการบันทึกค่าน้ำหนักทดสอบใน แถว L, บันทึกค่าน้ำหนักที่เครื่องชั่งแสดงค่า แถว และทำการหาค่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่สอดคล้องกับค่าน้ำหนักทดสอบใส่ในแบบฟอร์มประเมินผล
3.   ปรับให้เครื่องชั่งแสดงค่าศูนย์ 
4.   วางน้ำหนักทดสอบลงบนส่วนรับน้ำหนักโดยเพิ่มขึ้นตั้งแต่พิกัดกำลังต่ำสุดจนถึงพิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องชั่ง ตามค่าน้ำหนักทดสอบที่เลือกไว้ในขั้นตอน 1. โดยต้องตระหนักว่าให้วางน้ำหนักทดสอบในลักษณะที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ 
5.    ในแต่ละค่าน้ำหนักทดสอบที่วางลงไปนั้น ให้ทำการตรวจสอบหาค่าผลผิดที่ค่าน้ำหนักทดสอบค่านั้นๆ ด้วยวิธีการทดสอบหาอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด (Maximum Permissible Error Check) (ไปอ่านในหนังสือ “การตรวจสอบต้นแบบเครื่องชั่งไม่อัตโนมัติ” สำนักงานกลางชั่งตวงวัด) หรือทำการหาตำแหน่งค่าน้ำหนักจริงของการวางน้ำหนักทดสอบด้วยการหาตำแหน่งเปลี่ยนจุด (Changeover Point) ตำแหน่งถัดไป โดย 
     5.1 วางน้ำหนักเพิ่มเติม (Additional Weights) เท่ากับ 0.1e ลงบนส่วนรับน้ำหนัก และวางเพิ่มทีละชิ้นในแต่ละครั้งไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งส่วนแสดงค่าแสดงค่าผลการชั่งเปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนเพิ่มขึ้น 1 ค่าขั้นหมายมาตรา (+ e) 
      5.2 บันทึกค่าน้ำหนักเพิ่มเติมทั้งหมดที่ใส่ลงไป เป็นค่า DL 
      5.3 เครื่องชั่งแสดงค่าน้ำหนักจริงของการวางน้ำหนักทดสอบก่อนเครื่องชั่งปัดค่าน้ำหนักไปแสดงค่าที่ +e  เรียกว่า P สามารถหาได้จากสมการข้างล่างนี้
 
 

6.     เอาน้ำหนักทดสอบออกจากส่วนรับน้ำหนักในลักษณะที่มีการลดลงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจาก พิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องโดยให้มีค่าเท่ากับเมื่อครั้งที่เพิ่มน้ำหนักในขั้นตอนที่ 4
7.      ในแต่ละค่าน้ำหนักทดสอบที่คงเหลือไว้นั้น ให้ทำการตรวจสอบหาค่าผลผิดที่ค่าน้ำหนักทดสอบค่านั้นๆ ตามขั้นตอนที่ 5
8.    ตรวจสอบผลผิดที่แต่ละค่าน้ำหนักทดสอบทั้งในขั้นตอนเพิ่มน้ำหนักและลดน้ำหนักว่ายังคงอยู่ในขอบเขตของค่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดหรือไม่ ถ้าอยู่ภายในขอบเขต ถือว่าผ่านการทดสอบการชั่ง 
 
 

ตารางรายงานผลการทดสอบการชั่ง (Weighing Test)

 

Non-self-indicating instrument                                                 Weighing Test
   < MPE     Pass
 
Load (L)
 
Indication (I)
 
Measure deviation
 
(E = I – L)
 
MPE
 
II
 
III
¯
­
¯
­
 
0
0
 
 
 
 
0.5e
Min
Min
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5000e
500e
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1.0e
 
 
 
 
 
 
 
20000e
2000e
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1.5e
MAX.
MAX.
 
 
 
 
 
 

Self and Semi-self-indicating instrument                                     Weighing Test
< MPE     Pass
Load (L)
Indication (I)
Additional load
(DL)
Indication prior to rounding
P = I+1/2 e - DL
Measure deviation
(E = P – L)
MPE
II
III
¯
­
¯
­
¯
­
¯
­
 
0
0
 
 
 
 
 
 
 
 
0.5e
Min
Min
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
5000e
500e
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1.0e
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
20000e
2000e
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
1.5e
MAX.
MAX.
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

 

 

ข. การทดสอบการชั่งที่ใช้น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (Weighing Test Using Substitution of Standard Weights)

 

               เงื่อนไขก่อนที่ดำเนินการทดสอบการชั่งที่ใช้น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา นั้นก็คือ     เครื่องชั่งต้องผ่านการทดสอบการทำซ้ำได้ (Repeatability Test) นั่นคือมีผลผิดของการทำซ้ำได้ (Repeatability Error) ตามที่กำหนด ทั้งนี้อาจเนื่องจากต้องเสียค่าใช้จ่ายในการดำเนินการตรวจสอบให้คำรับรองสูงมากในการสอบเทียบเครื่องชั่งในลักษณะนี้   ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นเครื่องชั่งรถยนต์บรรทุกที่มีพิกัดกำลังสูง 30 –60 ตัน และต้องใช้น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราตั้งแต่ 10 –20 ตันต่อครั้ง 

            ข้อจำกัดของการใช้น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา นั้นก็คือ ยากที่จะหาน้ำหนักทดสอบอื่นให้มีค่าตรงกันหรือเท่ากันกับชุดน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา ดังนั้นจึงพออนุโลมให้น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรามีน้ำหนักน้อยกว่าน้ำหนักรวมสูงสุดของแบบมาตราที่มีอยู่ได้ 10% หรือ 1,000 kg ให้เลือกเอาค่าน้อยกว่า เช่นเรามีตุ้มน้ำหนักแบบมาตราทั้งหมด 10 ตัน (500 kg x 20 ตุ้ม) ดังนั้นน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรามีน้ำหนัก ได้ตั้งแต่ 9 ตัน ถึง 10 ตัน แต่ต้องระวังว่าต้องไม่ให้น้ำหนักทดสอบอื่นที่ใช้แทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรามีน้ำหนักมากกว่าน้ำหนักแบบมาตราสูงสุดเท่าที่มี เป็นต้น 

            สำหรับเครื่องชั่งอิเล็คทรอนิค ซึ่งอาจมีส่วนรักษาศูนย์ (Zero Tracking Device) ต้องวางตุ้มน้ำหนักเท่ากับ 10e ค้างไว้อยู่บนส่วนรับน้ำหนักทุกครั้งเมื่อเอาตุ้มน้ำหนักแบบมาตราออกจากส่วนรับน้ำหนักเพื่อเอาน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา 

            วิธีการตรวจสอบว่าเครื่องชั่งมีส่วนรักษาศูนย์หรือไม่ กระทำโดยวางน้ำหนักทดสอบคราวละน้อยๆ ประมาณเท่ากับ 0.2d  จากนั้นเว้นระยะเวลาทิ้งห่างกันสักพักหนึ่งเพื่อให้ส่วนรักษาศูนย์ทำงานเป็นช่วงระยะเวลาประมาณ 2 วินาทีหรืออาจจะนานกว่านั้นตามความเหมาะสม จะเห็นได้ว่าเครื่องชั่งจะปรับตัวแสดงค่าศูนย์   ต่อจากนั้นวางน้ำหนักทดสอบอีก 0.2d ลงไปอีกและหากเครื่องชั่งยังคงปรับตัวแสดงค่าศูนย์อีกนั่นหมายถึงเครื่องชั่งดังกล่าวมีส่วนรักษาศูนย์ 
 

ขั้นตอนการทดสอบ 

1.    หาค่าน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราที่ต้องใช้ตามข้อกำหนดไว้ข้างต้น   และเตรียมการไว้ให้พร้อมปฏิบัติงาน
2.    กำหนดช่วงน้ำหนักทดสอบอย่างน้อย 5 ช่วงการทดสอบ, L นั่นคือน้ำหนักทดสอบที่มีค่าแตกต่างกันเพื่อทดสอบอย่างน้อย 5 ค่า โดยขอบเขตในการเลือกค่าน้ำหนักทดสอบให้ครอบคลุมถึงน้ำหนักทดสอบต่อไปนี้

  •   น้ำหนักทดสอบต้องครอบคลุมตั้งแต่พิกัดกำลังต่ำสุดจนถึงพิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องชั่ง โดยการเพิ่มขึ้นหรือการลดลงของค่าน้ำหนักทดสอบควรมีระยะแตกต่างกันอย่างใกล้เคียงกันให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้
  •   ค่าที่ใกล้เคียงหรือค่าน้ำหนักทดสอบตรงตำแหน่งที่อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของเครื่องชั่งมีการเปลี่ยนแปลง ในกรณีที่เป็นเครื่องชั่งที่เปลี่ยนค่าช่องขั้นหมายมาตราได้ (Multi - Interval Instrument) ที่มีหลายช่วงการชั่งย่อย (Partial Weighing Ranges) ให้เลือกค่าน้ำหนักทดสอบที่ตำแหน่งที่มีการเปลี่ยนอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดด้วย
  •   ต้องไม่เลือกค่าน้ำหนักทดสอบที่เป็นจุดที่ค่าขั้นหมายมาตราเปลี่ยน ให้เลือกตำแหน่งที่น้อยกว่าจุดดังกล่าว 5e แทน 
  •  ค่าน้ำหนักทดสอบตรงตำแหน่งวิธีการเข้าสู่สมดุลของเครื่องชั่งเปลี่ยนไป
  •  ต้องไม่เลือกจุดน้ำหนักที่เท่ากับพิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องชั่งหากเมื่อทำการชั่งน้ำหนักมากกว่าค่าพิกัดกำลังของเครื่องชั่งแล้วส่วนแสดงค่าไม่แสดงผลการชั่งใดๆ ในกรณีเช่นนี้ให้ใช้ตำแหน่งน้ำหนักทดสอบให้มีค่าน้อยกว่าพิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องชั่ง  5 แทน

3.   ทำการบันทึกค่าน้ำหนักทดสอบใน แถว L บันทึกค่าน้ำหนักที่เครื่องชั่งแสดงค่า แถว I และทำการหาค่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่สอดคล้องกับค่าน้ำหนักทดสอบใส่ในแบบฟอร์มประเมินผล
4.   ปรับให้เครื่องชั่งแสดงค่าศูนย์
5.   วางน้ำหนักทดสอบแบบมาตราลงบนส่วนรับน้ำหนักโดยเพิ่มขึ้นตั้งแต่พิกัดกำลังต่ำสุดจนถึงพิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องชั่ง ตามค่าน้ำหนักทดสอบที่เลือกไว้ในขั้นตอน 1. โดยต้องตระหนักว่าให้วางน้ำหนักทดสอบในลักษณะที่มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ

6. ในแต่ละค่าน้ำหนักทดสอบที่วางลงไปนั้น ให้ทำการตรวจสอบหาค่าผลผิดที่ค่าน้ำหนักทดสอบค่านั้นๆ ด้วยวิธีการทดสอบหาอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด (Maximum Permissible Error Check) ที่กล่าวไว้ข้างต้น หรือทำการหาตำแหน่งค่าน้ำหนักจริงของการวางน้ำหนักทดสอบ P ด้วยการหาตำแหน่งเปลี่ยนจุด (changeover point) ตำแหน่งถัดไป โดย
           6.1 วางน้ำหนักเพิ่มเติม (Additional Weights) เท่ากับ 0.1e ลงบนส่วนรับน้ำหนัก และวางเพิ่มทีละชิ้นในแต่ละครั้งไปเรื่อย ๆ จนกระทั่งส่วนแสดงค่าแสดงค่าผลการชั่งเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้น 1 ค่าขั้นหมายมาตรา (I+ e) อย่างชัดเจน
            6.2 บันทึกค่าน้ำหนักเพิ่มเติมทั้งหมดที่ใส่ลงไป เป็นค่า DL
            6.3 เครื่องชั่งแสดงค่าน้ำหนักจริงของการวางน้ำหนักทดสอบก่อนเครื่องชั่งปัดค่าน้ำหนักไปแสดงค่าที่  I+ e เรียกว่า P สามารถหาได้จากสมการข้างล่างนี้ 

ผลผิดของการแสดงผลการชั่งเท่ากับ 

 
7.  เมื่อค่าน้ำหนักทดสอบที่ตรงกับน้ำหนักสูงสุดของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราที่มี    จากนั้นทำการคำนวณหาผลผิดการชั่ง (E) สำหรับเครื่องชั่งที่มีส่วนแสดงค่าแบบดิจิตอลและไม่มีส่วนแสดงค่าได้ละเอียดกว่าปกติซึ่งมีค่าขั้นหมายมาตราน้อยกว่าขั้นหมายมาตราของส่วนแสดงค่าหลัก (ต้องไม่เกิน 1 ใน 5 ของ e) ให้ใช้ตำแหน่งเปลี่ยนจุด (Changeover Point) ในการหาค่าผลการแสดงค่าของเครื่องชั่งก่อนจะมีการปัดเศษ หรือตำแหน่งค่าน้ำหนักจริงของการวางน้ำหนักทดสอบ P   วิธีการเช่นเดียวกับขั้นตอนที่ 6 
8.   เอาน้ำหนักทดสอบซึ่งเป็นน้ำหนักสูงสุดของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราออกจากส่วนรับน้ำหนัก แต่ต้องมั่นใจว่าได้วางตุ้มน้ำหนักเท่ากับ 10e ค้างไว้อยู่บนส่วนรับน้ำหนัก ก่อนเอาตุ้มน้ำหนักทดสอบออกไปทั้งหมด   เพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องชั่งอิเล็คทรอนิค ซึ่งมีส่วนรักษาศูนย์ไม่แสดงค่ากลับไปยังค่าศูนย์
9.   เอาน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราซึ่งคำนวณไว้ก่อนหน้านี้ในขั้นตอน 1 ขึ้นบนส่วนรับน้ำหนัก ทั้งนี้ค่าน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราต้องน้อยกว่าน้ำหนักรวมสูงสุดของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราที่มีอยู่ 10% หรือ 1,000 kg   เลือกเอาค่าน้อยกว่า
10.  คำนวณหาตำแหน่งค่าน้ำหนักที่แท้จริงหรือน้ำหนักที่เครื่องชั่งได้ของน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราซึ่งวางไว้บนส่วนรับน้ำหนักในขั้นตอนที่ 9   ทั้งนี้โดยตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่าผลผิดการชั่งของเครื่องชั่งที่ค่าน้ำหนักรวมสูงสุดของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราที่มีอยู่มีค่าเท่ากับผลผิดการชั่งของเครื่องชั่งที่ค่าน้ำหนักของน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราซึ่งวางไว้บนส่วนรับน้ำหนักในขั้นตอนที่ 9   วิธีการคำนวณเป็นดังนี้
            10.1 อ่านค่าน้ำหนัก เครื่องชั่งแสดงค่าน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา Isub
           10.2   จากนั้นทำการเติมน้ำหนักทดสอบเท่ากับ 0.1e ลงบนเครื่องชั่งในแต่ละครั้งไปเรื่อย ๆ จนเครื่องชั่งแสดงค่าเพิ่มขึ้น 1 ค่าขั้นหมายมาตรา (Isub + e) อย่างชัดเจน
10.3 น้ำหนักทดสอบที่เติมลงบนส่วนรับน้ำหนักของเครื่องชั่งและทำให้เครื่องชั่งแสดงค่า Psub(ค่าจริงของน้ำหนักที่เครื่องชั่งวัดได้) ก่อนที่มีการปัดค่าไปแสดงค่า (Isub + e)   ดังนั้นสามารถหาค่า Psubได้จากสมการข้างล่างนี้ 

แต่ 

 
ดังนั้นค่าน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราซึ่งวางไว้บนส่วนรับน้ำหนักในขั้นตอนที่ 9 มีค่าเท่ากับ 
 

จากสมมุติฐานซึ่งกล่าวไว้ดังข้างต้น ดังนั้น Esub ในสมการข้างบนนี้จึงมีค่าเท่ากับ E ในขั้นตอนที่ 7 ส่วน DLsub มีค่าน้อยมากพอสามารถตัดทิ้งได้จึงเหลือสมการ 
 

11.      ทดสอบการชั่งที่มีค่าน้ำหนักค่าถัดไป โดยวางน้ำหนักทดสอบตุ้มน้ำหนักแบบมาตราลงบนส่วนรับน้ำหนักโดยรวมกับน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราที่วางไว้ในขั้นตอนที่ 9   ให้ได้ค่าน้ำหนักที่กำหนดค่าน้ำหนักทดสอบที่เลือกไว้ในขั้นตอนที่ 2
12.    ตรวจสอบหาค่าผลผิดที่ค่าน้ำหนักทดสอบค่านั้น ๆ ตามขั้นตอนที่ 6
13.   หากค่าน้ำหนักที่กำหนดค่าน้ำหนักทดสอบที่เลือกไว้ในขั้นตอน 2 นั้นสูงมากกว่าผลรวมของน้ำหนักทดสอบแบบมาตรา กับน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา ก็ต้องหาน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราให้มีค่ามากกว่าน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราในขั้นตอนที่ 9  จากนั้นดำเนินการตามขั้นตอนที่ 7 จนถึง ขั้นตอนที่ 12 ซ้ำ
14.    เอาน้ำหนักทดสอบออกจากส่วนรับน้ำหนักในลักษณะที่มีการลดลงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจาก พิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องโดยให้มีค่าเท่ากับเมื่อครั้งที่เพิ่มน้ำหนัก
15.    ในแต่ละค่าน้ำหนักทดสอบที่คงเหลือไว้บนส่วนรับน้ำหนักนั้น ให้ทำการตรวจสอบหาค่าผลผิดที่ค่าน้ำหนักทดสอบค่านั้นๆ 
16.   ตรวจสอบผลผิดที่แต่ละค่าน้ำหนักทดสอบทั้งในขั้นตอนเพิ่มน้ำหนักและลดน้ำหนักว่ายังคงอยู่ในขอบเขตของค่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดหรือไม่ ถ้าอยู่ภายในขอบเขต ถือว่าผ่านการทดสอบการชั่ง
 
 
 

ตัวอย่าง  การทดสอบการชั่งที่ใช้น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (Weighing test using substitution of standard weights)

 

             การตรวจสอบให้คำรับรอง เครื่องชั่งรถยนต์บรรทุกชั้นความเที่ยง III 
·        เครื่องชั่งรถยนต์บรรทุกชั้นความเที่ยง III
·        พิกัดกำลังสูงสุด Max  60,000 kg, e = 20 kg, n = 3000
·        เครื่องชั่งทดสอบความสามารถทำซ้ำได้มีค่าเท่ากับ 0.2e จึงใช้ตุ้มน้ำหนักแบบมาตราอย่างน้อย 20% Max. 
·        มีตุ้มน้ำหนักแบบมาตราจำนวนทั้งหมด 16,000 kg (16000 kg/60000 kg= 0.26) ซึ่งเกินกว่า   20% Max.
·        น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา เช่น รถยนต์บรรทุก หนักประมาณ 15,000 kg จำนวน 1 คัน
·        น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา หนักประมาณ 30,000 kg จำนวน 1 คัน 

ขั้นตอนการตรวจสอบให้คำรับรอง

  1)            พิจารณาอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของเครื่องชั่งรถยนต์บรรทุก จะได้ว่า

  
 
น้ำหนักใช้ทดสอบ (m) แสดงในหน่วยของ
ค่าขั้นหมายมาตราตรวจรับรอง (e)
อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาด
ชั้น III
เครื่องชั่งรถยนต์บรรทุก
± 0.5e
ตั้งแต่ 0 ถึง 500
(0 £ m £ 500)
0 kg - 10,000 kg
± 1.0e
มากกว่า 500 ถึง 2000
(500 < m £ 2000)
10,000 kg – 40,000 kg
± 1.5e
มากกว่า 2000 ถึง 10000
(2000 < m £ 10000)
40,000 kg – 60,000 kg
 
 

2)            กำหนดช่วงน้ำหนักทดสอบอย่างน้อย 5 น้ำหนักทดสอบที่มีค่าแตกต่างกัน   โดยครอบคลุม 
·  น้ำหนักทดสอบที่พิกัดกำลังต่ำสุด Min. = 400 kg
·  ค่าที่ใกล้เคียงหรือค่าน้ำหนักทดสอบตรงตำแหน่งที่อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของเครื่องชั่งมีการเปลี่ยนแปลงช่วงที่ 1 เท่ากับ 10,000 kg
·  ค่าที่ใกล้เคียงหรือค่าน้ำหนักทดสอบตรงตำแหน่งที่อัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดของเครื่องชั่งมีการเปลี่ยนแปลงช่วงที่ 2 เท่ากับ 40,000 kg
·  น้ำหนักทดสอบที่พิกัดกำลังสูงสุด Max. = 60,000 kg
· ค่าน้ำหนักทดสอบเพื่อให้ค่าการเพิ่มน้ำหนักทดสอบเพิ่มขึ้นในอัตราเพิ่มที่สม่ำเสมอตลอดช่วงตั้งแต่พิกัดกำลังต่ำสุดถึงพิกัดกำลังสูงสุดและน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราที่มีจึงกำหนดให้มีน้ำหนักทดสอบ ประมาณเท่ากับ 16,000 kg และ 30,000 kg 

จึงสรุปลำดับน้ำหนักทดสอบคร่าวๆ คือ 400 kg , 10,000 kg, 16,000 kg, 30,000 kg 40,000 kg และ 60,000 kg 

3)      ทำการบันทึกค่าน้ำหนักทดสอบใน แถว L และทำการหาค่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดที่สอดคล้องกับค่าน้ำหนักทดสอบใส่ในแบบฟอร์มประเมินผล
4)      ปรับให้เครื่องชั่งแสดงค่าศูนย์
5)      วางน้ำหนักทดสอบแบบมาตรา 400 kg ลงบนส่วนรับน้ำหนัก
6)     อ่านค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา ได้ 400 kg จากนั้นทำการเติมน้ำหนักทดสอบเท่ากับ 1 ใน 10 เท่าของ e ลงบนเครื่องชั่งในแต่ละครั้งไปเรื่อย ๆ จนเครื่องชั่งแสดงค่าเพิ่มขึ้น 1 ค่าขั้นหมายมาตรา (I+ e) อย่างชัดเจน    น้ำหนักที่ใส่ไปมีค่าเท่ากับ 2 kg ดังนั้นเครื่องชั่งแสดงค่า P (ค่าจริงของน้ำหนักที่เครื่องชั่งวัดได้) ก่อนที่มีการปัดค่าไปแสดงค่า I+ e เท่ากับ 

P = 400 + ½ (20) – 2 =   408 kg

ผลผิดก่อนปัดค่า
E   =   P – L = 408 – 400 = 8 kg   < MPE 

7)     เอาน้ำหนักทดสอบตุ้มน้ำหนักแบบมาตราออกจากส่วนรับน้ำหนัก แต่ต้องมั่นใจว่าได้วางตุ้มน้ำหนักเท่ากับ 10e ค้างไว้อยู่บนส่วนรับน้ำหนัก ก่อนเอาตุ้มน้ำหนักทดสอบออกไปทั้งหมด หรือวางตุ้มน้ำหนักเพิ่มลงไปจนได้ค่าน้ำหนักทดสอบที่ต้องการ 
 
Self and Semi-self-indicating instrument                                Weighing Test
 
Load (L)
(kg)
Indication
(I)
(kg)
Additional load
(DL)
(kg)
Indication prior to rounding
P   = I + 1/2 e - DL
Measure deviation
(E = P – L)
MPE
(kg)
 
¯
­
¯
­
¯
­
¯
­
 
400
400
 
2
 
408
 
8
 
10
10,000
10000
 
2
 
10008
 
8
 
20
16,000
16020
 
10
 
16020
 
20
 
20
Lsub_1
15,570
15580
 
 
 
 
 
20
 
20
Lsub_1 +16,000 =
31,570
31580
 
6
 
31584
 
14
 
20
Lsub_2
30,976
30980
 
 
 
 
 
14
 
20
Lsub_2 +9,000 =
39,976
40000
 
10
 
40000
 
24
 
30
Lsub_1+Lsub_2 +13,000 =
59,546
59580
 
20
 
59570
 
24
 
30
 
 
 
 
 
 
 
Pass when E < MPE
 
 
 
 
 
 
 
Fail    when E > MPE
 
 

8)    ทำการทดสอบในขั้นตอนที่ 5 ถึงขั้นตอนที่ 7 อีกครั้งด้วยน้ำหนักทดสอบแบบมาตราเท่ากับ 10,000 kg และ 16,000 kg
9)     เอาน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา ซึ่งในที่นี้จะเป็นรถยนต์บรรทุกดินหนักประมาณ 15,000 kg ลงบนส่วนรับน้ำหนัก
10)    คำนวณหาค่าน้ำหนักที่แท้จริงหรือน้ำหนักที่เครื่องชั่งชั่งได้ของน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราซึ่งวางไว้บนส่วนรับน้ำหนัก
·  อ่านค่า เครื่องชั่งแสดงค่า  Isub_1 = 15,580 kg 
·  จากนั้นทำการเติมน้ำหนักทดสอบเท่ากับ 1 ใน 10 เท่าของ e ลงบนเครื่องชั่งในแต่ละครั้งไปเรื่อย ๆ จนเครื่องชั่งแสดงค่าเพิ่มขึ้น 1 ค่าขั้นหมายมาตรา (I+ e) อย่างชัดเจน    น้ำหนักทดสอบที่เติมลงบนส่วนรับน้ำหนักของเครื่องชั่งและทำให้เครื่องชั่งแสดงค่า Psub_1 (ค่าจริงของน้ำหนักที่เครื่องชั่งวัดได้) ก่อนที่มีการปัดค่าไปแสดงค่า (Isub_1 + e) มีค่าเท่ากับ  

 

Psub_1   =   Isub_1 + 1/2 e - DLsub_1 

 

·   ดังนั้นค่าน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราซึ่งวางไว้บนส่วนรับน้ำหนัก มีค่าเท่ากับ  

Lsub_1   = Psub_1   – Esub_1     = Isub_1 + 1/2 e - Esub_1 

ทั้งนี้ให้ผลผิดที่น้ำหนักทดสอบ 16000 kg มีค่าเท่ากับที่น้ำหนักทดสอบด้วยน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา 

Lsub_1   =   Psub_1 – Esub_1            = 15580 + 10 – 20 = 15570 kg  

11) วางน้ำหนักทดสอบตุ้มน้ำหนักแบบมาตราที่มีอยู่ 16,000 kg ลงบนส่วนรับน้ำหนักเพิ่มเติมต่อจากน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (substitution load) 
12)  อ่านค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา ได้ 31,580 kg จากนั้นทำการเติมน้ำหนักทดสอบเท่ากับ 1 ใน 10 เท่าของ e ลงบนเครื่องชั่งในแต่ละครั้งไปเรื่อย ๆ จนเครื่องชั่งแสดงค่าเพิ่มขึ้น 1 ค่าขั้นหมายมาตรา (I+ e) อย่างชัดเจน    น้ำหนักที่ใส่ไปมีค่าเท่ากับ 6 kg ดังนั้นเครื่องชั่งแสดงค่า P (ค่าจริงของน้ำหนักที่เครื่องชั่งวัดได้) ก่อนที่มีการปัดค่าไปแสดงค่า I+ e เท่ากับ
P = 31,584 kg

ผลผิดก่อนปัดค่า
E   =   P – L  = 31,584 – 31,570 = 14 kg   < MPE 

13)   เอาน้ำหนักทดสอบทั้งหมดออกจากส่วนรับน้ำหนัก แต่ต้องมั่นใจว่าได้วางตุ้มน้ำหนักเท่ากับ 10e  ค้างไว้อยู่บนส่วนรับน้ำหนัก ก่อนเอาตุ้มน้ำหนักทดสอบออกไปทั้งหมด
14)   เอาน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา ตัวที่ 2 ซึ่งในที่นี้จะเป็นรถยนต์บรรทุกดินหนักประมาณ 30,000 kg ลงบนส่วนรับน้ำหนัก
15)    คำนวณหาค่าน้ำหนักที่แท้จริงหรือน้ำหนักที่เครื่องชั่งวัดได้ของน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราซึ่งวางไว้บนส่วนรับน้ำหนัก
·    อ่านค่า เครื่องชั่งแสดงค่า Isub_2 = 30,980 kg
  ·   จากนั้นทำการเติมน้ำหนักทดสอบเท่ากับ 1 ใน 10 เท่าของ e ลงบนเครื่องชั่งในแต่ละครั้งไปเรื่อย ๆ จนเครื่องชั่งแสดงค่าเพิ่มขึ้น 1 ค่าขั้นหมายมาตรา (I+ e) อย่างชัดเจน    น้ำหนักทดสอบที่เติมลงบนส่วนรับน้ำหนักของเครื่องชั่งและทำให้เครื่องชั่งแสดงค่า Psub_2 (ค่าจริงของน้ำหนักที่เครื่องชั่งวัดได้) ก่อนที่มีการปัดค่าไปแสดงค่า (Isub_2 + e)   

Psub_2   =   Isub_2 + 1/2 e -DLsub_2

 

·    ดังนั้นค่าน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตราซึ่งวางไว้บนส่วนรับน้ำหนัก มีค่าเท่ากับ  

Lsub_2   =   Psub_2 – Esub_2     = Isub_2 + 1/2 e - Esub_2 

ทั้งนี้ให้ผลผิดที่น้ำหนักทดสอบ 31,570 kg มีค่าเท่ากับที่น้ำหนักทดสอบด้วยน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา 

Lsub_2   =   Psub_2 – Esub_2        = 30980 + 10 – 14 = 30,976 kg   

16)    วางน้ำหนักทดสอบตุ้มน้ำหนักแบบมาตราที่มีอยู่ 16,000 kg โดยใส่ลงเพียง 9,000 kg ลงบนส่วนรับน้ำหนักเพิ่มเติมต่อจาก น้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (Substitution Load) ชุดที่ 2   จะได้น้ำหนักทดสอบเท่ากับ 30,976 + 9,000 = 39,976 kg
17)     คำนวณหาผลผิดเหมือนขั้นตอนที่ 6 
18)   เพิ่มน้ำหนักทดสอบอื่นแทนค่าน้ำหนักของตุ้มน้ำหนักแบบมาตรา (substitution load) ชุดที่ 1ลงไป และเพิ่มตุ้มน้ำหนักแบบมาตราอีก 4,000 kg จะได้น้ำหนักทั้งหมดเท่ากับ   39,976 + 15,570+4,000 = 59,546 kg
19)     คำนวณหาผลผิดเหมือนขั้นตอนที่ 6
20)   เอาน้ำหนักทดสอบออกจากส่วนรับน้ำหนักในลักษณะที่มีการลดลงอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอจาก พิกัดกำลังสูงสุดของเครื่องโดยให้มีค่าเท่ากับเมื่อครั้งที่เพิ่มน้ำหนัก ย้อนวิธีการเดิมกลับไป และหาผลผิดเครื่องชั่งตามที่ได้กล่าวมา
21)    ตรวจสอบผลผิดที่แต่ละค่าน้ำหนักทดสอบทั้งในขั้นตอนเพิ่มน้ำหนักและลดน้ำหนักว่ายังคงอยู่ในขอบเขตของค่าอัตราเผื่อเหลือเผื่อขาดหรือไม่ ถ้าอยู่ภายในขอบเขต ถือว่าผ่านการทดสอบการชั่ง

 

Ans
 
 
 
 
 
 
 

 

 

ชั่งตวงวัด; GOM MOC
นนทบุรี
2 มีนาคม 2563
 
 

    



จำนวนผู้เข้าชม : 5483